สุลต่านจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี: Osmanlı padişahları) เป็นสมาชิกทั้งหมดในราชวงศ์ออตโตมันที่ปกครองจักรวรรดิข้ามทวีปตั้งแต่ ค.ศ. 1299 จนกระทั่งล่มสลลายใน ค.ศ. 1922 จักรวรรดิออตโตมันในช่วงสูงสุดกินพื้นที่ตั้งแต่ฮังการีทางเหนือถึงเยเมนทางใต้ และจากแอลจีเรียทางตะวันตกถึงอิรักทางตะวันออก พระมหากษัตริย์บริหารครั้งแรกในเมือง Söğüt จนถึง ค.ศ. 1280 แล้วย้ายไปที่เมืองบูร์ซาใน ค.ศ. 1323 หรือ 1324 ต่อมามีการย้ายเมืองหลวงไปที่เอเดรียโนเปิล (ปัจจุบันคือเอดีร์แน) ใน ค.ศ. 1363 หลังการพิชิตของสุลต่านมูรัดที่ 1 แล้วไปที่คอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคืออิสตันบูล) ใน ค.ศ. 1453 หลังการพิชิตของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2[1]

Thumb
ผังพระราชวงศ์
ข้อมูลเบื้องต้น สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันOsmanlı padişahı, ปฐมกษัตริย์ ...
สุลต่าน
แห่งจักรวรรดิออตโตมัน
Osmanlı padişahı
ราชาธิปไตยในอดีต
จักรวรรดิ
Thumb
ตราแผ่นดินจักรวรรดิ
Thumb
ผู้ปกครององค์สุดท้าย
สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6
4 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922

ปฐมกษัตริย์ สุลต่านออสมันที่ 1 (ประมาณ ค.ศ. 1299–1323/4)
องค์สุดท้าย สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6 (ค.ศ. 1918–1922)
อิสริยยศ His Imperial Majesty
สถานพำนัก พระราชวังในอิสตันบูล:
  • โทพคาปึ (คริสต์ทศวรรษ 1460–1853)
  • ดอลมาบาฮ์เช (ค.ศ. 1853–1889; 1909–1922)
  • ยึลดึซ (ค.ศ. 1889–1909)
ผู้แต่งตั้ง สืบราชสันตติวงศ์
เริ่มระบอบ ประมาณ ค.ศ. 1299
สิ้นสุดระบอบ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922
ปิด
Thumb
ธงพระอิสริยยศออตโตมัน

ในช่วงต้นของจักรวรรดิออตโตมันมีรายงานหลายแบบ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะแยกความจริงออกจากตำนาน จักรวรรดินี้เริ่มมีตัวตนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 และผู้ปกครองคนแรก (และชื่อของจักรวรรดิ) คือสุลต่านออสมันที่ 1 ตามตำนานของออตโตมัน ออสมันสืบเชื้อสายมาจากเผ่าคายือแห่งชาวเติร์กโอฆุซ[2] จักรวรรดิออตโตมันที่พระองค์ก่อตั้งดำรงอยู่เป็นเวลาหกศตวรรษผ่านรัชสมัยสุลต่าน 36 องค์ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งตนเป็นพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นฝ่ายชนะได้แบ่งจักรวรรดิออตโตมัน และทำให้เกิดสงครามประกาศอิสรภาพตุรกี นำไปสู่การล้มล้างระบอบสุลต่านใน ค.ศ. 1922 และการก่อตั้งประเทศตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1922[3]

รายพระนาม

ข้อมูลเพิ่มเติม №, พระนาม ...
พระนาม พระบรมฉายาลักษณ์ เริ่มรัชกาล สิ้นรัชกาล ตราพระปรมาภิไธยทูกรา หมายเหตุ
สถาปนาจักรวรรดิ
(1299 – 1453)
1 ออสมันที่ 1
ĠĀZĪ (ขุนศึก)
ราว. 1299 ราว. 1326 [4]
[c]
  • โอรส เอตูกรุล เบย์[5] กับสตรีไม่ปรากฏนาม[6]
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ
2 ออร์ฮานที่ 1
ĠĀZĪ (ขุนศึก)
c. 1326 [7] 1362 Tughra of Orhan
  • โอรสออสมันที่ 1 กับ มัลฮัน ฮาตุน.[6]
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[8]
3 มูรัดที่ 1
SULTAN-İ AZAM (สุลต่านผู้สูงส่งที่สุด)
HÜDAVENDİGÂR
(ผู้เป็นที่รักยิ่งจากพระเจ้า)
ŞEHÎD (ผู้พลีชีพ) [9][b]
1362 15 มิถุนายน 1389 Tughra of Murad I
  • โอรสออร์ฮานกับนิลูเฟอร์ ฮาตุน.[6]
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ
  • ถูกปลงพระชนม์ในยุทธการที่โคโซโว.[10]
4 บาเยซิดที่ 1
SULTAN-İ RÛM (สุลต่านแห่งจักรวรรดิโรมัน)
YILDIRIM (ผู้ส่องแสง)
15 มิถุนายน 1389 20 กรกฎาคม 1402 Tughra of Bayezid I
  • โอรสมูรัดที่ 1 กับกึลซิเซค ฮาตุน.[6]
  • ถูกจับเป็นเชลยใน ยุทธการอักการา (สิ้นรัชกาลโดยพฤตินัย);
  • สวรรคตขณะถูกคุมขัง ณ อักเซฮีร์ ใน 8 มีนาคม 1403.[11]
สงครามกลางเมืองออตโตมัน[d]
(20 กรกฎาคม 14025 กรกฎาคม 1413)
อิซา เซเลบี
สุลต่านร่วมอนาโตเลีย
1403–1405
(สุลต่านแห่งอนาโตเลียตะวันตก)
1406
  • หลัง ยุทธการที่อังการา ใน 20 กรกฎาคม 1402, อิซา เซเลบี แพ้ มูซา เซเลบี และ เริ่มควบคุมภาคตะวันตกของอนาโตเลีย ดินแดนของจักรวรรดิในเวลาราว 2 ปี
  • พ่ายแพ้ เมห์เหม็ด เซเลบิ ในการศึก ณ อุลุบัต ใน 1405
  • ถูกปลงพระชนม์ใน 1406
อีเมียร์ (อาเมียร์)
สุไลยมาน เซเลบี

ปฐมสุลต่านแห่งรูเมเลีย
20 กรกฎาคม 1402 17 กุมภาพันธ์ 1411[12]
  • รับพระยศ สุลต่าน รูเมเลีย สำหรับจักรวรรดิในยุโรป ยุคสมัยสั้น ๆ หลังออตโตมันพ่าย ยุทธการอังการา ใน 20 กรกฎาคม 1402
  • ถูกปลงพระชนม์ 17 กุมภาพันธ์ 1411.[13]
มูซา เซเลบี
สุลต่านรูเมเลียที่ 2
18 กุมภาพันธ์ 1411 5 กรกฎาคม 1413[14]
  • รับพระยศ สุลต่านรูเมเลีย สำหรับจักรวรรดิในยุโรป [15] 18 กุมภาพันธ์ 1411,หลัง สุไลมาน เซเลบี.
  • ถูกปลงพระชนม์ 5 กรกฎาคม 1413 โดย กองทัพเมห์เหม็ด เซเลบี ในยุทธการ Çamurlu Derbent ที่ โซเฟีย ใน บัลแกเรีย.[16]
เมห์เหม็ด เซเลบี
สุลต่านอนาโตเลีย
1403–1406
(สุลต่านแห่งดินแดนอนาโตเลียตะวันออก)’’

1406–1413
(สุลต่าน อนาโตเลีย)
5 กรกฎาคม 1413
  • ได้รับการควบคุมทางด้านตะวันออกของดินแดน อนาโตเลีย ในฐานะสุลต่านร่วม หลังจากความพ่ายแพ้ ยุทธการที่อังการาใน 20 กรกฎาคม 1402.
  • แพ้ อีซา เซเลบี ในยุทธการ ณ อูลูบัต ใน 1405.
  • ทรงเป็นผู้ปกครองภูมิภาคอนาโตเลียแห่งจักรวรรดิออตโตมันแต่เพียงผู้เดียว หลังอีซาสิ้นพระชนม์ใน 1406.
  • รับพระยศ สุลต่านออตโตมัน เมห์เหม็ดที่ 1 ข่าน หลัง มูซา สิ้นพระชนม์ ณ 5 กรกฎาคม 1413.
รัฐสุลต่านฟื้นฟู
5 เมห์เหม็ดที่ 1
ÇELEBİ (ผู้อ่อนโยน)
KİRİŞÇİ (lit. The Bowstring Maker for his support)
5 กรกฎาคม 1413 26 มีนาคม 1421 Tughra of Mehmed I
  • โอรสบาเยซิดที่ 1 และเดฟเลต ฮาตุน.[6]
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[17]
6 มูรัดที่ 2
KOCA (มหาราช)
25 มิถุนายน 1421 1444 Tughra of Murad II
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 1 กับ เอมิเน ฮาตุน;[6]
  • สละราชสมบัติให้โอรส เมห์เหม็ดที่ 2.[18]
7 เมห์เหม็ดที่ 2
FĀTİḤ (ผู้พิชิต)
فاتح
1444 1446 Tughra of Mehmed II
  • โอรสมูรัดที่ 2 กับ ฮูมา ฮาตุน.[6]
  • ถวายบัลลังก์ให้พระราชบิดาหลังจากที่ขอให้พระองค์กลับสู่อำนาจพร้อมกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากจานิสซารี[18]
(6) มูรัดที่ 2
KOCA (มหาราช)
1446 3 กุมภาพันธ์ 1451 Tughra of Murad II
  • รัชกาลที่ 2;
  • ถูกบังคับให้กลับมาทรงราชย์เพื่อปราบปรามกบฏจานิสซารี[19]
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ
การขยายตัวของจักรวรรดิ
(1453 – 1550)
(7) เมห์เหม็ดที่ 2
KAYSER-İ RÛM (ซีซาร์แห่งโรมัน)
FĀTİḤ (ผู้พิชิต)
فاتح
3 กุมภาพันธ์ 1451 3 พฤษภาคม 1481 Tughra of Mehmed II
8 บาเยซิดที่ 2
VELÎ (นักบุญ)
19 พฤษภาคม 1481 25 เมษายน 1512 Tughra of Bayezid II
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 2 กึลบาฮาร์ ฮาตุน[6]
  • สละราชสมบัติ
  • สวรรคตใกล้ไดดีโมเตโค ใน 26 พฤษภาคม 1512.[21]
9 เซลิมที่ 1
YAVUZ (ผู้แข็งแกร่ง)
Hadim'ul Haramain'ish-Sharifain
(ผู้รับใช้แห่งเมกกะและเมดีนะ)
25 เมษายน 1512 21 กันยายน 1520 Tughra of Selim I
  • โอรสบาเยซิดที่ 2 กับ กึลบาฮาร์ ฮาตุน
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[22]
10 สุลัยมานที่ 1
MUHTEŞEM (ผู้สง่างาม)

or KANÛNÎ (ผู้พระราชทานกฎหมาย)
قانونى

30 กันยายน 1520 6 หรือ 7 กันยายน 1566 Tughra of Suleiman I
  • โอรสเซลิมที่ 1 กับฮัฟซา สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[23]
การปฏิรูปจักรวรรดิออตโตมัน
(1550 – 1700)
11 เซลิมที่ 2
SARI (บลอนด์)

MEST (ขี้เมา)

