Loading AI tools
สปีชีส์ของพืช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสาวรส, กะทกรกฝรั่ง, กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis, อังกฤษ: Passionfruit, สเปน: Maracujá) เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง[1] กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน
เสาวรส | |
---|---|
เสาวรสสีม่วงจากออสเตรเลียทั้งผลและผ่าตามขวาง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Passifloraceae |
สกุล: | Passiflora |
สปีชีส์: | P. edulis |
ชื่อทวินาม | |
Passiflora edulis Sims, 1818 | |
การผสมเกสรนั้นจะใช้แมลงภู่เพื่อการผสมเกสรในเชิงการค้าในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย และส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังค้นพบว่าดอกเสาวรสบานสัมพันธ์กันกับช่วงที่แมลงภู่กำลังแพร่กระจายจำนวนประชากร แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้วิวัฒนาการมาอย่างสัมพันธ์กัน[2]
มีการปลูกเสาวรสทางการค้าในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้และโปรตุเกส
ในประเทศไทยมีเสาวรสที่ปลูกทั่วไป 3 พันธุ์คือ พันธุ์สีม่วง เมื่อสุกเปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลือง รสอมหวานมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ แต่ไม่ค่อยต้านทานโรคในเขตร้อน พันธุ์สีเหลืองหรือเสาวรสสีทอง ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก นิยมปลูกในเขตร้อน พันธุ์ผสม เมื่อสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด กลิ่นแรง สามารถปักชำและเสียบยอดได้
ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น[3]
ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับน้ำพริกเมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป[4]
การใช้ประโยชน์ในประเทศต่าง ๆ มีดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 406 กิโลจูล (97 กิโลแคลอรี) |
23.38 g | |
น้ำตาล | 11.20 g |
ใยอาหาร | 10.4 g |
0.70 g | |
2.20 g | |
วิตามิน | |
วิตามินเอ | (8%) 64 μg |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (11%) 0.130 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (10%) 1.500 มก. |
โฟเลต (บี9) | (4%) 14 μg |
วิตามินซี | (36%) 30.0 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 12 มก. |
เหล็ก | (12%) 1.60 มก. |
แมกนีเซียม | (8%) 29 มก. |
ฟอสฟอรัส | (10%) 68 มก. |
โพแทสเซียม | (7%) 348 มก. |
สังกะสี | (1%) 0.10 มก. |
Nutrient values and weights are for edible portion. | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ผลเสาวรสสุกมีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง น้ำเสาวรสมีวิตามินซีมากและเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง[7] ผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เสาวรสมีไลโคพีน ในชั้นเพอริคาร์บ[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.