Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขมราฐ หมายถึง ดินแดนแห่งความเกษมสุข[1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอ อำเภอเขมราฐเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่สำคัญ โดยฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เขมราฐเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพแม่น้ำโขงที่สวยงาม หาดทรายที่มีชื่อเสียงคือ หาดทรายสูง ประเพณีที่สำคัญของอำเภอคือประเพณีแข่งเรือยาวซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อำเภอเขมราฐ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khemarat |
คำขวัญ: ต้นตำรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม มะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง | |
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเขมราฐ | |
พิกัด: 16°2′24″N 105°12′24″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 526.75 ตร.กม. (203.38 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 82,826 คน |
• ความหนาแน่น | 157.24 คน/ตร.กม. (407.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3405 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขมราฐ ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 34170 |
เว็บไซต์ | http://www.khemarat.net |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอเขมราฐ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2357 อุปฮาด (ก่ำ) แห่งเมืองอุบลราชธานี ขอแยกออกมาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่บ้านโคกก่งดงพะเนียง ต่อมาพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานี พระองค์ที่ 2 (ต้นสกุลพรหมวงศานนท์) จึงมีใบบอกลงไปกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาทราบพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านโคกก่งดงพะเนียง ขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า เขมราษฎร์ธานี ดำรงสถานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ตามที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์กราบบังคมทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้อุปฮาด (ก่ำ) ซึ่งเป็นบุตรของ พระวอ หรือ พระวรราชภักดี เป็น พระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) ผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานีพระองค์แรก (พ.ศ. 2357-2369) ปกครองเมืองเขมราษฎร์ธานีโดยร่มเย็นสืบมา
ชื่อบ้านนามเมือง เขมราษฎร์ธานี หรือ เขมราฐ แต่ก็มีความหมายเดียวกันคือ
ดังนั้น คำว่า "เขมราษฎร์ธานี" หรือ "เขมราฐ" จึงมีความหมายรวมว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข
ระหว่างปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับนครเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ ได้บัญชาการให้เจ้าราชบุตรแห่งนครจำปาศักดิ์ ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี แลขอให้ พระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) เข้าร่วมตีกรุงเทพฯ ด้วย แต่ทว่าพระเทพวงศา นั้นไม่ยินยอมจะเข้าด้วยกับแผนการ และการศึกครั้งนี้ จึงเป็นเหตุให้พระเทพวงศาถูกจับประหารชีวิต พระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
ปี พ.ศ. 2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญจันทร์ บุตรพระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) ครอง เมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 2 (พ.ศ. 2371-2395) พระเทพวงศา (บุญจันทร์) ท่านมีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียม และเมืองเสมี๊ยะ ขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองจำปาสัก มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราษฎร์ธานี
ปี พ.ศ. 2396 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญเฮ้า บุตรพระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) เป็น พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 3 (พ.ศ. 2396-2408)
ปี พ.ศ. 2408 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญสิงห์ บุตรพระเทพวงศา (บุญจันทร์) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 4 (พ.ศ. 2408-2428) ได้ลาออกด้วย โรคชรา ในปี พ.ศ. 2428 และถือเป็นต้น สกุล อมรสิน และอมรสิงห์) มีบุตร 2 คน คือ ท้าวจันทบรม (เสือ) และท้าวขัตติยะ (พ่วย)
ปี พ.ศ. 2388 พระสีหนาท และพระไชยเชษฐา นายครัวชาวผู้ไท เมืองตะโปน ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขง มาขอ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านคำเมืองแก้วขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว (ปัจจุบัน คือ พื้นที่ อ.ชานุมาน) ขึ้นสังกัด เมืองเขมราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2401 ท้าวจันทบรม (เสือ อมรสิน) บุตรพระเทพวงศา ได้ขอยกบ้านค้อใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองอำนาจเจริญ (ปัจจุบันคือ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ) ให้ ท้าวจันทบรม (เสือ อมรสิน) เป็นที่ พระอมรอำนาจ เจ้าเมืองอำนาจเจริญ คนแรก โดยให้ ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2422 เพียเมืองจัน กรมการเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้ขอนำไพร่พล แยกออกไปตั้ง บ้านผะเหลา ขึ้นเป็นเมือง พนานิคม (ปัจจุบัน อ.