29 กันยายน 1566 21 ธันวาคม 1574 Tughra of Selim II
12 มูรัดที่ 3 22 ธันวาคม 1574 16 มกราคม 1595 Tughra of Murad III
13 เมห์เหม็ดที่ 3
ADLÎ (ผู้เที่ยงธรรม)
27 มกราคม 1595 20 หรือ 21 ธันวาคม 1603 Tughra of Mehmed III
  • โอรสมูรัดที่ 3 กับ ซาฟีเย สุลต่าน
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[26]
14 อะเหม็ดที่ 1
BAḪTī (ผู้โชคดี)
21 ธันวาคม 1603 22 พฤศจิกายน 1617 Tughra of Ahmed I
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 3 กับ ฮันดัน สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[27]
15 มุสทาฟาที่ 1
DELİ (ผู้วิปลาส)
22 พฤศจิกายน 1617 26 กุมภาพันธ์ 1618 Tughra of Mustafa I
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 3 กับ ฮาลิเม สุลต่าน;
  • ถูกถอดจากราชสมบัติจากการเสียจริตให้พระภาคิไนยออสมันที่ 2[28]
16 ออสมันที่ 2
GENÇ (ผู้เยาว์)
ŞEHÎD (ผู้พลีชีพ)

شهيد
26 กุมภาพันธ์ 1618 19 พฤษภาคม 1622 Tughra of Osman II
  • โอรสอะเหม็ดที่ 1 กับมาห์ฟิรุซ ฮาตุน;
  • ถูกถอดในการจลาจลของจานิสซารี ใน19 พฤษภาคม 1622;
  • ถูกปลงพระชนม์ 20 พฤษภาคม 1622 โดยแกรนด์วิเชียร์ คารา ดาวุด พาชา[29]
(15) มุสทาฟาที่ 1
DELİ (ผู้วิปลาส)
20 พฤษภาคม 1622 10 กันยายน 1623 Tughra of Mustafa I
  • รัชกาลที่ 2;
  • กลับมาทรงราชย์หลัง ออสมันที่ 2 ถูกปลงพระชนม์
  • ถูกถอดเนื่องจากเสียพระจริต ทรงถูกคุมพระองค์จนกระทั่งสวรรคตที่อิสตันบุล 20 มกราคม 1639[28]
17 มูรัดที่ 4
SAHİB-Î KIRAN
ผู้พิชิตแบกแดด
ĠĀZĪ (นักรบ)

