Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์ ประเภทวาไรตี้ทอล์กโชว์ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ออกอากาศทาง เนชั่นทีวี เป็นรายการสด ดำเนินรายการโดย พี่หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย หรือที่เรียกกันว่า "อ.ศุภเดช", ที่รัก บุญปรีชา หรือที่รู้จักกันในนาม "พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที", พีระพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวง ควงมือถือ" และพิธีกรหญิง คือ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง
แบไต๋ไฮเทค | |
---|---|
สัญลักษณ์ของรายการแบไต๋ ไฮเทค Loca | |
ประเภท | วาไรตี้ทอล์คโชว์ |
พัฒนาโดย | บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (2565) |
พิธีกร | พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ที่รัก บุญปรีชา พีระพล ฉัตรอนันทเวช (แบไต๋ไฮเทค X 2 และเดลี่ไฟว์ไลฟ์) ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (แบไต๋ไฮเทค X 2) ลิซ่า แซดเลอร์ (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก) ชนิดา ประสมสุข (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก) ฮิโรโกะ ยามากิชิ (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซีซั่นแรก) เอมี่ กลิ่นประทุม (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นแรก) ณัฐนันท์ จันทรเวช (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นแรก) สรานี สงวนเรือง (เดลี่ไฟว์ไลฟ์ซี่ซั่นสอง) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 1,046 |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | แบไต๋ ดิจิตอลไลฟ์ สตูดิโอ ชั้น 4 อาคารดิจิตอลเกตเวย์ สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
ความยาวตอน |
|
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | YouTube:beartai แบไต๋ (20 มิถุนายน 2566 - 9 เมษายน 2567) ช่องในอดีต :ช่อง 7 HD (6 มิถุนายน - 30 ธันวาคม 2565) Loca (25 เมษายน 2557 - 23 พฤษภาคม 2557 (ทดลองออกอากาศ) (26 พฤษภาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2557) เนชั่นทีวี (5 พฤศจิกายน 2549 - 31 ธันวาคม 2556) วอยซ์ทีวี (4 มิถุนายน 2554 - 21 มกราคม 2555) C-CHANNEL (6 มิถุนายน 2554 - 7 พฤศจิกายน 2554) Gang Cartoon Channel (7 มิถุนายน 2554 - 5 มิถุนายน 2555) คมชัดลึก TV ( - 31 ธันวาคม 2556) Dude TV (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557) MCOT1 (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557) Super บันเทิง (1 เมษายน 2556 - 23 พฤษภาคม 2557) CAT Channel (18 มิถุนายน 2555 - 23 พฤษภาคม 2557) |
ออกอากาศ | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 |
หลังจากรายการแบไต๋ ไฮเทคลาจอในปี 2557 ปัจจุบันหันมาโฟกัสการผลิตสื่อออนไลน์แทน โดยนำเสนอเนื้อหาในลักษณะคลิปวิดีโอผ่านทาง Youtube และ Facebook ของแบไต๋ ควบคู่ไปกับเนื้อหาข่าวและบทความในเว็บแบไต๋ ซึ่งต่อมาขยายขอบเขตเนื้อหาในเชิงไลฟ์สไตล์และบันเทิงให้ชัดเจนขึ้นในชื่อ What The Fact ซึ่งยังเผยแพร่ในเว็บแบไต๋ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น beartai BUZZ พร้อมมีช่องทางเฟซบุ๊กเพจของตัวเองที่แยกออกไป[1] และมีการร่วมงานกับเพจ Thai Gamer เพื่อขยายเนื้อหาด้านวิดีโอเกมให้ชัดเจนขึ้น ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นนำเสนอเนื้อหาผ่านช่องทางของเพจ Thailand Game Show แทน
แบไต๋กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อใหม่ว่า แบไต๋ 7 เอชดี ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 12.20 - 12.40 น. ทางช่อง 7 HD เริ่ม 6 มิถุนายน 2565 หลังยุติการออกอากาศนานในรอบ 7 ปี และลาจอในเทปสุดท้ายวันที่ 30 ธันวาคม 2565
จนวันที่ 20 มิถุนายน 2566 พิธีกรชุดแรกของแบไต๋คือ หนุ่ย, พี่หลาม และอ.ศุภเดช ได้กลับมารวมตัวเพื่อจัดรายการแบไต๋ไฮเทคอีกครั้งผ่านช่องทางออนไลน์[2] โดยวางตารางไลฟ์ทุกวันอังคาร เวลา 18.00 น. ผ่านทาง Youtube, Facebook และ TikTok ของแบไต๋
รายการ แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์วาไรตี้ทอล์กโชว์ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบการถ่ายทอดสด ที่ผลิตขึ้นโดย บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2557 ผู้ดำเนินรายการในตอนแรกคือ พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย และ ที่รัก บุญปรีชา ในช่วงแรกจะมีช่วงรายการหลัก ๆ เพียง 2 ช่วงคือ
แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางรายการจึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบและฉากหลังของรายการใหม่ โดยได้เพิ่มพิธีกรเข้ามาใหม่คือคุณ พีระพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งมาพร้อมกับช่วงใหม่ "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552 ทางรายการได้เพิ่มพิธีกรผู้หญิง คือ ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ หรือซี มาเป็นพิธีกรรายการในช่วงของข่าวสั้นทันโลกกับน้องซี
บางสัปดาห์จะมีการนำคนในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคนที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้หรือไปแข่งขันจนเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มาสัมภาษณ์ในรายการ โดยส่วนใหญ่จะสัมภาษณ์ว่าได้ทำอะไรบ้างหรือการแข่งขันที่ได้เข้าร่วมมีกติกาหรือการแข่งขันอย่างไรบ้าง เป็นต้น
มีการเพิ่มช่วงรายการ ชาวโลกในยูทูบ และ คนไทยในยูทูบ เพื่อเป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอดี ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก หรือนำเสนอผลงานฝีมือคนไทยที่น่าสนใจจากยูทูบในช่วงเปิดรายการ นอกจากนี้ หากทางรายการมีรายงานพิเศษ ก็อาจจะเพิ่มช่วงรายการออกมา เช่น มันสมองคน IT, New Gadget, Special Scoop, รายงานพิเศษเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
จากนั้นได้เปลี่ยนเวลาออกอากาศจากแต่เดิมที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.15 น. จนถึงเวลา 23.45 น.โดยประมาณ เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.45 น. จนถึงเวลา 23.15 น. (โดยมีเกาะติดข่าวร้อนคั่นเวลารายการ) เพื่อให้ผู้ที่รับชมรายการนี้ได้รับชมรายการได้เร็วขึ้น
และวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป รายการแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ โดยจะออกอากาศผ่าน 5 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยนอกจาก เนชั่นทีวี แล้ว ยังจะมี Dude TV แมงโก้ทีวี (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น คมชัดลึก ทีวี) แคท แชนแนล (กสท.) และ แก๊งการ์ตูน แชนแนล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่ช่อง Dude TV และหลังจากนี้จะฉายทางช่องอื่น ๆ ต่อไป โดยจะออกอากาศทุกวันศุกร์ ถึง วันอังคาร โดยจะออกอากาศดังนี้
วันที่ออกอากาศ | ออกอากาศทางช่อง | เวลาในการออกอากาศ | พิธีกรดำเนินรายการ |
---|---|---|---|
วันศุกร์ | Dude TV[3] | 19.00 น. - 20.30 น. | เอมี่ กลิ่นประทุม[4] |
วันเสาร์ | วอยซ์ทีวี[3] | 16.00 น. - 17.30 น. | ชนิดา ประสมสุข[4] |
