Loading AI tools
ชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คัมภีร์ไบเบิล[1] หรือ พระคัมภีร์ (อังกฤษ: Bible; ฮีบรู: ביבליה; แอราเมอิก: ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; กรีก: Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ บาป และแผนการของพระยาห์เวห์ในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture)
คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ
พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร์[2][3][4]
คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคนและหลายช่วงเวลา แล้วได้รวมกันเป็นสารบบจึงเรียกว่าสารบบของคัมภีร์ (Canon of Scripture) ในปัจจุบันคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ยึดคัมภีร์ฮีบรูต่างสารบบกัน ทำให้คัมภีร์ไบเบิลของทั้งสองนิกายมีเนื้อหาไม่เท่ากัน คริสตจักรโรมันคาทอลิกยึดคัมภีร์ฮีบรูสารบบเซปตัวจินต์ที่มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ซึ่งกำหนดให้คัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมมีหนังสือทั้งหมด 46 เล่ม แต่คริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ยึดสารบบตามสภาแจมเนียที่เกิดขึ้นช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ซึ่งกำหนดให้คัมภีร์ฮีบรูประกอบด้วยหนังสือ 39 เล่ม (เพราะตัดคัมภีร์อธิกธรรม 7 เล่ม ออกไป)[1]
คริสต์ศาสนิกชนใช้คัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์รวมเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลด้วยโดยเรียกว่าพันธสัญญาเดิม แต่สารบบของคัมภีร์ฮีบรูเสร็จสมบูรณ์เมื่อไรกลับไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในหนังสือบุตรสิรา[5] ซึ่งเขียนขึ้นราว 130 ปีก่อนคริสตกาล ว่าคัมภีร์ฮีบรูประกอบด้วยธรรมบัญญัติ ผู้เผยพระวจนะ และข้อเขียนอื่น ๆ เมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้นแล้วหนังสือในสารบบพันธสัญญาเดิมก็ยังไม่ลงตัว เพราะภายในคริสตจักรเห็นไม่ตรงกันว่าควรรับคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมหรือไม่ จนกระทั่งเกิดสภาสังคายนาแห่งฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1442 จึงได้ข้อสรุปในคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าให้รวมคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบด้วย[6] เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ได้คัดค้านการรวมคัมภีร์อธิกธรรมในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงตั้งสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (ค.ศ. 1545-63) และสภามีประกาศยืนยันให้ยอมรับคัมภีร์อธิกธรรมว่าเป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ด้วย ผู้ใดไม่ยอมรับให้ผู้นั้นต้องถูกตัดออกจากศาสนจักร[7] ส่วนโปรเตสแตนต์ยังยืนยันไม่รับคัมภีร์อธิกธรรมเพราะยืนยันว่าคริสตจักรโรมันคาทอลิกเพิ่มเติมขี้นมาเอง ซึ่งต่างไปจากเนื้อหาในคัมภีร์ฮีบรูทำให้คัมภีร์ไบเบิลของทั้งสองนิกายต่างสารบบกันมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนสารบบของพันธสัญญาใหม่ก็ได้ข้อสรุปล่าช้าเช่นกัน เพราะหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาใหม่เขียนขึ้นหลังการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู ในระยะแรกเอกสารเหล่านี้ใช้เป็นบทอ่านที่เผยแพร่กันในคริสตจักร[8] บางเอกสารเช่น จดหมายของเปาโลได้รับการยอมรับจากอัครทูตซีโมนเปโตรว่าเป็นเอกสารที่เขียนโดยการดลใจจากพระเจ้า หนังสือที่เป็นพระวรสารก็ได้รับการยอมรับตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก[9] แต่รายชื่อของหนังสือในสารบบพันธสัญญาใหม่ก็ยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่ละเล่มยังได้รับการยอมรับไม่พร้อมกัน