พนานิคม จ.อำนาจเจริญ) โปรดเกล้าฯ ตั้ง เพียเมืองจัน เป็น พระจันทวงษา เจ้าเมืองคนแรก ขึ้นสังกัดเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ. 2423 หลวงชำนาญไพรสณฑ์ (แดง) บุตรพระเทพวงศา (ก่ำ) ได้ขอแยกออกไปตั้ง บ้านนากอนจอ ขึ้นเป็นเมือง วารินทร์ชำราบ โปรดเกล้าฯ ตั้ง หลวงชำนาญไพรสณฑ์ (แดง) เป็น พระกำจรจาตุรงค์ เจ้าเมืองคนแรก ขึ้นสังกัดเมืองจำปาศักดฺ์ ภายหลังจึงได้ย้ายมาขึ้นสังกัด เมืองเขมราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2425 พระไชยจันดี กรมการเมืองเขมราษฎร์ธานี ได้ขอนำไพร่พล แยกออกไปตั้ง บ้านที ขึ้นเป็นเมือง เกษมสีมา (ปัจจุบัน ตำบลเกษม อ.ตระการพืชผล) โปรดเกล้าฯ ตั้ง พระไชยจันดี เป็น พระพิไชยชาญณรงค์ เจ้าเมืองคนแรก ขึ้นสังกัดเมืองอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. 2428 โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวขัตติยะ (พ่วย) บุตรพระเทพวงศา (บุญสิงห์) รักษาราชการ เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2428-2435) และได้ป่วยเสียชีวิต ด้วยโรคท้องร่วง ในปี พ.ศ. 2435
พ.ศ. 2436 เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ได้เข้าครอบครองฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมืองเขมราฐ อยู่ในระยะ 25 กิโลเมตร จากฝั่งแม่น้ำโขง เป็นเขตปลอดทหาร
ปี พ.ศ. 2440-2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโพธิสาร (คำบุ) เป็นที่พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ ผู้ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเขมราฐ ให้ท้าวโพธิราช (หล้า) เป็นที่พระเขมรัฐศักดิ์ชนาบาล ตำแหน่งปลัดเมือง ให้ท้าวโพธิสารราช (ห้อ) เป็นที่พระเขมรัฐกิจบริหาร ตำแหน่งยกกระบัตรเมือง และหลวงจำนงค์ (แสง) เป็นที่หลวงเขมรัฐการอุตส่าห์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง
ปี พ.ศ. 2444 ได้เกิดเหตุการณ์ ขบวนการผู้มีบุญ หรือ ขบถผีบุญ หลายพื้นที่ในภาคอีสาน และมี องค์มั่น นำพวกเมืองโขงเจียม ราว 1,000 คน เข้าปล้น เมืองเขมราฐ ฆ่ากรมการเมือง ปล่อยนักโทษ จับตัวบังคับ พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ (คำบุ) ผู้ว่าราชการเมืองเขมราฐ ให้เข้าร่วมขบวนการ โดยมีประชาชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ยกพวกเข้ายึด เมืองเกษมสีมา แล้วไปตั้งค่าย อยู่บ้านสะพือ เพื่อมุ่งหน้าจะเข้าตีเมืองตระการพืชผล และจะเข้ายึด เมืองอุบลราชธานี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ซึ่งกำกับ มณฑลลาวกาว จึงได้ส่งกองทหาร ออกมาปราบ จนเกิดการสู้รบ กันที่บ้านสะพือ ทำให้ขบวนการผู้มีบุญแตกพ่าย
ปี พ.ศ. 2445 ทางราชการได้ปรับลดฐานะเมืองโขงเจียม เมืองคำเขื่อนแก้ว เมืองอำนาจเจริญ และเมืองวารินทร์ชำราบ ที่เคยขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ให้เป็นอำเภอแต่คงให้ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐเช่นเดิม ส่วนเมืองเขมราฐให้แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ อำเภออุไทยเขมราฐ และอำเภอปจิมเขมราฐ มี * พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ (คำบุ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองเขมราฐ
อันมีอำนาจปกครอง 6 อำเภอ แสดงให้เห็นว่าเมืองเขมราฐยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก
ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ เพื่อให้บังเกิดผลตามที่กำหนดใน “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116” มณฑลอีสานถูกแบ่งออกเป็น 8 บริเวณ สำหรับเมืองอุบลราชธานี มีอยู่ 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองยโสธร และเมืองเขมราฐ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 ทางราชการได้ยุบอำเภอปจิมเขมราฐ และอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยให้ไปรวมกับอำเภออุไทยเขมราฐ และในปลายปี พ.ศ. 2452 ทางราชการได้ถูกลดฐานะเมืองเขมราฐลงเป็นอำเภอเขมราฐ ส่วนอำเภอที่เคยขึ้นตรงต่อก็ให้โอนไปอยู่ในเขตการปกครองของเมืองยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. พ.ศ. 2455 อำเภอเขมราฐจึงถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีจนถึงกระทั่งปัจจุบัน โดยมีพระเกษมสำราญรัฐ (แสง จารุเกษม) เป็นนายอำเภอคนแรก[2]
ปี พ.ศ. 2511 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอชานุมาน
พ.ศ. 2525 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอโพธิ์ไทร
พ.ศ. 2537 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอนาตาล
รายนามเจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี | |
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) | พ.ศ. 2357-2369 |
พระเทพวงศา (บุญจันทร์) | พ.ศ. 2371-2395 |
พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) | พ.ศ. 2396-2408 |
พระเทพวงศา (บุญสิงห์) | พ.ศ. 2408-2428 |
พระเทพวงศา (พ่วย) | พ.ศ. 2428-2435 |
พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ (คำบุ) | พ.ศ. 2435-2442 |
พระเกษมสำราญรัฐ (แสง จารุเกษม) |
พ.ศ. 2442-2453 |
อ้างอิง:[3] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.