หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพลเรือ หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า (อังกฤษ: Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma) (นามเดิม เจ้าชายลูอีแห่งบัทเทินแบร์ค; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ลอร์ด เมานต์แบ็ตเทน เป็นสมาชิกราชวงศ์บริติช เจ้าหน้าที่แห่งราชนาวี และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ และพระอนุวงศ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งประเทศอินเดียในเครือจักรภพ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า KG GCB OM GCSI GCIE GCVO DSO KStJ | |
---|---|
![]() ภาพวาด โดย อัลลัน วอร์เรน, ค.ศ. 1976 | |
เสนาธิการกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | วิลเลียม ดิกสัน |
ถัดไป | ริชาร์ด ฮูลล์ |
สมุหราชนาวี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 เมษายน ค.ศ. 1955 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1959 | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | โรเดอริก แม็กกริจอร์ |
ถัดไป | ชาลล์ แลมบี |
ผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดีย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 |
นายกรัฐมนตรี | ชวาหระลาล เนห์รู |
ก่อนหน้า | ตัวเขาเอง (ในฐานะอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย) |
ถัดไป | ซี. ราชโคปาลาชารี |
อุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 |
ก่อนหน้า | ไวเคานต์เวเวลล์ |
ถัดไป |
|
สมาชิกสภาขุนนาง | |
ขุนนางตลอดชีพ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1946 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่งขุนนาง |
ถัดไป | เคาน์เตสเมานต์แบ็ตเทนที่ 2 แห่งพม่า |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เจ้าชายลูอีแห่งบัทเทินแบร์ค 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 ตำหนักฟอร์กมอร์, วินด์เซอร์, บาร์กเชอร์, ประเทศอังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
เสียชีวิต | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 ปี) มุลลากมอร์, มณฑลซีลิโก, ประเทศไอร์แลนด์ | (79
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร |
ที่ไว้ศพ | รอมซีย์แอบบีย์ |
ศาสนา | แองกลิคัน |
คู่สมรส | เอ็ดวินา แอชลีย์ (สมรส 1922; เสียชีวิต 1960) |
บุตร | |
บุพการี | |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยคริสต์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ |
วิชาชีพ | ทหารเรือ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหราชอาณาจักร |
สังกัด | ราชนาวี |
ประจำการ | ค.ศ. 1913–1965 |
ยศ | จอมพลเรือ |
หน่วย | ดูรายชื่อ
|
บังคับบัญชา | ดูรายชื่อ
|
ผ่านศึก | |
รางวัล | ดูรายชื่อ |
พระองค์ประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่กองทัพเรือหลวงในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของสงครามโลกครั้งที่สอง เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต เรือหลวงเคลี่ และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือหลวงอิลัสเทรียส พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่แซ็ง-นาแซร์และเดียป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแลการแบ่งแยกบริติชอินเดียออกมาเป็นประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็นสมุหราชนาวี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 เมานต์แบ็ตเทนทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยการวางระเบิดบนเรือตกปลาของพระองค์ในมุลลากมอร์ เคาท์ตี้ สไลโก ประเทศไอร์แลนด์ โดยสมาชิกของกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ชั่วคราว(IRA) พระองค์ได้รับการจัดพิธีพระศพที่ Westminster Abbey และถูกฝังพระศพใน Romsey Abbey ในแฮมป์เชอร์
พระประวัติ

หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทนเป็นบุตรชายของเจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค ซึ่งเป็นเจ้าชายเยอรมันที่เข้ามารับราชการในอังกฤษและได้เสกสมรสกับเจ้าหญิงวิคโทรีอาแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์ พระราชธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปี 1917 พระเจ้าจอร์จที่ห้าได้ถอดฐานันดรเยอรมัน ทำให้ทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด เขารับแต่งตั้งเป็นขุนนางแห่งสหราชอาณาจักร
เสียชีวิต
เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนถูกลอบฆ่าโดยกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนในไอร์แลนด์เหนือ ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 โดยนายธอมัส แม็กแมฮอน สมาชิกกลุ่มกบฎได้แอบปีนเข้าไปบนเรือของเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน ซึ่งบนเรือขณะนั้นมีสมาชิกโดยสารอยู่คือเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน, ท่านหญิงบราบันด์ ธิดาคนโต, ลอร์ดบราบันด์ สามีของนาง และบุตรของทั้งสองอีกสองคนชื่อนิโคลัสกับพอล คนร้ายได้ทำการวางระเบิดควบคุมโดยวิทยุน้ำหนักราว 20 กิโลกรัม และเกิดการระเบิดขึ้น เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนร่วงลงไปในน้ำและถูกช่วยไว้ได้โดยชาวประมงใกล้เคียงในลักษณะขาขวาเกือบขาดแต่ก็เสียชีวิตด้วยทนพิษบาดแผลไม่ไหว ลอร์ดและเลดีบราบอร์นได้รับบาดเจ็บสาหัส[1] ในขณะที่นิโคลัส บุตรชายของลอร์ดและเลดีบราบอร์นเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนบารอเนสม่ายแห่งบราบอร์นถึงแก่อนิจกรรมในวันรุ่งขึ้นจากพิษบาดแผล[2]