เช่น พระวรสารทั้ง 4 เล่มและจดหมายของเปาโลได้รับการยอมรับตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 และมีการยอมรับหนังสือวิวรณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หนังสือฮีบรูได้รับการยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 4 นอกจากนี้หนังสือบางเล่มเป็นที่ยอมรับเข้าสารบบพันธสัญญาใหม่โดยคริสตจักรในท้องถิ่นหนึ่งแต่ไม่ได้รับการยอมรับในท้องถิ่นอื่น เช่น จดหมายของนักบุญบารนาบัส หนังสือของเคลเมนต์ เป็นต้น จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสตชนทุกกลุ่มจึงมีคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เป็นสารบบเดียวกัน[10]
พันธสัญญาเดิม (The Old Testament) เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นก่อนการประสูติของพระเยซู ซึ่งมีเนื้อหาเหมือนกับคัมภีร์ฮีบรู มีจำนวน 39 เล่ม แบ่งเป็นสี่หมวดใหญ่ ดังนี้
เล่มที่ | ชื่อ | ผู้เขียน | สาระสำคัญ | ช่วงเวลาที่เขียน |
---|---|---|---|---|
1 | หนังสือปฐมกาล | โมเสส | จุดเริ่มต้น | 1445-1405 ปีก่อนคริสตกาล |
2 | หนังสืออพยพ | การทรงไถ่ | ||
3 | หนังสือเลวีนิติ | ความบริสุทธิ์ | ||
4 | หนังสือกันดารวิถี | การร่อนเร่ในถิ่นกันดาร | ประมาณ 1405 ปีก่อนคริสตกาล | |
5 | หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ | การรื้อฟื้นพันธสัญญา | ||
6 | หนังสือโยชูวา | โยชูวา | การยึดครองดินแดนคานาอัน | ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล |
7 | หนังสือผู้วินิจฉัย | ไม่ระบุ | การละทิ้งความเชื่อและการช่วยกู้ | ประมาณ 1050-1000 ปีก่อนคริสตกาล |
8 | หนังสือนางรูธ | ความรักแห่งการช่วยไถ่ | ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล | |
9 | หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 | การปกครองอย่างกษัตริย์โดยมีพระเจ้าเป็นประมุขสูงสุด | ปลายศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล | |
10 | หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 | รัชสมัยของดาวิด | ||
11 | หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 | กษัตริย์ของอิสราเอลและยูดาห์ | ประมาณ 560-550 ปีก่อนคริสตกาล | |
12 | หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 2 | กษัตริย์ต่าง ๆ ของอิสราเอลและยูดาห์ | ||
13 | หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 1 | เอสรา | ประวัติศาสตร์ "การไถ่" ของอิสราเอล | ประมาณ 450-420 ปีก่อนคริสตกาล |
14 | หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 | การนมัสการ การฟื้นฟู และการปฏิรูปที่แท้จริง | ||
15 | หนังสือเอสรา | การกลับไปของผู้ที่เหลืออยู่ | ||
16 | หนังสือเนหะมีย์ | เอสรา และ เนหะมีย์ | การสร้างกำแพงกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่ | ประมาณ 430-420 ปีก่อนคริสตกาล |
17 | หนังสือเอสเธอร์ | ไม่ระบุ | การจัดเตรียมด้วยความห่วงใยของพระเจ้า | ประมาณ 460-400 ปีก่อนคริสตกาล |
18 | หนังสือโยบ | ทำไมคนชอบธรรมจึงทนทุกข์ | ไม่แน่นอน | |
19 | หนังสือเพลงสดุดี | บรรพ 1 ส่วนใหญ่คือ ดาวิด | คำอธิฐานและคำสรรเสริญ : มนุษย์และการทรงสร้าง | ศตวรรษที่ 10-5 ก่อนคริสตกาล |
บรรพ 2 ส่วนใหญ่คือ ดาวิดและบุตรของโคราห์ | คำอธิฐานและคำสรรเสริญ : การช่วยกู้และการทรงไถ่ | |||
บรรพ 3 ส่วนใหญ่คือ อาสาฟ | คำอธิฐานและคำสรรเสริญ : การนมัสการและพระวิหาร | |||
บรรพ 4 ส่วนใหญ่ ไม่ระบุชื่อ | คำอธิฐานและคำสรรเสริญ : ถิ่นกันดารและหนทางของพระเจ้า | |||
