Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2503) อดีตเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร อดีตเลขาธิการ กสทช คนแรกของสำนักงาน กสทช
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ | |
---|---|
ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[a] | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |
สภาผู้แทนราษฎร | ชุดที่ 26 |
ก่อนหน้า | อัครวัฒน์ อัศวเหม |
ถัดไป | วาโย อัศวรุ่งเรือง |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | |
เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มกราคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2503 จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยสร้างไทย (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พรพาณี ตัณฑสิทธิ์ |
บุตร | 3 คน |
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2503 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยดีทรอยต์[1] สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2558 ได้รับรางวัลบุคคลคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์แห่งปีจากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านทรัพยากรมนุษย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขารัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในปีดังกล่าวอีกด้วย[3]
ในด้านครอบครัว ได้สมรสกับ นางพรพาณี ตัณฑสิทธิ์ โดยมีบุตรธิดา 3 คน คือ นายฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ นางสาวอิสรีย์
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เคยทำงานอยู่ที่สำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2530 - 2548 กระทั่งมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. มีผลงานสำคัญคือการจัดการประมูลคลื่นความถี่ในย่านความถี่ที่สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยี 4G ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ที่มีการแข่งขันในการประมูลอย่างดุเดือดจนสร้างรายได้เข้ารัฐได้อย่างมหาศาล โดยการประมูลครั้งแรกของคลื่นย่าน 1800 MHz เป็นเวลาสองวันสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐกว่า 8 หมื่นล้านบาท[4] และ การประมูลคลื่น 900 MHz ในเดือนถัดมาที่ใช้เวลากว่า 4 วัน 3 คืน นั้นสร้างรายได้เข้ารัฐกว่าอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท[5] และในปีดังกล่าว ยังได้ออกกฎลงทะเบียนซิมเพื่อจัดระเบียบและสร้างความปลอดภัยให้แก่สังคม
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ บริหารงานของ กสทช. โดยมีการจัดการประมูลในคลื่นย่าน 1800 MHz และ คลื่น 900 MHz สร้างรายได้เข้ารัฐกว่าอีก 5 หมื่นล้านบาท[6] ถัดมาในปี 2562 ก็ได้จัดประมูลคลื่น 700 MHz ล่วงหน้าเพื่อกรุยทางประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G และโกยเงินเข้ารัฐกว่าอีก 5.6 หมื่นล้านบาท[7] และในปี 2563 ได้มีการจัดประมูลคลื่น 5G อีก 4 ย่าน คือ 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยการเคาะราคาการประมูลได้เกิดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 โดยผลการประมูลในครั้งนั้น ได้มีการสร้างรายได้เกิดขึ้นประมาณ 100,521 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลทุกรายได้มีการชำระค่าประมูลและรับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประมูล 5G สำเร็จประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน[8][9]
ฐากร เข้าร่วมงานการเมืองกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนคุณหญิงสุดารัตน์ ที่ลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566
ฐากร ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 เพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคลงมติสวนทางกับมติพรรคร่วมฝ่ายค้าน (กลุ่มงูเห่า)[10]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.