วันอาทิตย์ | เนชั่นทีวี[3] | 16.00 น. - 17.30 น. | ลิซ่า แซดเลอร์[4] |
วันจันทร์ | ซี แชนแนล[3] | 19.00 น. - 20.30 น. | ณัฐนันท์ จันทรเวช[4] |
วันอังคาร | แก๊งการ์ตูน แชนแนล[3] | 19.00 น. - 20.30 น. | ฮิโรโกะ ยามากิชิ[4] |
โดยเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำจากอาคารอินเตอร์ลิงก์ทาวเวอร์ เป็นที่ ดิจิตอล เกทเวย์ (Digital Gateway) สยามสแควร์แทน โดยผู้ชมสามารถเข้าไปนั่งดูรายการสดและมีส่วนร่วมกับรายการได้ ทั้งนี้จะยังมีพิธีกรที่จะมาดำเนินรายการเพิ่มอีก 5 คน ซึ่งมีดังนี้ เอมี่ กลิ่นประทุม, ลิซ่า แซดเลอร์, ณัฐนันท์ จันทรเวช หรือ ม็อค จี-ทเวนตี้, มะเหมี่ยว ชนิดา ประสมสุข และ ฮิโรโกะ ยามากิชิ (ซึ่งเคยโฆษณาเครื่องปรุงอาหาร) มาเป็นพิธีกร โดยในแบไต๋ไฮเทคใหม่จะขาด ซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ไป เนื่องด้วยเวลาของรายการที่ปรับใหม่ จึงทำไม่สามารถมาร่วมดำเนินรายการได้ โดยในอนาคตอาจจะกลับมาดำเนินรายการได้
เมื่อเข้าสู่ซีซั่นที่สองของรูปแบบเดลี่ไฟว์ไลฟ์ รายการแบไต๋ไฮเทคได้ปรับรูปแบบการออกอากาศใหม่อีกครั้ง คือ ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 19.15 น. ทาง Dude TV และ คม-ชัด-ลึก TV พร้อมกันสองสถานี และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 21.15 น. ทาง TRUE 72 และเวลา 01.15 น. ทางเนชั่นบันเทิง โดยหนุ่ย ได้กล่าวในรายการไว้ว่า "เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านรับชมได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจำวันเวลาและช่องทางการออกอากาศให้สับสนอีกต่อไป" โดยในซีซั่นนี้ไม่มีพิธีกรหญิงร่วมดำเนินรายการเหมือนซีซั่นที่แล้ว แต่ในบางเทปอาจจะได้เห็นพิธีกรหญิงบางท่านมาทำหน้าที่แทนพิธีกรหลักที่ติดภารกิจในวันนั้นก็เป็นได้
แต่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นพิธีกรของรายการ และยังไม่กำหนดวันที่จะกลับเข้ามา เนื่องจากความเฟื่องฟูของบริษัทโดยนำเวลาไปคิดรายการใหม่ขึ้นมา และได้พิธีกรหญิงคนใหม่ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง เข้ามาแทนที่หนุ่ย
รายการ แบไต๋ ไฮเทค มีการเปลี่ยนชื่อ 5 ครั้ง เนื่องจากต้องปรับปรุงฉากหลังและรูปแบบของรายการให้ทันสมัยและเหมาะสมกับความก้าวหน้าทางด้านไอทีมากขึ้น
|
รูปแบบของรายการของแบไต๋ ไฮเทค แบ่งรายการออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
จะมีช่วงรายการหลัก ๆ เพียง 2 ช่วงคือ
เป็นการให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับรายการ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามปัญหาคอมพิวเตอร์ของผู้ชม ปัญหาระบบเครือข่าย ปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ผู้ชมใช้อยู่ ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีการตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลที่รายการนำมาแจกทุกสัปดาห์
สำหรับวิธีการติดต่อรายการ ในช่วงแรกมีช่องทางการติดต่อ 4 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋ ไม่รู้เป็นไร, ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS), ติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ และผ่านเว็บแคม (คือให้ผู้ชมทางบ้านบันทึกคลิปวิดีโอเกี่ยวกับปัญหาคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บแคมส่งมายังรายการ) แต่ต่อมาการติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ อาจทำให้พิธีกรไม่สามารถตอบกลับข้อความจากผู้ชมทางบ้านได้ จึงหันมาใช้การติดต่อรายการผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการแทน จึงทำให้ผู้ชมทางบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการได้