ฐานันดร
![]() |
|
อาร์มประจำตำแหน่ง |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สรุป
มุมมอง
จอมพลเรือ หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสหราชอาณาจักรและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหราชอาณาจักร
- ค.ศ. 1946 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ ชั้นสูงสุด อัศวินการ์เทอร์ (KG)[3]
- ค.ศ. 1955 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นที่ 1 อัศวิน (GCB)[4]
- ค.ศ. 1965 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณ ชั้นที่ 1 สมาชิก (OM) (ฝ่ายทหาร)[5]
- ค.ศ. 1937 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 1 อัศวินสูงสุด (GCVO)[6]
- ค.ศ. 1941 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์การบริการดีเด่น ชั้นสูงสุด (DSO)[7]
- ค.ศ. 1940 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอห์น ชั้นที่ 1 อัศวินความยุติธรรม (KStJ)[8]
- ค.ศ. 1918 –
เหรียญสงครามบริติช
- ค.ศ. 1918 –
เหรียญชัย
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญดารา ค.ศ. 1939–1945
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญดาราแอตแลนติก
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญดาราแอฟริกา
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญดาราพม่า
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญดาราอิตาลี
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญการป้องกัน
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญสงคราม ค.ศ. 1939–1945
- ค.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญการบริการทั่วไปทหารเรือ
- ค.ศ. 1911 –
เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5
- ค.ศ. 1935 –
เหรียญรัชดาภิเษกเงิน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5
- ค.ศ. 1937 –
เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
- ค.ศ. 1952 –
เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 1977 –
เหรียญรัชดาภิเษกเงิน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
สเปน :
- ค.ศ. 1922 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (GYC)[9]
- ค.ศ. 1922 –
อียิปต์ :
- ค.ศ. 1922 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แม่น้ำไนล์ ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์[9]
- ค.ศ. 1922 –
โรมาเนีย :
กรีซ :
สหรัฐ :
- ค.ศ. 1943 –
ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ[12]
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญการบริการที่โดดเด่น[13]
- ค.ศ. 1945 –
เหรียญรณรงค์เอเชีย-แปซิฟิก
- ค.ศ. 1943 –
สาธารณรัฐจีน :
- ค.ศ. 1945 –
เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและธวัช ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[14]
- ค.ศ. 1945 –
ไทย :
- ค.ศ. 1946 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15][16]
- ค.ศ. 1946 –
เนปาล :
- ค.ศ. 1946 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งเนปาล ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[17]
- ค.ศ. 1975 –
เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ
- ค.ศ. 1946 –
ฝรั่งเศส :
- ค.ศ. 1946 –
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1 กร็อง-ครัว[18]
- ค.ศ. 1946 –
เครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนสงคราม ค.ศ. 1939–1945[18]
- ค.ศ. 1946 –
อินเดีย :
อินเดีย :
เนเธอร์แลนด์ :
- ค.ศ. 1948 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[20]
- ค.ศ. 1948 –
โปรตุเกส :
- ค.ศ. 1951 —
เครื่องอิสริยาภรณ์ทหารแห่งอาวิซ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (GCA)[9]
- ค.ศ. 1951 —
สวีเดน :
- ค.ศ. 1952 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม ชั้นสูงสุด (ฝ่ายทหาร) (RSerafO)
- ค.ศ. 1952 –
พม่า :
- ค.ศ. 1956 –
เครื่องอิสริยาภรณ์สิริสุธรรมะ ชั้นที่ 1 อรรคมหาสิริสุธรรมะ (ฝ่ายทหาร)[12]
- ค.ศ. 1956 –
เดนมาร์ก :
- ค.ศ. 1962 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[9]
- ค.ศ. 1962 –
เอธิโอเปีย :
- ค.ศ. 1965 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราโซโลมอน ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (S.K)[9]
- ค.ศ. 1965 –
มัลดีฟส์ :
ราชตระกูล
พงศาวลีของหลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.