Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิตาชิ 8เอฟเอ-36ซี (HITACHI 8FA-36C) หรือ เอชไอดี (HID) มักถูกเรียกสั้น ๆ ด้วยชื่อยี่ห้อว่าฮิตาชิ รถจักร เอชไอดี เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า โดยสั่งซื้อจาก บริษัท ฮิตาชิ ที่ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2536 จำนวนทัังสิ้น 22 คัน[1]
HITACHI 8FA-36C / HID | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รถจักรดีเซลไฟฟ้า HID 4517 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
รถจักร เอชไอดี ในช่วงแรกมีบทบาทกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในด้านการทำขบวนรถโดยสารทางไกล เช่น ขบวนรถด่วนพิเศษ CNR ขบวนด่วนพิเศษ ขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็ว รถนำเที่ยวในบางโอกาส อีกทั้งยังทำรถสินค้า (ในอดีตเคยทำขบวนรถสินค้า ICD แต่ในภายหลังได้รถจักร CSR และ QSY มาแทนที่) ปัจจุบันรถจักร เอชไอดี ได้ถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ตามอายุและสภาพการใช้งานของตัวรถจักร ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามขบวนรถด่วน(บางขบวน) ขบวนรถเร็ว(บางขบวน) ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท้องถิ่น(บางขบวน) และรถสินค้า(บางขบวน) โดยประเภทขบวนรถทั้งหมดที่ว่ามาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นในการพร้อมใช้งานเพื่อทำขบวนนั้นๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด[2]
ติดตั้งระบบ ATP (Automatic Train Protection) สำหรับรถจักร เอชไอดี โดยใช้ระบบ European Train Control System รูปแบบ On board (ECM-Progress Rail, Alstom) ให้กับหมายเลข 4503 4504 4510 4511 4514 4517 4518 4519 4520 4521 4522 ระบบนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศโซนยุโรปซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยช่วยลดอุบัติเหตุการตกรางและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินขบวนรถไฟภายในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยมีความสนใจที่จะติดตั้งระบบ ATP นี้ให้กับรถจักรเก่าเช่น Alsthom เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับหัวรถจักรและขบวนรถ[3][4]
รถจักร เอชไอดี เป็นรถจักรที่มี 2 เครื่องยนต์ ใช้เป็น Cummins KTA50-L 4 จังหวะ V16 เครื่องยนต์ดีเซล จำนวน 2 เครื่อง แต่ละเครื่องมีแรงม้า 1,250 แรงม้า เมื่อรวมแล้วจะได้ที่ 2,500 แรงม้า สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 100 กม./ชม. แคร่ของรถจักรนี้ มีทั้งหมด 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลา 6 ล้อ เมื่อนับแค่เพลารวมกันจะได้ 6 เพลา ในแต่ละเพลามีมอเตอร์ลากจูงหรือที่เรียกว่า Traction motor อยู่ทั้งหมดจำนวน 6 ลูก ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนรถจักร เพื่อลากจูงขบวนรถโดยสารและรถสินค้าหนักได้ และเนื่องด้วยรถจักรนี้อายุมากแล้ว เมื่อทำรถสินค้าหนักขึ้นทางตอนภูเขา อาจเกิดอาการเครื่องร้อนได้ง่าย เมื่อเทียบกับรถจักรที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น CSR และ QSY เป็นต้น[1]
ในช่วงปี พ.ศ.2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดทำสีให้กับรถจักร เอชไอดี สีใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อจะได้ลากจูงรถนอน CNR ใหม่ที่พึ่งนำเข้ามา ณ ตอนนั้น ปัจจุบันยังคงมีการทำนุบำรุง ซ่อมแซม และทำสีอยู่เสมอ เพื่อรักษาสภาพรถจักร[5]
หมายเลข | ลักษณะอุบัติเหตุ | ขบวนที่ทำ | วันที่ | สถานที่ | ความเสียหาย | สถานะปัจจุบัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
†4502 | ชนกับขบวนรถสินค้าน้ำมันที่ 541 (มาบตาพุด–อุบลราชธานี) | ขบวนรถสินค้าข้าวสารที่ 540 (บ้านเกาะ–แหลมฉบัง) | วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 | สถานีรถไฟมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี | ตัวรถ(โครงประธานหลัก) | ตัดบัญชี | [6] |
4508 | ชนกับรถบรรทุกแม็คโคร | ขบวนรถเร็วที่ 109 (กรุงเทพอภิวัฒน์–เชียงใหม่) | วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 | สถานีรถไฟชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ | - | รอวาระหนัก | [7] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.