غازى
10 กันยายน 1623 8 หรือ 9 กุมภาพันธ์ 1640 Tughra of Murad IV
  • โอรสอะเหม็ดที่ 1 กับโคเซม สุลต่าน.
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[30]
18 อิบราฮิม
DELİ (ผู้วิปลาส)
ผู้พิชิตครีต
ŞEHÎD
9 กุมภาพันธ์ 1640 8 สิงหาคม 1648 Tughra of Ibrahim
  • โอรสอะเหม็ดที่ 1 กับโคเซม สุลต่าน;
  • ถูกถอดใน 8 สิงหาคม 1648 ในการยึดอำนาจโดย ชีค อุล-อิสลาม
  • ถูกรัดพระศอจนสวรรคตที่อิสตันบุลใน 18 สิงหาคม 1648[31] ตามคำสั่งแกรนด์วิเชียร์ เมฟเลวี เมห์เหม็ด ปาชา (Sofu Mehmed Pasha).
19 เมห์เหม็ดที่ 4
AVCI (ผู้ล่า)
ĠĀZĪ (นักรบ)
غازى
8 สิงหาคม 1648 8 พฤศจิกายน 1687 Tughra of Mehmed IV
  • โอรสอิบราฮิมกับตุรฮาน สุลต่าน;
  • ถูกถอด ณ 8 พฤศจิกายน 1687 เนื่องจากจักรวรรดิออตโตมันแพ้ การศึกที่โมฮักส์ครั้งที่ 2;
  • สวรรคต ณ เอดีร์เน ใน 6 มกราคม 1693.[32]
20 สุลัยมานที่ 2
ĠĀZĪ (นักรบ)
Paolo_Veronese_(Nachfolger)_-_Sultan_Soliman_II._-_2249_-_Bavarian_State_Painting_Collections 8 พฤศจิกายน 1687 22 มิถุนายน 1691 Tughra of Suleiman II
  • โอรสอิบราฮิมกับอาซุบ สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[33]
21 อะเหม็ดที่ 2
ḪĀN ĠĀZĪ (เจ้าชายนักรบ)
22 มิถุนายน 1691 6 กุมภาพันธ์ 1695 Tughra of Ahmed II
  • โอรสอิบราฮิมกับมูอัซเซส สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ.[34]
22 มุสทาฟาที่ 2
ĠĀZĪ (นักรบ)
6 กุมภาพันธ์ 1695 22 สิงหาคม 1703 Tughra of Mustafa II
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 4 กึลนุส สุลต่าน;
  • ถูกถอด ณ 22 สิงหาคม 1703 โดยกบฏ จานิสซารี ในนาม เหตุการณ์เอดรีเน
  • สวรรคตที่อิสตันบุล ณ 8 มกราคม 1704.[35]
ยุคหยุดนิ่งและการปฏิรูปจักรวรรดิ
(1700 – 1827)
23 อะเหม็ดที่ 3
สุลต่านสมัยทิวลิป
ĠĀZĪ (ขุนศึก)
22 สิงหาคม 1703 1 หรือ 2 ตุลาคม 1730 Tughra of Ahmed III
  • โอรสเมห์เหม็ดที่ 4 กับ กึลนุส สุลต่าน;
  • ถูกถอดเนื่องจากการกบฏของพวกจานิสซารีนำโดย เปโตรนา ฮาลิล
  • สวรรคต 1 กรกฎาคม 1736.[36]
24 มาห์หมุดที่ 1
ĠĀZĪ (นักรบ)
KAMBUR (ผู้หลังค่อม)
2 ตุลาคม 1730 13 ธันวาคม 1754 Tughra of Mahmud I
  • โอรสมุสตาฟาที่ 2 กับ ซาลิฮา สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[37]
25 ออสมันที่ 3
SOFU (ผู้มีความศรัทธา)
13 ธันวาคม 1754 29 หรือ 30 ตุลาคม 1757 Tughra of Osman III
  • โอรสมุสตาฟาที่ 2 กับ เซสุวาร์ สุลต่าน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[38]
26 มุสทาฟาที่ 3
YENİLİKÇİ (ผู้สร้างนวัตกรรมแรก)
30 ตุลาคม 1757 21 มกราคม 1774 Tughra of Mustafa III
  • โอรสอะเหม็ดที่ 3 กับ มิฮ์ริซาร์ คาดึน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[39]
27 อับดุล ฮามิดที่ 1
Abd ūl-Hāmīd (ผู้รับใช้พระเจ้า)
ISLAHATÇI (ผู้ปรับปรุง)
ĠĀZĪ (ขุนศึก)
21 มกราคม 1774 6 หรือ 7 เมษายน 1789 Tughra of Abdul Hamid I
  • โอรสอะเหม็ดที่ 3 กับ เซอร์มิ คาดิน;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[40]
28 เซลิมที่ 3
BESTEKÂR (คีตกวี)
NİZÂMÎ (เจ้าระเบียบ)
ŞEHÎD (ผู้พลีชีพ)
7 เมษายน 1789 29 พฤษภาคม 1807 Tughra of Selim III
  • โอรสมุสตาฟาที่ 3 กับ มิฮ์ริชาห์ สุลต่าน
  • ถูกถอดจากราชสมบัติจากการปฏิวัติเจเนสซารีนำโดยคาบักซิ มุสตาฟา เพื่อต้านการปฏิรูปของพระองค์
  • ถูกปลงพระชนม์ที่อิสตันบุล 28 กรกฎาคม 1808[41] ตามคำสั่งของสุลต่านมุสทาฟาที่ 4
29 มุสทาฟาที่ 4 29 พฤษภาคม 1807 28 กรกฎาคม 1808 Tughra of Mustafa IV
  • โอรสอับดุลฮามิดที่ 1 กับซิเนเพอร์เวอร์ สุลต่าน;
  • ถูกถอดในการกบฏนำโดย อัลเดมาร์ มุสตาฟา ปาชา
  • ถูกปลงพระชนม์ที่อิสตันบุล 17 พฤศจิกายน 1808[42] ตามคำสั่งของสุลต่านมาห์หมุดที่ 2
จักรวรรดิออตโตมันสมัยใหม่
(1827 – 1908)
30 มาห์หมุดที่ 2
İNKILÂPÇI (นักปฏิรูป)
ĠĀZĪ (ขุนศึก)
28 กรกฎาคม 1808 1 กรกฎาคม 1839 Tughra of Mahmud II
  • โอรสอับดุลฮามิดที่ 1 กับนักซิดิล สุลต่าน (พระชนนีบุญธรรม);
  • ยกเลิก จานิสซารี สืบเนื่องมาจาก เหตุการณ์มหามงคล ใน 1826;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[43]
31 อับดุล เมจิดที่ 1
TANZİMÂTÇI
(The Strong Reformist or
The Advocate of Reorganization)

