Loading AI tools
กองบังคับการตำรวจในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบังคับการตำรวจรถไฟ (อังกฤษ: Railway Police Division) (อักษรย่อ บก.รฟ.) เป็นอดีตหน่วยงานตำรวจระกับกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งถูกยุบตามผลของ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2565 ในเดือน ตุลาคม พ.ศ.2566 มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการสืบสวนสอบสวน และการป้องกันปราบกรามการกระทำความผิดทางอาญา รวมไปถึงความปลอดภัยในเขตพื้นที่อันเกี่ยวเนื่องกับการรถไฟแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ อันได้แก่ สถานีรถไฟ ทางรถไฟ ขบวนรถไฟ จุดถ่ายโอนสินค่า และที่พักสินค้า รวมไปถึง ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของการรถไฟ[1]
กองบังคับการตำรวจรถไฟ | |
---|---|
เครื่องหมายราชการและอาร์มประจำหน่วยงาน | |
อักษรย่อ | บก.รฟ. |
คำขวัญ | ทุกขบวนปลอดภัย ตำรวจรถไฟ พร้อมใจให้บริการ |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2437 |
ยุบเลิก | 17 ตุลาคม 2566 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
สำนักงานใหญ่ | เชิงสะพานนพวงศ์ ถนนเลียบคลองผดุงเกษม แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง |
เขตอำนาจปกครอง | • เขตเกี่ยวเนื่องกับรถไฟทั่วประเทศ
• 6 กองกำกับการ • 15 สถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) |
เว็บไซต์ | |
www |
ปัจจุบันทาง บช.ก. ได้จัดตั้ง ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ (ศปรฟ.บช.ก.) ขึ้นมาทำหน้าทดแทน ตามการขอความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย[2]
กองตำรวจรถไฟ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2437 สามปีหลังจากการจัดตั้งกรมรถไฟหลวง ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 ในเส้นทางรถไฟสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา มีหน้าที่ป้องกันภัยรถไฟ และผู้โดยสาร จากการก่ออาชญากรรม ตลอดจนการป้องกันขับไล่สัตว์ป่าดุร้าย ภายหลังราวปี 2494–2500 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้ยกสถานะเป็น กองบังคับการ เพื่อเพิ่มอำนาจหน้าที่และอัตรากำลังพลให้เพียงพอต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเส้นทางเดินรถ สถานี และปริมาณการเดินรถและผู้โดยสารที่มากขึ้น ในปี 2548 ได้มีการโอนให้หน่วยมาสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[3]
ตามที่ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ฉบับใหม่ มีเนื้อหาให้มีการดำเนินการยุบยกเลิกกองบังคับการตำรวจรถไฟในเดือนตุลาคม 2566[4] หลังจากการดำเนินงานของหน่วยมากว่า 126 ปี ซึ่งแผนการดำเนินการดังกล่าวนั้นก็ไม่เป็นที่เห็นด้วยนักในหมู่ประชาชนผู้ใช้รถไฟ ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ประจำขบวน และเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟ จากการสำรวจเบื้องต้นโดยสำนักข่าวไทยพีบีเอส[5] ทั้งนี้ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) ตำรวจรถไฟมีกรอบอยู่ที่ 870 อัตรา มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ที่ 738 อัตรา มีความจำเป็นที่ต้องจัดหาตำแหน่งใหม่ให้หลังจากการยุบหน่วย[6][7] ซึ่งจะยุติการปฏิบัติงานในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566[8]
ก่อนการยุบ บก.รฟ. การรถไฟแห่งประเทศไทย และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ เพื่อเป็นข้อตกลงให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของ บช.ก. มีอำนาจดูแลความปลอดภัยในขบวรรถไฟ รวมไปถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเข้ามาดูแลในขบวร แม้ว่าจะมีการยุบหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงก็ตาม โดยหลังจากมีการยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ ทาง บช.ก. จึงจัดตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ (ศปรฟ.บช.ก.)" ซึ่งมีกำลังตำรวจราว 200 นาย มีขอบเขตดำเนินการบนขบวนรถไฟและแนวทางปฏิบัติงานยังเป็นไปเช่นเดิม เหมือนที่เคยมีกองบังคับการตำรวจรถไฟอยู่เดิม โดยจะประจำการบนขบวนรถไฟประมาณ 30 ขบวน ขบวนละ 2-3 นาย มีอำนาจดำเนินการจับกุมตามปกติ และจะได้รับกรอบวงเงินเบี้ยเลี้ยงขบวนรถและค่าที่พัก จาก รฟท. ตามเดิมที่เคยให้ตำรวจรถไฟที่ผ่านมาทุกปี แต่บ้านพักและที่ทำการ รวมไปถึงสถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) ยานพาหนะ และอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ยังคงต้องส่งมอบคืนให้แก่การรถไฟ[2] [9][10]
กองบังคับการตำรวจรถไฟ มีสถานะเป็นกองบังคับการในสังกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยปัจจุบันมีอัตรากำลังพลกว่า 738 นาย[4] กระจายอยู่ใน 15 สถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) ตามเส้นทางรถไฟ และมีหน่วยบริการอยู่ตามสถานีรถไฟ 40 แห่ง[11] โดยปัจจบันมี พล.ต.ต.ชัยรพ จุณณวัตต์ เป็นผู้บังคับการ (ผบก.รฟ.)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.