Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะไซปัน (ชามอร์โร: Sa’ipan; Carolinian: Seipél; อดีตในสเปน: Saipán และญี่ปุ่น: 彩帆島, อักษรโรมัน: Saipan-tō; อังกฤษ: Saipan) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐอเมริกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ประมาณ 115 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากเกาะกวมไปทางเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร รายงานจากสำมะโน ค.ศ. 2020 ของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐ ประชากรบนเกาะไซปันมี 43,385 คน ลดลง 10% จากจำนวนใน ค.ศ. 2010 ที่ 48,220 คน[2]
บน: ตึกระฟ้า Garapan; ล่าง: แผนที่ภูมิประเทศของเกาะไซปัน | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | มหาสมุทรแปซิฟิก |
พิกัด | 15°11′N 145°45′E |
กลุ่มเกาะ | มาเรียนา |
พื้นที่ | 118.98 ตารางกิโลเมตร (45.94 ตารางไมล์)[1] |
ความยาว | 12 ไมล์ (19 กม.) |
ความกว้าง | 5.6 ไมล์ (9 กม.) |
ระดับสูงสุด | 1,560 ฟุต (475 ม.) |
จุดสูงสุด | Mount Tapochau |
การปกครอง | |
สหรัฐ | |
เครือจักรภพ | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา |
นายกเทศมนตรี | Ramon Camacho |
ประชากรศาสตร์ | |
เดมะนิม | Saipanese |
ประชากร | 43,385 (2020) |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
ข้อมูลอื่น ๆ | |
รหัส ZIP | 96950 |
รหัสพื้นที่ | 670 |
Sai |
ในอดีตเกาะไซปันเคยเป็นถิ่นฐานของชาวยุโรปจากประเทศสเปน ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยเยอรมนีตั้งปี ค.ศ. 1899 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีชาวญี่ปุ่นมาตั้งถิ่นฐานประมาณ 25,000 คน และกำลังทหารญี่ปุ่นประมาณ 30,000 นาย[3]
เกาะไซปันมีชื่อเสียงจากการรบที่เกาะไซปันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐอเมริกาส่งนาวิกโยธินยกพลขึ้นบกที่ชายหาดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1944 และทำการสู้รบกับทหารญี่ปุ่นเป็นเวลาสามสัปดาห์ ก่อนจะจบลงด้วยการเสียชีวิตของทหารญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด รวมทั้งครอบครัวชาวญี่ปุ่นอีกหลายพันคน โดยการฆ่าตัวตายที่หน้าผาบันไซ และหน้าผาฆ่าตัวตาย[4] ทางตอนเหนือของเกาะ โดยไม่มีการประกาศยอมแพ้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.