Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกทาส เป็นวรรณกรรมอมตะอิงประวัติศาสตร์ เป็นผลงานที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของ รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในหนังสือพิมพ์รายปักษ์ เดลิเมล์วันจันทร์ เล่าถึงชีวิตลูกทาสที่ดิ้นรนต่อสู้จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และ ได้ครองคู่กับหญิงสาวสูงศักดิ์ที่หมายปอง
ลูกทาส | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บริษัท ทีวีซีน จำกัด |
เขียนโดย | รพีพร |
เนื้อเรื่องโดย | บทกร ลงเสียง |
กำกับโดย | ธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ |
แสดงนำ | ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค ราณี แคมเปน วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ กมลเนตร เรืองศรี |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | วันนั้นไม่ไกล - ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เลือกแล้วคือเธอ - โบ สุนิตา |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนตอน | 13 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ |
ความยาวตอน | 150 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 14 เมษายน พ.ศ. 2557 |
ลูกทาส ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 ของคณะนาฏศิลปสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดย สัมพันธ์ พันธุ์มณี ได้ติดต่อผู้ประพันธ์ (ซึ่งขณะนั้นติดคุกคดีกบถเสรีภาพ) เพื่อขอให้จัดทำบทสำหรับแสดงทางทีวี โดยส่งงานออกมาทางปิ่นโตกับข้าว[1] ตามด้วยกมลศิลป์ภาพยนตร์สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง [2] และยังได้รางวัลตุ๊กตาทองบทประพันธ์ยอดเยี่ยมกับรางวัลเพลงประกอบในงานตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2508 ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นมีการนำมาสร้างเป็นภาพนยตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง
ในปี พ.ศ. 2428 เป็นเรื่องราวของ แก้ว ทาสในเรือนของพระยาไชยากร เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ หญิงสาวสูงศักดิ์ที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด
ปี | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2508 | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2557 | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปแบบการนำเสนอ | ภาพยนตร์ 16 มม. | ละคร ช่อง 4 | ละคร ช่อง 3 | ภาพยนตร์ 70 มม. | ละคร ช่อง 11 | ละครเวทีธรรมศาสตร์ | ละคร ช่อง 5 | ละคร ช่อง 3 | ||
ผู้สร้าง | กมลศิลป์ภาพยนตร์ | คณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ | - | ไทยสตาร์ภาพยนตร์ | ปริทรรศน์ฟิล์ม วิดีโอ | รพีพร | ร.ศ.๒๑๙ พิคเจอร์ เทวา ดราม่า แอนด์ ฟิล์ม | ทีวีซีน | ||
ผู้กำกับ | น้อย กมลวาทิน | พิชัย วาศนาส่ง | - | สุวัฒน์ วรดิลก กำธร สุวรรณปิยะศิริ | ชุติมา สุวรรณรัต | หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล | ธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ | |||
บทการแสดง | - | - | - | - | ชารวีย์ ศิรินันท์ | - | บทกร | |||
บทบาท | นักแสดงหลัก | |||||||||
แก้ว / หลวงรัตนะอรรถชัย / พระยารัตนะอรรถชัย | ไชยา สุริยัน | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | สรพงศ์ ชาตรี | เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ | บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ | เกริกพล มัสยวาณิช | ภูภูมิ พงศ์ภาณุ | ||
คุณน้ำทิพย์ / คุณหญิงน้ำทิพย์ | รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง | อารีย์ นักดนตรี | รัชนู บุญชูดวง | วงเดือน อินทราวุธ | อลิษา ขจรไชยกุล | กมลชนก โกมลฐิติ | สิริยากร พุกกะเวส | ราณี แคมเปน | ||
คอก | - | - | - | ภิญโญ ปานนุ้ย | จีรศักดิ์ ชัยเนตร | - | - | วฤษฎิ์ ศิริสันธนะ | ||
