Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) เป็นอดีตอธิบดีกรมรถไฟ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย[3][4] และเป็นอดีตพระสสุระในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [a] | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 8 กันยายน พ.ศ. 2485 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สินธุ์ กมลนาวิน |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กันยายน พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | ควง อภัยวงศ์ |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2484 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มังกร พรหมโยธี | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | มังกร พรหมโยธี |
ถัดไป | พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต |
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 10 กันยายน พ.ศ. 2502 | |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะ อธิบดี) |
ถัดไป | ไสว ไสวแสนยากร |
อธิบดีกรมรถไฟ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 | |
ก่อนหน้า | พระอุดมโยธาธิยุต |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 | |
ก่อนหน้า | ควง อภัยวงศ์ (รักษาการ) |
ถัดไป | ชลอ ศรีธนากร |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 | |
ก่อนหน้า | ปุ่น ศกุนตนาค |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะ ผู้ว่าการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (87 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[1] (พ.ศ. 2462–2492) ประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (พ.ศ. 2495–2526) |
บุตร | ภูวลาภ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
บุพการี |
|
อาชีพ | ทหารบก ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พนักงานรัฐวิสาหกิจ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก[2] |
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เข้ารับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารสื่อสาร จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นหนึ่งในทหารบกคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จากนั้นโอนย้ายจากกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดกรมรถไฟในตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2487 เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคมอีกครั้ง พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2502
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลและนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองได้ว่า จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2484[5]
พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีนามเดิมว่า จรูญ รัตนกุล เป็นบุตรของนายร้อยเอก จิตร กับ ชื่น รัตนกุล บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมุหนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[6] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[7][6]
พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) หลังภรรยาคนแรกถึงแก่อนิจกรรมจึงได้สมรสครั้งที่สองกับประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม เศรษฐวัฒน์) บุตรชายได้แก่ พลตำรวจตรี อุดม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภูวลาภ) และพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2487[8] มีธิดาคือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม
พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[11] ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.