คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย การฝึกสอนกีฬา และการจัดการกีฬา
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ปี พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ จากท่าพระจันทร์ มาศูนย์รังสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาสาธารณสุขซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของประเทศไทยจึงจัดตั้งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น โดยเริ่มจากตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ต่อมา ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะใหม่เพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และ คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีคำสั่งที่ 30/2537 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อจัดทำหลักสูตรตลอดจนวางแผนเรื่องอัตรากำลังให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ต่อมา คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมและมีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะจากเดิม " คณะเทคนิคการแพทย์ " เป็น " คณะสหเวชศาสตร์ " เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า คณะสหเวชศาสตร์ต้องรองรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ ที่จะเปิดในอนาคตนอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ด้วย เช่น สาขากายภาพบำบัด เป็นต้น จึงเสนอขอเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลดังกล่าว ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาให้ก่อตั้งคณะสหเวชศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีและเป็นคณบดีคณะสหเวชศาสตร์คนแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 2 วาระต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และกลับมาดำรงตำแหน่งคณบดีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550
ระยะแรกคณะสหเวชศาสตร์ไม่มีสถานที่ทำการถาวร จึงต้องอาศัยพื้นที่หน่วยงานอื่นเป็นสถานที่ทำการชั่วคราว เริ่มต้นจากขอใช้พื้นที่อาคารคุณากรของคณะแพทยศาสตร์ หลังจากนั้น จึงย้ายไปที่อาคารกิตติวัฒนาของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุมัติให้สร้างอาคารปิยชาติและอาคารราชสุดา เพื่อเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งคณะสหเวชศาสตร์ได้รับจัดสรรให้ใช้พื้นที่บางส่วนจากทั้งสองอาคาร อีกทั้งภายหลังยังได้ใช้พื้นที่บางส่วนภายในอาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (ปิยชาติ 2) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ และวิทยาลัยโลกคดีศึกษา
Remove ads
หน่วยงาน
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ แบ่งส่วนราชการเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้[1]
- ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
- ภาควิชากายภาพบำบัด
- ภาควิชารังสีเทคนิค
- ภาควิชาอาชีวบำบัด (ขณะนี้ยังไม่เปิดดำเนินการ)
- สำนักงานเลขานุการ
เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคล่องตัวมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 คณะสหเวชศาสตร์จึงกำหนดให้แบ่งส่วนราชการเป็นการภายในเพิ่มอีก 1 หน่วยงาน ได้แก่ โครงการบัณฑิตศึกษาสาขาชีวเวชศาสตร์ และแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ดร. เกศรา ณ บางช้าง เป็นผู้อำนวยการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งที่ 11/2545 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีมติเห็นชอบให้คณะสหเวชศาสตร์จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางสหเวชศาสตร์" และแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ ไวยนันท์ เป็นผู้อำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้แก่อาจารย์และนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 4 หน่วยงานย่อย ดังนี้
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการเภสัชวิทยาโรคติดเชื้อ
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการตรวจวินิจฉัยและป้องกันโรคติดเชื้อ
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- หน่วยวิจัยและบริการวิชาการกายภาพบำบัด
Remove ads
หลักสูตร
สรุป
มุมมอง
สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น คณะสหเวชศาสตร์เริ่มรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีการศึกษา 2539 จำนวน 1 สาขา ได้แก่ สาขาเทคนิคการแพทย์ หลังจากนั้น ในปีการศึกษา 2541 จึงเปิดรับสาขากายภาพบำบัด เป็นลำดับถัดมา และเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (โครงการปกติ) ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก และในปีการศึกษา 2553 เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นปีการศึกษาแรก ต่อมาได้เปิดสาขาทางด้านการกีฬาขึ้นเพิ่มเติมอีก 2 สาขา ในปีการศึกษา 2557 คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬาและสาขาการฝึกสอนกีฬา (โครงการพิเศษ)
ในปี พ.ศ. 2560 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (โครงการพิเศษ) ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีการศึกษาแรก[2] และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เป็นหลักสูตรเทคนิคการแพทยบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และเพิ่มเติมหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการสมัยใหม่ทางการกีฬา และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการฟื้นฟูและวิทยาศาสตร์การออกกาลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ)
รายชื่อศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
ระดับบัณฑิต (ปริญญาตรี)
ระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท)
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads