คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ของไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ โดยประกอบกิจการ และรับจ้างบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อประสม, จัดการแสดงหรือกิจกรรมบันเทิง/กีฬาครบวงจร รวมถึงบริการจำหน่ายบัตรผ่านประตู ทั้งนี้บริษัทฯ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การประกวดนางงามเวทีมิสไทยแลนด์เวิลด์ และเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร มีคำขวัญว่า "เชื่อมติดทุกชีวิตบันเทิง" (Passion United)[1]
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก่อตั้งขึ้นในชื่อ บริษัท เวิลด์มีเดียซัพพลายส์ จำกัด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อเป็น บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด[2] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมทุนกับไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายเมียนมาร์ โดยบีอีซีเวิลด์ถือหุ้นใหญ่ในบีอีซี-เทโรฯ ที่ร้อยละ 59.99[3] ซึ่งกิจการตั้งต้นของบีอีซี-เทโรฯ คือผลิตรายการโทรทัศน์ สำหรับออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในเครือเดียวกัน, จัดหาการแสดง/คอนเสิร์ตมาแสดงในประเทศไทย, จัดกิจกรรมต่าง ๆ, ผลิตภาพยนตร์, ให้บริการผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ และร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อประกอบกิจการบันเทิงหลายประเภท โดยเฉพาะทรูวิชั่นส์[4]และจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยใช้ชื่อว่า บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2546
แต่ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ขายหุ้นทั้ง 59.99% ในบีอีซี-เทโรฯ กลับไปให้ไบรอันถือหุ้นทั้งหมด ทำให้บีอีซี-เทโรฯ พ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบีอีซีเวิลด์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปีเดียวกัน[5]
ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกัน ไบรอันได้ส่งผู้บริหารบางส่วนไปบริหารในบริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือช่อง 7HD ก่อนที่กลุ่มของไบรอันทั้งหมดจะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ ร่วมกันด้วย[6] ดังนั้นเทโรฯ จึงถอนรายการที่เทโรผลิตในช่อง 3 เอชดี ออกจากผังของช่องทั้งหมดในหลังสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ยกเว้นเรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เรื่องเล่าเช้านี้ และเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ที่จำหน่ายลิขสิทธิ์ไปให้บีอีซี นิวส์ ผลิตเอง และให้บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา ร่วมผลิตรายการเช่นเดิมตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563[7] หลังจากนั้นเทโรได้ย้ายสำนักงานและสตูดิโอมายังพื้นที่ของช่อง 7 เอชดี โดยใช้อาคารร่วมกับมีเดีย สตูดิโอ
Remove ads
ผู้บริหาร
คณะกรรมการและผู้บริหารชุดปัจจุบันของบริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มีดังต่อไปนี้
- ไบรอัน ลินด์เซ มาร์การ์
- ประวิทย์ จิตนราพงศ์
- เนล เวนน์ ทอมบ์สัน
- คมกริช ศิริรัตน์
- ดร.โชคชัย เอี่ยมฤทธิไกร
กลุ่มธุรกิจ
สรุป
มุมมอง
บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จำแนกประเภทของการประกอบธุรกิจ ออกเป็น 8 กลุ่มหลัก ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
- กลุ่มธุรกิจโทรทัศน์ - ธุรกิจกลุ่มนี้จำแนกเป็นคณะทำงานผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ จำนวน 3 แผนกคือ เทโร ดรามา (Tero Drama) (หรือชื่อเดิม: บางกอกการละคอน) ผลิตละครโทรทัศน์, เทโร เทเลวิชัน (Tero Television) ผลิตรายการดนตรี ปกิณกะ เกมโชว์ การศึกษา สอนภาษาอังกฤษ กีฬา และ เทโร นิวส์ (Tero News) ผลิตรายการข่าว นอกจากนี้ ยังผลิตรายการพิเศษในโอกาสต่าง ๆ เช่น รายการโฆษณาการแสดง/คอนเสิร์ต หรือถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น[1]
