Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 (อังกฤษ: 2016 UEFA European Football Championship; ฝรั่งเศส: Championnat d'Europe de football 2016) หรือรู้จักกันในชื่อ ยูโร 2016 (Euro 2016) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 15 จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นที่ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
Championnat d'Europe de football 2016 (ฝรั่งเศส) | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน | |
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | ประเทศฝรั่งเศส |
วันที่ | 10 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 |
ทีม | 24 |
สถานที่ | 10 (ใน 10 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | โปรตุเกส (สมัยที่ 1) |
รองชนะเลิศ | ฝรั่งเศส |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 51 |
จำนวนประตู | 108 (2.12 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 2,427,303 (47,594 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | อ็องตวน กรีแยซมาน (6 ประตู) |
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม | รือนาตู ซังชึช[1] |
การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996[2] ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด), ฝรั่งเศส ซึ่งเข้ารอบอัตโนมัติจากการเป็นเจ้าภาพ และ ทีมจากการแขงขันเพลย์ออฟแบบเหย้า-เยือนของทีมอันดับที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 4 ทีม
ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน โดยชนะ ประเทศอิตาลี และ ประเทศตุรกี ในการคัดเลือกเจ้าภาพครั้งนี้[3][4] ซึ่งการแข่งขันจะจัดที่ 10 สนาม ใน 10 เมือง: บอร์โด, ล็องส์, ลีล, ลียง, มาร์แซย์, นิส, ปารีส, แซ็ง-เดอนี, แซ็งเตเตียน และ ตูลูซ โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 3 ในการเป็นเจ้าภาพของประเทศฝรั่งเศส หลังจากจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1960 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ซึ่งทีมชาติฝรั่งเศสเป็นแชมป์ในรายการนี้ 2 ครั้ง คือปี 1984 และ 2000
ทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันใน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ที่ประเทศรัสเซีย
การจับสลากรอบคัดเลือกมีขึ้นที่ ปาเลส์ เดส์ กอนเกรส์ อาโกรโปลิส ใน นิส เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[5] รอบคัดเลือกเริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557[6] พร้อมกับเพิ่มทีมเป็น 24 ทีม ประเทศกลางในการจัดอันดับจะได้มีโอกาสเข้ารอบสุดท้ายเพิ่มขึ้น
ประเทศ | วิธีการเข้ารอบ | วันที่เข้ารอบ | จำนวนครั้งที่เข้ารอบ[n 1] |
---|---|---|---|
ฝรั่งเศส | เจ้าภาพ | 28 พฤษภาคม 2010 | 8 (1960, 1984, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
อังกฤษ | ชนะเลิศ กลุ่ม E | 5 กันยายน 2015 | 8 (1968, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012) |
เช็กเกีย[n 2] | ชนะเลิศ กลุ่ม A | 6 กันยายน 2015 | 8 (1960, 1976, 1980, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
ไอซ์แลนด์ | รองชนะเลิศ กลุ่ม A | 6 กันยายน 2015 | 0 (ครั้งแรก) |
ออสเตรีย | ชนะเลิศ กลุ่ม G | 8 กันยายน 2015 | 1 (2008) |
ไอร์แลนด์เหนือ | ชนะเลิศ กลุ่ม F | 8 ตุลาคม 2015 | 0 (ครั้งแรก) |
โปรตุเกส | ชนะเลิศ กลุ่ม I | 8 ตุลาคม 2015 | 6 (1984, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
สเปน | ชนะเลิศ กลุ่ม C | 9 ตุลาคม 2015 | 9 (1964, 1980, 1984, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
สวิตเซอร์แลนด์ | รองชนะเลิศ กลุ่ม E | 9 ตุลาคม 2015 | 3 (1996, 2004, 2008) |
อิตาลี | ชนะเลิศ กลุ่ม H | 10 ตุลาคม 2015 | 8 (1968, 1980, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
เบลเยียม | ชนะเลิศ กลุ่ม B | 10 ตุลาคม 2015 | 4 (1972, 1980, 1984, 2000) |
เวลส์ | รองชนะเลิศ กลุ่ม B | 10 ตุลาคม 2015 | 0 (ครั้งแรก) |
โรมาเนีย | รองชนะเลิศ กลุ่ม F | 11 ตุลาคม 2015 | 4 (1984, 1996, 2000, 2008) |
แอลเบเนีย | รองชนะเลิศ กลุ่ม I | 11 ตุลาคม 2015 | 0 (ครั้งแรก) |
เยอรมนี[n 3] | ชนะเลิศ กลุ่ม D | 11 ตุลาคม 2015 | 11 (1972, 1976, 1980, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012) |
โปแลนด์ | รองชนะเลิศ กลุ่ม D | 11 ตุลาคม 2015 | 2 (2008, 2012) |
รัสเซีย[n 4] | รองชนะเลิศ กลุ่ม G | 12 ตุลาคม 2015 | 10 (1960, 1964, 1968, 1972, 1988, 1992, 1996, 2004, 2008, 2012) |
สโลวาเกีย | รองชนะเลิศ กลุ่ม C | 12 ตุลาคม 2015 | 0 (ครั้งแรก) |
โครเอเชีย | รองชนะเลิศ กลุ่ม H | 13 ตุลาคม 2015 | 4 (1996, 2004, 2008, 2012) |
ตุรกี | อันดับสามที่ดีที่สุด | 13 ตุลาคม 2015 | 3 (1996, 2000, 2008) |
ฮังการี | ชนะเลิศ เพลย์ออฟ | 15 พฤศจิกายน 2015 | 2 (1964, 1972) |
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | ชนะเลิศ เพลย์ออฟ | 16 พฤศจิกายน 2015 | 2 (1988, 2012) |
สวีเดน | ชนะเลิศ เพลย์ออฟ | 17 พฤศจิกายน 2015 | 5 (1992, 2000, 2004, 2008, 2012) |
ยูเครน | ชนะเลิศ เพลย์ออฟ | 17 พฤศจิกายน 2015 | 1 (2012) |
การจับสลากในรอบสุดท้ายมีขึ้นที่ ปาเลส์ เดส์ คอนเกรส์ เด ลา ปอร์เต เมยอต์ ใน ปารีส เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558[6][5]
|
|
|
|
ในครั้งแรกนั้น ฝรั่งเศสได้เสนอสนามแข่งขันจำนวน 12 แห่ง ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นได้ลดลงมาเหลือ 9 แห่งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 แต่กลับมาเลือกใช้ 11 สนามในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554[7] และสุดท้าย สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส จะเลือกเพียง 9 สนามที่จะใช้ในการแข่งขันนี้
ซึ่งในส่วนของ 7 สนามแรกที่จะเลือกนั้น ได้แก่ สตาดเดอฟร็องส์ ซึ่งเป็นสนามเหย้าของทีมชาติฝรั่งเศส, อีก 4 สนามที่สร้างขึ้นใหม่ในลีล, ลียง, นิส และ บอร์โด และสนามในปารีส กับ มาร์แซย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ส่วนอีก 2 แห่งนั้น หลังจากที่สทราซบูร์ ได้ถอนตัวเนื่องจากมีปัญหาทางด้านการเงิน[8] โดยในการโหวตรอบแรกเลือกล็องส์ และ น็องซี เป็นเมืองที่จัดการแข่งขันแทนแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ โดยจะจัดเป็นสนามแข่งขันสำรองแทน
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สนามแข่งขันได้เพิ่มเป็น 11 แห่ง เนื่องจากการแข่งขันใหม่จะมี 24 ทีมเข้าแข่งขัน ต่างจากครั้งก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 16 ทีม[9][10] โดยอีก 2 เมืองที่เพิ่มเข้ามาคือแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 น็องซีได้ขอถอนตัวจากการเป็นเมืองที่ใช้ในการแข่งขัน หลังจากมีปัญหาจากการปรับปรุงสนาม[11] ทำให้เหลือ 10 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
