สันต์ ศรุตานนท์
อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์ (เกิด 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สันต์ ศรุตานนท์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
รักษาการแทน | พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (มีนาคม – กันยายน พ.ศ. 2547) |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงเกิดศิริ ศรุตานนท์ (2520–ปัจจุบัน) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจเอก[1] |
ประวัติ
สันต์ ศรุตานนท์ เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของกระสันต์ กับประยงค์ ศรุตานนท์[2] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปี 2505 และโรงเรียนนายร้อยตำรวจในปี 2510 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2547
ครอบครัว
สรุป
มุมมอง
สันต์สมรสกับคุณหญิงเกิดศิริ ศรุตานนท์ (สกุลเดิม เศรษฐบุตร) ธิดาของสำเนา และอารินทร์ เศรษฐบุตร[2] ไม่มีบุตรกับคุณหญิงเกิดศิริ
ต่อมาในปี 2559 สันต์มีข่าวว่ามีความสัมพันธ์กับยุวเรต กังสถาน (ภายหลังได้ใช้นามสกุลศรุตานนท์) ซึ่งเป็นผู้ดูแลของตน[3] ยุวเรตอ้างว่าได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุลจากสันต์ เพื่อตอบแทนการที่เธอปรนนิบัติดูแลสันต์และมารดาของสันต์[4] สันต์และยุวเรตยังมักออกงานร่วมกันจนมีเสียงเล่าลือกันว่าสันต์หย่ากับคุณหญิงเกิดศิริแล้ว[5] คุณหญิงเกิดศิริจึงส่งจดหมายชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า ตนยังเป็นคู่สมรสตามกฎหมายของสันต์อยู่[6][7][8] ส่งผลให้มีผู้โพสต์ข้อความโจมตียุวเรตในบัญชีอินสตาแกรมของยุวเรต และยุวเรตตอบโต้ว่า "ค่ะ ไปดราม่าที่อื่นนะคะ" ภายหลังยุวเรตลบภาพที่มีปัญหานั้นออก[9]
สื่อมวลชนรายงานว่า ยุวเรตเป็นชาวพัทลุง ได้รับการเลี้ยงดูจากสันต์มาตั้งแต่ยุวเรตอายุ 18 ปี โดยสันต์พบยุวเรตครั้งแรกขณะที่ยุวเรตอยู่บนเวทีประกวด ไทยซุปเปอร์โมเดลคอนเทสต์ ทางช่อง 7 จากนั้นสันต์ก็ส่งเสียเลี้ยงดูยุวเรตตลอดมา โดยสันต์ส่งเสียให้ยุวเรตเรียนปริญญาตรีที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในสาขาการประชาสัมพันธ์ จนจบปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสาขาการจัดการทางวัฒนธรรม สันต์จึงให้รางวัลเป็นทองคำหนัก 30 บาท จากนั้นสันต์ส่งเสียให้ยุวเรตทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และให้ย้ายมาอยู่ร่วมกันในคฤหาสน์หรู[10] ทำให้สื่อมวลชนเรียกขานยุวเรตว่า เป็น "เมียบุญธรรม" ของสันต์[11][12] แต่ยุวเรตให้สัมภาษณ์ว่า ตนมิได้เป็นภรรยาของสันต์ เป็นเพียง "คนสนิท ซึ่งมีหน้าที่ตัดเล็บ ไปไหนไปกันด้วยกัน ย้อมผม ดูแลธุรกิจ และดูแลเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ"[12] นอกจากนี้ เลขานุการของคุณหญิงเกิดศิริให้สัมภาษณ์ว่า คุณหญิงเกิดศิริไม่มีความคิดจะหย่ากับสันต์ และสันต์ยังมีหญิงคนสนิทเช่นยุวเรตอีกหลายคน[12]
ประสบการณ์
- พ.ศ. 2528 คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
- พ.ศ. 2539 กรรมการอำนวยการปรับปรุงการบริหารพัสดุ สำนักงบประมาณ
- พ.ศ. 2541 กรรมการว่าด้วยพัสดุ
- พ.ศ. 2541 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
- พ.ศ. 2542 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- พ.ศ. 2544 กรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- พ.ศ. 2544 กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2544 กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2544 กรรมการ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
การกีฬา
สันต์เป็นกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2552–2556)[13] นายกสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2541 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นทวีตริตาภรณ์[20]
- พ.ศ. 2546 -
เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ[21]
- พ.ศ. 2547 -
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.