คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

อำเภอปากช่อง

อำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอปากช่อง
Remove ads

ปากช่อง เป็นอำเภอหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา เป็นอำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,825.2 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่สุดในจังหวัดนครราชสีมา และมีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากอำเภอเมืองนครราชสีมา อยู่ห่างจากเมืองนครราชสีมาประมาณ 85 กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสีคิ้ว[1]

ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอปากช่อง, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
Remove ads
Remove ads

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอปากช่องมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

เมื่อปี พ.ศ. 2430 บ้านปากช่องขึ้นกับตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรกกรุงเทพ-นครราชสีมา สร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกว่า "บ้านปากช่อง"

  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลปากช่อง แยกออกจากตำบลจันทึก[2]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากช่อง อำเภอสีคิ้ว[3]
  • วันที่ 22 มกราคม 2500 แยกพื้นที่ตำบลปากช่อง ตำบลจันทึก ตำบลกลางดง และตำบลหมูสี ของอำเภอสีคิ้ว มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปากช่อง[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสีคิ้ว
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะกิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว เป็น อำเภอปากช่อง[4]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลกลางดง[5]
  • วันที่ 19 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนงพระ แยกออกจากตำบลปากช่อง[6]
  • วันที่ 28 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลหนองสาหร่าย แยกออกจากตำบลจันทึก[7]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลวังกะทะ แยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย[8]
  • วันที่ 24 มิถุนายน 2524 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากช่อง เป็น เทศบาลตำบลปากช่อง[9]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลโป่งตาลอง แยกออกจากตำบลหมูสี และตั้งตำบลคลองม่วง แยกออกจากตำบลวังกะทะ[10]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลหนองน้ำแดง แยกออกจากตำบลขนงพระ และตั้งตำบลวังไทร แยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย[11]
  • วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลพญาเย็น แยกออกมาจากตำบลกลางดง[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง[13] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง[14]
Remove ads

การแบ่งเขตการปกครอง

สรุป
มุมมอง

การปกครองท้องที่

อำเภอปากช่องแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 219 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ปากช่อง(Pak Chong)22 หมู่บ้าน
2.กลางดง(Klang Dong)15 หมู่บ้าน
3.จันทึก(Chanthuek)22 หมู่บ้าน
4.วังกะทะ(Wang Katha)24 หมู่บ้าน
5.หมูสี(Mu Si)19 หมู่บ้าน
6.หนองสาหร่าย(Nong Sarai)25 หมู่บ้าน
7.ขนงพระ(Khanong Phra15 หมู่บ้าน[15][16]
8.โป่งตาลอง(Pong Talong13 หมู่บ้าน
9.คลองม่วง(khlong Muang)21 หมู่บ้าน
10.หนองน้ำแดง(Nong Nam Daeng)11 หมู่บ้าน
11.วังไทร(Wang Sai)18 หมู่บ้าน
12.พญาเย็น(Phaya Yen)14 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอปากช่องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

การขนส่ง

Thumb
สถานีรถไฟปากช่อง
รถไฟ
ทางหลวง
Remove ads

การท่องเที่ยว

Thumb
อ่างเก็บน้ำลำตะคอง

อำเภอปากช่องมีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งทางขึ้นอุทยานด้านอำเภอปากช่องเป็นถนนที่สามารถขึ้นไปถึงบริเวณอุทยานได้สะดวก เนื่องจากเขตอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าดงพญาเย็นประกอบกับเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีความเย็นเหมาะแก่การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ จึงมีฟาร์มขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งฟาร์มโคนมโชคชัยซึ่งปัจจุบันพัฒนาให้มีบริเวณที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและจัดเป็นแพ็กเกจทัวร์เพื่อเที่ยวชมภายในฟาร์ม นอกจากนี้ยังมีฟาร์มอื่น ๆ รีสอร์ต และโรงแรมอีกมาก ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครมาพักผ่อน

ปากช่องมีระดับโอโซนเป็นอันดับ 7 ของโลก[ต้องการอ้างอิง]ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ สดชื่น ดีต่อสุขภาพ บริเวณเขตติดต่อกับอำเภอสีคิ้วเป็นที่ตั้งของเขื่อนลำตะคองซึ่งมีจุดชมวิวที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนโดยตัวเขื่อนอยู่ห่างจากตัวอำเภอปากช่องประมาณ 15 กิโลเมตร ส่วนตำบลกลางดงเป็นแหล่งแวะพักเพื่อซื้อของฝากประเภทผลไม้ต่าง ๆ มากมายสดจากไร่และข้าวโพดหวานอันเลื่องชื่อของไร่สุวรรณ

Remove ads

อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิด โดยเฉพาะที่เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอและมีการจัดงานประจำปีขึ้นทุกปี คือ น้อยหน่า ส่วนพืชผลอื่น ๆ คือ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย มะม่วง องุ่น และลิ้นจี่ พืชผักอื่น ๆ ที่เพาะปลูกมาก คือ มะละกอ พริก ผักชี แตงกวา และต้นหอม นอกจากนี้ การทำปศุสัตว์ก็เป็นอีกอาชีพที่ได้รับความนิยม คือ การเลี้ยงไก่ สุกร และโคนม โดยมีโรงงานฟักไข่ขนาดใหญ่อยู่ในสำหรับด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมหลัก โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตตัวเมืองซึ่งเป็นเขตการค้าที่ไม่กระจุกตัว แต่จะมีที่ตั้งตามแนวถนนทั้งสองฝั่งของถนนมิตรภาพ มีตลาดในตัวเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าหลายแห่ง แต่มีเขตติดต่อกันจนดูเหมือนเป็นแห่งเดียวกัน

Remove ads

รายชื่อนายอำเภอ

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับที่, ชื่อ-สกุล ...
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads