สนธิสัญญาทรียานง (ฝรั่งเศส: Traité de Trianon; ฮังการี: Trianoni békeszerződés; อิตาลี: Trattato del Trianon; โรมาเนีย: Tratatul de la Trianon; อังกฤษ: Treaty of Trianon) บางครั้งมีการเรียกว่า คำสั่งสันติภาพทรียานง (อังกฤษ: Peace Dictate of Trianon)[1][2][3][4][5] หรือที่ในฮังการีเรียกว่า คำสั่งแห่งทรียานง (อังกฤษ: Dictate of Trianon)[6][7] เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ ระหว่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่[a] และราชอาณาจักรฮังการี[8][9][10][11] นักการทูตฝ่ายฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญา โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งพันธมิตรของฝรั่งเศสในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ สนธิสัญญาทรียานงควบคุมสถานะของราชอาณาจักรฮังการี และได้กำหนดพรมแดนโดยรวมของประเทศตามแนวสงบศึกที่สร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1918 ทั้งยังทำให้ฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% ของพื้นที่เดิมของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงคราม ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) ราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกนี้มีประชากรเพียง 7.6 ล้านคน คิดเป็น 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน[12] แม้ว่าพื้นที่ที่จัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ในชาวฮังการีราว 3.3 ล้านคน (31%) ถูกทอดทิ้งอยู่นอกเขตแดนของฮังการีและกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[13][14][15][16] นอกจากนี้ สนธิสัญญายังได้จำกัดขนาดกองทัพฮังการีไว้ที่ 35,000 นาย และยุติบทบาทของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีลง ซึ่งการตัดสินใจและผลลัพธ์ภายหลังเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขุ่นเคืองอย่างสุดซึ้งในฮังการีตั้งแต่นั้นมา[17]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตรและประเทศที่เข้าร่วมกับฮังการี | |
---|---|
การมาถึงของผู้ลงนามทั้งสองบุคคล อาโกชต์ แบนาร์ด (Ágost Benárd) และอ็อลเฟรด ดร็อชแช-ลาซาร์ (Alfréd Drasche-Lázár) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ณ พระราชวังกร็องทรียานง เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส | |
วันลงนาม | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 |
ที่ลงนาม | แวร์ซาย ฝรั่งเศส |
วันมีผล | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 |
ภาคี | 1. ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศที่เกี่ยวข้อง ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี ญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น เบลเยียม จีน คิวบา เชโกสโลวาเกีย กรีซ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน นิการากัว ปานามา โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สยาม 2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ราชอาณาจักรฮังการี |
ผู้เก็บรักษา | รัฐบาลฝรั่งเศส |
ภาษา | ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี |
ข้อความทั้งหมด | |
Treaty of Trianon ที่ วิกิซอร์ซ |
ประเทศผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ยูโกสลาเวียในภายหลัง), และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เรื่องแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นอิสรภาพของตนเอง[18] อีกทั้งฮังการียังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กำหนดมากกว่าการเจรจาร่วมกับฮังการี และฮังการีก็ไม่มีทางเลือกอันใด นอกเสียจากยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา[18] คณะผู้แทนฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) และไม่นานหลังจากการลงนาม ความโกลาหลเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญาจึงเริ่มต้นทันที[14][19]
สำหรับพรมแดนของฮังการีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เหมือนกับพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทรียานง แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างพรมแดนฮังการี-ออสเตรีย ใน ค.ศ. 1924 และการโอนย้ายหมู่บ้านสามแห่งไปยังเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1947[20][21]
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จะมีแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็อนุญาตให้มีการลงประชามติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ภายหลังรู้จักกันในชื่อการลงประชามติโชโปรน) เพื่อยุติพรมแดนที่มีข้อพิพาทบนดินแดนเดิมของราชอาณาจักรฮังการี[22] ซึ่งเป็นการพิพาทดินแดนขนาดเล็กระหว่างสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และราชอาณาจักรฮังการี เนื่องจากเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ กองกำลัง Rongyos Gárda กระทำการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับไล่กองกำลังออสเตรียที่เข้ามาในพื้นที่ ระหว่างการลงประชามติเมื่อปลาย ค.ศ. 1921 หน่วยคะแนนเสียงได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร[23]
หมายเหตุ
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.