บรรพ 5 ส่วนใหญ่คือ ดาวิดหรือไม่ระบุชื่อ | คำอธิฐานและคำสรรเสริญ : พระวนจะของพระเจ้าและคำสรรเสริญ | |||
20 | หนังสือสุภาษิต | ซาโลมอนและคนอื่น ๆ | ปัญญาสำหรับการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง | ประมาณ 970-700 ปีก่อนคริสตกาล |
21 | หนังสือปัญญาจารย์ | ซาโลมอน | ความอนิจจังของชีวิตที่ปราศจากพระเจ้า | ประมาณ 935 ปีก่อนคริสตกาล |
22 | หนังสือเพลงซาโลมอน | ความรักในชีวิตสมรส | ประมาณ 960 ปีก่อนคริสตกาล | |
23 | หนังสืออิสยาห์ | อิสยาห์ | การพิพากษาและความรอด | ประมาณ 700-680 ปีก่อนคริสตกาล |
24 | หนังสือเยเรมีย์ | เยเรมีย์ | การพิพากษาของพระเจ้าที่หลีกหนีไม่พ้น สำหรับยูดาห์ที่ไม่ยอมกลับใจ | ประมาณ 585-580 ปีก่อนคริสตกาล |
25 | หนังสือบทเพลงคร่ำครวญ | ความโศกเศร้าในปัจจุบันและความหวังในอนาคต | ประมาณ 586-585 ปีก่อนคริสตกาล | |
26 | หนังสือเอเสเคียล | เอเสเคียล | การพิพากษาและพระเกียรติสิริของพระเจ้า | ประมาณ 590-570 ปีก่อนคริสตกาล |
27 | หนังสือดาเนียล | ดาเนียล | อธิปไตยของพระเจ้าในประวัติศาสตร์ | ประมาณ 536-530 ปีก่อนคริสตกาล |
28 | หนังสือโฮเชยา | โฮเชยา | การพิพากษาและความรักแห่งการทรงไถ่ของพระเจ้า | ประมาณ 715-710 ปีก่อนคริสตกาล |
29 | หนังสือโยเอล | โยเอล | วันยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามขององค์พระผู้เป็นเจ้า | ประมาณ 835-830 ปีก่อนคริสตกาล |
30 | หนังสืออาโมส | อาโมส | ความยุติธรรม ความชอบธรรม และผลตอบแทนจากพระเจ้าต่อบาป | ประมาณ 760-755 ปีก่อนคริสตกาล |
31 | หนังสือโอบาดีห์ | โอบาดีห์ | การพิพากษาเอโดม | ประมาณ 840 ปีก่อนคริสตกาล |
32 | หนังสือโยนาห์ | โยนาห์ | ความกว้างใหญ่ไพศาลของพระเมตตาแห่งความรอดของพระเจ้า | ประมาณ 760 ปีก่อนคริสตกาล |
33 | หนังสือมีคาห์ | มีคาห์ | การพิพากษาและความรอดแห่งพระเมสสิยาห์ | ประมาณ 740-710 ปีก่อนคริสตกาล |
34 | หนังสือนาฮูม | นาฮูม | ความพินาศของนีนะเวห์ที่กำลังจะมาถึง | ประมาณ 630-620 ปีก่อนคริสตกาล |
35 | หนังสือฮาบากุก | ฮาบากุก | มีชีวิตอยู่โดยความเชื่อ | ประมาณ 606 ปีก่อนคริสตกาล |
36 | หนังสือเศฟันยาห์ | เศฟันยาห์ | วันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า | ประมาณ 630 ปีก่อนคริสตกาล |
37 | หนังสือฮักกัย | ฮักกัย | การสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ | ประมาณ 520 ปีก่อนคริสตกาล |
38 | หนังสือเศคาริยาห์ | เศคาริยาห์ | การสร้างพระวิหารเสร็จสิ้นและพระสัญญาเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ | ประมาณ 520-470 ปีก่อนคริสตกาล |
39 | หนังสือมาลาคี | มาลาคี | พระเจ้าทรงกล่าวโทษลัทธิยูดานิยมสมัยหลังจากการเป็นเชลย | ประมาณ 630 ปีก่อนคริสตกาล |
หมายเหตุ
หนังสือเอสเธอร์ (บทที่ 10:4 ถึงบทที่ 16:24) และ หนังสือดาเนียล (บทที่ 3:24-90, บทที่ 13, บทที่ 14) บทและข้อพระคัมภีร์ที่เพิ่มขึ้นมาจัดเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์อธิกธรรม มีใช้ในนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ซึ่งนิกายโปรเตสแตนต์จะไม่ยอมรับบทและข้อพระคัมภีร์ที่เพิ่มขึ้นมานี้ และจัดเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์นอกสารบบ จึงทำให้นิกายโปรเตสแตนต์มีหนังสือทั้งหมดจำนวน 39 เล่ม ตามเนื้อหาในคัมภีร์ฮีบรู
หมายเหตุ
คัมภีร์อธิกธรรมทั้ง 7 เล่มนี้ จัดเป็นคัมภีร์สารบบที่สอง มีใช้ในนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ซึ่งนิกายโปรเตสแตนต์จะไม่ยอมรับหนังสือ 7 เล่มนี้ จึงได้ตัดออกไปตั้งแต่การปฏิรูปศาสนา และเรียกว่าคัมภีร์นอกสารบบ ทำให้นิกายโรมันคาทอลิกมีหนังสือทั้งหมดจำนวน 46 เล่ม
หมายเหตุ