ต่อมาเมื่อมาถึงช่วงของแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ทู ออกอากาศไปได้สักระยะหนึ่ง ทางรายการจึงตัดการติดต่อรายการผ่านเว็บแคมออกไป เนื่องจากเกิดปัญหาบางประการ ช่องทางการติดต่อของรายการจึงเหลือเพียง 3 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋มือถือนู๋ ไม่รู้เป็นไร,ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS) และ กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ แต่พอในปี พ.ศ. 2552 รายการแบไต๋ ไฮเทค จึงเพิ่มช่องทางการติดต่อรายการผ่าน ทวิตเตอร์ ของพิธีกร ซึ่งทำให้ผู้ชมทางบ้านหลายท่านตัดสินใจสมัคร ทวิตเตอร์ เพื่อติดต่อกับพิธีกรรายการ หลังจากนั้นการติดต่อผ่าน ทวิตเตอร์ ของรายการได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนเมื่อมาถึงปี พ.ศ. 2553 ทางรายการจึงงดการส่งข้อความผ่านทาง SMS แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นการส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยการใส่แท็กข้อความ #beartai ตามหลังข้อความที่ผู้ชมทางบ้านได้พิมพ์เข้ามา และปี พ.ศ. 2554 มีแฟนรายการได้สร้าง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก โดยผู้ชมสามารถที่จะเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยได้ที่หน้า แฟนเพจ ได้เช่นกัน
สำหรับวิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ ผู้ชมสามารถพูดคุยหรือเสนอความคิดเห็นรายการทาง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก ทาง กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ และทาง ทวิตเตอร์ โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารแล้วต่อท้ายด้วย #Beartai หรือ #แบไต๋ แล้วข้อความจะปรากฏบนหน้าจอในช่วงที่รายการออกอากาศ
แขกรับเชิญที่เชิญมาให้สัมภาษณ์ จะมาจากช่วงคนไทยใน YouTube โดยจะนำเสนอคลิปที่สร้างสรรค์และได้รับความนิยมในช่วงนั้นในรายการ และเชิญผู้ที่ทำคลิปดังกล่าวมาให้สัมภาษณ์ทางรายการ และมาจากช่วงแบไต๋ ใครเอ่ย? จะเป็นการเชิญผู้ที่มีชื่อเสียงบนอินเทอร์เน็ตมาให้สัมภาษณ์
วันที่ออกอากาศ | แขกรับเชิญ | ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ |
---|---|---|
3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | ทีมงานกระตั้วฟิล์ม | การทำภาพยนตร์ล้อเลียนและภาพยนตร์สั้นที่เคยทำ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
4 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | กฤษณ์ บุญญะรัง (บี้ เดอะสกา) | คลิปเต้นเพลงล้อเลียน กลัวที่ไหน ของ บี้ เดอะสตาร์ ซึ่งมีผู้ที่เข้ามาชมคลิปมากกว่า 1,700,000 ครั้ง และประวัติของเจ้าของคลิป (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | ฐาวรา สิริพิพัฒน์ (@DrPopPop) | การที่มีผู้คนติดตาม Dr.Pop ในเว็บสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ จนติดอันดับของเว็บ http://www.lab.in.th/thaitrend/ และประวัติเรื่องราวต่างๆ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงแบไต๋ ใครเอ่ย?) |
