Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหงียน ฟู้ จ่อง (เวียดนาม: Nguyễn Phú Trọng) เป็นอดีตประธานาธิบดีเวียดนาม อดีตเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์[4]
เหงียน ฟู้ จ่อง | |
---|---|
Nguyễn Phú Trọng | |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 มกราคม พ.ศ. 2554 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ก่อนหน้า | นง ดึ๊ก หมั่ญ |
ถัดไป | โต เลิม[1][2][3] |
ประธานาธิบดีเวียดนาม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 5 เมษายน พ.ศ. 2564 | |
นายกรัฐมนตรี | เหงียน ซวน ฟุก |
รองประธานาธิบดี | ดั่ง ถิ หง็อก ถิ่ญ |
ผู้นำ | ตนเอง (เลขาธิการ) |
ก่อนหน้า | ดั่ง ถิ หง็อก ถิ่ญ (รักษาการ) |
ถัดไป | เหงียน ซวน ฟุก |
เลขาธิการคณะกรรมาธิการการทหารกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 มกราคม พ.ศ. 2554 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
รอง | โง ซวน หลิก |
ก่อนหน้า | นง ดึ๊ก หมั่ญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 เมษายน พ.ศ. 2487 ฮานอย ตังเกี๋ย อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (80 ปี) ฮานอย ประเทศเวียดนาม |
เชื้อชาติ | เวียดนาม |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม |
คู่สมรส | โง ธี เมิ้น |
บุตร | เหงียน จ่อง เจือง เหงียน ถิ กิม หง็อก |
ลายมือชื่อ | |
เหงียน ฟู้ จ่อง เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2487 เป็นชาวชุมชนด่งฮอย อำเภอด่งอัญ กรุงฮานอย เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554[5][6][7][8] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในสมัชชาพรรคครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2559[9][10][11]เป็นหัวหน้าคณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางทางทหาร[12][13] นอกเหนือจากนั้นยังเป็นหัวหน้าโดยพฤตินัยของคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในเวียดนาม[14][15]
เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564 สมัชชาแห่งชาติเวียดนามเปิดการประชุมครั้งที่11 สมัชชาแห่งชาติสมัยที่ 14 (Quốc hội khóa XIV) ที่ประชุมได้ลงมติให้เหงียน ฟู้ จ่อง พ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีเวียดนามโดยมีผลในทางพฤตินัย หลังการลงคะแนนลับของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในญัตติให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่ง ผลออกมาดังนี้ จำนวนสมาชิก 469 คน จากทั้งหมด 480 คน; ขานชื่อ 469 คน; รวมเสียงได้ 467 เสียง; เสียงเห็นด้วย 451 เสียง (เท่ากับ 93.95% ของสมาชิกทั้งหมด) ไม่เห็นด้วย 16 เสียง (คิดเป็น 3.33% ของสมาชิกทั้งหมด) โดยให้มีผลอย่างเป็นทางการ (นิตินัย) ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เมื่อสมัชชาแห่งชาติมีมติเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่[16][17]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.