พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ฝรั่งเศส: Louis XIV de France; หลุยส์กาตอร์ซเดอฟร็องส์; ชื่อเกิด: หลุยส์ ดีเยอดอเน; 5 กันยายน ค.ศ. 1638 – 1 กันยายน ค.ศ. 1715) หรือ หลุยส์มหาราช (ฝรั่งเศส: Louis le Grand; หลุยส์เลอกร็อง) ทรงมีพระสมัญญานามว่า สุริยกษัตริย์ (ฝรั่งเศส: le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์บูร์บง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1643 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ | |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อียาแซ็งต์ รีโก (1701) | |
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ | |
ครองราชย์ | 14 พฤษภาคม 1643 – 1 กันยายน 1715 (72 ปี 110 วัน) |
ราชาภิเษก | 7 มิถุนายน 1654 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 |
ถัดไป | พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 |
ผู้สำเร็จราชการ | สมเด็จพระราชชนนีอานน์ (1643–1651) |
พระราชสมภพ | 5 กันยายน ค.ศ. 1638 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล, แซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล, ฝรั่งเศส |
สวรรคต | 1 กันยายน ค.ศ. 1715 ปี) พระราชวังแวร์ซาย, ฝรั่งเศส | (76
ฝังพระศพ | มหาวิหารแซ็ง-เดอนี, ฝรั่งเศส |
คู่อภิเษก | มาเรีย เทเรส แห่งสเปน ฟร็องซวซ โดบีเญ |
พระราชบุตร ดูเพิ่ม | หลุยส์ กรังซ์โดแฟ็ง มารี แอนน์ ดัชเชสแห่งลาแวลีแยร์ หลุยส์ เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว หลุยส์ ออกุสเต ดยุกแห่งเมน ลุยส์ ฟร็องซวซ ดัชเชสแห่งบูร์บง หลุยส์ อเล็กซันดร์ เคานต์แห่งตูลูส ฟร็องซวซ มารี ดัชเชสแห่งออร์เลอ็อง ลุยส์ เดอ เมซ็องบล็องช์ |
ราชวงศ์ | บูร์บง |
พระราชบิดา | พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชมารดา | อันนาแห่งออสเตรีย |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
ลายพระอภิไธย |
ราชวงศ์บูร์บง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ก่อนการปฏิวัติ ค.ศ. 1792) |
พระเจ้าอ็องรีที่ 4 |
พระขนิษฐภคินี |
แคทเธอรีน ดัชเชสแห่งลอร์เลน |
พระราชโอรส-ธิดา |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชินีเอลิซาเบธแห่งสเปน |
คริสติน ดัชเชสแห่งซาวอย |
เจ้าชายนิโกลาส ดยุกแห่งออร์เลอ็อง |
เจ้าชายกาสตง ดยุกแห่งออร์เลอ็อง |
พระราชินีอ็องเรียต มารีแห่งอังกฤษ |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 |
พระราชโอรส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส |
ฟีลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 |
พระราชโอรส-ธิดา |
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงอานน์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงมารี อานน์แห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าชายฟีลิป ชาลส์ ดยุกแห่งอ็องฌู |
เจ้าชายหลุยส์ ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู |
พระราชนัดดา (เฉพาะสายโดแฟ็งใหญ่) |
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน |
เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งเบออรี |
พระราชปนัดดา (เฉพาะสายโดแฟ็งน้อย) |
เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ |
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 |
พระราชโอรส-ธิดา |
หลุยส์ เอลิซาเบธ ดัสเชสแห่งปาร์มา |
เจ้าหญิงอ็องเรียตแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งฝรั่งเศส |
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าชายฟีลิป ดยุกแห่งอ็องฌู |
เจ้าหญิงเอเดลาอีด ดัสเชสแห่งลูวัว |
เจ้าหญิงวิกตอรีแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงโซฟี ดัสเชสแห่งลูวัว |
เจ้าหญิงเตแรซแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงหลุยส์แห่งฝรั่งเศส |
พระราชนัดดา (เฉพาะสายโดแฟ็ง) |
เจ้าหญิงมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงมารี เซฟีรินแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งบูร์กอญ |
เจ้าชายซาเวียร์ ดยุกแห่งอากีแตน |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชินีมารี โกลทีลด์แห่งซาร์ดิเนีย |
เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 |
พระราชโอรส-ธิดา |
พระราชินีมารี เตแรซแห่งฝรั่งเศส |
เจ้าชายหลุยส์ โฌแซ็ฟ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 17 แห่งฝรั่งเศส |