5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | หมวดแวน กรวิก จันทร์เด่น (DJ VAN) | โชว์คลิปแสดง บีตบ็อกซ์ ลง YouTube รวมถึงการนำเสนอการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมาช่วยในการทำเสียง บีตบ็อกซ์ (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | จินตนัดดา สัมมะกานนท์ (แป้งโกะ) | - (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | อภิชัย จารุรัตนเกื้อ (ปิ๊น) | โชว๋คลิปคนที่ชื่นชอบตัวละครเรยา หรือชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ที่แสดงในละครเรื่อง ดอกส้มสีทอง อยากขอจูบเรยาตัวจริง (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | สัพพัญญู ยอดศรี (พีท ชื่อใน YouTube โคม ปะการัง) | โชว์คลิปทำผมเลียนแบบ โดม ปกรณ์ ลัม และสัมภาษณ์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่ทำให้พีททำคลิปดังกล่าว โดยมีผู้ชมคลิปดังกล่าว 800,000 ครั้ง รวมถึงประวัติส่วนตัว (ให้สัมภาษณ์ในช่วงคนไทยใน YouTube) |
14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | อภิชยา คุณีย์พันธุ์ (GIFT_TU) | การแต่งคอสเพลย์ โดยแต่งเป็นฮัทสึเนะ มิกุ ซึ่งเป็นตัวละครที่มาจากโปรแกรมสังเคราะห์เสียง โวคาลอยด์ และสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อดีของการแต่งคอสเพลย์ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง Cosplay เจอจังจัง) |
17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | ชุน วู | แสดงการเล่นโยโย่จากการประกวดเป็นแชมป์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นครูสอนเล่นโยโย่ และประวัติเกี่ยวกับการเล่นโยโย่ในประเทศไทยรวมถึงความนิยมของการเล่นโยโย่ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง ชาวโลกใน YouTube) |
19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ (จอห์น วิญญู) | การที่มีผู้ชมคลิกเข้าชมเว็บไซต์ http://ihere.tv 20 ล้านคลิก จากรายการทางอินเทอร์เน็ต "เจาะข่าวตื้น" ที่ฉายผ่านเว็บ ihere.tv และ YouTube และการที่เขาทำรายการดังกล่าวทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปสรรคต่าง ๆ ของรายการที่ประสบมา จนสามารถประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ (ให้สัมภาษณ์ในช่วง แบไต๋ ใครเอ่ย?) |
21 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | สุภัทรา เล้าอรุณ (Kaoru Echi), มาริสา พึ่งผล (Amayarenflys) | แต่งคอสเพลย์เป็นตัวละคร Squall Leonhart จากเกม ไฟนอลแฟนตาซี VIII และตัวละคร Sora จากเกม คิงดอมฮารตส์ โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแต่งกายคอสเพลย์รวมถึงแรงบันดาลใจที่แต่งเป็นตัวละครดังกล่าว (ให้สัมภาษณ์ในช่วง Cosplay เจอจังจัง) |
25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | พชรพล จั่นเที่ยง (วิทย์ AF1) | ครบรอบ 2 ปีต่อการจากไปของ ไมเคิล แจ็กสัน ราชาเพลงป็อป โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่เขาชอบไมเคิล แจ็กสันตั้งแต่เด็ก และโชว์การเต้นเพลง ของ ไมเคิล แจ็กสัน ด้วยเกม Michael Jackson The Experience โดยใช้อุปกรณ์ Microsoft Kinect บนเครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 ในการเต้น (ให้สัมภาษณ์ในช่วง คนไทยใน YouTube) |
แบไต๋ไอที เป็นรายการที่อยู่ในช่อง 9 วันอังคาร เวลา 23:30 - 00:00 ซึ่งในปี 2556 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 00.15 - 00.45 น. มีพิธีกรหลักคือ หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ และพิธีกรหน้าใหม่คือ เฟื่องลดา สรานี สงวนเรือง นอกจากนี้ยังได้ ครูทอม คำไทย หรือ จักรกฤต โยมพยอม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่มาช่วยและโดยยังมีสี่พิธีกรหลักจาก รายการแบไต๋ไฮเทคเดลี่ไฟว์ไลฟ์ มาเป็นพิธีกรเสริม แบ่งเป็นช่วงดังนี้
Innovation 9 อยู่ในช่วงคลุกวงข่าว ช่อง Modernine TV โดยร่วมกับ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NiA นำเสนอโดย หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งนำเสนอนวัตกรรมที่น่าสนใจทั้งในไทย และทั่วโลก โดยแบ่งเป็นช่วงดังนี้
