Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภุ้นชิ่,[1] มินอะทเว (မင်းအထွေး, [mɪ́ɴ ʔə tʰwé])[2] หรือปรากฏในเอกสารไทยว่า เมงอะทเว[3][4] เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าบุเรงนอง ประสูติแต่พระสุพรรณกัลยา และเป็นพระภาคิไนยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[3] ในเอกสารไทยมักอธิบายว่า พระองค์ถูกพระเจ้านันทบุเรงสังหารด้วยโทสะพร้อมกับพระสุพรรณกัลยา พระชนนี[4][5] ขณะที่พงศาวดารพม่าไม่ได้ระบุเนื้อหาดังกล่าวไว้เลย[6][7][8]
มินอะทเว | |
---|---|
พิษณุโลกเมียวซา | |
พระภัสดา | เจ้าโกโตรันตรมิตร |
พระบุตร | เจ้าจันทร์วดี |
ราชวงศ์ | ตองอู |
พระบิดา | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระมารดา | พระสุพรรณกัลยา |
ศาสนา | พุทธ |
มหาราชวงศ์ ระบุว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาถวายตัวพระสุวรรณ พระสุพรรณกัลยา ซึ่งเป็นพระราชบุตรีแก่พระเจ้าบุเรงนองในคราวขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2113 ขณะนั้นพระสุพรรณกัลยามีพระชนมายุ 17 พรรษา พร้อมพระพี่เลี้ยง 15 คน ตามเสด็จไปเมืองเวียงจันทน์ด้วย[9][10] พระสุพรรณกัลยามีพระนามว่า อะเมี้ยวโยง[11] หรือ อมโรรุ้ง[12] (အမျိုးရုံ, [ʔə mjó jòʊɴ]) พระอิสริยยศเป็น พะยาเง คือพระมเหสีเล็ก และ โกโละดอ คือ เจ้าจอมมารดาผู้เป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้า[13]
หลังเสร็จศึกกับล้านช้างแล้ว พระสุพรรณกัลยาก็ให้ประสูติกาลพระราชธิดาที่พระราชวังกัมโพชธานี กรุงหงสาวดี มีพระนามว่า ภุ้นชิ่ แปลว่า ผู้มีบารมีและสติปัญญา และพระชนกชนนีมักเรียกด้วยพระนาม มินอะทเว แปลว่า เจ้าหญิงน้อย[1] เดือนมีนาคม พ.ศ. 2116 พระสุพรรณกัลยาและมินอะทเวประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปสักการะเจดีย์ชเวดากอง ใช้เวลาแสวงบุญที่นั่นนานห้าวัน[14] หลังกลับกรุงหงสาวดีพระเจ้าบุเรงนองทรงนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญ พร้อมกับพระราชทานพระอิสริยยศต่าง ๆ แก่พระราชโอรสธิดาทุกพระองค์ ทรงตั้งให้มินอะทเวเป็นเมียวซา (မြို့စား) หรือผู้กินเมืองพิษณุโลก เพราะพระเจ้าบุเรงนองทรงมอบสิทธิกินเงินภาษีของเมืองพิษณุโลกแก่พระราชธิดาพระองค์นี้[1][15]
หลังการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้านันทบุเรงเสวยราชสมบัติสืบมา และหลังเหตุการณ์ที่มังกยอชวาสิ้นพระชนม์เมื่อคราวศึกยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแค้นพระทัย คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า "...ส่วนพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระโกรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐาน จึงเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศร์นั้นประทมอยู่ในพระราชโอรสเสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่ความพิราลัยไปด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาทรงพระโกรธยิ่งนักมิทันที่จะผันผ่อนได้..." ขณะที่ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าอีกว่า "...พระเจ้าหงสาวดียังไม่คลายพิโรธ จึงใช้พระแสงดาบฟันพระธิดาน้อย อันเกิดแก่จันทกัลยาพระพี่นางพระนริศกับพระเจ้าหงสาวดีเองจนสิ้นพระชนม์..."[16][17] ซึ่งอู้เตงลาย นักประวัติศาสตร์ชาวพม่า มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เชื่อว่า ผู้ที่ถูกสังหารน่าจะเป็นพระธิดาของพระสุพรรณกัลยามากกว่า[8][18] ขณะที่มิคกี้ ฮาร์ท นักวิชาการชาวพม่าให้ข้อมูลว่า มินอะทเวเสด็จออกมาประทับร่วมกับพระสุพรรณกัลยาที่พระตำหนักส่วนพระองค์นอกเขตพระราชวังกัมโพชธานีตามพระราชประเพณีหลังสิ้นรัชกาลก่อน และมิได้ถูกปลงพระชนม์[19][20]
มิคกี้ ฮาร์ท ให้ข้อมูลว่า มินอะทเวเสกสมรสกับเจ้าโกโตรันตรมิตร (พระนามเดิมว่า เจ้าเกาลัด) เป็นบุตรของเจ้าอสังขยา (พระนามเดิม เจ้าเมืองคำ) เจ้าเมืองหญังเป็นหนึ่งในรัฐเจ้าฟ้าไทใหญ่ ที่ถูกพระเจ้าบุเรงนองกวาดต้อนไปหงสาวดีตั้งแต่ พ.ศ. 2100 เป็นต้นมา[21] เจ้าโกโตรันตรมิตรได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้านันทบุเรงให้เป็นเจ้าเมืองตะลุป มินอะทเวติดตามพระสวามีไปอยู่เมืองอังวะพร้อมกับพระชนนี มินอะทเวประสูติการพระธิดาพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า จันทร์วดี[22]
โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้ ของมิคกี้ ฮาร์ท ระบุว่า จันทร์วดี พระธิดาเพียงองค์เดียวของมินอะทเว ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษา 20 ปี เสกสมรสกับเจ้าจอสูร์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองส้า เมื่อ พ.ศ. 2168 และประสูติการพระโอรสคือ เจ้าจันทร์ญี และพระธิดาคือ เจ้ามณีโอฆะ[23][24]
เจ้ามณีโอฆะเสกสมรสกับเทวเศรษฐะ มหาเศรษฐีเมืองอังวะ มีบุตรคนหนึ่งคือ อู้กะลา ซึ่งเป็นผู้รวบรวมพงศาวดาร มหาราชวงศ์[23][24]
พงศาวลีของเจ้าหญิงมินอะทเว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.