Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อังกฤษ: Southern Border Provinces Administration Centre) หรือเรียกโดยย่อว่า ศอ.บต. (อังกฤษ: SBPAC) เป็นองค์กรพิเศษที่รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553
Southern Border Provinces Administration Centre | |
ตราสัญลักษณ์ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
ภาพรวมศูนย์อำนวยการ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 20 มกราคม พ.ศ. 2524 |
ประเภท | หน่วยงานของรัฐ |
เขตอำนาจ | ครอบคลุมจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา[1] |
สำนักงานใหญ่ | 60 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
งบประมาณต่อปี | 1,495,584,400 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารศูนย์อำนวยการ |
|
ต้นสังกัดศูนย์อำนวยการ | นายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของศูนย์อำนวยการ |
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลในสมัยนั้นวิเคราะห์ว่า ในการแก้ปัญหาภัยคุกคามจะใช้การปราบปรามอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใช้การพัฒนานำการปราบปราม และมีนโยบายการแก้ปัญหา เป็น 2 ด้านคือ การพัฒนา และ การปราบปราม โดยตั้ง ศอ.บต. ขึ้นอยู่กับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดูแลเรื่องการพัฒนา และตั้ง พตท.43 หรือกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 ขึ้นอยู่กับแม่ทัพภาคที่ 4 ดูแลเรื่องการปราบปราม
ในปี พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นองค์กรในระดับนโยบาย โดย ศอ.บต. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของปลัดกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานภารกิจงานด้านฝ่ายพลเรือนและตำรวจ
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับยุทธศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 123/2545 ยุบ ศอ.บต. คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พตท.43[3] ตามคำเสนอแนะของพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้โอนอำนาจของคณะกรรมการการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปเป็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ อำนาจของ ศอ.บต. เป็นของกระทรวงมหาดไทย และอำนาจของ พตท.43 เป็นของกองทัพภาคที่ 4 / กอ.รมน.ภาค 4
ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2547 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547 ลงนามโดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่วนหน้าใช้ชื่อว่า “กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” (กอ.สสส.จชต.)[4] เป็นศูนย์ควบคุมและแกนหลักในการประสาน การปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต่อมาได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 200/2548 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและความรุนแรงของการก่อเหตุในช่วงแรกยังอยู่ในระดับต่ำ แต่สันนิษฐานว่า การปลูกฝังอุดมการณ์การปรับเปลี่ยน และการเตรียมจัดตั้งองค์กรใหม่ น่าจะอยู่ในช่วงแห่งการฝังตัว จนเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุปล้นกองพันพัฒนาที่ 4 อำเภอเจาะไอร้อง และเกิดเหตุการณ์กรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 108 คน รวมทั้งเหตุการณ์ที่ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 85 คน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 ในรัฐบาลของพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ จัดตั้งหน่วยงาน ศอ.บต. ขึ้นอีกครั้ง และได้แต่งตั้งให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ดำรงตำแหน่ง ผอ.ศอ.บต.
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.)
ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานสำนักงานคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นนิติบุคคล ไม่ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีพลเอกกิตติ อินทสร เป็นประธานกรรมการ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ เป็นรองประธานกรรมการ พลโทเรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ เป็นรองประธานกรรมการ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายสนั่น สนธิเมือง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเป็นกรรมการและเลชานุการในคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2559 นับเป็นผอ.ศอ.บต.คนแรกที่เป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
รายนามผู้อำนวยการ ศอ.บต. | ||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | เจริญจิตต์ ณ สงขลา | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2525 |
2 | อนันต์ อนันตกูล | พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2528 |
3 | ประกิต อุตตะโมต | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 |
4 | วิโรจน์ ราชรักษ์ | พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534 |
5 | นิพันธ์ บุญญภัทโร | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 |
6 | วิสุทธิ์ สิงห์ขจรกุล | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540 |
7 | ไพฑูรย์ บุญวัฒน์ | 1 ต.ค. 2540 - 28 ธ.ค. 2540 |
8 | พลากร สุวรรณรัฐ | 29 ธ.ค. 2540 - พ.ศ. 2544 |
9 | บัญญัติ จันทน์เสนะ | พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545 |
10 | พระนาย สุวรรณรัฐ | 1 พ.ย. 2549 – 5 พ.ย. 2552 |
11 | ภาณุ อุทัยรัตน์ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 |
รายนามเลขาธิการ ศอ.บต. | ||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
11 | ภาณุ อุทัยรัตน์ | พ.ศ. 2554 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (รักษาการ) 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
12 | พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 |
13 | ศุภณัฐ สิรันทวิเนติ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 |
14 | พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร | 9 เมษายน พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 |
15 | พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์[5] | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
ศอ.บต.ก่อตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2524 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2524 ต่อมาได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 56/2539 ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2539 กำหนดบทบาทให้ ศอ.บต. ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นรัฐบาลส่วนหน้า มาตั้งหน่วยอำนวยการอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจำลองหน่วยงานอำนวยการด้านแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ของรัฐบาลกลางมาอยู่ด้วยกัน สามารถสรุปภารกิจของ ศอ.บต. ได้ 3 ประการ คือ
การดำเนินงานของ ศอ.บต. อาศัยหลักการการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงแต่งตั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการที่มีประสบการณ์เป็น คณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต. 2 คณะ และคณะกรรมการช่วยเหลือการดำเนินงานอีก 1 คณะ คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.