คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

เรื่องเล่าเช้านี้

รายการเล่าข่าวภาคเช้าโดยสรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางช่อง 3 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ไทยภาคเช้าประเภทเล่าข่าว โดยมี สรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ประกาศข่าวหลัก ปัจจุบันดำเนินรายการคู่กับพิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ ผลิตโดยฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี ร่วมกับบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ของสรยุทธ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546

ข้อมูลเบื้องต้น เรื่องเล่าเช้านี้, ประเภท ...
Remove ads

ปัจจุบันมีการแบ่งรายการในกลุ่มเรื่องเล่าออกเป็น 4 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 06:00–08:25 น., เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 10:15–12:15 น., เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 05:30–06:00 น. โดย 3 รายการนี้ออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งช่องทางสื่อสังคมของเรื่องเล่าเช้านี้ และ กรรมกรข่าวคุยนอกจอ ออกอากาศทุกวันจันทร์–ศุกร์ หลังจบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยเผยแพร่ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมของสรยุทธ

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

จุดเริ่มต้นของรายการนี้มาจากการที่ สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับละครจากค่ายบางกอกการละคอน ในเครือบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) นำสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวจากเนชั่น แชนแนล ในขณะนั้น มาเป็นพิธีกรในรายการเกมโชว์รายการใหม่ของตน ชื่อว่า "กล่องวิเศษ Magic Box" ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 ทำให้ประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหารช่อง 3 ในขณะนั้น เกิดแนวคิดในการผลิตรายการภาคเช้าในรูปแบบของสรยุทธ[1]

ในช่วงเริ่มแรก ช่อง 3 ต้องการให้สรยุทธทำหน้าที่จัดรายการภาคเช้าทุกวันจันทร์-ศุกร์ วันละครึ่งชั่วโมง ก่อนไปจัดรายการ "เก็บตกจากเนชั่น" ทางเนชั่น แชนแนลต่อ แต่ปรากฏว่า บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์เนชั่น แชนแนล ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 สรยุทธจึงลาออกจากการเป็นพนักงานของเนชั่น แชนแนล เพื่อมาทำหน้าที่ในรายการดังกล่าวเต็มรูปแบบ[2]ส่วนชื่อรายการ สรยุทธเล่าว่า เดิมเกือบตั้งชื่อรายการว่า "คุยคุ้ยข่าว" (ซึ่งต่อมาเป็นชื่อรายการที่สรยุทธทำกับกนก รัตน์วงศ์สกุล ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี) และอีกหลากหลายชื่อที่มีคำว่า "เช้า" เข้ามาผสม จนกระทั่งลงตัวที่ชื่อรายการ "เรื่องเล่าเช้านี้" และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มบีอีซีเวิลด์ ได้ขายหุ้นทั้งหมดของบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ให้กับไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ กรรมการผู้จัดการของบีอีซี-เทโร เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด บีอีซี-เทโร จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แต่เทโรได้จำหน่ายลิขสิทธิ์และโอนในการผลิต การบริหาร รวมถึงโอนพนักงานในรายการข่าวในกลุ่มเรื่องเล่าทั้ง 3 รายการ คือ เรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง และเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ กลับมาให้ช่อง 3 และกลุ่มบีอีซีเวิลด์ เนื่องจากเป็นรายการข่าวที่เป็นรูปแบบของช่อง 3 อย่างชัดเจน ส่งผลให้ในปัจจุบัน ทั้ง 3 รายการ ผลิตโดยฝ่ายข่าวของช่อง 3 เป็นหลัก[4]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2565 บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ปิดกิจการ[5] ทำให้บริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด ซึ่งเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่สรยุทธก่อตั้ง เป็นผู้ร่วมผลิตรายการเรื่องเล่าเช้านี้ในส่วนที่สรยุทธร่วมผลิตแทน

Remove ads

รูปแบบรายการ

สรุป
มุมมอง

ปัจจุบันรายการในกลุ่มเรื่องเล่ามีทั้งหมด 4 รายการ ดังนี้

เรื่องเล่าเช้านี้

เรื่องเล่าเช้านี้ เป็นรายการโทรทัศน์ภาคเช้าประเภทเล่าข่าว ด้วยภาษาที่เป็นกันเองกับผู้ชม ปัจจุบันออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 06:00 - 08:25 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางเฟซบุ๊ก ยูทูบ และติ๊กต็อกของเรื่องเล่าเช้านี้ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546[3]

รูปแบบรายการเป็นการจัดรายการคู่กันระหว่างสรยุทธ สุทัศนะจินดา กับผู้ประกาศข่าวหญิงซึ่งได้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์, มีสุข แจ้งมีสุข, สู่ขวัญ บูลกุล, กฤติกา ขอไพบูลย์ และปัจจุบันคือพิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ[6] ส่วนการนำเสนอข่าว เป็นรายการข่าวรายการแรกของประเทศไทยที่ไม่ได้ใช้รูปแบบการอ่านข่าวแบบเดิม แต่ใช้การเล่าข่าว คือนำเสนอข่าวให้สามารถจินตนาการภาพได้โดยที่ผู้ชมไม่ต้องเห็นภาพจริง ไม่มีสคริปต์ และไม่มีการเรียงลำดับของข่าว (Run down) ดังนั้น การนำเสนอข่าวในแต่ละวันจะแตกต่างกัน และยังมีจุดเด่นที่การนำเสนอข่าวของสรยุทธที่ทำให้เป็นที่จดจำของผู้ชม รวมถึงโครงการช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ ที่เรื่องเล่าเช้านี้จัดขึ้น ซึ่งเริ่มแรกจะมีการแบ่งรายการเป็นช่วง ๆ เช่น เรื่องเล่าเช้านี้เด็ก, ข่าวต่างประเทศ (ปัจจุบันถูกย้ายไปอยู่ในเรื่องเล่าหน้าหนึ่ง), Share of the Day, ข่าวกีฬา และ ครอบครัวบันเทิง (ต่อมาแยกออกมาเป็นรายการออนไลน์ ในชื่อ "ครอบครัวบันเทิงออนไลน์")[7]

ภายหลังจากสรยุทธประกาศยุติการจัดรายการทุกรายการในช่อง 3 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 ฝ่ายข่าวช่อง 3 ได้ปรับรูปแบบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ให้พิชญทัฬห์เป็นผู้ประกาศข่าวหลัก โดยคู่กับกฤติกา ขอไพบูลย์[8], เจก รัตนตั้งตระกูล[9], พิภู พุ่มแก้วกล้า[10] และภาษิต อภิญญาวาท[11] ตามลำดับ ก่อนจะกลับไปใช้รูปแบบเดิมหลังจากสรยุทธกลับมาจัดรายการอีกครั้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 มาจนถึงปัจจุบัน

เรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์

เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง

เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เป็นรายการภาคเช้าประเภทนำเสนอข่าวที่แยกออกมาจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 (โดยสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ร่วมผลิตรายการนี้ ในขณะที่ผันตัวมาทำเบื้องหลัง) โดยเน้นการสรุป "ข่าวเด่น ประเด็นสำคัญ สำหรับคนตื่นเช้า" จากพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เป็นหลัก[12] แต่ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

  • Headline News: สรุปข่าวเด่นจากพาดหัวหนังสือพิมพ์
  • เรื่องเล่ารอบโลก: สรุปข่าวต่างประเทศ
  • เรื่องเล่าการเมือง: สรุปข่าวการเมือง

เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 05:30 - 06:00 น. ทางช่อง 3 เอชดี รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมของเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งในช่วงแรกจะดำเนินรายการโดยผู้ประกาศข่าวของเรื่องเล่าเช้านี้ เช่น อรชุน รินทรวิฑูรย์, พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ, ภาษิต อภิญญาวาท และเมจกา สุพิชญางกูร ปัจจุบันดำเนินรายการโดย เมจกา สุพิชญางกูร (จันทร์-พฤหัสบดี), อติรุจ กิตติพัฒนะ (จันทร์-พุธ, ศุกร์) และ ประวีณมัย บ่ายคล้อย (พฤหัสบดี-ศุกร์)

กรรมกรข่าวคุยนอกจอ

กรรมกรข่าวคุยนอกจอ เป็นรายการภาคเช้าประเภทเล่าข่าวที่แยกออกมาจากเรื่องเล่าเช้านี้ มาออกอากาศเฉพาะทางสื่อสังคม เพื่อให้สรยุทธสามารถแสดงความคิดเห็นในข่าวต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก โดยไม่มีข้อจำกัดของการจัดรายการทางโทรทัศน์มาควบคุม และทำให้การนำเสนอข่าวในช่วงนี้ของสรยุทธมักถูกพูดถึงในสื่อสังคมอยู่เสมอ ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ หลังจบรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่องทางสื่อสังคมของสรยุทธในชื่อ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว[13] เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566 โดยเดิมมีการทดลองออกอากาศในชื่อ กรรมกรข่าวเปิดอกคุย ซึ่งเป็นรายการเฉพาะกิจที่เป็นการพูดคุยระหว่างสรยุทธกับแขกรับเชิญซึ่งเป็นนักการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 7, 11, 12, 18 และ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 และมีการทดลองออกอากาศในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับกรรมกรข่าวคุยนอกจอในปัจจุบันเมื่อวันที่ 19 เมษายน โดยออกอากาศทางยูทูบ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว และเฟซบุ๊กเรื่องเล่าเช้านี้