โดยในการแข่งขันครั้งนี้ สตาดเดอลาโบฌัวร์ ใน น็องต์ กับ สตาดเดอลามอซง ใน มงเปอลีเย (สนามแข่งขันฟุตบอลโลก 1998) ไม่ถูกเลือกใช้จัดการแข่งขัน ซึ่งสนามแข่งขันทั้ง 10 สนามได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการของยูฟ่าในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556[12]
แซ็ง-เดอนี | มาร์แซย์ | ลียง | ลีล |
---|---|---|---|
สตาดเดอฟร็องส์ | สตาดเวลอดรอม | ปาร์กอแล็งปิกลียอแน | สตาดปีแยร์-โมรัว |
48°55′28″N 2°21′36″E | 43°16′11″N 5°23′45″E | 45°45′56″N 4°58′52″E | 50°36′43″N 3°07′50″E |
ความจุ : 81,338 | ความจุ : 67,394 (ปรับปรุง) |
ความจุ : 59,286 (สนามใหม่) |
ความจุ : 50,186 (สนามใหม่) |
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 (ฝรั่งเศส) |
|||
ปารีส | บอร์โด | ||
ปาร์กเดแพร็งส์ | มัตมุตอัตล็องติก | ||
48°50′29″N 2°15′11″E | 44°53′50″N 0°33′43″W | ||
ความจุ : 48,712 (ปรับปรุง) |
ความจุ : 42,115 (สนามใหม่) | ||
แซ็งเตเตียน | นิส | ล็องส์ | ตูลูซ |
สตาดฌอฟรัว-กีชาร์ | อลิอันซ์ริวีเอรา | สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต | สตาดียอมมูว์นีซีปาล |
45°27′39″N 4°23′24″E | 43°42′25″N 7°11′40″E | 50°25′58.26″N 2°48′53.47″E | 43°34′59″N 1°26′3″E |
ความจุ : 41,965 (ปรับปรุง) |
ความจุ : 35,624 (สนามใหม่) |
ความจุ : 38,223 (ปรับปรุง) |
ความจุ : 33,150 (ปรับปรุง) |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในแต่ละทีมชาติสามารถส่งผู้เล่นลงทำการแข่งขันได้ 23 คน โดย 3 คนต้องเป็นผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู และต้องส่งรายชื่อก่อนวันเปิดการแข่งขัน 10 วัน ซึ่งหากมีผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บหรือเหตุผลอื่นที่ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ สามารถที่จะเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ก่อนที่จะแข่งขันนัดแรก[13]
ยูฟ่าได้ประกาศโปรแกรมการแข่งขันออกมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557,[14][15] และได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หลังจบการจับสลากเสร็จสิ้น.[16] เวลาทั้งหมดเป็นเวลาท้องถิ่น, CEST (UTC+2).
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ฝรั่งเศส (H) | 3 | 2 | 1 | 0 | 4 | 1 | +3 | 7 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | สวิตเซอร์แลนด์ | 3 | 1 | 2 | 0 | 2 | 1 | +1 | 5 | |
3 | แอลเบเนีย | 3 | 1 | 0 | 2 | 1 | 3 | −2 | 3 | |
4 | โรมาเนีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 2 | 4 | −2 | 1 |
แอลเบเนีย | 0–1 | สวิตเซอร์แลนด์ |
---|---|---|
รายงาน | แชร์ 5' |
โรมาเนีย | 1–1 | สวิตเซอร์แลนด์ |
---|---|---|
สตังกู 18' (ลูกโทษ) | รายงาน | เมห์เมดี 57' |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เวลส์ | 3 | 2 | 0 | 1 | 6 | 3 | +3 | 6 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | อังกฤษ | 3 | 1 | 2 | 0 | 3 | 2 | +1 | 5 | |
3 | สโลวาเกีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 | |
4 | รัสเซีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 2 | 6 | −4 | 1 |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เยอรมนี | 3 | 2 | 1 | 0 | 3 | 0 | +3 | 7 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | โปแลนด์ | 3 | 2 | 1 | 0 | 2 | 0 | +2 | 7 | |
