Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ในฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากกว่าปกติ ค่าดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) ในพายุหมุนเขตร้อนของฤดูกาลนี้ สูงกว่าค่าปกติของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกถึง 60% ที่ 480.6 หน่วย นับเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุมากที่สุดเป็นอันดับสองที่เคยบันทึกไว้ในฤดูกาลเดียว[1] รองจากฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2540 ซึ่งมีพายุดีเปรสชัน 45 ลูก, พายุโซนร้อน 29 ลูก, พายุไต้ฝุ่น 19 ลูก และพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 6 ลูก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัฏจักรประจำปีของการเกิดพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2547[2][3] โดยพายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน พายุลูกแรกของฤดูกาล และยังเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรก คือ พายุไต้ฝุ่นซูดัล ซึ่งพัฒนาเมื่อวันที่ 4 เมษายน ต่อมาถึงสถานะพายุไต้ฝุ่นในอีกสองวันต่อมา และกลายเป็นพายุซูปเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของปี และพายุลูกสุดท้ายของฤดูกาล คือ พายุโซนร้อนโนรูสลายไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 | |
---|---|
แผนที่สรุปฤดูกาล | |
ขอบเขตฤดูกาล | |
ระบบแรกก่อตัว | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 |
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | เตี้ยนหมู่ และ ชบา |
• ลมแรงสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที) |
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 905 hPa (มิลลิบาร์) |
สถิติฤดูกาล | |
พายุดีเปรสชันทั้งหมด | 45 ลูก |
พายุโซนร้อนทั้งหมด | 29 ลูก |
พายุไต้ฝุ่น | 19 ลูก |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น | 2 ลูก (เป็นทางการ) 4 ลูก (ไม่เป็นทางการ) |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | 2,435 ราย |
ความเสียหายทั้งหมด | ≥ 1.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2547) |
ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นนั้นสร้างความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต รวมถึงพายุไต้ฝุ่น 4 ลูก ติดต่อกันที่เคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนสิงหาคมพายุไต้ฝุ่นรานานิมเข้าโจมตีประเทศไต้หวัน และประเทศจีนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง คร่าชีวิตผู้คนไป 169 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 2.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พายุไต้ฝุ่นแอรียังสร้างความเสียหายอย่างหนักในประเทศจีนหลังจากที่พายุไต้ฝุ่นรานานิมคร่าชีวิตผู้คนไป 107 ราย โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด พายุไต้ฝุ่นซงด่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำลายล้างมากที่สุดในฤดูกาลที่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นโดยความเสียหายประมาณ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิต 28 ราย ในเดือนตุลาคมพายุไต้ฝุ่นโทกาเงะพัดถล่มประเทศญี่ปุ่นในฐานะพายุโซนร้อน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 95 ราย และสร้างความเสียหายทั้งหมดประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐพายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่เคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์ คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 1,593 ราย ทำให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่เป็นพายุที่ร้ายแรงที่สุดของฤดูกาล นับตั้งแต่พายุโซนร้อนเทลมาในปี พ.ศ. 2534 กิจกรรมตามฤดูกาลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งรวมถึงพายุไต้ฝุ่น 2 ลูก พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้าเคลื่อนตัวเข้าประเทศฟิลิปปินส์หลังจากพายุดีเปรสชันเขตร้อนวินนี่ คร่าชีวิตผู้คน 68 ราย และส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 ราย พายุไต้ฝุ่นลูกที่ 4 และเป็นลูกครั้งสุดท้ายที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ คือ พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งพัดขึ้นฝั่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในประเทศนั้น คร่าชีวิตผู้คนรวม 77 ราย
ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออกกับเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มี 2 หน่วยงาน ที่กำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมี 2 ชื่อ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่ปากาซากำหนดชื่อพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าสู่ หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูดเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออกกับเส้นเมริเดียนที่ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูดเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือถึงเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือแม้พายุนั้นจะมีชื่อที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลข และเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย[4]
พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.) |
พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA, RSMC) ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนจะถูกนิยามเป็นการเริ่มขึ้นของพายุหมุนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศเหนือทะเลเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน การจัดความรุนแรงขั้นต่ำที่สุดที่ใช้โดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาที อย่างน้อย 33 นอต (61 กม./ชม. หรือ 17 ม./ว. หรือ 38 ไมล์/ชม.) ถ้าหากพายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 33–47 นอต (61–87 กม./ชม. หรือ 17–24 ม./ว. หรือ 38–54 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะได้รับการตั้งชื่อและถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน ถ้าหากระบบยังทวีกำลังแรงต่อไปอีก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 25–32 ม./ว. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนการจัดระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุไต้ฝุ่น โดยพายุจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 33 ม./ว. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[nb 1]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.) |
พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติหรือศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ภายในภูมิภาคนี้ พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามว่าเป็นแกนอากาศที่อบอุ่น การแปรปรวนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศก่อตัวขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน โดยมีการจัดระบบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศ และมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่เหมาะสม ในภูมิภาคนี้ยังนิยามพายุหมุนกึ่งเขตร้อนด้วยว่าเป็น การแปรปรวนของหย่อมความกดอากาศต่ำแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นทั้งแบบพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนนอกเขตร้อน โดยเมื่อใดก็ตามที่พายุควรจะได้รับการจัดความรุนแรงตามหมวดเหล่านี้ จะมีการเริ่มออกคำแนะนำ และศูนย์เตือนภัยจะจัดความรุนแรงระบบในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน หรือพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อความเร็วลมต่อเนื่องในหนึ่งนาทีอยู่ที่ประมาณหรืออย่างน้อย 33 นอต (62 กม./ชม. หรือ 38 ไมล์/ชม)[nb 2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.