Loading AI tools
ผู้นำของเวียดนามโดยพฤตินัย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (เวียดนาม: Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam) (อังกฤษ: General Secretary of the Central Committee of the Communist Party of Vietnam) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2519 เป็นสำนักงานสูงสุดในพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและโดยทั่วไปมักเรียกว่า ผู้นำสูงสุดแห่งเวียดนาม หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม เลขาธิการเอก (เวียดนาม: Bí thư Thứ nhất) ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2512 ตำแหน่งเลขาธิการเป็นตำแหน่งที่สูงสุดเป็นลำดับที่สองรองจากตำแหน่งประธานพรรคแรงงานเวียดนาม ซึ่งมีท่านโฮจิมินห์ดำรงตำแหน่งประธานอยู่ เลขาธิการใหญ่ยังเป็นเลขาธิการของคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางซึ่งเป็นผู้นำองค์กรพรรคในกิจการทหาร[1] ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่มีความหมายเปรียบเสมือนกันกับผู้นำสูงสุดของเวียดนาม เลขาธิการคนปัจจุบันคือเหงียน ฟู้ จ่องและเขาได้รับการจัดอันดับให้ลำดับที่หนึ่งในโปลิตบูโร
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam | |
---|---|
ธงประจำพรรค | |
การเรียกขาน | สหาย |
จวน | สำนักงานกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม 1A Hung Vuong เดียนเบียน เขตบาดิ่ญ ฮานอย |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม |
วาระ | 5 ปี |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เจิ่น ฟู้ |
สถาปนา | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2483 |
เว็บไซต์ | Trang web Đảng Cộng sản Việt Nam |
เจิ่น ฟู้ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนแรกของพรรค หนึ่งปีหลังจากได้รับเลือกเขาถูกทางการฝรั่งเศสตัดสินจำคุกเนื่องจากจัดกิจกรรมต่อต้านฝรั่งเศส เขาเสียชีวิตในคุกในปีเดียวกัน[2] ผู้รับช่วงเป็นเลขาธิการคนที่ 2 โดยพฤตินัยคือ เลอ ห่ง ฟอง เลขาธิการ OEC ซึ่งเป็นผู้นำพรรคโดยผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารพรรคแห่งโพ้นทะเล (OEC) เหตุที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคเพราะคณะกรรมการกลางถูกปราบปรามทั้งหมด[3] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 ในการประชุมพรรคครั้งแรกที่มาเก๊า ฮ่า หุ่ย เติบ ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนที่ 3 จนถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 ในที่ประชุมคณะกรรมการพรรค ณ บาเดียม กรุงไซ่ง่อน ฮ่าหุ่ยเติบได้ลาออกจากตำแหน่ง เดือนพฤษภาคมเขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุมและถูกประหารในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 [4] ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 หลังการลาออกของเลขาธิการคนที่ 3 เหงียน วัน กื่อได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 4 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 วันกื่อถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุม และถูกประหารชีวิตโดยการยิงในวันที่ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ท่ามกลางวิกฤติของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ถูกทางการฝรั่งเศสกวาดล้างผู้นำพรรคหลายคน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 เจื่อง จิญได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 5[5] โดยบทความใน NhânDân เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2494 ได้กล่าวถึงบทบาทของเจื่องจิญในฐานะ "ผู้สร้างและผู้บัญชาการ" ของการปฏิวัติในขณะที่โฮจิมินห์ถูกเรียกว่า "จิตวิญญาณของการปฏิวัติเวียดนามและการต่อต้านของเวียดนาม"[6] ในปีพ.ศ. 2488 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจินได้สลายตัวทำให้เจื่องจิญพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ตามสภาพพรรค และในปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อตั้งพรรคใหม่อีกครั้งในนามพรรคแรงงานเวียดนาม จิญกลับมาเป็นเลขาธิการเอกคนที่ 1(5) แต่เนื่องจากบทบาทของเขาในการรณรงค์ปฏิรูปที่ดินอย่างรุนแรงจิญจึงต้องลาออก[7] โฮจิมินห์จึงเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเอกพรรคแรงงานเวียดนามต่อเป็นคนที่ 2(6) แต่ได้แต่งตั้งให้เล สวนเป็นรักษาการเลขาธิการเอกโดยทันที[8]เนื่องจากโฮเป็นประธานพรรคอีกตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 เล สวนได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการเอกคนที่ 3(7) และเป็นผู้นำสูงสุดลำดับที่สองจนกระทั่งโฮจิมินห์เสียชีวิตในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512[9]
นับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 เล สวนเป็นผู้นำของเวียดนามที่ไม่ได้ประสบปัญหาใดๆเหมือนอย่างผู้นำรุ่นก่อนๆจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2529[10] โดยเลสวนได้เสียชีวิตลงก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งต่อไปเพียงสองเดือน ผู้รับช่วงคนถัดมาคือเจื่อง จิญอดีตเลขาธิการพรรคสองสมัยและเขาเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งมากที่สุดเป็นอันดับสองและหลังจากโฮจิมินห์เสียชีวิตไปแล้วจิญกลายเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากในเวียดนาม โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 จิญได้รับการลงมติให้พ้นจากตำแหน่งตามวาระในที่ประชุมพรรคแห่งชาติชุดที่ 6 เหลือเพียงตำแหน่งประธานาธิบดี และที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติเลือกเลขาธิการใหญ่คนที่ 8 เป็นเหงียน วัน ลิญ[11] โดยสื่อตะวันตกมักเรียกเขาว่า "กอร์บาชอฟแห่งเวียดนาม" เนื่องจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ(โด๋ยเม้ย)ของเขา[12] ในปี พ.ศ. 2534 เหงียน วัน ลิญได้ลาออกจากเลขาธิการพรรคเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพของเขา และที่ประชุมใหญ่พรรคแห่งชาติชุด 7 ได้ลงมติรับรองให้โด๋ เหมื่อยเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 9[13]และในการประชุมพรรคชุดที่ 8 ในปี พ.ศ. 2539 เหมื่อยก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคอีกสมัยในาภาวะที่พรรคแบ่งเป็นสองฝ่าย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสมัยที่สองเพียงหนึ่งปีในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 8 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ได้ให้โดเหมื่อยพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งนำโดยโด๋เหมื่อยและฝ่ายปฏิรูปของเหงียนวันลิญ ที่ประชุมใหญ่พรรคชุดที่ 8 จึงได้ลงมติเลือก[14]พลโทอาวุโสเล ขา เฟียวเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 10 และเขาได้เป็นผู้ประนีประนอมการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายโด๋เมื่อย และในปี 2544 ก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งที่ 9 เมื่อคณะกรรมการกลางคว่ำการตัดสินใจของโปลิตบูโร เสียงข้างมากในที่ประชุมคณะกรรมการกลางได้ลงมติให้เฟียวพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[15] และที่ประชุมพรรคได้ลงมติเลือกหน่อง ดุ๊ก หมันห์เป็นเลขาธิการพรรคต่อจากเลขาเฟียว และดุ๊กหมันห์ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เขายังเป็นเลขาธิการคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย[16] ดุ๊กหมันห์ดำรงตำแหน่งอยู่สองสมัยจึงได้พ้นจากตำแหน่งในปี 2554 และที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 11 ได้เลือกเหงียน ฟู้ จ่องให้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการใหญ่คนปัจจุบันซึ่งปัจจุบันฟู้จ่องได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 3 และตอนนี้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในเวียดนาม [17]
เลขาธิการใหญ่เป็นประธานในการทำงานของคณะกรรมการกลางพรรค, สมาชิกโปลิตบูโร และเป็นประธานการประชุมกับผู้นำคนสำคัญ(ระเบียบการทำงานของคณะกรรมการกลาง, 2554)
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดจีน Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Đông Dương | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (อายุขัย) |
เริ่ม | สิ้นสุด | อันดับ [note 1] |
คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ |
1(1) | เจิ่น ฟู้ (พ.ศ. 2447 – 2474) |
27 ตุลาคม พ.ศ. 2473 | 6 กันยายน พ.ศ. 2474 | 1 | คณะกรรมการกลางเฉพาะกาล (พ.ศ. 2473–78) | |
2(2) | เลอ ห่ง ฟอง (พ.ศ. 2445 – 2485) |
27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ I (พ.ศ. 2478–88) | |
3(3) | ฮ่า หุ่ย เติบ (พ.ศ. 2449 – 2484) |
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 | 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 | 1 | ||
4(4) | เหงียน วัน กื่อ(นักปฏิวัติ) (พ.ศ. 2455 – 2484) |
30 มีนาคม พ.ศ. 2481 | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 | 1 | ||
5(5) | เจื่อง จิญ (พ.ศ. 2450 – 2531) |
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 | 1 [note 2] |
คณะกรรมการกลางชุดที่ I (พ.ศ. 2478–88) | |
เลขาธิการเอกคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเวียดนาม Bí thư Thứ nhất Ban Chấp hành Trung ương Đảng Lao động Việt Nam | ||||||
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (อายุขัย) |
เริ่ม | สิ้นสุด | อันดับ | คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ |
5(1) | เจื่อง จิญ (พ.ศ. 2450 – 2531) |
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2499 | 2 | คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503) | |
6(2) | โฮจิมินห์ (พ.ศ. 2433 – 2512) |
5 ตุลาคม พ.ศ. 2499 | 10 กันยายน พ.ศ. 2503 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503) | |
คณะกรรมการกลางชุดที่ III (พ.ศ. 2503–19) | ||||||
7(3) | เล สวน (พ.ศ. 2450 – 2529) |
10 กันยายน พ.ศ. 2503 | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2519 | 2 [note 3] 1 (พ.ศ. 2512-2519) | ||
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam | ||||||
7 | เล สวน (พ.ศ. 2450 – 2529) |
20 ธันวาคม พ.ศ. 2519 | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ IV (พ.ศ. 2519–25) | |
คณะกรรมการกลางชุดที่ V (พ.ศ. 2525–29) | ||||||
5 | เจื่อง จิญ (พ.ศ. 2450 – 2531) |
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ V (พ.ศ. 2525–29) | |
8 | เหงียน วัน ลิญ (พ.ศ. 2458 – 2541) |
18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2534 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ VI (พ.ศ. 2529–34) | |
9 | โด๋ เหมื่อย (พ.ศ. 2460 – 2561) |
28 มิถุนายน พ.ศ. 2534 | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ VII (พ.ศ. 2534–39) | |
คณะกรรมการกลางชุดที่ VIII (พ.ศ. 2539–44) | ||||||
10 | พลโทอาวุโส เล ขา เฟียว (พ.ศ. 2474 – 2563)[note 4] |
26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 | 22 เมษายน พ.ศ. 2544 | 1 | ||
11 | หน่อง ดุ๊ก หมันห์ (พ.ศ. 2483 – 2563) |
22 เมษายน พ.ศ. 2544 | 19 มกราคม พ.ศ. 2554 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ IX (พ.ศ. 2544–49) | |
คณะกรรมการกลางชุดที่ X (พ.ศ. 2549–54) | ||||||
12 | เหงียน ฟู้ จ่อง (พ.ศ. 2487 – 2567) |
19 มกราคม พ.ศ. 2554 | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ XI (2011–16) | |
คณะกรรมการกลางชุดที่ XII (2016–21) | ||||||
คณะกรรมการกลางชุดที่ XIII (2021–26) | ||||||
13 | โต เลิม (พ.ศ. 2500 – ) |
3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | อยู่ในตำแหน่ง | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ XIII (2021–26) |
ประธานคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเวียดนาม Chủ tịch Ban Chấp hành Trung ương Đảng Lao động Việt Nam | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (อายุไข) |
เริ่มต้น | สิ้นสุด | อันดับ | คณะกรรมการกลางคอมมิวนิสต์เวียดนาม |
* | โฮจิมินห์ (พ.ศ. 2433 – 2512) |
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 | 2 กันยายน พ.ศ. 2512 | 1 | คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503) คณะกรรมการกลางชุดที่ III (พ.ศ. 2503–19) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.