3 | ไอร์แลนด์เหนือ | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 2 | 0 | 3 | |
4 | ยูเครน | 3 | 0 | 0 | 3 | 0 | 5 | −5 | 0 |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครเอเชีย | 3 | 2 | 1 | 0 | 5 | 3 | +2 | 7 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | สเปน | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 2 | +3 | 6 | |
3 | ตุรกี | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 4 | −2 | 3 | |
4 | เช็กเกีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 2 | 5 | −3 | 1 |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อิตาลี | 3 | 2 | 0 | 1 | 3 | 1 | +2 | 6 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | เบลเยียม | 3 | 2 | 0 | 1 | 4 | 2 | +2 | 6 | |
3 | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 4 | −2 | 4 | |
4 | สวีเดน | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 3 | −2 | 1 |
เบลเยียม | 3–0 | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ |
---|---|---|
แอร์. ลูกากู 48', 70' วิตเซล 61' |
รายงาน |
อันดับ | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ฮังการี | 3 | 1 | 2 | 0 | 6 | 4 | +2 | 5 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | ไอซ์แลนด์ | 3 | 1 | 2 | 0 | 4 | 3 | +1 | 5 | |
3 | โปรตุเกส | 3 | 0 | 3 | 0 | 4 | 4 | 0 | 3 | |
4 | ออสเตรีย | 3 | 0 | 1 | 2 | 1 | 4 | −3 | 1 |
อันดับ | กลุ่ม | ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน | การผ่านเข้ารอบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | B | สโลวาเกีย | 3 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 0 | 4 | เข้าสู่รอบแพ้คัดออก |
2 | E | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 3 | 1 | 1 | 1 | 2 | 4 | −2 | 4 | |
3 | F | โปรตุเกส | 3 | 0 | 3 | 0 | 4 | 4 | 0 | 3 | |
4 | C | ไอร์แลนด์เหนือ | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 2 | 0 | 3 | |
5 | D | ตุรกี | 3 | 1 | 0 | 2 | 2 | 4 | −2 | 3 | |
6 | A | แอลเบเนีย | 3 | 1 | 0 | 2 | 1 | 3 | −2 | 3 |
ในรอบแพ้คัดออกนั้น จะมีการต่อเวลาพิเศษ และ การดวลลูกโทษ เพื่อตัดสินผู้ชนะหากเสมอกัน[13]
ในรอบ 16 ทีม ยูฟ่าได้จัดการแข่งขันดังนี้:[53]
โดยการจัดการแข่งขันจะมีทีมอันดับที่ 3 ที่มีคะแนนดีที่สุด 4 ทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบ 16 ทีม:[53]
ทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด | ทีมชนะเลิศกลุ่มเอ | ทีมชนะเลิศกลุ่มบี | ทีมชนะเลิศกลุ่มซี | ทีมชนะเลิศกลุ่มดี |
---|---|---|---|---|
A B C D | 3C | 3D | 3A | 3B |
A B C E | 3C | 3A | 3B | 3E |
A B C F | 3C | 3A | 3B | 3F |
A B D E | 3D | 3A | 3B | 3E |
A B D F | 3D | 3A | 3B | 3F |
A B E F | 3E | 3A | 3B | 3F |
A C D E | 3C | 3D | 3A | 3E |
A C D F | 3C | 3D | 3A | 3F |
A C E F | 3C | 3A | 3F | 3E |
A D E F | 3D | 3A | 3F | 3E |
B C D E | 3C | 3D | 3B | 3E |
B C D F | 3C | 3D | 3B | 3F |
B C E F | 3E | 3C | 3B | 3F |
B D E F | 3E | 3D | 3B | 3F |
C D E F | 3C | 3D | 3F | 3E |
รอบ 8 ทีมจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]
รอบรองชนะเลิศจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]
รอบชิงชนะเลิศจะจัดการแข่งขันดังนี้:[53]
Round of 16 | รอบ 8 ทีม | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | |||||||||||
25 มิถุนายน – แซ็งเตเตียน | ||||||||||||||
สวิตเซอร์แลนด์ | 1 (4) | |||||||||||||
30 มิถุนายน – มาร์แซย์ | ||||||||||||||
โปแลนด์ | 1 (5) | |||||||||||||
โปแลนด์ | 1 (3) | |||||||||||||
25 มิถุนายน – ล็องส์ | ||||||||||||||
โปรตุเกส | 1 (5) | |||||||||||||
โครเอเชีย | 0 | |||||||||||||
6 กรกฎาคม – ลียง | ||||||||||||||
โปรตุเกส (ต่อเวลา) | 1 | |||||||||||||
โปรตุเกส | 2 | |||||||||||||
25 มิถุนายน – ปารีส | ||||||||||||||
เวลส์ | 0 | |||||||||||||
เวลส์ | 1 | |||||||||||||
1 กรกฎาคม – ลีล | ||||||||||||||
ไอร์แลนด์เหนือ | 0 | |||||||||||||
เวลส์ | 3 | |||||||||||||
26 มิถุนายน – ตูลูซ | ||||||||||||||
เบลเยียม | 1 | |||||||||||||
ฮังการี | 0 | |||||||||||||
10 กรกฎาคม – แซ็ง-เดอนี | ||||||||||||||
เบลเยียม | 4 | |||||||||||||
โปรตุเกส (ต่อเวลา) | 1 | |||||||||||||
26 มิถุนายน – ลีล | ||||||||||||||
ฝรั่งเศส | 0 | |||||||||||||
เยอรมนี | 3 | |||||||||||||
2 กรกฎาคม – บอร์โด | ||||||||||||||
สโลวาเกีย | 0 | |||||||||||||
เยอรมนี | 1 (6) | |||||||||||||
27 มิถุนายน – แซ็ง-เดอนี | ||||||||||||||
อิตาลี | 1 (5) | |||||||||||||
อิตาลี | 2 | |||||||||||||
7 กรกฎาคม – มาร์แซย์ | ||||||||||||||
สเปน | 0 | |||||||||||||
เยอรมนี | 0 | |||||||||||||
26 มิถุนายน – ลียง | ||||||||||||||
ฝรั่งเศส | 2 | |||||||||||||
ฝรั่งเศส | 2 | |||||||||||||
3 กรกฎาคม – แซ็ง-เดอนี | ||||||||||||||
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 1 | |||||||||||||
ฝรั่งเศส | 5 | |||||||||||||
27 มิถุนายน – นิส | ||||||||||||||
ไอซ์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
อังกฤษ | 1 | |||||||||||||
ไอซ์แลนด์ | 2 | |||||||||||||
สวิตเซอร์แลนด์ | 1–1 (ต่อเวลาพิเศษ) | โปแลนด์ |
---|---|---|
ชาชีรี 82' | รายงาน | บวัชต์ชือกอฟสกี 39' |
ลูกโทษ | ||
ลิชท์ชไตเนอร์ จากา ชาชีรี แชร์ โรดรีเกซ |
4–5 | แลวันดอฟสกี มีลิก กลิก บวัชต์ชือกอฟสกี กรือคอเวียก |
เวลส์ | 1–0 | ไอร์แลนด์เหนือ |
---|---|---|
มักออลีย์ 75' (เข้าประตูตัวเอง) | รายงาน |
โปแลนด์ | 1–1 (ต่อเวลาพิเศษ) | โปรตุเกส |
---|---|---|
แลวันดอฟสกี 2' | รายงาน | ซังชึช 33' |
ลูกโทษ | ||
แลวันดอฟสกี มีลิก กลิก บวัชต์ชือกอฟสกี |
3–5 | โรนัลโด ซังชึช โมติญญู นานี กวาแรฌมา |
เวลส์ | 3–1 | เบลเยียม |
---|---|---|
อ. วิลเลียมส์ 31' ร็อบสัน-คานู 55' โวกส์ 86' |
รายงาน | นาอิงโกลัน 13' |
โปรตุเกส | 1–0 (ต่อเวลาพิเศษ) | ฝรั่งเศส |
---|---|---|
แอแดร์ 109' | รายงาน |
รองเท้าทองคำมอบรางวัลนี้ให้กับ อ็องตวน กรีแยซมาน, ผู้ที่ทำหนึ่งประตูในรอบแบ่งกลุ่มและห้าประตูในรอบแพ้คัดออก.
รองเท้าเงินมอบรางวัลนี้ให้กับ คริสเตียโน โรนัลโด, ผู้ที่ทำสองประตูในรอบแบ่งกลุ่มและหนึ่งประตูในรอบแพ้คัดออก, ตลอดจนรวมทั้งสามแอสซิสต์.
รองเท้าทองแดงมอบรางวัลนี้ให้กับ ออลีวีเย ฌีรู, ผู้ที่ทำหนึ่งประตูในรอบแบ่งกลุ่มและสองประตูในรอบแพ้คัดออก, ตลอดจนรวมทั้งสองแอสซิสต์; เพื่อนร่วมชาติอย่าง ดีมีทรี ปาแย็ต ได้สะสมจำนวนเท่ากัน, แต่ลงเล่นมากกว่า 50 นาทีซึ่งมากกว่า ฌีรู.
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.