เหตุระเบิดในเบรุต พ.ศ. 2563
การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรตในประเทศเลบานอน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรตในประเทศเลบานอน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดที่ท่าเรือเบรุต พ.ศ. 2563 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 บริเวณท่าเรือเบรุตในเมืองเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน[2]เป็นเหตุระเบิดของ แอมโมเนียมไนเตรตประมาณ 2,750 ตัน (3,030 ตันสั้น; 2,710 ตันยาว) ซึ่งเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 1.2 กิโลตัน (5.0 TJ) ซึ่งถูกรัฐบาลเลบานอนยึดจากเรือ MV Rhosus ที่ถูกทิ้งร้างแล้วเก็บไว้ในท่าเรือที่ไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นเวลา 6 ปี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 208ราย บาดเจ็บมากกว่า 7,500 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก[1][3][4][5] รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแสดงความกังวลต่อยอดผู้เสียชีวิตที่อาจจะมีมาก และยอมรับว่ามี "การบาดเจ็บจำนวนมากและมีความเสียหายอย่างหนัก"[6][7] ผู้ว่าการเบรุตประมาณการณ์ว่ามีประชาชนกว่า 300,000 คนต้องกลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเนื่องจากแรงระเบิด[8]
ผลของระเบิด แสดงยุ้งเมล็ดพันธุ์ที่ถูกทำลายทางซ้ายและมีหลุมระเบิดน้ำท่วมขังทางขวา | |
วันที่ | 4 สิงหาคม 2563 |
---|---|
เวลา | 18:08:18 EEST (15:08:18 UTC) (ระเบิดครั้งที่สอง) |
สถานที่ | ท่าเรือเบรุต |
ที่ตั้ง | กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน |
พิกัด | 33°54′05″N 35°31′08″E |
ประเภท | การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรต |
สาเหตุ | เพลิงไหม้ |
เสียชีวิต | 207 [1] |
บาดเจ็บไม่ถึงตาย | 7,500+[1] |
สูญหาย | 3 |
ทรัพย์สินเสียหาย | US$15,000+ ล้าน |
ผู้ถูกย้ายถิ่น | ≈300,000 |
แผนที่ |
การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ ตรวจพบว่าการระเบิดทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ริกเตอร์ ส่งแรงสะเทือนออกไปไกลถึง 250 km (160 mi) สามารถรู้สึกได้ใน ประเทศตุรกี ซีเรีย อิสราเอล และบางส่วนของยุโรป และได้ยินได้ใน ไซปรัส[9][10] ถือเป็นการระเบิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ที่ทรงพลังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์[11][12][13]
รัฐบาลเลบานอน ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ จากเหตุระเบิด ทำให้การประท้วงใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 8 สิงหาคม ผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปใน กระทรวงการต่างประเทศ เกิดการยิงปะทะกันจนมีผู้บาดเจ็บ 238 คน[14] ในวันต่อมา ผู้ประท้วงได้บุก อาคารรัฐสภา[15][16] จนเกิดการใช้แก๊สน้ำตา เพื่อสลายการชุมนุม จนกระทั่งในวันถัดมา คณะรัฐมนตรีพร้อมด้วย ฮัสซัน ดิอับ นายกรัฐมนตรีของเลบานอน จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากความกดดันทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์[17][18]
เศรษฐกิจของเลบานอนกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตก่อนที่จะเกิดเหตุระเบิดรัฐบาลต้องผิดนัดชำระหนี้ ค่าเงินปอนด์ได้พุ่งสูงขึ้นและเกิดอัตราความยากจนที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์[19] นอกจากนี้การระบาดทั่วของ โควิด-19 ในเลบานอน ได้ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งของประเทศขาดแคลนเวชภัณฑ์และไม่สามารถจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ได้เนื่องจากวิกฤตการเงิน.[20] ในช่วงเช้าของวันที่เกิดเหตุระเบิด หัวหน้าของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเราะฟีก อัลฮะรีรีม ซึ่งเป็นสถานที่หลักในการทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในเลบานอนได้ออกมาเตือนว่าโรงพยาบาลใกล้เต็มกำลังที่จะรักษาผู้ป่วยแล้ว[21][22]
ท่าเรือเบรุต เป็นท่าเรือของรัฐบาลทำหน้าที่เป็นจุดผ่านเข้าสู่เลบานอนทางทะเลหลักและเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการนำเข้าสินค้าที่หายาก[23][24] ท่าเรือประกอบด้วย 4 ลุ่มน้ำ 16 ท่าเรือ 12 โกดัง[24] มีตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่[25]และไซโลข้าวที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสำรองข้าวสาลีทางยุทธศาสตร์ของประเทศ[23] ท่าเรือแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือเบรุต อีกด้วย[24]
เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 MV Rhosus เรือบรรทุกสินค้าที่ติดธงมอลโดวา ซึ่งเป็นเจ้าของโดย Igor Grechushkin นักธุรกิจชาวรัสเซียที่อยู่ในไซปรัส ได้ออกเดินทางจากเมือง บาทูมี ประเทศจอร์เจียไปยัง ไบรา ประเทศโมซัมบิก โดยบรรทุกแอมโมเนียมไนเตรต 2,750 ตัน[26][27][28][29][30] การขนส่งดังกล่าวได้รับคำสั่งจาก บริษัท ผลิตวัตถุระเบิดในแอฟริกาเพื่อทำเหมืองในโมซัมบิก[31] เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เรือเข้าเทียบท่าในเบรุต[32][33] บางแหล่ง ระบุว่า เรือถูกบังคับให้เข้าท่าเรือเนื่องจากปัญหาทางกลและอาจมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ในขณะที่ แหล่งข้อมูลอื่น อ้างว่าเจ้าของเรือมีเงินไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าผ่านทางผ่าน คลองสุเอซ[34][35] และพยายามที่จะขนส่งเครื่องจักรกลหนักออกสู่เบรุต[34][35]เครื่องจักรกลหนักได้ถูกวางซ้อนกันที่ด้านบนของประตูทำให้ประตูหักซึ่งทำให้เรือเสียหาย เครื่องจักรกลหนักกองอยู่ด้านบนของประตูไปยังพื้นที่บรรทุกสินค้าที่มีแอมโมเนียมไนเตรตทำให้ประตูหักซึ่งทำให้เรือเสียหาย[36] หลังจากการตรวจสอบโดยการควบคุมของรัฐท่าเรือ เรือถูกมองว่าไม่เหมาะสมและถูกห้ามไม่ให้ออกเรือ[33][32] โดยในเรือมีชาวยูเครน 8 คนและชาวรัสเซีย 1 หรือ 2 คนอยู่บนเรือ ชาวยูเครน 5 คนได้ถูกส่งตัวกลับประเทศจากความช่วยเหลือของสถานกงสุลยูเครน ปล่อยให้ลูกเรือ 4-5 คนดูแลเรือ[37][38] Boris Prokoshev กัปตันเรือถูกกักตัวไว้บนเรือ เป็นเวลา 11 เดือน เนื่องจากไม่จ่ายค่าธรรมเนียมท่าเรือ โดยตัวเขาเขาไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับการเดินทางแต่จะได้รายได้พิเศษจากการขนส่งเครื่องจักรกลหนักลงที่เบรุต[39]
