Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีภารกิจในการให้บริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยทั่วไป และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติทางคลินิกของสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยโลกคดีศึกษา และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสายอื่นๆที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์สุขภาพเช่น คณะสังคมสงเคราะห์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นต้น
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ | |
---|---|
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 95 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, ประเทศไทย |
หน่วยงาน | |
ประเภท | โรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน |
สังกัด | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
บริการสุขภาพ | |
แผนกฉุกเฉิน | มี |
จำนวนเตียง | 755[1] |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | พ.ศ. 2530 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | hospital |
พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย ณ ขณะนั้นมีผู้สนับสนันหลัก คือ ทายาทหม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชาคมธรรมศาสตร์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ" และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
โรงพยาบาลเปิดให้บริการประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เพื่อถวายเป็นราชกุศลเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 โดยในระยะแรกมีเพียง 2 อาคารที่เปิดให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไป คือ อาคารหม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ เปิดให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยนอก และสำนักงานต่าง ๆ และ อาคารธนาคารทหารไทย เปิดให้บริการรักษาพยาบาล
พ.ศ. 2533 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์[2] ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจึงได้รับการรวมเข้ามาเป็นส่วนราชการหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา ของคณะแพทยศาสตร์ เช่นเดียวกับสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก และสถานวิทยาศาสตร์คลินิก
พ.ศ. 2536 ได้มีการรับแพทย์ใช้ทุน รุ่นแรกของ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ 10 ตำแหน่งมาทำงานชดใช้ทุนในสถานวิทยาศาสตร์คลินิก และได้มีการเปิดการบริการวิชาการ ตรวจรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไปในละแวกใก้ลเคียง กับการส่งแพทย์ในสังกัดไปศึกษาอบรมต่อเนื่อง และพัฒนาเพื่อกลับมาเป็นอาจารย์แพทย์ ในสาขาต่างๆ เช่น ประสาทศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ อายุรศาสตร์ เป็นต้น ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแนวทางในการดูแลรักษา คนไข้และผู้มารับบริการ ประกอบกับมีการเพิ่มจำนวนเตียงในการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้ง ห้องผ่าตัด และหอผู้ป่วย ICU และ เป็นที่ให้การเรียนการสอนแก่ นักศึกษาแพทย์ และ นักศึกษาพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่่อื่นๆด้วย
พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีคำสั่งให้การบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นอิสระโดยสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] แยกออกจากคณะแพทยศาสตร์
ปัจจุบันนอกจากให้บริการวิชาการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยทั่วไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน/ฝึกอบรม ดังนี้[4] เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกสำหรับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่รวมกลุ่มสุขศาสตร์ ทั้งสิ้น 135 ไร่ โดย ภายในมีอาคารดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.