พลตำรวจตรี ชลอ ศรีธนากร หรือ ขุนศรีศรากร (19 กุมภาพันธ์ 2444 - 11 กันยายน 2530) อดีตอธิบดีกรมรถไฟ อดีตอธิบดี กรมสรรพสามิต อดีตอธิบดี กรมราชทัณฑ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และหนึ่งในสมาชิก คณะราษฎร

ข้อมูลเบื้องต้น ชลอ ศรีธนากร, อธิบดี กรมสรรพสามิต ...
ชลอ ศรีธนากร
Thumb
อธิบดี กรมสรรพสามิต
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม 2484  30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485
ก่อนหน้าหลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)
ถัดไปหลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)
ดำรงตำแหน่ง
13 กุมภาพันธ์ 2486  31 ธันวาคม 2489
ก่อนหน้าหลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)
ถัดไปหลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)
อธิบดี กรมราชทัณฑ์
ดำรงตำแหน่ง
3 มิถุนายน 2482  28 มีนาคม 2484
อธิบดี กรมรถไฟ
ดำรงตำแหน่ง
30 กรกฎาคม 2485  14 กันยายน 2486
ก่อนหน้าพลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ถัดไปพลตรี อุดมโยธา รัตนาวะดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444
เมืองพิษณุโลก ประเทศสยาม
เสียชีวิต11 กันยายน พ.ศ. 2530 (86 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงเสงี่ยม ศรีศรากร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจตรี
ปิด
Thumb
ภาพสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบก พลตำรวจตรีชลอ คนที่นั่งด้านหน้าคนที่ 4 จากซ้าย

ประวัติ

พลตำรวจตรีชลอเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 บนเรือบรรทุกข้าวที่ จังหวัดพิษณุโลก บิดาชื่อ กัน และมารดาชื่อ สวาท

รับราชการและงานการเมือง

พลตำรวจตรีชลอจบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบันและได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466 [1] และในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนศรีศรากร ศักดินา ๖๐๐ [2]

ใน การปฏิวัติสยาม เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พลตำรวจตรีชลอซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น ร้อยโท ได้รับภารกิจหน้าที่ในการคุมตัว พลตรี พระยาเสนาสงคราม มายัง พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นกองบัญชาการของคณะราษฎรแต่กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อเกิดการต่อสู้กันขึ้นทำให้พระยาเสนาสงครามถูกยิงจนได้รับบาดเจ็บ

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองร้อยปืนใหญ่ที่ 2 และได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 [3] จากนั้นในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ท่านได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง [4]

จากนั้นท่านจึงได้โอนย้ายมารับราชการเป็นตำรวจรับตำแหน่ง สารวัตรตำรวจสันติบาล และได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 [5] หลังจากนั้นท่านจึงได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจเอก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2487[6] ต่อมาท่านจึงได้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษเป็นผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษที่บางขวางเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จากนั้นจึงได้รักษาการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482[7]

หลังจากนั้นอีก 2 ปีท่านได้โอนย้ายมารับตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตแทน หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) ที่ไปประจำกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2484[8] กระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านโอนย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ [9] แทน พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ยศในขณะนั้น)

กระทั่งวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ท่านได้ควบตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตอีกตำแหน่งหนึ่งแทน หลวงอรรถสารประสิทธิ์ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง[10] ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486 ได้มีคำสั่ง ท. สนาม ที่ 113/86 ให้ท่านพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟเหลือตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตเพียงตำแหน่งเดียว[11] จากนั้นในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2487 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันตำรวจเอก [12] กระทั่งลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 [13] ก่อนจะออกจากราชการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ขณะอายุเพียง 45 ปีโดยมิได้กลับเข้ารับราชการหรือวงการเมืองอีกจนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 จึงตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุ

ถึงแก่อสัญกรรม

พลตำรวจตรีชลอถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2530 ขณะอายุได้ 86 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.