หลังจากยุติการออกอากาศในปี 2557 แบไต๋หันมาทำสื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น มีการร่วมงานกับ LINE TV เพื่อผลิตเนื้อหาเฉพาะสำหรับไลน์ทีวี แบไต๋ในยุคปัจจุบันนี้มีเว็บแบไต๋, เฟซบุ๊กของแบไต๋ และยูทูบของแบไต๋เป็นช่องทางหลัก ซึ่งเนื้อหาของแบไต๋ในยุคนี้ยังคงเน้นที่เทคโนโลยีเป็นหลัก แต่มีการขยายเนื้อหาในหมวดไลฟ์สไตล์ของแบไต๋ให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสร้างเป็นแบรนด์ใหม่ในชื่อ What The Fact ซึ่งถือเป็นสื่อไลฟ์สไตล์-บันเทิงในเครือของแบไต๋ นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับเพจ Thai Gamer เพื่อโฟกัสเนื้อหาด้านวิดีโอเกมให้มากขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของแบไต๋ในยุคออนไลน์คือ ชล วจนานนท์ เข้ามาร่วมงานกับแบไต๋ในฐานะบรรณาธิการบริหารในปี 2562[5] และเสริมทัพพิธีกรให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมสำหรับเนื้อหาที่แตกต่างกันในโลกออนไลน์มากขึ้น โดยที่หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์เป็นพิธีกรหลักเช่นเดิม และมีพิธีกรที่เข้ามาเสริมคือ
แบไต๋หวนกลับมาออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้ง โดยร่วมกับช่อง 7 และบริษัท Tero Entertainment ผลิตรายการ 'แบไต๋ 7 HD' ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 - 12.40 น. โดยออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565[6] และมีรายการในรูปแบบออนไลน์ความยาว 1 ชั่วโมงทุกวันจันทร์ และวันพุธ 18.30 น. ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565
เนื้อหาของ แบไต๋ 7 HD จะประกอบด้วยข่าวสารด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงการแนะนำวิธีเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ พร้อมช่วงสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีและวิทยาการในไทย[7]
พิธีกรชุดแรกของแบไต๋คือ หนุ่ย พงศ์สุข, พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที และอ.ศุภเดช ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อจัดรายการแบไต๋ไฮเทคร่วมกันเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 9 ปีตั้งแต่เทปสุดท้ายของ beartai Hitech Loca ซึ่งจะไลฟ์ทุกวันอังคารเวลา 18.00 น. ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดียของแบไต๋คือ Youtube, facebook และ TikTok
โดยในไลฟ์แรกของรายการ วันที่ 20 มิถุนายน 2566 หนุ่ย พงศ์สุข ได้อธิบายลักษณะรายการแบไต๋ไฮเทคในปี 2566[8] ไว้ว่า แบไต๋ไฮเทคยุคนี้เปลี่ยนจากรายการเล่าข่าวไอทีแบบที่เคยจัดมา มาเป็นรายการขยี้ข่าวไอทีที่น่าสนใจในแต่ละสัปดาห์ จึงไม่ได้เน้นเล่าข่าวจำนวนมาก แต่เป็นการถกเถียงประเด็นไอทีเพียง 1-2 ประเด็นต่อไลฟ์ เพื่อให้ผู้ชมได้ฟังมุมมองจากพิธีกรทั้ง 3 โดยประเด็นที่นำมาถกเถียงกันในไลฟ์แรกคือ "อนาคต Metaverse หลัง Vision Pro เปิดตัว"
หนุ่ย พงศ์สุขยังได้พูดถึงอนาคตของรายการว่า มีการติดต่อปีเตอร์ กวง ควงมือถือ และเฟื่องลดา เพื่อกลับมาร่วมงานกันในไลฟ์ต่อ ๆ ไปอีกด้วย
วันที่ 9 เมษายน 2567 ได้ยุติการออกอากาศสดในซีซั่นแรก โดยในวันนั้นมีการจัดกิจกรรม "แฟนพันธุ์แท้แบไต๋ไฮเทค" เพื่อรำลึกถึงความหลังของรายการตั้งแต่อดีตและพูดคุยเทคโนโลยี โดยรวมพิธีกรทั้ง 4 คน เช่น หนุ่ย-พงศ์สุข, หลาม จิ๊กโก๋ไอที, อาจารย์ศุภเดช และปีเตอร์กวง ควงมือถือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.