Remove ads

การตอบรับ

สรุป
มุมมอง

รายการเรื่องเล่าเช้านี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศ เนื่องจากการที่สรยุทธนำสาระมาสอดแทรกในแต่ละข่าว มุกตลกที่ดึงดูดผู้รับชม รวมถึงการเกลี่ยข่าวแบบไม่ลำดับความสำคัญ โดยเน้นเรื่องที่ชาวบ้านสนใจก่อน ทำให้เรื่องเล่าเช้านี้มีเรตติ้งผู้รับชมเป็นอันดับที่ 1 ในบรรดารายการภาคเช้าทั้งหมด และทำให้มีการขึ้นค่าโฆษณาในช่วง 2 ปีแรกของการออกอากาศเป็นจำนวน 3 ครั้ง คือ จากเดิมที่เริ่มต้นที่ 50,000 บาท ขยับขึ้นเป็น 80,000 บาท, 100,000 บาท และ 135,000 บาทตามลำดับ[6] ส่งผลให้เรื่องเล่าเช้านี้สามารถสร้างรายได้ให้กับช่อง 3 ได้ถึง 200-300 ล้านบาทต่อปี จนกลายเป็นรายการที่สร้างรายได้มากที่สุดในกลุ่มรายการข่าวที่ออกอากาศในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ๆ นำรายการข่าวมาออกอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับรูปแบบรายการภาคเช้าประเภทข่าวเพื่อแข่งขันกับเรื่องเล่าเช้านี้โดยเฉพาะ[3]

อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดสรยุทธในคดีที่ตนและ บจก.ไร่ส้ม สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของ บมจ.อสมท ยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันและสมาชิก 40 องค์กรเอกชน จึงได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังช่อง 3 ให้พิจารณาการทำหน้าที่ของสรยุทธ หากไม่เช่นนั้นแล้วจะถอนโฆษณาออกจากรายการของสรยุทธทั้งหมด และมีบริษัทเอกชนขนาดใหญ่จำนวน 4 ราย ยกเลิกการซื้อเวลาโฆษณาในรายการของสรยุทธตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2556[14] แต่ช่อง 3 ก็ยังคงให้สรยุทธจัดรายการตามปกติ[15] และภายหลังจากเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกสรยุทธเป็นเวลา 13 ปี 4 เดือน แต่ช่อง 3 ยังคงให้สรยุทธจัดรายการตามปกติ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่ามีสินค้าบางรายการ ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และกลุ่มธนาคาร ขอถอนโฆษณาออกจากรายการของสรยุทธเพิ่มเติม[16] ในที่สุด สรยุทธจึงประกาศยุติการจัดรายการทุกรายการในช่อง 3 รวมถึงเรื่องเล่าเช้านี้ด้วย มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559[17] ซึ่งต่อมามีการเปิดเผยว่าเป็นผลจากการสั่งการของ บมจ.อสมท ที่เป็นโจทก์ของสรยุทธ แต่เป็นการสั่งการในฐานะคู่สัญญากับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในการดำเนินกิจการช่อง 3 แอนะล็อกในขณะนั้น[18]

อย่างไรก็ตาม จากการประกาศยุติการจัดรายการของสรยุทธนั้นส่งผลกระทบต่อรายการเรื่องเล่าเช้านี้โดยตรง เนื่องจากทำให้เรตติ้งและรายได้จากการขายโฆษณาของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ลดลงตามไปด้วย[9] ทำให้ต่อมาช่อง 3 ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการลดเวลาออกอากาศรายการเรื่องเล่าเช้านี้ลง[19] รวมถึงการแยกรายการออกมาเป็น "เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง" ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้น[12]

ภายหลังจากสรยุทธได้รับการพักโทษในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการสายธุรกิจโทรทัศน์ในขณะนั้น ของบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลช่อง 3 โดยตรง เปิดเผยว่า ช่อง 3 ได้ปรับผังรายการใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มเวลารายการเรื่องเล่าเช้านี้อีก 30 นาที เพื่อรองรับการกลับมาจัดรายการอีกครั้งของสรยุทธโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นบุคลากรสำคัญของฝ่ายข่าวของช่อง 3[20] ซึ่งการปรับผังในครั้งนี้ส่งผลในทางบวกต่อเรตติ้งโดยรวมของรายการข่าวช่อง 3 ทั้งหมด[21] รวมถึงทำให้มีอัตราขายโฆษณาในรายการเหล่านี้มากขึ้น[22] มีรายการข่าวบางรายการที่ขายโฆษณาได้เต็มรายการ และส่งผลดีต่อผลประกอบการโดยรวมของช่อง 3 โดยตรง ทำให้ช่อง 3 เพิ่มเวลารายการข่าวอีกครั้งในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ในรายการข่าวที่ออกอากาศในวันเสาร์–อาทิตย์ ซึ่งเรื่องเล่าเสาร์–อาทิตย์ ของสรยุทธ ก็ได้เวลาออกอากาศเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 10-15 นาที[23]

Remove ads

พิธีกร

พิธีกรหลัก

ปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ, วัน ...

อดีต

เฉพาะกิจ

  • อริสรา กำธรเจริญ (แทนพิชญทัฬห์)
  • ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ (แทนพิชญทัฬห์)
  • ภาษิต อภิญญาวาท (แทนสรยุทธ)
  • พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ (แทนภาษิตในช่วงปี พ.ศ. 2556-2557 และในปัจจุบันจะแทนปรินดาหรืออริสรา ในรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์)
Remove ads

รางวัล

เป็นรางวัลเฉพาะตัวรายการ ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, รางวัลที่ได้เข้าชิง ...
Remove ads

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads