Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Beatrix der Nederlanden; 31 มกราคม ค.ศ. 1938) พระนามเต็ม เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard, เสียงอ่านภาษาดัตช์: [ˈbeːjaˌtrɪks ˌʋɪlɦɛlˈmina ˈɑrmɣɑrt] ( ฟังเสียง)) เป็นอดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 จนสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 ให้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และทรงเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ถึงปัจจุบัน
เบียทริกซ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระฉายาลักษณ์ในปี ค.ศ. 2015 | |||||
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ | |||||
ครองราชย์ | 30 เมษายน 1980 – 30 เมษายน 2013 (33 ปี 0 วัน) | ||||
พิธีขึ้น | 30 เมษายน 1980 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ | ||||
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ
| ||||
ประสูติ | พระราชวังซุสต์ไดก์ บาร์น ประเทศเนเธอร์แลนด์ | 31 มกราคม ค.ศ. 1938||||
พระราชสวามี | เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระราชบิดา | เจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ | ||||
ศาสนา | คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ | ||||
ลายพระอภิไธย |
เจ้าหญิงเบียทริกซ์เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ พระราชชนนีของพระองค์ทรงครองราชบัลลังก์ ใน ค.ศ. 1948 เจ้าหญิงได้ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน เมื่อพระราชมารดาสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้สืบราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วไปที่ประเทศแคนาดา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เนเธอร์แลนด์ในช่วงยุคหลังสงคราม ในปี ค.ศ. 1961 พระนางทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไลเดิน ในปี ค.ศ. 1966 เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ ฟ็อน อัมสแบร์ค นักการทูตชาวเยอรมัน ซึ่งมีพระโอรสร่วมกัน 3 พระองค์
เจ้าชายเคลาส์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 2002 ในช่วงที่พระองค์สละราชบัลลังก์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์[1]
รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์เป็นสมัยที่มีการถือครองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ด้วยการแยกตัวของอารูบาที่ได้กลายเป็นสถานะประเทศองค์ประกอบด้วยตัวเองภายในราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1986 และเช่นเดียวกับเกิดการแยกตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการปกครองตนเองแห่งโบแนเรอ ซินต์เอิสตาซียึส และซาบา และประเทศองค์ประกอบอีกสองประเทศคือ กือราเซาและซินต์มาร์เติน
ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2013 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงประกาศว่า พระองค์จะทรงสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 ในวันโกนิงงินเนอดัค (วันพระราชินีนาถ)[2] โดยทรงสละราชบัลลังก์แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงแห่งราชบัลลังก์ ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์พระองค์แรกในรอบ 123 ปี
หลังจากทรงสละราชสมบัติแล้ว มีพระนามและพระอิสริยยศเป็น เฮอร์รอยัลไฮนีส เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอแลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ (อังกฤษ: Her Royal Highness Princess Beatrix of the Netherlands, Princess of Orange-Nassau, Princess of Lippe-Biesterfeld)[3]
เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงมีพระนามตั้งแต่แรกประสูติว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา เจ้าหญิงแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์ ประสูติเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1938 ที่พระราชวังโซเอสดิจ์ค, บาร์น เนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในเจ้าหญิงยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์กับเชื้อสายขุนนางชั้นสูงชาวเยอรมัน เจ้าชายแบร์นฮาร์ทแห่งลิพเพอ-บีสเทอร์เฟ็ลท์[4] เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมาในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1938 ที่มหาวิหารใหญ่ในเดอะเฮก[5] เจ้าหญิงมีพระบิดามารดาอุปถัมภ์ 5 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียม เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ดยุกอดอล์ฟ เฟรเดอริกแห่งเม็คเคลนบวร์ก เคานท์เตสอัลลีน เดอ ค็อทเซเบอ[6] พระนามกลางของเจ้าหญิงเบียทริกซ์มาจากพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ที่ทรงครองราชย์อยู่ในขณะนั้น และพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา คือ อาร์มการ์ดแห่งเซียร์สตอร์ฟ
พระองค์มีพระโสทรกนิษฐภคินี 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงไอรีนแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงคริสตีนาแห่งเนเธอร์แลนด์
สงครามโลกครั้งที่สองได้มาถึงเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 (ยุทธการที่ฝรั่งเศส) ในวันที่ 13 พฤษภาคม พระราชวงศ์เนเธอร์แลนด์ได้เสด็จลี้ภัยไปยังลอนดอน สหราชอาณาจักร หนึ่งเดือนถัดมา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ได้เสด็จไปยังออตตาวา รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา พร้อมกับเจ้าหญิงยูเลียนา พระราชมารดาและเจ้าหญิงไอรีน พระขนิษฐา ในขณะที่พระราชบิดาของพระนาง เจ้าชายแบร์นฮาร์ทและสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา พระอัยยิกายังคงประทับอยู่ที่ลอนดอน[4] พระราชวงศ์ประทับอยู่ที่บ้านสตอร์โนเวย์ (เดิมเป็นบ้านที่พำนักของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรของแคนาดา)[7] ด้วยกันกับราชองครักษ์และนางพระกำนัล พระราชวงศ์ได้ประทับในช่วงฤดูร้อนที่เลคออฟเบย์ ออนแทรีโอ ซึ่งเป็นกระท่อมหินสี่หลังของรัสอร์ทที่จัดไว้ให้ประทับ ขณะประทับอยู่ที่เกาะบิกวิน รัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กนิรภัยที่ห้องโถงกลมของโรงเตี๊ยมบิกวิน เจ้าหญิงยูเลียนาและพระราชวงศ์ทรงถูกจดจำในฐานะที่ทรง "ลงมาสู่ผืนดิน" ด้วยมิตรไมตรี ความกตัญญูอย่างใหญ่หลวงและการให้ความเคารพอย่างสูงต่อแผ่นดินเกิดและประชาชนของพระองค์ เพื่อที่จะแสดงความเคารพนี้ พระนางทรงงดของฟุ่มเฟือยทั้งหมดที่รีสอร์ทได้บริการให้และมีการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายจำนวนมากแก่รีสอร์ทที่ใหญ่ที่สุดและหรูหราที่สุดในแคนาดา เพื่อที่จะทำให้ทรงรู้สึกถึงความปลอดภัย การทำอาหารและเจ้าพนักงานที่ได้รับคำสั่งส่วนบุคคลในช่วงเวลาอาหาร เมื่อทรงเดินทางมาถึง นักดนตรีของโรงเตี๊ยมบิกวินได้ถูกเรียกมาที่ท่าเรือและทำการแสดงในสาธารณะตลอดจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีการบรรเลงเพลง วิลเฮลมัส ด้วย ในหลายปีต่อมารีสอร์ทถูกละเลย แต่กระท่อม "ยูเลียนา" ยังคงได้รับการรักษาอย่างดีและเป็นการเก็บรักษาเพื่อระลึกถึงเจ้าหญิงยูเลียนาและพระราชวงศ์ ด้วยการแสดงความขอบคุณที่ได้ให้การคุ้มครองพระนางและพระราชธิดา เจ้าหญิงยูเลียนาทรงดำเนินการจัดส่งดอกทิวลิปจำนวนมากแก่รัฐบาลแคนาดาในทุกๆฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งถือเป็นหัวใจของเทศกาลทิวลิปแคนาดา
พระขนิษฐาองค์ที่สองของเจ้าหญิงเบียทริกซ์ คือ เจ้าหญิงมาร์ครีต[4] ประสูติในออตตาวา ปี ค.ศ. 1943 ในระหว่างทรงลี้ภัยอยู่ในแคนาดา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาในสถานรับเลี้ยงเด็กและ[8] โรงเรียนเทศบาลร็อคคลิฟปาร์ค โรงเรียนชั้นประถามศึกษาที่เจ้าหญิงทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "ทริซี่ออเรนจ์" (Trixie Orange)[9][10]
ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมันในเนเธอร์แลนด์ยอมจำนน พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนประถมศึกษา De Werkplaats ในบิลโทเฟน พระขนิษฐาองค์ที่สาม เจ้าหญิงคริสตีนา ประสูติในปี ค.ศ. 1947[4] ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1948 พระราชมารดาของพระนาง เจ้าหญิงยูเลียนา ทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา ในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์ขณะมีพระชนมายุ 10 พรรษา
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1950 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงเข้า Incrementum ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Baarnsch Lyceum ซึ่งในปี ค.ศ. 1956 พระองค์ทรงผ่านการสอบในสาขาวิชาศิลปะและคลาสสิก[11]
ในปี ค.ศ. 1954 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงหน้าที่เป็นเพื่อนเจ้าสาวในงานแต่งงานของบารอนเนสฟาน รันวีเย็ค กับนายที โบอี[12]
ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1956 เจ้าหญิงเบียทริกซ์มีพระชนมายุ 18 พรรษา นับตั้งแต่วันนั้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงมีสิทธิ์ตามพระราชอำนาจ ในเวลานั้น พระราชมารดาของพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระองค์เป็นสมาชิกคณะกรรมการกฤษฎีกาแห่งเนเธอร์แลนด์
ในปีเดียวกันทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปีแรกขณะในมหาวิทยาลัย พระองค์ทรงศึกษาสังคมวิทยา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์การเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ[11] ในหลักสูตรการศึกษาของพระองค์ พระองค์ทรงเข้าร่วมการฟังบรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรมของซูรินามและเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส กฎบัตรแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์และกฎหมายสหภาพยุโรป
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและองค์การระหว่างประเทศในเจนีวา สทราซบูร์ ปารีสและบรัสเซลส์ พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกของ VVSL (สหภาพนักศึกษาสตรีไลเดิน) ที่ตอนนี้ถูกเรียกว่า L.S.V. Minerva หลังจากรวมเข้ากับองค์กร Leidsch Studenten Corps (ซึ่งแต่ก่อนเป็นองค์กรสำหรับผู้ชายเท่านั้น) ในฤดูร้อน ค.ศ. 1959 พระองค์ทรงผ่านการสอบเบื้องต้นด้านกฎหมายและทรงได้รับปริญญาบัตรด้านนิติศาสตร์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1961[11]
การปรากฏพระองค์ในทางการเมืองเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. 1965 เจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงหมั้นกับเคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์ก นักการทูตชาวเยอรมัน สังกัดกระทรวงต่างประเทศเยอรมนี ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในพิธีอภิเษกสมรสที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1966 เจ้าชายเคลาส์ทรงเคยรับราชการในยุวชนฮิตเลอร์และเวร์มัคท์ ดังนั้นจึงเป็นความข้องเกี่ยวระหว่างประชาชนชาวดัตช์กับระบอบนาซีเยอรมัน กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้มีข้อความการประท้วงซึ่งเป็นที่จดจำได้แก่ "Claus 'raus!" ("เคลาส์ออกไป!") และ "Mijn fiets terug" ("เอาจักรยานของเราคืนมา"-อ้างถึงการยึดครองเนเธอร์แลนด์ของทหารเยอรมันที่ทำการยึดจักรยานของชาวดัตช์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ระเบิดควันถูกโยนเข้าใส่รถม้าพระที่นั่งสีทองโดยกลุ่มโปรโว (Provo) ทำให้เกิดการปะทะกับตำรวจอย่างรุนแรงบนท้องถนน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เจ้าชายเคลาส์ทรงกลายเป็นหนึ่งในพระราชวงศ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดของพระราชวงศ์ดัตช์ และการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเคลาส์ในปี ค.ศ. 2002 ได้มีการไว้อาลัยแด่พระองค์ทั่วประเทศ
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 เจ้าหญิงเบียทริกซ์และเจ้าชายเคลาส์ทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ ในพระราชพิธีประกาศเอกราชของซูรินามที่เมืองหลวงแห่งใหม่ ปารามารีโบ
เหตุการณ์การจลาจลที่มีความรุนแรงได้เกิดขึ้นอีกในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 ในระหว่างพิธีขึ้นครองราชย์ (ประมุขของเนเธอร์แลนด์จะไม่มีการ "สวมมงกุฎ") ของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ กลุ่มผู้จับจองแนวคิดสังคมนิยม ใช้โอกาสนี้ประท้วงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของคนจนในเนเธอร์แลนด์และต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยข้อความการประท้วงซึ่งเป็นที่จดจำคือ "Geen woning; geen Kroning" (ไม่มีบ้าน ไม่ต้องครองราชย์) เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงกับตำรวจและกองกำลังรักษาความปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมร่วมสมัยในงานเขียนของเอ. เอฟ. ทีเอช. ฟาน เดอ ไฮจเดิน
ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ทรงพบปะกับนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของรัฐสภาและพระราชกฤษฎีกา จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในช่วงปลายรัชสมัย โดยมีการแต่งตั้งข้าราชการซึ่งมีส่วนช่วยในสภาวะการก่อตัวของรัฐบาลใหม่ ในการเปิดสมัยประชุมสภาในเดือนกันยายนของทุกปี พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสบนราชบัลลังก์ ซึ่งรัฐบาลจะต้องประกาศแผนประจำปีสมัยประชุม ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภา และทรงมีบทบาททางพระราชพิธีโดยส่วนใหญ่ และเป็นศูนย์รวมเอกภาพของชาติ พระองค์ไม่ทรงใช้พระราชอำนาจตัดสินพระทัยทางด้านนิติบัญญัติและด้านบริหาร
พระองค์ทรงเป็นสมาชิกของกลุ่มบิลเดอเบิร์ก[13] เป็นกลุ่มลับที่มีการประชุมประจำปีเท่านั้นโดยผู้ร่วมก่อตั้งคือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งมีการประชุมที่โรงแรมบิลเดอเบิร์กในออสเตอบีค
ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1965 ได้มีการประกาศพิธีหมั้นระหว่างเจ้าหญิงเบียทริกซ์กับเคลาส์ ฟ็อน อัมส์แบร์ค ทั้งสองทรงพบกันในงานเลี้ยงก่อนการเสกสมรสของเจ้าหญิงทาทีอานาแห่งไซน์-วิทเกินชไตน์-แบร์เลอบวร์คกับโมริทซ์ ลันท์กราฟแห่งเฮ็สเซิน ในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1964 (ทั้งสองทรงพบกันมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ปี ค.ศ. 1962 ที่บาดดรีบูร์ก ในงานเลี้ยงของเคานส์ ฟ็อน เอินเฮาเซน-เซียร์สตอร์ฟ ซึ่งเป็นพระญาติห่างๆของทั้งสอง) ด้วยการยินยอมของรัฐสภาในการอภิเษกสมรส เคลาส์ ฟอน อัมส์เบิร์กจึงกลายเป็นพลเมืองชาวดัตช์ และเมื่ออภิเษกสมรสจึงกลายเป็นเจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ จองคีร์ ฟ็น อัมส์แบร์ค
เจ้าหญิงเบียทริกซ์อภิเษกสมรสกับเคลาส์ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1966 ทั้งรัฐพิธีและพิธีทางศาสนา[14] ทรงฉลองพระองค์แบบดั้งเดิมด้วยผ้าไหมซาตินแบบดัชเชส ที่ออกแบบโดยแคโรไลน์ บรีก-ฟาร์วิค แห่งไมซอนลีเน็ตต์ ในเดน บอร์ชและมงกุฎไข่มุกเวือร์เทมแบร์ก
เพื่อนเจ้าสาวที่อาวุโส ได้แก่ เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (พระโสทรกนิษฐภคินีพระองค์เล็ก) เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสวีเดน, เลดี้เอลิซาเบธ แอนสัน, โจแอนนา โรเอล, ยูเจนี ลอดอน และน้องสาวของเจ้าบ่าวคือ คริสตินา ฟอน อัมส์เบิร์ก เพื่อนเจ้าสาวที่อ่อนอาวุโสกว่าได้แก่ แด็ฟเน สจ๊วต คลาร์ก และแคโรลิน อัลทิง ฟอน เกอเซา และเด็ก ๆ เพื่อนเจ้าบ่าวได้แก่ โจอาคิม เจนเคล และมาร์คัส ฟอน เอินเฮาเซน-เซียร์สตอร์ฟ[15]
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปยังพระราชพิธีด้วยรถม้าพระที่นั่งสีทอง[16] พระราชพิธีได้ดำเนินการโดยนายกเทศมนตรีแห่งอัมสเตอร์ดัม กิลส์เบิร์ต ฟาน ฮอล ที่ศาลาว่าการอัมสเตอร์ดัม พิธีรับพรสมรสถูกจัดขึ้นที่เวสเตอร์เคิร์ก ดำเนินการโดยสาธุคุณ เฮนดริก ยาน คาเตอร์ และรับการเทศนาโดยสาธุคุณ โยฮันเนส เฮนดริก ซิลเลวิส สมิต[17]
ทั้งสองพระองค์ประทับที่ปราสาทดราเกนสไตน์ในลาเกวูร์สเชด้วยกันกับพระราชโอรสจนกระทั่งเจ้าหญิงเบียทริกซ์ทรงครองราชบัลลังก์ ในปี ค.ศ. 1981 ทั้งสองพระองค์ได้ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังฮุส เทน บอส์ช ในเฮก
พระองค์และพระราชสวามี มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ ดังนี้
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรสและพระโอรส-ธิดา |
สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ | 27 เมษายน ค.ศ. 1967 | อภิเษกสมรสวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 กับ มักซิมา ซอร์เรกัวตา มีพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่ • เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ • เจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์ • เจ้าหญิงอารียานแห่งเนเธอร์แลนด์ | ||
เจ้าชายฟริโซแห่งออเรนจ์-นัสเซา | 25 กันยายน ค.ศ. 1968 | [18] | 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013อภิเษกสมรสวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2004 กับ มาเบล วิสซี สมิท มีพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่ • เคาน์เตสลัวนา • เคาน์เตสซาเรีย | |
เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1969 | อภิเษกสมรสวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 กับ เลาเรนเทียน บริงค์ฮอร์สท์ มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์ ได้แก่ • เคาน์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา • เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา • เคาน์เตสเลโอนอร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา |
ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1980 สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนา พระราชมารดาของพระองค์ ทรงสละราชบัลลังก์ พระองค์ได้สืบราชบัลลังก์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์
ในการประชุมที่ยาวนาน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายทุกฉบับก่อนที่จะถูกบังคับใช้ ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถ พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือการเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรในต่างประเทศและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพในประเทศ พระองค์เสด็จออกรับเอกอัครราชทูตต่างประเทศและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราต่าง ๆ ทรงตอบรับคำเชิญในการเสด็จเปิดนิทรรศการ การเข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง การเปิดสะพาน เป็นต้น พระราชดำรัสของพระองค์ถูกยกมาเผยแพร่ต่อสื่อน้อยมากนับตั้งแต่การบริการข้อมูลสาธารณะภาครัฐได้ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับสัมภาษณ์ว่า พระราชดำรัสของพระองค์จะไม่ถูกอ้างขึ้นมา นโยบายนี้ถูกใช้ไม่นานหลังจากพิธีขึ้นครองราชย์ โดยมีรายงานว่าเพื่อปกป้องพระองค์จากภาวะยุ่งยากทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่นโยบายนี้ก็ไม่ได้นำไปใช้กับ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระราชโอรสของพระองค์
ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีดัตช์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงแต่งตั้ง informateur ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นผู้นำการเจรจาต่อรองที่ในที่สุดแล้วนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตามได้มีการเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 2012 และพรรคที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดในสภาจะทำการแต่งตั้ง "scout" ซึ่งจะเป็นผู้แต่งตั้ง "informateur" อีกทีหนึ่ง
ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1986 อารูบาได้แยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสและได้กลายเป็นสถานะประเทศองค์ประกอบด้วยตัวเองภายในราชอาณาจักร
ในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2002 เจ้าชายเคลาส์ พระราชสวามีได้สิ้นพระชนม์ลง หลังจากทรงพระประชวรเป็นเวลานาน หนึ่งปีครึ่งต่อมา พระราชมารดาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคตจากภาวะสมองเสื่อม ในขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคมะเร็งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยไลเดิน ซึ่งเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถโดยปกติแล้วทรงปฏิเสธที่จะรับ การมีพระราชดำรัสของพระองค์ได้สะท้อนภาพของสถาบันกษัตริย์และทรงครองราชสมบัติมาเป็นเวลา 25 ปี[19] พระราชดำรัสของสมเด็จพระราชินีนาถได้มีการออกอากาศทั่วประเทศ[20]
