Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย) เป็นภาพยนตร์ไทย เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่น 3 คน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย นิธิวัฒน์ ธราธร และเข้าฉาย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย | |
---|---|
ภาพใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | นิธิวัฒน์ ธราธร |
บทภาพยนตร์ | นิธิวัฒน์ ธราธร อมราพร แผ่นดินทอง |
อำนวยการสร้าง | จิระ มะลิกุล ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ยงยุทธ ทองกองทุน เช่นชนนี สุนทรศารทูล สุวิมล เตชะสุปินัน |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ประภพ ดวงพิกุล |
ตัดต่อ | ประภพ ดวงพิกุล |
ดนตรีประกอบ | บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ หัวลำโพงริดดิม |
ผู้จัดจำหน่าย | จีทีเอช บีบีทีวี โปรดัคชันส์ |
วันฉาย | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 |
ความยาว | 108 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 71.8 ล้านบาท[1] |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
หลังจากจบมัธยมต้นแล้ว ป้อม ตัดสินใจสมัครเข้าเรียนมัธยมปลาย ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเตรียมดนตรี เพราะต้องการอยู่ใกล้กับ ดาว เด็กสาวจากโรงเรียนเดียวกัน ที่เขาแอบหลงรัก
ในขณะที่พ่อของป้อมเข้าใจว่า ลูกชายเรียนสาขาเตรียมแพทยศาสตร์ โดยที่ป้อมเองก็ไม่กล้าบอกความจริง เนื่องจากพ่อของป้อมเห็นว่า ดนตรีเป็นวิชาชีพที่ไม่มั่นคง
ขณะเดียวกัน ป้อมก็ได้พบกับ อ้อม ลูกสาวของเพื่อนพ่อ ที่ถึงแม้ด้านปฏิบัติจะไม่เอาไหน แต่ความรู้ด้านทฤษฏีดนตรีเป็นเลิศ และสอบเข้าที่วิทยาลัยฯ เช่นกัน เมื่อทราบเรื่อง อ้อมก็เข้าใจว่า ป้อมรักดนตรีเหมือนกัน จึงสัญญาจะช่วยป้อมเก็บความลับ
ถึงแม้จะตามผู้หญิงที่แอบรักมาเรียน แต่ป้อมกลับค้นพบว่า ตัวเขามีพรสวรรค์ในการตีกลองชุดที่เป็นเลิศ ทำให้ เฉด และ ฉัตร สองหนุ่ม ผู้กำลังมองหามือกลอง ให้กับวงดนตรีของตัวเอง เลือกป้อมเข้าร่วมวง เพื่อเข้าประกวด การแข่งขันวงดนตรี ฮอทเวฟมิวสิคอวอร์ด โดยตั้งชื่อวงว่า Ass-Ho-Le (แอสโฮลี่)
นอกจากนี้ ฝีมือการตีกลองของป้อม ยังไปเข้าตา จิทาโร่ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ผู้สอนเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ (เพอร์คัชชัน) อาจารย์จิทาโร่ จึงมักจะเรียกใช้ป้อม ให้มาช่วยทำวิทยานิพนธ์ของเขาอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ป้อมกลับเลือกสมัครเป็นมือกลองทิมปะนี ในวงออร์เคสตราของโรงเรียนแทน เพราะต้องการอยู่ใกล้ชิดดาว ซึ่งเป็นมือไวโอลินของวง ส่วนอ้อม ซึ่งเคยเป็นมือไวโอลินเช่นกัน ต้องเปลี่ยนไปเล่นฉาบแทน เนื่องจาก ฝีมือการเล่นเครื่องดนตรีอื่นไม่เอาไหนจริงๆ
เนื่องจาก วงออร์เคสตรา ใช้การเคาะจังหวะด้วยกลองไม่มาก ป้อมจึงต้องรออย่างเบื่อหน่าย กว่าจะถึงช่วงเล่นของตนแต่ละครั้ง ต่างกับอ้อม ที่มีความสุขกับดนตรี แม้ทั้งเพลงจะได้เล่นน้อยมาก ป้อมจึงเริ่มนึกถึงความรู้สึกของตนเอง ที่เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เสมอ ทั้งเรื่องดนตรี การเรียน ความรัก และชีวิตของตนในอนาคต ราวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2549 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ชุติมา ทีปะนาถ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อมราพร แผ่นดินทอง , นิธิวัฒน์ ธราธร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ประภพ ดวงพิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม | ชนะ | ||
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | Seasons Change | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | - | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ชุติมา ทีปะนาถ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม | ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ , กันตนา แลบอราทอรี่ส์ จำกัด | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | วรากร พูลสวัสดิ์, มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ชุติมา ทีปะนาถ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ประภพ ดวงพิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | วรากร พูลสวัสดิ์, มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 | เพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บอย โกสิยพงษ์ , หัวลำโพงริดดิม | ชนะ |
พ.ศ. 2550 | รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | วิทวัส สิงห์ลำพอง | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ชุติมา ทีปะนาถ | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ยาโน คาซูกิ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ยุวนาถ อาระยานิมิตสกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม | ชนะ | ||
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | Seasons Change | ชนะ | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 4 | บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง | ชนะ |
รางวัลภาพยนตร์ยอดนิยม | GTH | ชนะ | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ชุติมา ทีปะนาถ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง | ชนะ | ||
บทเพลงสี่ฤดู
ไวโอลินคอนแซร์โต ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์ โอปุส 64 ของ Felix Mendelssohn
ซิมโฟนีหมายเลขห้า ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ ของ Ludwig van Beethoven
ดีวีดี และ วีซีดี ที่ผลิตออกจำหน่าย มี 3 รูปแบบ ได้แก่
เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี GTH ได้มีการรวมภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็น1 ใน 7 ของชุดภาพยนตร์รัก ของค่าย GTH ด้วย (GTH 7 Love Collection)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.