ĠĀZĪ (ขุนศึก)
1 กรกฎาคม 1839 25 มิถุนายน 1861 Tughra of Abdulmejid I
  • โอรสมาห์หมุดที่ 2 กับเบซมีอาเลียม สุลต่าน
  • ประกาศพระบรมราชโองการ( Hatt-ı Sharif) แห่งกึลฮาเน (Tanzimât Fermânı) ที่เปิดตัวสมัย Tanzimat ของการปฏิรูปและการปรับโครงสร้างองค์กรใน 3 พฤศจิกายน 1839 ตามคำสั่งนักปฏิรูป แกรนด์วิเชียร์ มุสตาฟา ระชิด ปาชา
  • รับรองIslâhat Hatt-ı Hümayun (พระบรมราชโองการ) (Islâhat Fermânı) ใน 18 กุมภาพันธ์ 1856;
  • ทรงราชย์ตลอดพระชนม์ชีพ[44]
32 อับดุล อะซีซ
BAḪTSIZ (ผู้โชคร้าย)
ŞEHĪD (ผู้พลีชีพ)
25 มิถุนายน 1861 30 พฤษภาคม 1876 Tughra of Abdülaziz
  • โอรสมาห์หมุดที่ 2 กับ เปอร์เนฟนิยาล สุลต่าน
  • ถูกถอดโดยคณะเสนาบดี;
  • ถูกพบว่าสวรรคต (อัตวินิบาตกรรมหรือปลงพระชนม์) 5 วันต่อมา[45]
33 มูรัดที่ 5 30 พฤษภาคม 1876 31 สิงหาคม 1876 Tughra of Murad V
  • โอรสอับดุลเมจิดที่ 1 กับเซฟเคฟซา คาดึน;
  • ถูกถอดเนื่องประชวรทางจิต
  • ถูกคุมพระองค์ในวังซิราอัน สวรรคต 29 สิงหาคม 1904.[46]
34 อับดุล ฮามิดที่ 2
Ulû Sultân Abd ūl-Hāmīd Khan

(The Sublime Khan)

31 สิงหาคม 1876 27 เมษายน 1909 Tughra of Abdul Hamid II
  • โอรสอับดุลเมจิดที่ 1 กับติริมูจกัน คาดึน ต่อมาเป็นราชบุตรบุญธรรม เปเรสตู คาดึน).
  • มีพระราชานุญาตอย่างไม่เต็มพระทัยให้ตั้งสมัยปฐมรัฐธรรมนูญ ใน 23 พฤศจิกายน 1876 และทรงระงับใน 13 กุมภาพันธ์ 1878;
  • ถูกบีบให้ฟื้นฟูสมัยรัฐธรรมนูญที่ 2 ใน 3 กรกฎาคม 1908
  • ถูกถอดใน เหตุการณ์ 31 มีนาคม (ใน 13 เมษายน 1909)
  • ถูกคุมพระองค์ในพระราชวังเบย์เลอร์เบยี จนสวรรคต ณ 10 กุมภาพันธ์ 1918[47]
35 เมห์เหม็ดที่ 5
REŞÂD (Rashād)

(ผู้ตามทางที่แท้จริง)

27 เมษายน 1909 3 กรกฎาคม 1918 Tughra of Mehmed V
  • โอรสอับดุลเมจิดที่ 1 กับกุลซีมาล คาดึน;
  • ทรงราชย์ในฐานะ หุ่นเชิดของเมห์เหม็ด ตาลัต, อิสมาอิล เอนเวอร์ และ อะเหม็ด ซีมาล ปาชา จนสวรรคต[48]
36 เมห์เหม็ดที่ 6
VAHDETTİN (Wāhīd ād-Dīn)

(The Unifier of Dīn (Islam) หรือ เอนกชนแห่ง อิสลาม)

4 กรกฎาคม 1918 1 พฤศจิกายน 1922 Tughra of Mehmed VI
เคาะลีฟะฮ์ ภายใต้สาธารณรัฐ
(1 พฤศจิกายน 1922 – 3 มีนาคม 1924)
อับดุล เมจิดที่ 2 18 พฤศจิกายน 1922 3 มีนาคม 1924
[c]
  • โอรสอับดุลลาซิซที่ 1 กับ เฮนาริดิล คาดึน[50]
  • ได้รับเลือกเป็น เคาะลีฟะฮ์ โดย รัฐสภา;
  • ลี้ภัยหลังการล้มเลิกระบอบคอลิฟะฮ์;[51]
  • สวรรคตที่ปารีส, ฝรั่งเศส ใน 23 สิงหาคม 1944.[52]
ปิด

ประมุขแห่งราชวงศ์ออสมันหลัง 1923

ข้อมูลเพิ่มเติม №, พระนาม ...
พระนาม พระรูป สมัย ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน
36 เมห์เหม็ดที่ 6 Thumb 1922-1926 สุลต่านออตโตมันพระองค์สุดท้าย (1918–1922)[53]
37 อับดุล เมจิดที่ 2 Thumb 1926-1944 กาหลิปออตโตมันพระองค์สุดท้าย (1922–1924)[53]
38 อาเหม็ด นิฮาด Thumb 1944-1954 พระราชนัดดาในสุลต่านมูรัดที่ 5[53]
39 ออสมัน ฟูอัด, Thumb 1954–1973 พระอนุชาต่างพระชนนีในอาเหม็ดที่ 4 นิฮาด[53]
40 เมห์เหม็ด อับดุลลาซิซ 1973–1977 พระราชนัดดาในสุลต่านอับดุล อะซีซ.[53]
41 อาลี วาซิบ 1977–1983 พระราชโอรสในอาเหม็ดที่ 4 นิฮาด[53]
42 เมห์เหม็ด ออร์ฮาน Thumb 1983–1994 พระราชนัดดาในสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2[54]
43 เออร์ตูกรุล ออสมัน), 1994–2009 พระราชนัดดาในสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2[55]
44 บาเยซิด ออสมัน 2009-2017 พระราชปนัดดาในสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1[56]
45 ดุนดาร์ อาลี ออสมัน 2017-2021 พระราชปนัดดาในสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2
46 ฮารูน ออสมัน 2021–ปัจจุบัน พระราชปนัดดาในสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2
ปิด


อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.