ในวันที่ 29 และ 30 เมษายน ค.ศ. 2005 สมเด็จพระราชินีนาถทรงประกอบพระราชพิธีรัชดาภิเษก พระองค์ทรงพระราชทานสัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ดัตช์ มีการจัดการแสดงคอนเสิร์ตที่จตุรัสดัมในกรุงอัมสเตอร์ดัม และมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่เดอะเฮก ซึ่งเป็นที่ทำการรัฐบาล
ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เกิดการแยกตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบการปกครองตนเองแห่งโบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา และประเทศองค์ประกอบอีกสองประเทศคือ กูราเซาและซินต์มาร์เติน มีพิธียุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสจัดขึ้นที่กรุงวิลเลมสตัด ซึ่งเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ในขณะนั้นคือ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์และเจ้าหญิงแม็กซิมา พระชายา เสด็จแทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถในการพิธี
ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2009 สมเด็จพระราชินีนาถและพระราชวงศ์ดัตช์ถูกโจมตีด้วยการใช้รถพุ่งเข้าชนโดยชายชาวดัตช์ ชื่อ คาร์สท์ เท็ทส์ เท็ทท์ได้ขับรถเข้าพุ่งเข้าไปในขบวนเสด็จที่อาเพลโดร์น โดยเฉียดรถบัสพระที่นั่งของสมเด็จพระราชินีนาถ มีประชาชนห้าคนเสียชีวิตทันทีและผู้บาดเจ็บสองคนและรวมทั้งผู้ก่อเหตุได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ผู้บาดเจ็บถูกชนได้รับบาดเจ็บสาหัส หนึ่งสัปดาห์หลังจากการโจมตีผู้บาดเจ็บอีกคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง พระราชวงศ์ไม่ได้รับอันตรายใดๆ แต่สมเด็จพระราชินีนาถและพระราชวงศ์ทรงทอดพระเนตรเห็นการพุ่งเข้าชนในระยะใกล้ ภายในไม่กี่ชั่วโมง สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงออกอากาศในรายการโทรทัศน์ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย ทรงแสดงความตกพระทัยและเสียพระราชหฤทัยทัยของพระองค์ จากการรายงานของตำรวจได้รายงานว่าเป้าหมายของผู้ก่อเหตุคือพระราชวงศ์โดยมีการวางแผนมาก่อน[21]
ในประกาศที่แพร่ภาพทางสื่อประจำชาติเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2013) สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ทรงประกาศว่าพระองค์จะสละราชสมบัติในวันที่ 30 เมษายน (วันพระราชินีนาถ) ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบ 33 ปีพอดี พระองค์ตรัสว่า ถึงเวลาแล้วที่จะ "ฝากความรับผิดชอบของประเทศไว้ในมือของคนรุ่นใหม่"[22] รัชทายาทของพระองค์ คือ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่[23] พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์พระองค์ที่สามติดต่อกันที่สละราชสมบัติ ตามสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระอัยยิกา และสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชมารดา[23] หลังการแพร่สัญญาณดังกล่าว นายกรัฐมนตรี มาร์ค รูทท์ ได้มีถ้อยแถลงตามมา โดยกล่าวถึงสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ว่า "นับแต่พิธีราชาภิเษกของพระองค์ใน ค.ศ. 2013 พระองค์ทรงมอบหัวใจและวิญญาณให้แก่สังคมดัตช์"[22]
การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และพิธีราชาภิเษกเจ้าชายแห่งออเรนจ์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะมีขึ้นในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงลงพระปรมาภิไธยในตราสารสละราชสมบัติที่พระราชวัง กรุงอัมสเตอร์ดัม ส่วนพิธีขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จะมีขึ้นที่โบสถ์ใหม่ (Nieuwe Kerk) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม[24]
ในปี ค.ศ. 2009 นิตยสารฟอร์บส์ ได้ระบุว่าพระองค์ทรงมีพระราชทรัพย์สมบัติรวม 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[25]
พงศาวลีของสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.