Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสนาะ อูนากูล (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474) เป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2] ในปี พ.ศ. 2562 ได้จัดตั้งมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เพื่อช่วยเหลือการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก [3]
เสนาะ อูนากูล | |
---|---|
กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2560 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2522 | |
ก่อนหน้า | พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ |
ถัดไป | นุกูล ประจวบเหมาะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงนงนุช อูนากูล |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
เสนาะ อูนากูล เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของ นายวิชัย และ นางเนื่อง อูนากูล (สกุลเดิม สืบสงวน) บิดาเป็นผู้สร้าง "ตลาดหนองมน" เป็นบุตรชายคนเล็กของพี่น้องทั้งหมด 8 คน[4] จบชั้นมัธยมปีที่ 6 จาก โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี เมื่อพ.ศ. 2490 จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อพ.ศ. 2494 จบการศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วไปศึกษาต่อปริญญาตรี สาขาการพาณิชย์ University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา ปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ Columbia University สหรัฐอเมริกา[5]
เสนาะ อูนากูล รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ชำนาญการคลัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อพ.ศ. 2498 หลังจากนั้นในพ.ศ. 2503 ได้ดำรงตำแหน่ง เศรษฐกรส่วนวางแผนผังพัฒนาการเศรษฐกิจ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เลื่อนเป็นหัวหน้ากองเศรษฐกิจนิเทศก์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2511 เป็นผู้อำนวยการกองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2516 รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฝ่ายวิชาการ กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2517 – 2518 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[6]
หลังการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ[7]
เสนาะ อูนากูล ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนเมื่อพ.ศ. 2534[8] เคยเป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 และเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อพ.ศ. 2524
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.