- กลุ่มธุรกิจจัดหารายการแสดงและจัดกิจกรรม - ธุรกิจกลุ่มนี้ จำแนกเป็นช่วงวัยของผู้ชม 3 กลุ่มคือ กิจกรรมสำหรับครอบครัว (Family Events) เช่น การแสดงของดิสนีย์ หรือการแสดงมายากล, กิจกรรมสำหรับเยาวชน (Youth Events) เช่นการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงสมัยใหม่ จากต่างประเทศ และ กิจกรรมร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Contemporary) เช่นการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ หรือการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงยุคอดีต จากต่างประเทศ[1]
- กลุ่มธุรกิจวิทยุกระจายเสียง - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท เทโร เรดิโอ จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือเทโรฯ เพื่อดำเนินการผลิต รายการวิทยุตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันมีสัมปทานอยู่ใน 3 คลื่นความถี่ คือเอฟเอ็ม 95.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ฮิตซ์ ไทยแลนด์ (Hitz Thailand) (ปัจจุบัน Hitz Thailand ได้ประกอบธุรกิจวิทยุบนระบบออนไลน์อย่างเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545, เอฟเอ็ม 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เวอร์จิ้นสตาร์ (Virgin Star) ปัจจุบันชื่อ Star FM. (สตาร์ เอฟเอ็ม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และเอฟเอ็ม 102.5 เมกะเฮิร์ตซ์ อีซีเอฟเอ็ม (Eazy FM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 นอกจากนี้ ยังดำเนินการส่งวิทยุกระจายเสียง ผ่านออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.teroradio.com ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 อีกจำนวน 3 ช่องรายการคือ แร็ดเรดิโอ (Rad Radio), ร็อกออนเรดิโอ (Rock on Radio) และ โตฟุป๊อปเรดิโอ (Tofu Pop Radio) ซึ่งผู้ฟังสามารถสื่อสารกับนักจัดรายการวิทยุ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งสามารถเข้าใช้ด้วยสมาร์ตโฟน และแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟน[8]
- กลุ่มธุรกิจดนตรี - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท เทโร มิวสิก จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือเทโรฯ เพื่อรับสิทธิในการบริหารลิขสิทธิ์ และจัดจำหน่ายงานดนตรี รวมถึงการประชาสัมพันธ์ศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในสังกัดโซนีมิวสิก, วายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์, ฮอตเท็ต และเบเกอรีมิวสิก ทั้งร่วมผลิตผลงานดนตรี และบริหารศิลปินในสังกัดเลิฟอีส นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ www.qikplay.com เพื่อจำหน่ายเพลงไทยสากล และเพลงสากลในรูปไฟล์ดิจิทัล และจำหน่ายของที่ระลึกจากศิลปิน[4]
- ธุรกิจบริการบัตรผ่านประตู - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ซึ่งเกิดจากเทโรฯ เข้าร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้บริการรับจอง และจำหน่ายบัตรผ่านประตู อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย[9] โดยมีสาขาจำหน่ายบัตร ซึ่งดำเนินการเอง มากกว่า 300 แห่ง ทั้งมีสาขาร่วมกับธุรกิจอื่น เช่น ศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีระบบจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ www.thaiticketmajor.com, ศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wap)[4]
- ธุรกิจภาพยนตร์ - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท ฟิล์มบางกอก จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือเทโรฯ ร่วมกับอดิเรก วัฏลีลา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย เพื่อดำเนินการผลิต และจำหน่ายภาพยนตร์ไทย ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่น คือเรื่องเพชฌฆาตเงียบอันตราย (Bangkok Dangerous) และเรื่องบางระจัน[1] โดยทั้งสองเรื่อง ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2543[1] แต่เมื่อปี พ.ศ. 2546 อดิเรกประกาศยุติการผลิตภาพยนตร์ของฟิล์มบางกอกลง เนื่องจากกระแสผู้ชมไม่ให้ความสนใจ ภาพยนตร์ซึ่งใช้ทุนสร้างมหาศาล ดังเช่นยุคก่อน จึงก่อตั้งค่ายภาพยนตร์ใหม่ชื่อ เฉลิมไทยสตูดิโอ เพื่อผลิตภาพยนตร์แนวตลาดโดยเฉพาะ[10] และในอนาคตได้ก่อตั้งค่ายภาพยนตร์ใหม่ของตนเองชื่อ เทโร พิคเจอร์ส (Tero Pictures) เพื่อผลิตภาพยนตร์แนวโทกูซัตสึ วัยรุ่น แอ็คชั่น
- กลุ่มธุรกิจกีฬา - ธุรกิจกลุ่มนี้ ดำเนินกิจการในสถานะของ ผู้จัดรายการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่นเทนนิสรายการไทยแลนด์โอเพน ของสมาคมเทนนิสอาชีพ (Association of Tennis Professionals; ATP), ตะกร้อรายการซูเปอร์ซีรีส์ ของสหพันธ์ตะกร้อนานาชาติ (International Sepaktakraw Federation; ISTAF) รวมทั้งรับจ้างเป็นผู้จัดกิจกรรมเชิงกีฬา ให้แก่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เช่นการแข่งขันโปโลคิงส์คัพ เป็นต้น[1] นอกจากนี้ยังโดยดำเนินการพัฒนา มาตรฐานของนักฟุตบอลไทย ร่วมกับ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีกด้วย[4]
- กลุ่มธุรกิจและบริการอื่น - นอกเหนือจากธุรกิจกลุ่มหลัก ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เทโรฯ ยังดำเนินกิจการอื่นอีกคือ บริการจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์, รับจ้างบริการประชาสัมพันธ์ทั่วไป, รับจ้างผลิตและจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินงานการกุศล ภายใต้ชื่อ เทโร แคร์ (Tero Care) นอกจากนี้ ยังจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณด้วย[1]
บริษัทลูก
ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[3]
- บริษัท เทโร เรดิโอ จำกัด (99.99)
- บริษัท เทโร เมียนมาร์ จำกัด (99.99)
- บริษัท เทโร แอ๊พพ์ (40.00)
บริษัทร่วมทุน
ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[3]
- บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด (59.99) ร่วมทุนกับ บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไอเอ็มจี เทโร สปอร์ตส แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (51.00) ร่วมทุนกับ อินเตอร์เนชันแนล แมเนจเมนต์ กรุ๊ป (International Management Group; IMG) สหรัฐอเมริกา
- บริษัท เทโร ทรูวิชันส์ จำกัด (50.00) ร่วมทุนกับ บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ฟอร์เอฟเวอร์ เทโร จำกัด (49.00) ร่วมทุนกับ ฟอร์เอฟเวอร์กรุ๊ป (Forever Group) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทข่าวและสาระบันเทิง เป็นภาษาพม่า ออกอากาศทางช่องเอ็มอาร์ทีวี-4 ของเมียนมาร์[4]
- บริษัท เทโร กันตนา มัลติมีเดีย จำกัด (50.00) ร่วมทุนกับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เทโร ซีเนริโอ จำกัด ร่วมทุนกับซีเนริโอ บริษัทในเครือ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
- บริษัท โซนี่ มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์โอเปอร์เรติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทร่วมดำเนินธุรกิจ
- บริษัท ไร่ส้ม จำกัด
- บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด
- บริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด
Remove ads
ผลงาน
สรุป
มุมมอง
ละครโทรทัศน์ / ละครชุด / ซีรีส์
- ละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางช่อง 3
- ละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางช่อง 7HD
ละครซิตคอม
- ซิตคอมที่ออกอากาศทางช่อง 3
- ซิตคอมที่ออกอากาศทางช่อง 7HD
รายการโทรทัศน์
รายการข่าว
- ข่าวสังคม / การเมือง
- ข่าวบันเทิง
- ข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ข่าวเศรษฐกิจ
รายการกีฬา
รายการสอนภาษาอังกฤษ
รายการเกมโชว์ / ควิซโชว์
รายการวาไรตี้
รายการประกวดร้องเพลง
รายการโชว์ความสามารถ
รายการสัมภาษณ์
รายการท่องเที่ยว
รายการตลก
รายการเตือนภัย
รายการการ์ตูน
รายการสำหรับเด็ก
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads