Loading AI tools
โรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ (อังกฤษ: Nawamintrachinutit Suankularb Wittayalai Samutprakarn School, อักษรย่อ: นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S.) เป็นโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ลำดับที่ 3 และต่อมาเข้าร่วมเป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในกลุ่มโรงเรียน 9 นวมินทราชินูทิศ อีกด้วย โดยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชื่อเดิม: กรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ Nawamintrachinutit Suankularb Wittayalai Samutprakarn School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | บาลี: สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ) |
สถาปนา | 8 เมษายน พ.ศ. 2534 (33 ปี 220 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | สุโข วุฑฒิโชติ |
เขตการศึกษา | สมุทรปราการ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 สพฐ. |
รหัส | 1011570154 |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่ร้อยตรีลมบล บุญมานะ |
ครู/อาจารย์ | 123 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย) |
จำนวนนักเรียน | 2,897 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567) |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ไทย |
สี | ชมพู-ฟ้า |
เพลง |
|
ดอกไม้ประจำโรงเรียน | ดอกกุหลาบพันธุ์จุฬาลงกรณ์ |
เว็บไซต์ | www.sksp.ac.th |
ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 261 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 50 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียน 4 หลังยาวติดกัน หอประชุม หอจาริกานุสรณ์ โรงอาหาร พื้นที่เพาะชำ อาคารคหกรรม สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล บ้านพักครู บ้านพักนักกีฬา จัดการเรียนการสอน ในช่วงชั้นการศึกษาที่ 3 และ 4 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 43 ห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 34 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 77 ห้องเรียน จัดการเรียนการสอนรูปแบบเป็น 15-14-14/12-11-11
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ นั้นมีความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยโรงเรียนอยู่ในลำดับที่ 3 ของเครือ "สวนกุหลาบวิทยาลัย" มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีงานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์และงานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ
เมื่อปี พ.ศ. 2523 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีดำริจะขยายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกไปสี่มุมเมือง จึงได้ปรึกษากับ นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ให้จัดหาที่ดินสร้างโรงเรียน แต่ก็ติดปัญหาบางประการ จึงระงับโครงการไป
จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 กรมสามัญศึกษา ได้สั่งให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ รับสมัครนักเรียนในปีการศึกษา 2533 จำนวน 5 ห้องเรียน โดยฝากไว้ที่โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ 2 ห้อง และ โรงเรียนสมุทรปราการ 3 ห้อง รวมนักเรียนชาย–หญิง จำนวน 250 คน เมื่อประกาศจัดตั้งโรงเรียนแล้ว จึงนำนักเรียนที่ฝากไว้ มาเรียนที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ทว่าเกิดปัญหาขัดข้องในเรื่องที่ดินสร้างโรงเรียน ทำให้ต้องยกนักเรียนที่ฝากไว้ ให้เป็นนักเรียนของโรงเรียนนั้นไป
ต่อมาปี พ.ศ. 2534 อาจารย์สุทธิ เพ็งปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าพบ นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ รองอธิบดีกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น เพื่อขอปรึกษาเรื่องประกาศจัดตั้งโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง ท่านรองอธิบดีฯ จึงได้สั่งการให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดคณาจารย์ขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีอาจารย์สุโข วุฑฒิโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เป็นหัวหน้าคณะ จัดเตรียมเอกสารการรับสมัคร และรับสมัครนักเรียน ปีการศึกษา 2534 ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534
กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีประกาศจัดตั้งโรงเรียนรัฐขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ เมื่อเปิดภาคเรียน ได้ฝากนักเรียนดังกล่าว จำนวน 306 คน ให้ศึกษาเป็นการชั่วคราว ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา เพื่อรออาคารเรียนชั่วคราวจัดสร้างแล้วเสร็จ โดยมีนายไพฑูรย์ สุนทรวิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานประกอบพิธียกเสาเอก และเปิดป้ายอาคารเรียน ในปีเดียวกัน
เมื่ออาคารชั่วคราวแล้วเสร็จ จึงย้ายนักเรียนที่ฝากไว้ เข้าเรียนในอาคารดังกล่าว ในปีถัดมา กรมสามัญศึกษา คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 โดยได้รับคัดเลือกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ [1]
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ เป็น 1 ใน 11 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ 1 ใน 9 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ ก่อตั้งขึ้นจากการดำริที่จะขยายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ออกไปตามหัวเมือง เป็นเครือข่าย สวนกุหลาบ จากในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียน โดยส่งคณะครูมาเป็นผู้บริหารในเบื้องต้น จึงใช้ชื่อ สวนกุหลาบวิทยาลัย อีกทั้งภายหลังเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พร้อมกันนี้ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า นวมินทราชินูทิศ ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแห่งนี้ จึงได้มีชื่อ นวมินทราชินูทิศ นำหน้าและตามด้วย สวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อท้ายชื่อ สมุทรปราการ อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน
ดังนั้นนามโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ จึงมีความหมายว่า โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ณ จังหวัดสมุทรปราการ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อถวายแด่พระราชินีแห่งพระมหากษัตริย์รัชกาลที่เก้า โดยความหมายของชื่อโรงเรียนนั้น สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เสด็จสวรรคต วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม กอปรด้วยพระเมตตาธรรม และพระคุณธรรมอันประเสริฐ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ สร้างความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ ทางด้านการปกครอง การเลิกทาส การเศรษฐกิจ การคมนาคม การสาธารณสุข การศาสนา ทรงส่งเสริมการศึกษา และวางรากฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อพสกนิกรได้มีโอกาสศึกษาอย่างเสมอภาค ดังพระราชปณิธาน
‘เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้’
ข้าราชการ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันสร้างและประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อสักการะ เฉลิมพระเกียรติ ประกาศเกียรติคุณ ให้แผ่ไพศาล ตราบกาลนาน
“ลูกชาวสวนสมุทร” เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง สนองคุณแผ่นดิน เป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน “ลูกชาวสวนสมุทร” หมายถึง นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นเป็นเลิศด้านคุณธรรม เป็นผู้นำที่มีคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ มีวินัย ใส่ใจในระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นในสถาบันแห่งชาติ ไม่ละเลยในประโยชน์ส่วนรวม เอื้ออาทรต่อกันด้วยความรักความสามัคคี ประจักษ์ในพระคุณครู ร่วมเชิดชูเกียรติภูมิแห่งสวนกุหลาบ “เป็นผู้นำ รักเพื่อน นับถือพี่ เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ ดูแลน้อง” เป็นคำโปรย ช่วยให้จดจำได้ง่าย ต้องใส่ความเป็นสวนกุหลาบด้วยความภาคภูมิใจในเรื่องราวต่าง ๆ ของ “สวนกุหลาบฯ” เมื่อสิ่งต่าง ๆ สะสมอยู่ในตัวจึงจะเป็น “ลูกชาวสวนสมุทร” ที่สมบูรณ์
เพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประพันธ์ขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำร้องโดย หม่อมราชวงศ์เลื่อน สิงหรา ผู้เรียบเรียงคือ สุวัฒน์ เทียมหงษ์ ทำนองจากเพลงแขกต่อยหม้อ อัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงไทยเดิมที่ใช้ประกอบการแสดง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีจังหวะการเอื้อนทำนองโดยเฉพาะ[3][4] โดยเพลงนี้ได้ขับร้องครั้งแรกในงานรื่นเริงประจำปี พ.ศ. 2471 รู้จักกันในชื่อ บรรดาเรา[5]
ผู้อำนวยการคนแรก อาจารย์สุโข วุฑฒิโชติ ได้มีดำริในการจัดทำอัลบั้มเพลงของโรงเรียนขึ้น หนึ่งในจำนวนดังกล่าวนั้น คือเพลงมาร์ชสวนสมุทร ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อเป็นเพลงมาร์ชประจำโรงเรียน และเพลงสวนสมุทรในฝัน ซึ่งได้บรรยายถึงบรรยากาศในโรงเรียนและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้วย ทั้งนี้ในอัลบัมชุดนี้ ได้บรรจุเพลงของสวนกุหลาบไว้อีกกว่า 10 เพลง ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำมาดัดแปลงใหม่และอีกส่วนหนึ่งได้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งคำร้องและทำนอง ดังรายชื่อต่อไปนี้
|
|
|
รายชื่อรุ่นนักเรียน | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | ชื่อรุ่น | พุทธศักราช | |
1 | ยิปซี | พ.ศ. 2534 | |
2 | พฤษภาทมิฬ | พ.ศ. 2535 | |
3 | เต็นท์ | พ.ศ. 2536 | |
4 | ฟ้ารั่ว | พ.ศ. 2537 | |
5 | ส.ป.ก. 4-01 | พ.ศ. 2538 | |
6 | กาญจนาภิเษก | พ.ศ. 2539 | |
7 | ฉลองเสาธง | พ.ศ. 2540 | |
8 | IMF | พ.ศ. 2541 | |
9 | เฉลิมฉลอง 72 พรรษา มหาราชา | พ.ศ. 2542 | |
10 | บายศรีรับขวัญ | พ.ศ. 2543 | |
11 | ทศวรรษ | พ.ศ. 2544 | |
12 | สุรยุทธ์ จุลานนท์ | พ.ศ. 2545 | |
13 | ทวาทศวรรษ | พ.ศ. 2546 | |
14 | เฉลิมพระเกียรติ | พ.ศ. 2547 | |
15 | 55 พรรษา มหาราชาภิเษก | พ.ศ. 2548 | |
16 | ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี | พ.ศ. 2549 | |
17 | เฉลิมฉลอง 80 พรรษา | พ.ศ. 2550 | |
18 | แก้วกัลยา | พ.ศ. 2551 | |
19 | พระจันทร์ยิ้ม | พ.ศ. 2552 | |
20 | 60 ปี บรมราชาภิเษก | พ.ศ. 2553 | |
21 | วีสวรรษกุหลาบสมุทร | พ.ศ. 2554 | |
22 | หนึ่งกำลังใจ | พ.ศ. 2555 | |
23 | ฉัตรมงคล | พ.ศ. 2556 | |
24 | จตุวีสติวรรษร่มพระบารมี | พ.ศ. 2557 | |
25 | นารีรัตนา 60 พรรษา เจ้าฟ้าสิรินธร | พ.ศ. 2558 | |
26 | 70 ปี ใต้ร่มพระบารมี | พ.ศ. 2559 | |
27 | ราชาภิเษก | พ.ศ. 2560 | |
28 | อุ่นไอรัก | พ.ศ. 2561 | |
29 | บรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 | พ.ศ. 2562 | |
30 | New Normal Rose | พ.ศ. 2563 | |
31 | วางศิลาฤกษ์ | พ.ศ. 2564 | |
32 | รั้วล้อมรัก | พ.ศ. 2565 | |
33 | สุภาพชนสวนกุหลาบ | พ.ศ. 2566 | |
34 | 72 พรรษา ทศมราชา | พ.ศ. 2567 |
งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารีสวนกุหลาบสัมพันธ์ กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด งานชุมนุมลูกเสือ-เนตรนารี “สวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะเป็นผู้แทนของแต่ละโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมนี้
การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ กลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัด “การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สนามเมนสเตเดียม ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยจะสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
กลุ่มคณะกรรมการนักเรียนประสานทำงานร่วมกัน เริ่มแรกก่อตั้งโดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 5 แห่งแรกในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ได้แก่
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตลอดจนเป็นแกนนำในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และถ่ายทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม ของชาวสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนของกลุ่มโรงเรียน มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลักของกลุ่มโรงเรียนฯ ทั้งหมด เช่น งานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ การแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งภายหลังการประชุมและประสานงานในทุก ๆ กิจกรรม จะถูกส่งต่อให้โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบทั้งหมด เพื่อจัดกิจกรรมต่อไป
คณะกรรมการนักเรียน เป็นองค์กรนักเรียนที่ดำเนินการจัดตั้งอย่างถูกต้อง ภายใต้ระเบียบโรงเรียน ว่าด้วยการทำกิจกรรมของนักเรียน พ.ศ. 2534 โดยจัดตั้งมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียน เนื่องจากผู้อำนวยการท่านแรก เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นานถึง 17 ปี จึงได้นำแนวทางต่าง ๆ จากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ มาปฏิบัติตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียน
คณะกรรมการนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ มีบทบาทในการเป็นแกนนำนักเรียนที่ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ทั้งกิจกรรมตามประเพณี และกิจกรรมตามวาระและโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ ให้สนองต่อความต้องการของนักเรียน สังคมและชุมชน ดูแลระบบการทำกิจกรรมชุมนุมของนักเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการทั้งระบบ มีส่วนช่วยในการสนับสนุน ส่งเสริม และให้คำแนะนำต่อการทำกิจกรรมของนักเรียนทุกประเภท ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการตัดสินใจของคณะครูและผู้บริหารในมุมมองของนักเรียน รวมทั้งเป็นตัวแทนของนักเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ เพื่อไปแสดงออกถึงความเห็นและมุมมองในเรื่องต่าง ๆ ต่อสังคมภายนอกในโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งบทบาทเหล่านี้ยังคงได้รับการสืบทอดต่อจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน งานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน ในการควบคุมดูแลของคณาจารย์ที่ปรึกษา โดยมี ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
ทำเนียบผู้บริหาร | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1 | นายสุโข วุฑฒิโชติ | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2542 | |
2 | นายผจง อุบลเลิศ | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547 | |
3 | นายสุรัต อัตนวานิช | พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551 | |
4 | นางสาวอารีย์ ธงชัยภูมิ | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 | |
5 | นางเพ็ญพิไลลักษณ์ มณีภาค | พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558 | |
6 | นายบรรหาร เอี่ยมสอาด | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 | |
7 | ว่าที่ร้อยตรีลมบล บุญมานะ | พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |
ปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยทั้งหมด 11 แห่ง มีการสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 แห่งให้ไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่
ลำดับ | โรงเรียน | อักษรย่อ | จังหวัด | สถาปนา / ยกฐานะ | สถานศึกษาเดิม |
---|---|---|---|---|---|
1 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | ส.ก. / S.K. | กรุงเทพมหานคร | 8 มีนาคม พ.ศ. 2425 (142 ปี 251 วัน) |
|
2 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี | ส.ก.น. / S.K.N. | นนทบุรี | 30 มีนาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี 229 วัน) |
|
3 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ | นมร.ส.ก.ส. / NMR.S.K.S. | สมุทรปราการ | 8 เมษายน พ.ศ. 2534 (33 ปี 220 วัน) |
|
4 | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี | นมร.ส.ก.ป. / NMR.S.K.P. | ปทุมธานี | 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี 255 วัน) |
|
5 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต | ส.ก.ร. / S.K.R. | ปทุมธานี | 3 มีนาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี 256 วัน) |
|
6 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี | ส.ก.ช. / S.K.C. | ชลบุรี | 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 (25 ปี 254 วัน) |
|
7 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ | ส.ก.พ. / S.K.PB. | เพชรบูรณ์ | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (25 ปี 143 วัน) |
โรงเรียนท่าพลพิทยาคม (พ.ศ. 2519) |
8 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี | ส.ก.บ. / S.K.B. | สระบุรี | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (18 ปี 282 วัน) |
โรงเรียนปากเพรียววิทยาคม (พ.ศ. 2537) |
9 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ | ส.ก.จ. / S.K.J. | นครสวรรค์ | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (16 ปี 323 วัน) |
โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม (พ.ศ. 2517) |
10 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี | ส.ก.ธ. / S.K.T. | กรุงเทพมหานคร | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี 98 วัน) |
|
11 | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช | ส.ก.นศ. / S.K.NS. | นครศรีธรรมราช | 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 (13 ปี 256 วัน) |
โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ (พ.ศ. 2516) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.