Remove ads
อำเภอในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านแหลม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอว่า "อำเภอบ้านแหลม" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 หลังจากที่เคยได้รับการจัดตั้งแล้วถูกยุบรวมกับอำเภอเมืองเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Laem |
ฝูงวาฬบรูด้าในอ่าวบางตะบูน | |
คำขวัญ: วัดเขาตะเคราศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อสัมฤทธิ์คู่บ้าน ถิ่นฐานหอยแครง สู่แหล่งเกลือดี เขียวขจีป่าชายเลน | |
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอบ้านแหลม | |
พิกัด: 13°12′2″N 99°58′49″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 189.885 ตร.กม. (73.315 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 52,847 คน |
• ความหนาแน่น | 278.31 คน/ตร.กม. (720.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 76110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7607 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านแหลม เลขที่ 20/10 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บ้านแหลมเป็นที่ตั้งของนาเกลือที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยคิดเป็นร้อยละ 47 ของนาเกลือทั้งประเทศ
อำเภอบ้านแหลมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[1]
สมัยอดีตนั้นอำเภอบ้านแหลมเป็นเสมือนเมืองท่าของเมืองเพชรบุรีที่ใช้เป็นที่ติดต่อค้าขายกับหัวเมืองอื่น ดังนั้นเมืองเพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองมาแต่ในอดีตจากการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีสินค้าหลักก็คือ น้ำตาลโตนดและเกลือ
ความเป็นเมืองท่าเล็กของสยามประเทศได้สิ้นสุดลงเมื่อได้มีสนธิสัญญาเบอร์นีที่บังคับให้สยามมีการติดต่อค้าขายผ่านทางท่าเรือคลองเตยเพียงแห่งเดียว ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงได้มีผลบังคับแทนสนธิสัญญาเบอร์นีและได้ยกเลิกในรัชกาลต่อมา แต่รัฐบาลได้หันไปพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง หาได้มีการพัฒนาท่าเรือตามเมือง (จังหวัด) อย่างที่เคยมีมาแต่เดิมไม่ ประชาชนที่อยู่ในอำเภอบ้านแหลมในอดีตซึ่งมักจะมีฐานะจากการค้าขายภายหลังจึงได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำมาหากินในกรุงเทพมหานคร
ชื่อ "บ้านแหลม" เป็นชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล เดิมท้องที่อำเภอบ้านแหลมมีฐานะในทางปกครองเป็นส่วนหนึ่งของแขวง 2 แขวง คือ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีขึ้นอยู่กับ แขวงขุนชำนาญ ทางฝั่งตะวันตกขึ้นอยู่กับ แขวงหลวงพรหมสาร เรียกชื่อตามทินนามของผู้เป็นนายแขวงปกครองอยู่ขณะนั้น ครั้นต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยุบรวมอำเภอเมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2444[2] ต่อมากรมการอำเภอเมือง ได้แจ้งมณฑลเทศาภิบาลราชบุรี ว่าท้องที่อำเภอเมือง เมืองเพ็ชรบุรี มีพื้นที่กว้างขวาง มีพลเมือง 60,000 เศษ เหลือกำลังเกินที่กรมการอำเภอเมืองจะตรวตรารักษาความสงบเรียบร้อยให้ตลอดทั่วถึงได้ จึงขอแยกอำเภอใหม่ ซึ่งพระยาอมรินทร์ฤๅไชย ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลราชบุรีได้มีใบบอกไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำความกราบบังคบทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอใหม่ว่า "อำเภอบ้านแหลม" [3] เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
ลำดับ | รายนาม | ชื่อตำแหน่ง | ช่วงเวลา | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1. | นายตั๋ว [5] | นายอำเภอบ้านแหลม | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2448 | ||
2. | นาย เชิดศักดิ์ ชูศรี | นายอำเภอบ้านแหลม | พ.ศ. 2536- พ.ศ. 2541 | ||
3. | นาย ไพบูลย์ ยิ้มแย้ม | นายอำเภอบ้านแหลม | |||
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อำเภอบ้านแหลมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
---|---|---|---|---|
1. | บ้านแหลม | Ban Laem | 10 |
14,112 |
2. | บางขุนไทร | Bang Khun Sai | 11 |
7,048 |
3. | ปากทะเล | Pak Thale | 4 |
2,440 |
4. | บางแก้ว | Bang Kaeo | 8 |
4,824 |
5. | แหลมผักเบี้ย | Laem Phak Bia | 4 |
2,369 |
6. | บางตะบูน | Bang Tabun | 8 |
3,575 |
7. | บางตะบูนออก | Bang Tabun Ok | 5 |
2,730 |
8. | บางครก | Bang Khrok | 12 |
7,058 |
9. | ท่าแร้ง | Tha Raeng | 7 |
5,091 |
10. | ท่าแร้งออก | Tha Raeng Ok | 4 |
3,257 |
ท้องที่อำเภอบ้านแหลมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
อำเภอบ้านแหลมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ในการจัดตั้งโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย โดยมีพื้นที่ตั้งโครงการอยู่ ณ ตำบลแหลมผักเบี้ย
ที่มาของพระพุทธรูปนี้เมื่อปลายสมัยอยุธยา ตอนที่ชาวบ้านแหลม เมืองเพชรบุรีหนีพม่าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ปากน้ำแม่กลองจนกระทั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวสมุทรสงครามในทุกวันนี้นั้น วันหนึ่งชาวประมงบ้านแหลมไปตีอวนที่ปากอ่าวได้พระพุทธรูปขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระยืนปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมนำพระยืนไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม (ปัจจุบันคือวัดเพชรสมุทรวิหาร กลางเมืองสมุทรสงคราม) ส่วนอีกองค์มอบให้ญาติชาวบางตะบูนนำมาประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม
ในปลาย พ.ศ. 2317 กรมพระเทพามาตย์ หรือ สมเด็จพระพันปีหลวง (นางนกเอี้ยง) ทิวงคต (สิ้นพระชนม์) ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา และพระยาธิเบศร์บดี เป็นผู้ดูแลควบคุมการก่อสร้างวัดที่ บ้านแหลม ซึ่งเป็นชาติภูมิ (ถิ่นกำเนิด) ของกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ พระราชชนนีพันปีหลวง เป็นการอุทิศบุญกุศลถวาย โดยพระองค์ได้พระราชทานศาสนสถาน ศาสนวัตถุที่มีความงดงาม และทรงคุณค่ามากมาย เพื่อให้เป็นเกียรติประวัติ และเป็นสถานที่ ที่ควรค่าแก่การจดจำจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อไป
วัดนี้ชาวบ้านเรียก วัดกลางสนมจัน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีมูลเหตุมาจากลักษณะของสถานที่ตั้ง เพราะวัดตั้งอยู่ใจกลางชุมชน หรือกลางบ้านเรือนราษฎร และอีกมูลเหตุหนึ่ง เนื่องมาจากผู้ดูแลควบคุมการก่อสร้างวัดแห่งนี้ คือ พระเจ้าน้านางเธอ กรมหลวงเทวินทร์สุดา นามเดิมชื่อ จัน (จากการสันนิษฐาน เมื่อนางจันเข้ามาอยู่ในรั้ววัง คงเปลี่ยนชื่อจาก จัน เป็น อั๋น เพราะคนในยุคสมัยนั้นนิยมใช้ชื่อ จันทร์ หรือ จัน หรือไม่ประวัติศาสตร์อาจจะบันทึกผิดพลาดจาก จัน เป็น อั๋น) ซึ่งมีถิ่นกำเนินอยู่ที่บ้านแหลม เป็นพระขนิษฐาใน กรมพระเทพามาตย์ หรือ สมเด็จพระพันปีหลวง (นางนกเอี้ยง) พระชนนีใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ชาวบ้านเห็นว่า นางจัน เข้าไปอยู่ในรั้วในวัง จึงเข้าใจว่านางจันเป็นพระสนม และพากันเรียกว่า สนมจัน เมื่อนำมูลเหตุทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นชื่อวัดกลางสนมจัน แต่ต่อมาภายหลังชาวบ้านได้พากันเรียกชื่อวัดเพี้ยนไปเป็นวัดกลางสนามจันทร์ และมาสรุปตรงชื่อ วัดในกลาง จนถึงปัจจุบัน[7]
ประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยตามชายฝั่งทะเลมักประกอบอาชีพประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนประชากรในพื้นที่อื่น ๆ ก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีทำนาในพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อย ในด้านอุตสาหกรรม มีการทำนาเกลือตามชายฝั่ง นอกจากนี้ในอำเภอยังมีคลังน้ำมัน 2 แห่ง และโรงกลั่นน้ำมันอีก 1 แห่ง (ยังไม่ได้ทำการกลั่น เพราะอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล)
มีการกล่าวถึงของการเดินทางในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ ดังนี้[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.