เจ้าหญิงโซฟีแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี ค.ศ. 1661 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัลมาซาแร็ง ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูง ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระราชบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปราบปรามเหล่าขุนนางจำนวนมากที่มีส่วนร่วมในกบฎฟรอนด์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นวางรากฐานระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศส ซึ่งจะดำรงอยู่จนถึงสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของพระองค์ก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 4 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ และ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งอ็องฌู พระราชอนุชาในดยุกแห่งเบรอตาญ ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ในพระนาม พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
พระราชประวัติ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดอนเน (Louis-Dieudonné) สมัยประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ (วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638) ต่อมามีพระนามว่า เลอรัว-โซแลย (le Roi-Soleil) ซึ่งแปลว่า สุริยกษัตริย์ เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 เมื่อพระองค์ประทับที่แวร์ซายส์ (Versailles) และพระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กรองด์ (Louis le Grand) แปลว่าหลุยส์ผู้ยิ่งใหญ่ เริ่มใช้วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1643 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งนาวาร์ พระองค์มีเชื้อสายทั้งราชวงศ์บูร์บงและราชวงศ์กาเปเตียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์เป็นเวลา 72 ปี จัดว่าเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสที่ครองราชย์นานที่สุด อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ในที่ครองราชย์นานที่สุดในโลกอีกด้วย
พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบรอบวันพระราชสมภพ ซึ่งจะมีพระชันษา 5 ปี แต่สมัยนั้น (ค.ศ. 1648 - ค.ศ. 1652) มีกบฏฟรองด์ (Fronde) ทำให้หน้าที่ของพระองค์มีอย่างเดียวคือ ควบคุมรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เลอ คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) หรือสังฆราชมาซาแร็ง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1661 อย่างไรก็ตามพระองค์ไม่แต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและประกาศว่าจะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง หลังจากคณะรัฐมนตรีของกอลแบรต์ (Colbert) ครบวาระ (หรือหมดอำนาจในการบริหารประเทศ) ในปี ค.ศ. 1683 และของลูวัร์ (คณะรัฐมนตรีของลูวัร์นี้ขึ้นตำแหน่งต่อจากลูแบร์) ครบวาระในปี ค.ศ. 1691 พระองค์ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างดี ในฐานะยุวกษัตริย์ และได้รับการสั่งสอนในท่ามกลางศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิก สมัยของพระองค์โดดเด่นในเรื่องโครงสร้างของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สิทธิกษัตริย์ = เทพที่มาจากสวรรค์) ประโยชน์ของพระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ทำให้ความวุ่นวายต่าง ๆ หมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส อาทิเช่นเรื่องขุนนางก่อกบฏ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ 14 ไม่มีขุนนางผู้ไหนกล้าก่อกบฏ เพราะพระองค์มีพระราชอำนาจเด็ดขาด) เรื่องการประท้วงของสภา เรื่องการจลาจลของพวกนิกายโปรแตสแตนท์และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นในฝรั่งเศสมานานเป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้ว
ขณะที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต ขณะนั้นเจ้าชายหลุยส์ มกุฏราชกุมาร มีพระชนมายุเพียง 5 ชันษา เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก พระราชมารดาของพระองค์คือ พระนางแอนน์ จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ส่วนสังฆราชมาซาแร็งเป็นผู้อุปถัมภ์พระเจ้าหลุยส์ ดิเยอดองเน ท่านรับผิดชอบด้านการศีกษาเพื่อที่จะให้พระเจ้าหลุยส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต ซึ่งการศึกษานี้จะเน้นหนักไปด้านปฏิบัติ มากกว่าด้านความรู้ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สังฆราชมาซาแร็งใช้อำนาจโดยผ่านลูกอุปถัมภ์ของท่านเอง ซึ่งก็คือหลุยส์ดิเยอดองเน สังฆราชมาซาแร็งถ่ายทอดความชื่นชอบในด้านศิลปะให้หลุยส์ดิเยอดองเนและสอนความรู้พื้นฐานด้านการทหาร, การเมืองและการทูต อีกทั้ง สังฆราชผู้นี้ยังนำหลุยส์ดิเยอดองเนเข้าร่วมในสภาเมื่อปี ค.ศ. 1650
พระองค์ได้ทรงลดทอนอำนาจของชนชั้นสูงที่เชี่ยวชาญในการรบ ด้วยมีรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นรับใช้พระองค์เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกในราชสำนัก อันเป็นการถ่ายโอนอำนาจมายังระบบธุรการแบบรวมศูนย์ และทำให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นชนชั้นสูงที่ใช้สติปัญญา พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังแวร์ซายส์ ขึ้นในอุทยาน โดยมีการจัดสวนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต พระราชวังแวร์ซายที่มีขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 15 กิโลเมตรทางตะวันตกของกรุงปารีส ที่เมืองแวร์ซาย ในเขตปริมณฑลของกรุงปารีส