บุญเจิม | พิศมัย วิไลศักดิ์ | บุศรา นฤมิตร | กรรณิกา ธรรมเกษร | นันทนา เงากระจ่าง | ปัทมา ปานทอง | เพ็ญ พิสุทธิ์ | เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ | กมลเนตร เรืองศรี | ||
พระนิติธรรมลือชา / เจ้าพระยานิติธรรมธาดา | - | ทัต เอกทัต | ทัต เอกทัต | สมภพ เบญจาธิกุล | วีรยุทธ รสโอชา | - | สถาพร นาควิลัย | ศรราม เทพพิทักษ์ | ||
ตุ๊กตา / ท่านผู้หญิงตุ๊กตา | - | เพ็ญ พัชรา | จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา | - | พยุดา การะศีล | - | สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ | ธารธารา รุ่งเรือง | ||
บทบาท | นักแสดงรอง | |||||||||
มาโนช | ประจวบ ฤกษ์ยามดี | สมจินต์ ธรรมทัต | กิตติ ดัสกร | เศรษฐา ศิระฉายา | เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์ | กรรชัย กำเนิดพลอย | วริษฐ์ ทิพโกมุท | |||
คุณแดง | เทียมแข กุญชร ณ อยุธยา | กนกวรรณ ด่านอุดม | ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | พงษ์ลดา พิมลพรรณ | - | - | สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ | บุศย์สิริ รัตนาไพศาลสุข | ||
พระยาไชยากร | สมควร กระจ่างศาสตร์ | ชาลี อินทรวิจิตร | สมจินต์ ธรรมทัต | วิทยา สุขดำรงค์ | วิทยา สุขดำรงค์ | - | สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ | จักรกฤษณ์ อำมรัตน์ | ||
นิ่ม | ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | - | - | - | - | - | - | โชติกา วงศ์วิลาศ | ||
น้อม | วิไลวรรณ วัฒนพานิช | - | เมตตา รุ่งรัตน์ | - | จันทนา ศิริผล | - | - | ปนัดดา วงศ์ผู้ดี | ||
เฉียวหู | - | รอง เค้ามูลคดี | - | - | - | - | วรวุฒิ นิยมทรัพย์ | วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์ | ||
บุญมี | - | จำรูญ หนวดจิ๋ม | - | กฤษณะ อำนวยพร | สุริยา ไพรหิรัญ | - | ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ | โกสินทร์ ราชกรม | ||
กิ่ง (แม่ของแก้ว) | - | ขวัญ สุวรรนะ | - | ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | โฉมฉาย ฉัตรวิไล | - | ธัญญา โสภณ | ปวีณา ชารีฟสกุล | ||
นมอ้อน | - | - | - | - | เฉลา ประสพศาสตร์ | - | - | โฉมฉาย ฉัตรวิไล | ||
อบเชย | - | - | - | - | - | - | - | พัชร์สิตาอธิอนันตศักดิ์ | ||
เค้ง | - | เสริมพันธ์ สุทธิเนตร | - | - | - | - | - | ณฐกร ไตรกิศยเวช | ||
อ้น | - | ประกอบ อรุณแสง | - | - | ผจญ ดวงขจร | - | - | ชัชวาล เพชรวิศิษฐ์ | ||
พลอย | - | - | - | - | - | - | - | อติรุจ สุวรรณ | ||
เข้ม | - | - | - | - | - | - | - | สุรินทร คารวุตม์ | ||
บทบาท | นักแสดงรับเชิญ | |||||||||
ก้าน (พ่อของแก้ว) | - | - | - | เชาว์ แคล่วคล่อง | - | - | สันติสุข พรหมศิริ | - | ||
คุณหญิงกัลยา (ภริยาพระยาไชยากร) | - | - | - | เดือนเต็ม สาลิตุล | ศิรินภา สว่างล้ำ | - | ชลิดา ตันติพิภพ | - | ||
พระยาเดชารณภพ | - | - | ราม ราชพงษ์ | - | - | - | - | กลศ อัทธเสรี | ||
หมื่นลพ | - | - | - | - | - | - | ไกรสีห์ แก้ววิมล | สุเชาว์ พงษ์วิไล | ||
ลอย | - | - | - | - | - | - | - | ธนาวุฒิ เกสโร | ||
ใบ | - | - | - | - | - | - | - | นิรุติ สาวสุดชาติ | ||
อ่อน | - | - | - | - | สีดา สุทธิลักษณ์ | - | - | เบญจสิริ วัฒนา | ||
คุณหญิงลออ | - | - | - | - | - | - | - | นริสา พรหมสุภา | ||
- | - | - | - | - | - | - | กิตติพล เกศมณี | |||
- | - | - | - | - | - | - | ชยุตพล บำเพ็ญ | |||
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | - | - | - | - | - | - | - | วิวัฒน์ ผสมทรัพย์ | ||
คุณดารา | - | - | - | - | - | - | - | กนกกาญจน์ จุลทอง | ||
แก้ว (ตอนเด็ก) | ด.ช.อิศรา กิจนิตย์ชีว์ | ด.ช.อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล | ||||||||
คุณน้ำทิพย์ (ตอนเด็ก) | ด.ญ.กุลฑีรา ยอดช่าง | |||||||||
ลูกสาวของพระยาพานทองและคุณหญิงน้ำทิพย์ (รับเชิญตอนจบ) | ด.ญ.ชวัลรัตน์ เจนจิตรานนท์ |
ลูกทาส เคยถูกดัดแปลงมาเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 5 ครั้ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.