Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงหญิงอาวุโส ผู้เคยรับบทนำในภาพยนตร์ โรงแรมนรก ของ รัตน์ เปสตันยี คู่กับชนะ ศรีอุบล และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ครั้ง เป็นรางวัลนักแสดงประกอบหญิง 2 ครั้ง จากเรื่อง ขบวนเสรีจีน (2502) และ ลูกอีสาน (2525)[1] และรางวัลตลกหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)[1] ระยะหลังหันมาแสดงละครโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นดาราหน้าตาย ไม่ค่อยยิ้ม จึงมักได้รับบทแม่ บทที่เป็นที่จดจำคือ บทหม่อมแม่ ของคุณชายกลาง ในเรื่องบ้านทรายทอง ฉบับจารุณี สุขสวัสดิ์-พอเจตน์ แก่นเพชร
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | |
---|---|
ศรินทิพย์ ในภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก (2500) | |
เกิด | ไพลิน คอลลิน 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
สาบสูญ | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ผ่านมาแล้ว 36 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สถานะ | ปิดคดี |
อาชีพ | นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ |
คู่สมรส | จำเนียร รัศมี ชาลี อินทรวิจิตร |
อาชีพแสดง | |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2489–2530 |
ผลงานเด่น | เรียม – โรงแรมนรก (2500) หม่อมแม่ – บ้านทรายทอง (2523) |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม – ขบวนเสรีจีน (2502) – ลูกอีสาน (2525) นักแสดงตลกหญิงยอดเยี่ยม – ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529) |
ฐานข้อมูล | |
ThaiFilmDb | |
ศรินทิพย์ มีชื่อจริงว่า ไพลิน คอลลิน เกิดที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 [2][3] บิดาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ จบการศึกษาจากโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วไปสมัครเป็นนักร้องของวงดนตรีกรมสรรพสามิต และได้พบรักกับชาลี อินทรวิจิตร นักแต่งเพลง และแต่งงานกัน
ชาลี อินทรวิจิตร ได้นำเธอไปฝากฝังกับ อรรถ อรรถไกวัลวที ผู้จัดการคณะละครเทพศิลป์ ซึ่งชักนำเข้าสู่วงการ และตั้งชื่อให้ว่า "ศรินทิพย์ ศิริวรรณ"[3] ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าแลบบนสาปไตย เป็นเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2497
เรื่องราวชีวิตที่ยากลำบากของศรินทิพย์ ช่วง พ.ศ. 2486 - 2487 ก่อนจะได้พบกับชาลี อินทรวิจิตร เคยถูกสร้างเป็นละครวิทยุจนโด่งดัง ชื่อเรื่อง ม่านน้ำตา และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดย เนรมิต นำแสดงโดย เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทเป็นศรินทิพย์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช รับบทเป็นแม่ และอนุชา รัตนมาลย์ รับบทสามีเก่าของศรินทิพย์ เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505[3] ปรากฏว่า อำนวย กลัสนิมิ และ ศรินทิพย์ ถูกสามีเก่าของเธอฟ้องหมิ่นประมาทจนเป็นเรื่องราวโด่งดัง คดีนี้จบลงโดยศาลไกล่เกลี่ย ผู้กำกับยินยอมประกาศขอขมานายจำเนียร รัศมี ทางหน้าหนังสือพิมพ์[3] จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงชื่อ ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์[3]
วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ศรินทิพย์มีกำหนดเข้าฉากภาพยนตร์เรื่อง อีจู้กู้ปู่ป้า กำกับโดยกำธร ทัพคัลไลย ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เวลาประมาณ 20.00 น. ศรินทิพย์ โดยสารรถแท็กซี่ไปยังห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง โดยกล่าวกับคนที่บ้านว่า ไปพบใครบางคนที่ชื่อ "จำนงค์" เพื่อคุยเรื่องค่าตัวจากการถ่ายแบบปฏิทินวันปีใหม่ นั่นคือครั้งสุดท้ายที่มีผู้พบเห็น ข้อสันนิษฐานที่บ่งบอกว่าศรินทิพย์อาจถูกลักพาตัวไป ได้แก่ มีพยานเห็นว่า ศรินทิพย์ มายืนรอที่บริเวณหน้าฟาสต์ฟู้ดหน้าห้างย่านรามคำแหง เวลา 20.00-20.30 น. จากนั้นได้มีชายขับรถโตโยต้า ดีเอ็กซ์ สีเทา ไม่ทราบทะเบียน โดยใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว ผ้าพันคอสีเหลืองหรือสีไข่ไก่ มารับขึ้นรถไป การหายตัวไปของเธอทำให้ชาลี อินทรวิจิตร สามี แต่งเพลง "เมื่อเธอจากฉันไป" ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร โดยใช้ทำนองของเพลง "ออบรี" ของเดวิด เกตต์ รวมถึงเพลงเทวดาเดินดิน ก็ได้ชาลี อินทรวิจิตร เป็นผู้แต่ง โดยพูดถึงเนื้อหาการสาบสูญของศรินทิพย์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.