เสริมศักดิ์ การุญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสริมศักดิ์ การุญ (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2486) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง 7 สมัย

ข้อมูลเบื้องต้น เสริมศักดิ์ การุญม.ป.ช., ม.ว.ม., รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ...
เสริมศักดิ์ การุญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม  24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กันยายน พ.ศ. 2486 (81 ปี)
อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประเทศไทย
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนริสา การุญ
ปิด

ประวัติ

เสริมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายอมร นางสายหยุด การุญ เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง [1] มีบุตรชาย ชื่อร้อยตรี กฤษฎา การุญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22

ปี 2561 เขาและภริยา ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ ได้รับบาดเจ็บสาหัส[2]

งานการเมือง

สรุป
มุมมอง

เสริมศักดิ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2539 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 39 สังกัดพรรคไทยรักไทย ในพ.ศ. 2544 เป็นสมัยสุดท้าย และวางมือทางการเมืองในที่สุด

เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา

ในปี 2561 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[4][5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคความหวังใหม่
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย

รางวัลและเกียรติยศ

เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก เสริมศักดิ์ การุญ เมื่อ พ.ศ. 2547[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.