คัมภีร์อธิกธรรมทั้ง 5 เล่มนี้ จัดเป็นคัมภีร์สารบบที่สอง มีใช้ในนิกายออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ซึ่งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์จะไม่ยอมรับหนังสือ 5 เล่มนี้ และเรียกว่าคัมภีร์นอกสารบบ จึงทำให้นิกายออร์ทอดอกซ์มีหนังสือทั้งหมดจำนวน 51 เล่ม
พันธสัญญาใหม่ (The New Testament) เป็นชุดหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นภายหลังจากการการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู มีจำนวน 27 เล่ม แบ่งได้เป็นห้าหมวดใหญ่ ดังนี้
เล่มที่ | ชื่อ | ผู้เขียน | สาระสำคัญ | ช่วงเวลาที่เขียน |
---|---|---|---|---|
1 | พระวรสารนักบุญมัทธิว | มัทธิว | พระเยซู กษัตริย์ผู้เป็นพระเมสสิยาห์ | ค.ศ. 60 |
2 | พระวรสารนักบุญมาระโก | มาระโก | พระเยซู พระบุตรผู้เป็นผู้รับใช้ | ประมาณ ค.ศ. 55-65 |
3 | พระวรสารนักบุญลูกา | ลูกา | พระเยซู พระผู้ช่วยให้รอดผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ | ประมาณ ค.ศ. 60-63 |
4 | พระวรสารนักบุญยอห์น | ยอห์น | พระเยซู พระบุตรของพระเจ้า | ประมาณ ค.ศ. 80-95 |
5 | หนังสือกิจการของอัครทูต | ลูกา | ชัยชนะแห่งการประกาศข่าวดี โดยฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ | ค.ศ. 63 |
6 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม | เปาโล | ความชอบธรรมของพระเจ้าได้รับการเปิดเผย | ค.ศ. 57 |
7 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 | ปัญหาต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาในคริสตจักร | ประมาณ ค.ศ. 55-56 | |
8 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 | ศักดิ์ศรีที่ได้รับผ่านการทนทุกข์ | ||
9 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย | ความรอดโดยพระคุณทางความเชื่อ | ค.ศ. 49 | |
10 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส | พระคริสต์กับคริสตจักร | ค.ศ. 62 | |
11 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี | ความชื่นชมยินดีในการมีชีวิตอยู่เพื่อพระคริสต์ | ประมาณ ค.ศ. 62-63 | |
12 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี | ความยิ่งใหญ่สูงสุดของพระคริสต์ | ค.ศ. 62 | |
13 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 1 | การเสด็จกลับมาของพระคริสต์ | ค.ศ. 51 | |
14 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 2 | ค.ศ. 51-52 | ||
15 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 | หลักคำสอนที่ถูกต้องและชีวิตในทางของพระเจ้า | ค.ศ. 65 | |
16 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 2 | ความอดทนบากบั่น | ค.ศ. 67 | |
17 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิตัส | คำสอนที่มีหลักและการทำดี | ประมาณ ค.ศ. 65-66 | |
18 | จดหมายของนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน | การกลับคืนดีกัน | ค.ศ. 62 | |
19 | จดหมายถึงชาวฮีบรู | ไม่ระบุ | พันธสัญญาที่ดีกว่า | ประมาณ ค.ศ. 67-69 |
20 | จดหมายของนักบุญยากอบ | ยากอบ | ความเชื่อที่เกิดผล | ประมาณ ค.ศ. 45-49 |
21 | จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 | เปโตร | การทนทุกข์เพื่อพระคริสต์ | ประมาณ ค.ศ. 60-63 |
22 | จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 | ความจริงอันซื่อสัตย์เปรียบเทียบกับครูสอนเท็จ | ประมาณ ค.ศ. 66-68 | |
23 | จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 | ยอห์น | ความจริงและความชอบธรรม | ประมาณ ค.ศ. 85-95 |
24 | จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 | ดำเนินชีวิตในความจริง | ||