พระราชวงศ์
พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางมาเรีย เทเรสแห่งสเปน (20 กันยายน ค.ศ. 1638 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1683) พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน กับพระนางเอลิซาเบธ แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1602 - ค.ศ. 1644) ทรงมีโอรสธิดารวมหกพระองค์:
- เจ้าชายหลุยส์ เลอ แกรนด์ โดฟิน (ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1711) ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร หรือ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
- เจ้าหญิงอานน์-เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1662) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
- เจ้าหญิงมารี-อานน์แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1664) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
- เจ้าหญิงมารี-เทเรสแห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1667 - ค.ศ. 1672) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
- เจ้าชายฟิลิป ชาลส์แห่งฝรั่งเศส ดยุคแห่งอองจู (ค.ศ. 1668 - ค.ศ. 1671) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
- เจ้าชายหลุยส์ ฟรองซัวส์แห่งฝรั่งเศส ดยุคแห่งอองจู (ค.ศ. 1672) - สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระสนมมากมาย ในจำนวนนั้น รวมถึงหลุยส์ เดอ ลา วาลลิแยร์, อองเจลลิก เดอ ฟงตองจ์, มาดาม เดอ มงต์เตสปอง และ มาดาม เดอ มังเตอนง (ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของราชินี ในปี ค.ศ. 1684 ขณะยังทรงเป็นวัยรุ่น พระองค์ได้ทรงรู้จักกับหลานสาวของพระคาร์ดินัลมาซารัง ชื่อมารี มองซีนี ความรักแบบเพื่อนของทั้งสองถูกขัดขวางโดยพระคาร์ดินัล ผู้ประสงค์ให้พระองค์อภิเษกสมรสกับราชนิกูลของประเทศสเปนเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และของตัวพระคาร์ดินัลเอง คนมักจะพูดกันว่านางสาวเดอ โบเวส์โชคดีมากที่ไม่ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็ยังกังขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ยังทรงมีสัมพันธ์เป็นเวลายาวนานอีกกับเด็กสาวพนักงานซักรีดของพระราชวังลูฟ ด้วยความเจ้าชู้ของพระองค์ ต่อมาภายหลังได้มีรับสั่งให้สร้างบันไดลับไว้มากมายในพระราชวังแวร์ซายเพื่อจะได้เสด็จไปหาพระสนมของพระองค์ได้สะดวก ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้พวกเคร่งศาสนากลุ่มหนึ่งไม่พอใจ โบสซูเอต์ กับ มาดาม เดอ มังเตอนง จึงพยายามชักชวนให้พระองค์หันกลับมาสู่ความทรงคุณธรรมอีกครั้ง ซึ่งทำคนทั่วไปรู้สึกถึงบรรยากาศที่เปลี่ยนไปของพระราชวังแวร์ซายได้ แต่ก็ทำให้ผู้บันทึกประวัติหลายคนรู้สึกเสียดาย
ปัญหาเรื่องพระพลานามัยที่ทรุดโทรมและปัญหาการหารัชทายาท ทำให้เกิดบรรยากาศเศร้าสลดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ต้องสูญเสียพระโอรส เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส (มกุฎราชกุมาร) ไปในปี พ.ศ. 2254 ในปีถัดมา ดยุคแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นพระราชนัดดา พร้อมด้วยโอรสองค์โตของดยุคพระองค์นี้ก็ได้สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วยโรคฝีดาษ องค์มกุฎราชกุมารมีพระโอรสอีกสององค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้เป็นกษัตริย์ของสเปนภายใต้พระนามว่าฟิลลิปเปที่ 5 แห่งสเปน เป็นผู้ซึ่งปฏิเสธสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศสที่สืบเนื่องมาจากสงครามชิงบัลลังก์ในสเปนภายใต้สนธิสัญญาอูเทรชต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2257 ดยุคแห่งแบรี โอรสอีกพระองค์หนึ่งของมกุฎราชกุมารก็สิ้นพระชนม์ลงอีกด้วย ราชนิกูลชายผู้สืบเชื้ออย่างถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นจึงได้แก่ดยุคแห่งอองจู พระโอรสองค์รองของเจ้าชายแห่งบูกอญจ์ ผู้เป็นเหลนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2253แต่ก็เป็นเด็กชายผู้มีพลานามัยเปราะบาง นอกเหนือจากดยุคแห่งอองจูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งมกุฎราชกุมารแล้ว ก็มีเจ้าชายผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระองค์อยู่อีกไม่มากในสายมารดาอื่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ราชวงศ์ด้วยการมอบสิทธิ์การขึ้นครองบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายอีกสองพระองค์ด้วยเช่นกัน ได้แก่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ เดอ บูร์บง ดยุคแห่งเมน และเจ้าชายหลุยส์ อเล็กซองเดรอ เคาท์แห่งตูลูส พระโอรสอันชอบธรรมสองพระองค์ที่ประสูติแต่มาดาม เดอ มงต์เตสปอง