Grechushkin เจ้าของเรือได้กลายเป็นผู้ล้มละลาย[lower-alpha 1] และหลังจากที่ผู้เช่าเหมาหมดความสนใจในสินค้าเขาก็ได้ยกเลิกการสั่งซื้อสินค้า[40] ในไม่ช้า เสบียงบนเรือก็หมดลง ลูกเรือที่เหลือไม่สามารถลงจากเรือได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านการอพยพ[26] เจ้าหนี้ยังได้แจ้ง 3 หมายจับเพื่อการจับกุมเรือ ทนายความ ฝั่งเจ้าของเรื่องได้โต้แย้งเรื่องการส่งตัวลูกเรือกลับด้วยเหตุผลว่าสินค้าในเรือยังคงมีอันตราย ผู้พิพากษาในเบรุต ได้ตัดสินอนุญาตให้พวกเขากลับบ้านได้ หลังจากพวกเขาถูกบังคับให้อาศัยอยู่บนเรือประมาณหนึ่งปี สินค้าได้ถูกนำขึ้นฝั่งในปี พ.ศ. 2557 และวางไว้ที่โกดัง 12[41] ซึ่งจะยังคงอยู่ต่อไปอีก 6 ปี[27][33][42] โดยเรือได้จมลงในท่าเรือในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[43]
เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรได้ส่งจดหมายถึงผู้พิพากษาเพื่อขอมติเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกยึด โดยเสนอว่าจะส่งออกแอมโมเนียมไนเตรตให้กับกองทัพ หรือขายให้กับ บริษัท Lebanese Explosives Company[lower-alpha 2][27] จดหมายได้รับ ส่งวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 27 มิถุนายนและ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557, 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558, 20 พฤษภาคมและ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560[45] จดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งในปี พ.ศ. 2559 ระบุว่าผู้พิพากษาไม่ได้ตอบกลับคำขอก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า
ในแง่ของอันตรายร้ายแรงในการเก็บสินค้าเหล่านี้ไว้ในโรงเก็บเครื่องบินในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมเราขอยืนยันอีกครั้งว่าขอให้หน่วยงานทางทะเลส่งออกสินค้าเหล่านี้ใหม่ทันทีเพื่อรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและผู้ที่ทำงานหรือเพื่อตกลงที่จะขายเงินจำนวนนี้ให้... [27]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
ภาพ 4K ของการระเบิดในเลบานอนแสดงให้เห็นการระเบิดของท่าเรือเบรุตในแบบสโลว์โมชั่น |
ในช่วงบ่ายของวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ตามเวลาท้องถิ่น ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในโกดัง 12 ริมน้ำที่ท่าเรือเบรุต[46] โดยโกดัง 12 ซึ่งได้เก็บแอมโมเนียมไนเตรตที่ยึดได้จากเรือ MV Rhosus ซึ่ง Yusuf Shehadi อดีตคนงานท่าเรือยังให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียน ว่าในโกดังมีดอกไม้ไฟ ที่บรรจุอยู่ในถุงไนลอน 30–40 ถุง อีกด้วย ในเวลาประมาณ 17:55 น. ทีมนักผจญเพลิง 9 คนและแพทย์อีก 1 คนถูกส่งไปเพื่อดับไฟ[47] เมื่อมาถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงรายงานว่ามี "บางอย่างผิดปกติ" เนื่องจากไฟมีขนาดใหญ่และเกิด "เสียงที่บ้าคลั่ง"[47]
การระเบิดครั้งแรกในเวลาประมาณ 18:07 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้เกิดกลุ่มควันขึ้นตามด้วยแสงวาบจากดอกไม้ไฟที่เก็บไว้[46][48][49] ครั้งที่สองเกิดขึ้นประมาณ 33 ถึง 35 วินาทีต่อมา ซึ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น[50][51][6][52][49] ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนกลางกรุงเบรุตและทำให้เกิดเมฆสีแดงส้มขึ้นไปในอากาศซึ่งล้อมรอบด้วยเมฆควบแน่นสีขาวในช่วงสั้น ๆ[53][54] ซึ่งควันสีแดงอมส้มเกิดจากไนโตรเจนไดออกไซด์ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการสลายตัวของแอมโมเนียมไนเตรต[55] การระเบิดครั้งที่สองนี้ สามารถรับรูได้ถึงบริเวณทางตอนเหนือของอิสราเอลและในไซปรัส ซึ่งห่างออกไปราว 240 กิโลเมตร[56][57]
แม้จะไม่มีประสิทธิภาพในการส่งคลื่นกระแทกลงสู่พื้น[lower-alpha 3] แต่การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาได้ตรวจวัดเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ในพื้นที่[58][59][52] ในขณะที่ หอสังเกตการณ์แผ่นดินไหวจอร์แดน ได้รายงานว่าเทียบเท่ากับ แผ่นดินไหวขนาด 4.5 ในพื้นที่[60] ผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ประเมินว่าการระเบิดครั้งนี้เป็นการระเบิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์[61] การระเบิดที่เบรุต คล้ายกับเหตุการณ์การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรตจำนวนมากใน เทียนจิน ในปี พ.ศ. 2558 หรือใน เมืองเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในปี พ. ศ. 2490[62][63][lower-alpha 4] ตัวไฟได้ดับลงในช่วงรุ่งเช้าวันต่อมา[65]
หลังจากการระเบิด 178 คนได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตและสูญหายอีก 30 คน[66][67] และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 6,000 คน[68] โดยมีชาวต่างชาติหลายร้อยคนจากอย่างน้อย 22 ประเทศอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิต[lower-alpha 7] นอกจากนี้ผู้รักษาสันติภาพทางเรือของสหประชาชาติหลายคนซึ่งเป็นสมาชิกของกองกำลังชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในเลบานอน (UNIFIL) ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด[107][108][109]ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ รายงานว่ามีผู้ลี้ภัย 34 คนอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิตและสูญหาย และมีผู้ลี้ภัยอีก 124 คนได้รับบาดเจ็บ[110]
นาซาร์ นาจาเรียน เลขาธิการพรรคกาตาเอ็บ เสียชีวิตหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง[111], Jean-Marc Bonfils สถาปนิกชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตหลังจากได้รับบาดเจ็บสาหัสที่อพาร์ตเมนต์ของเขาใน East Village ขณะที่เขากำลังถ่ายทอดสดขณะที่ไฟกำลังไหม้โกดังทางเฟซบุ๊ก[112][113]
สาเหตุของเหตุระเบิดยังไม่ได้รับการยืนยัน[23] สื่อท้องถิ่นของเลบานอนระบุในเริ่มแรกว่าเป็นการระเบิดของพลุในโกดัง ในขณะที่บางสื่อรายงานว่ามาจากที่เก็บสารเคมีหรือน้ำมัน[6][114][107] เนื่องจากมีการใช้โกดังหลายหลังในบริเวณท่าเรือเป็นที่เก็บสารเคมีแอมโมเนียมไนเตรต ซึ่งคาดว่ามีอยู่มากถึง 2,750 ตัน โดยแอมโมเนียมในเตรทเป็นสารเคมีที่นิยมใช้สร้างวัตถุระเบิดในทางอุตสาหกรรม[115] และมักเป็นต้นเหตุของที่มีผู้เสียชีวิตอยู่บ่อย ๆ อธิบดีกรมความปลอดภัยสาธารณะแห่งเลบานอนระบุว่าเหตุระเบิดนี้เกิดจากวัตถุไวต่อการระเบิดรุนแรงที่ทางการยึดและนำมาบรรจุเก็บไว้เป็นเวลาหลายปีแล้ว[116]
เหตุระเบิดนี้ส่งผลให้เกิดกลุ่มเมฆรูปเห็ดลอยขึ้นไปในอากาศ และสั่นคลอนตอนกลางของเมืองเบรุต[117] ผู้อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 10 กิโลเมตรได้ระบุว่าได้รับบาดเจ็บและผลกระทบจากการระเบิด[118] สำนักงานใหญ่ของ เดอะเดลี่สตาร์ หนังสือพิมพ์เลบานอน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ฝ้าเพดานพังลงมา กระจกแตก และเฟอร์นิเจอร์เสียหาย[119]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.