25 | จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 | กระทำอย่างซื่อสัตย์ | ||
26 | จดหมายของนักบุญยูดา | ยูดา | การต่อสู้เพื่อความเชื่อ | ประมาณ ค.ศ. 70-80 |
27 | หนังสือวิวรณ์ | ยอห์นแห่งปัทมอส คริสตชนเชื่อว่าเป็นคนเดียวกับยอห์นอัครทูต แต่ทางวิชาการเห็นว่าเป็นคนละคนกัน | การต่อสู้และการบรรลุถึงความสมบูรณ์ | ประมาณ ค.ศ. 90-96 |
คัมภีร์ไบเบิล หรือที่เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ ประกอบด้วยหนังสือ 66 เล่ม โดยแบ่งเป็นภาคพันธสัญญาเดิม 39 เล่ม และภาคพันธสัญญาใหม่ 27 เล่ม
การแปลพระคัมภีร์ไทยเริ่มจากนิกายโปรเตสเตนต์[11] โดยมิชชันนารีคู่แรกที่มาเมืองไทย คือ ดร.คาร์ล กู๊ดสลาฟ และ อ.จาค็อบ ทอมลิน จากสมาคมมิชชันแห่งลอนดอน ได้เข้ามาประกาศข่าวประเสริฐเป็น กลุ่มแรก โดยมาถึงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.1828
ศตวรรษที่ 19 ยุคแห่งการแปลพระคัมภีร์[12]
ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งการแก้ไขคำแปล[13]
แปลโดย สมาคมพระคริสตธรรมไทย โดยมีคณะกรรมการคือ ศจ.พอล เอกิน, อจ.เปลื้อง สุทธิคำ, อจ.ทองสุก มังกรพันธ์, อจ.เจริญ สกุลกัน, อจ.เจริญ วิชัย และ อจ.สุข พงศ์น้อย
การแก้ไขยึดพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ KJV (King James Version) เป็นหลัก (พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มพยานพระยะโฮวาในปัจจุบัน)
แปลโดย สหสมาคมพระคริสตธรรมสากล และสมาคมพระคริสตธรรมไทย โดยมีคณะกรรมการ 3 ชุด คือ 1.กรรมการยกร่างคำแปล โดยมี อจ.ศรัณย์ ชัยรัตน์, อจ.ดับบลิว ทอมป์สัน, อจ.เฮอร์เบิร์ท เกรทเธอร์ และอจ.ฟรานซิส ซีรี ทำหน้าที่ยกร่างคำแปลใหม่ 2.กรรมการตรวจสอบ ช่วยตรวจสอบสิ่งที่ผู้ยกร่างแก้ไข จำนวน 8 ท่าน 3.กรรมการที่ปรึกษา จะคอยให้การสนับสนุนและชี้แนะแนวทางการแก้ไข จำนวน 25 ท่าน
การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมใช้พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ RSV (Revised Standard Version) และ ASV (American Standard Version) เทียบกับสำเนาโบราณภาษาฮีบรู การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ใช้ RSV (Revised Standard Version) เทียบกับสำเนาโบราณภาษากรีก เป็นหลัก (พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มของนิกายโปรเตสแตนต์ในปัจจุบัน และนิกายคาทอลิกร่วมใช้เป็นการชั่วคราว)
แปลโดย สมาคมพระคริสตธรรมไทย เป็นการแปลโดยใช้หลักการแปลแบบถอดความ คือแปลความหมายของเนื้อหาให้ถูกต้องเป็นหลักโดยไม่จำเป็นต้องรักษาโครงสร้าง หรือรูปประโยคหรือแม้แต่คำตามต้นฉบับ มีผู้ยกร่างคำแปลหลักสองท่านคือ คุณจิตบรรจง พิมพ์รัตน์ และ ดร.โฮวาร์ด แฮตตัน จากคณะมิชชันโอ เอม เอ็ฟ
การแก้ไขยึดพระคัมภีร์ภาษาอักฤษฉบับ GNB (Good News Bible) เป็นหลัก (พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มประชาชนทั่วไป)
แปลโดย สมาคมพระคริสตธรรมไทย โดยมีคณะกรรมการ 3 ชุด คือ 1.กรรมการยกร่างคำแปล โดยมี ศจ.โรเบิร์ต คอลลินส์, ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย, ดร.วรรณภา เรืองเจริญสุข, อจ.พัชรินทร์ ชัชมนมาศ, อจ.ทองหล่อ วงศ์กำชัย และอจ.ปัญญา โชชัยชาญ ทำหน้าที่ยกร่างคำแปลใหม่ 2.กรรมการตรวจทานโดยนักลีลาภาษา และ 3.กรรมการที่ปรึกษา จะคอยให้การสนับสนุนและชี้แนะแนวทางการแก้ไข
การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมใช้พระคัมภีร์ภาษาฮีบรูและภาษาอาราเมคเป็นหลักในการแปล การแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ใช้พระคัมภีร์ภาษากรีกอย่างเดียว (พระคัมภีร์ฉบับนี้แปลขึ้นมาใหม่จากการร่วมมือกันระหว่างนิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.