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2258 ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ พระองค์ได้ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า "ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป" รัชสมัยของพระองค์กินเวลา 72 ปี กับ 100 วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี ซึ่งหลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสในกาลต่อมา ดยุคแห่งอองจู เหลนของพระองค์ผู้มีพระชนม์เพียงห้าชันษาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อมา ภายใต้พระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส โดยมีเจ้าชายฟิลิปป์ ดยุคแห่งออร์เลอง พระนัดดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้สำเร็จราชการตลอดช่วงที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์
การเมืองการปกครอง
ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นโดดเด่นด้วยการรังสรรค์วัฒนธรรมชั้นสูงของฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสได้กลายเป็นภาษาของคนชั้นสูง และภาษาทางการทูตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศรัสเซีย
ในปี พ.ศ. 2217 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ซื้อหมู่เกาะมาร์ตีนีก มาจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ยึดเกาะนี้มาได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2178 ในปี พ.ศ. 2232 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงประกาศ "กฎดำ" ที่ให้อนุญาตให้มีทาสได้ในดินแดนอาณานิคม ผู้ที่ชื่นชมพระองค์ได้มองกฎดำนี้ว่าเป็นกฎที่ทำให้มีการค้าทาสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้จำกัดการกระทำทารุณกรรมต่อทาส และมอบสถานภาพทางสังคมให้แก่ทาส ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นได้เพียงทรัพย์สมบัติโดยตรงของเจ้าของทาส เฉกเช่นสิ่งของเครื่องใช้ และด้วยกฎนี้ พวกทาสสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ในจำนวนจำกัด มีสิทธิ์เกษียณอายุเมื่อถึงวัยชรา มีสิทธิ์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากเจ้าของ และได้รับอาหารที่ดี กฎดำจึงกลายเป็นกรอบของสนธิสัญญาทาสในสมัยนั้น
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเป็นที่รักและเคารพของประชาชนชาวฝรั่งเศส จากการที่พระองค์ทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก อย่างไรก็ดี การตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาทำให้รัฐต้องขาดดุล และต้องเก็บภาษีอากรจากชาวไร่ชาวนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เปลี่ยนพวกชนชั้นสูงให้กลายเป็นข้าราชบริพารธรรมดา รวมทั้งยังเข้าพวกกับผู้ดีใหม่ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง มีส่วนผลักดันให้เกิดความไม่มั่นคงในสเถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา และเป็นชนวนก่อให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุด
ในช่วงต้นของรัชสมัย ประเทศมหาอำนาจในยุโรปอีกประเทศหนึ่งคือประเทศสเปน ในขณะที่สหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอังกฤษ ได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงครองราชย์ตรงกับช่วงระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) และ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งสมัยอยุธยา
บุคคลในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
|
|
ดูเพิ่ม
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง
- François Bluche, Louis XIV, Hachette, coll. « Pluriel », 1999 (1แม่แบบ:Re édition 1986) (ISBN 2-01-278987-0) ;
- Peter Burke, Louis XIV : les stratégies de la gloire, Seuil, 1998 (1แม่แบบ:Re édition 1995) (ISBN 2-02-020638-2) ;
- Pierre Goubert, Louis XIV et vingt millions de français, Hachette, coll. « Pluriel », 1998 (1แม่แบบ:Re édition 1970) (ISBN 2-01-278870-X) ;
- Ragnhild Hatton, L'Époque de Louis XIV, Flammarion, 1992 (1แม่แบบ:Re édition 1969) (ASIN 2080609904) ;
- Jean-Christian Petitfils, Louis XIV, Perrin, 1995 (ISBN 2-262-01866-9) ;
- Gérard Sabatier, Versailles ou la figure du roi, Albin Michel, coll. « Bibliothèque des idées », 1999 (ISBN : 2-226-10472-0) .
ก่อนหน้า | พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 | พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 - 1 กันยายน พ.ศ. 2258) |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 | ||
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 | โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (5 กันยายน พ.ศ. 2144 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186) |
เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส |
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.