สาธารณรัฐฮังการีที่ 1
อดีตประเทศใน ค.ศ. 1918–1919 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดีตประเทศใน ค.ศ. 1918–1919 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐฮังการีที่ 1 (ฮังการี: Első Magyar Köztársaság)[1] หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ฮังการี: Magyar Népköztársaság)[g] เป็นสาธารณรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศฮังการี ประเทศโรมาเนีย[h] และประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน และดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นหลังความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1918 และคงสถานะเป็นสาธารณรัฐจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 เนื่องจากการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี จึงทำให้ประเทศฮังการีในเวลาต่อมาถูกเปลี่ยนผ่านเป็นราชอาณาจักร ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐประชาชนได้หยุดชะงักลงอันเป็นผลมาจากการสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์และการจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีขึ้นโดยรัฐบาลผสมประชาธิปไตย–สังคมนิยม ซึ่งดำรงอยู่เพียง 133 วัน กระทั่งมีการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1919 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนก็ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโรมาเนีย
สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (1918-1919) Magyar Népköztársaság สาธารณรัฐฮังการี (1919–1920) Magyar Köztársaság | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1918–1920 | |||||||||||||||||
ดินแดนของสาธารณรัฐในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | |||||||||||||||||
สถานะ | รัฐตกค้างที่ได้รับการยอมรับอย่างไม่สมบูรณ์ | ||||||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บูดาเปสต์ 47°29′N 19°02′E | ||||||||||||||||
ภาษาราชการ | ฮังการี | ||||||||||||||||
ภาษาถิ่น | เยอรมัน, สโลวัก, โครเอเชีย, โรมาเนีย | ||||||||||||||||
เดมะนิม | ฮังการี | ||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐประชาชน | ||||||||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||||||||
• 16 พฤศจิกายน 1918 | มิฮาย กาโรยี | ||||||||||||||||
• 21 มีนาคม 1919 | ว่าง[a] | ||||||||||||||||
• 1 สิงหาคม 1919 | จูลอ ไพเดิล[b] | ||||||||||||||||
• 7 สิงหาคม 1919 | อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์[c] | ||||||||||||||||
• 23 สิงหาคม 1919 | อิชต์วาน ฟรีดริช[d] | ||||||||||||||||
• 24 พฤศจิกายน 1919 | กาโรย ฮูสซาร์[e] | ||||||||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||||||||
• 31 ตุลาคม 1918 | มิฮาย กาโรยี | ||||||||||||||||
• 11 มกราคม 1919 | เดแน็ช เบริงคีย์ | ||||||||||||||||
• 21 มีนาคม 1919 | ว่าง | ||||||||||||||||
• 1 สิงหาคม 1919 | จูลอ ไพเดิล | ||||||||||||||||
• 7 สิงหาคม 1919 | อิชต์วาน ฟรีดริช | ||||||||||||||||
• 24 พฤศจิกายน 1919 | กาโรย ฮูสซาร์ | ||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ |
| ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ระหว่างสงคราม | ||||||||||||||||
31 ตุลาคม 1918 | |||||||||||||||||
• ประกาศจัดตั้ง | 16 พฤศจิกายน 1918 | ||||||||||||||||
21 มีนาคม 1919 | |||||||||||||||||
• ฟื้นฟูสาธารณรัฐอีกครั้ง | 1 สิงหาคม 1919 | ||||||||||||||||
• เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐฮังการี | 8 สิงหาคม 1919 | ||||||||||||||||
• การยอมรับทางการทูต | 25 พฤศจิกายน 1919 | ||||||||||||||||
• การเลือกตั้ง | 25-26 มกราคม 1920 | ||||||||||||||||
29 กุมภาพันธ์ 1920 | |||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||
• รวม | 282,870 ตารางกิโลเมตร (109,220 ตารางไมล์)[f] | ||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||
• 1920 | 7,980,143 | ||||||||||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||||||||||
|
ในช่วงเริ่มแรก สาธารณรัฐประชาชนฮังการีอยู่ภายใต้ผู้นำคือ มิฮาย กาโรยี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวของฮังการี โดยในระยะเวลานี้เองที่ประเทศต้องสูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมากให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 325,411 ตารางกิโลเมตร จากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาล นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนและการก่อตัวขึ้นของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำให้ในเวลาต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตขึ้น โดยดำเนินการปกครองตามแบบอย่างของคอมมิวนิสต์รัสเซีย แต่เนื่องจากความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตที่มีอายุสั้นล่มสลายลง หลังจากนั้นรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมได้เข้ามามีอำนาจ จึงถือเป็นการฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐประชาชนขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงนี้รัฐบาลได้ทำการยกเลิกมาตรการทั้งหมดที่ผ่านโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ในอีกไม่กี่วันต่อมารัฐบาลได้ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติฝ่ายขวาที่นำโดย อิชต์วาน ฟรีดริช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
ในช่วงของรัฐบาลฝ่ายขวา ชาวฮังการีต่างได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากต้องการให้ประชากรชาวฮังการีอพยพถอยกลับไปตามแนวแบ่งเขตที่กำหนดไว้หลังสงคราม เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมสันติภาพปารีส ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของฝ่ายสัมพันธมิตรในการสถาปนารัฐชาติใหม่ท่ามกลางพลเมืองที่ไม่ใช่ชาวฮังการี ประเทศที่ได้รับผลประโยชน์หลักจากการสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐเชโกสโลวัก ต่อมามีการทำสนธิสัญญาทรียานงโดยจะได้ลงนามในภายหลัง
ภายหลังการปฏิวัติเบญจมาศ สภาแห่งชาติฮังการีได้เรียกร้องให้มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐพร้อมกับการล้มล้างราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในฮังการี[12] ทางผู้แทนของราชสำนักประจำบูดาเปสต์ อาร์ชดยุกโยเซ็ฟ เอากุสท์ แห่งฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ผู้เชื่อมั่นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะรักษาราชาธิปไตยฮังการีไว้ จึงเข้าเจรจากับจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 เพื่อให้พระองค์ถอนสัตย์ปฏิญาณให้แก่มิฮาย กาโรยี และบรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการออกมติว่านับตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายนเป็นต้นไป พระองค์จะละทิ้งการมีส่วนร่วมต่อการเมืองภายในของฮังการีและจะยอมรับรูปแบบการปกครองใหม่ตามที่ประชาชนตัดสินใจไว้[13] สามวันต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สาธารณรัฐประชาชนฮังการีจึงได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ[13] โดยมีกาโรยีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1919[13]
จากความพ่ายแพ้และความอดสูของการเมืองฝ่ายขวา ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลตกอยู่ในมือของฝ่ายซ้ายประชาธิปไตย[14] ซึ่งกินเวลาหลายเดือนด้วยกัน และการฟื้นฟูอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมดูเหมือนจะเป็นเรื่องเพ้อฝัน[14] ประชากรส่วนใหญ่ภายในประเทศไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามอย่างต่อเนื่อง ต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนด้วยอาวุธ และหันไปให้ความสำคัญกับการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจที่ประชาชนรอคอยมายาวนาน[14] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจยังคงไม่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าตำแหน่งสำคัญในกองทัพและหน่วยงานราชการต่าง ๆ จะตกอยู่ภายใต้ผู้สนับสนุนของรัฐบาล แต่ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของผู้สนับสนุนระบอบเก่าด้วย[15]
ในช่วงแรกของรัฐบาล กาโรยีถูกมองว่าเป็นผู้ที่ใช้การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นข้ออ้างในการได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ[16] ทั้งแรงงานในเขตเมืองที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนิยม ชาวนาที่ต้องการปฏิรูปเกษตรกรรม และกลุ่มปัญญาชนที่ต้องการให้ประชาธิปไตยเป็นรากฐานของสังคม[16] อีกทั้งเขายังถูกมองว่าเป็นนักการเมืองเพียงคนเดียวที่สามารถบรรลุการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรและหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกดินแดนของฮังการีได้[17] อย่างไรก็ตาม ไตรภาคีไม่ได้ยอมรับรัฐบาลกาโรยีและยังคงดำเนินการแบ่งแยกฮังการีต่อไปในฐานะผู้พ่ายแพ้สงคราม[17]
ความหวังในการเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐมนตรีกาโรยีต้องพังทลายลงจากความโกลาหลภายหลังสงคราม[16] โดยในเดือนกันยายน ทหารราวสี่แสนนายถูกปลดประจำการและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือนต่อมา[16] ทหารหนีทัพรวมทั้งเชลยศึกประมาณ 725 000 คน ได้รับการปลดปล่อยจากดินแดนโซเวียตในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (นับเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรในราชอาณาจักรเดิม)[18][16] ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ทหาร 700,000 นายกลับมาจากแนวรบหน้า และในเดือนธันวาคม มีทหารมากกว่า 1,200,000 นายที่ถูกปลดประจำการ[16] จากเหตุการณ์ความวุ่นวายเหล่านี้ รวมทั้งการก่อจราจลของชาวนา ทำให้รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกป้องทรัพย์สินมากขึ้น และการปฏิรูปถูกเลื่อนออกไป ซึ่งทำให้รัฐบาลเสียกำลังสนับสนุนจากฝ่ายซ้ายแต่แรงสนับสนุนจากฝ่ายขวาเพิ่มขึ้นแทน[16] รัฐบาลมองว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลในการควบคุมอำนาจในสายตาของฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาเรื่องคอมมิวนิสต์จากประเทศเพื่อนบ้าน[16]
ในเวลาเพียงไม่นาน จุดอ่อนของรัฐบาลก็ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัด: การขาดแรงสนับสนุนจากองค์กรมวลชน การควบคุมหน่วยราชการที่ไม่สมบูรณ์ การขาดกองกำลังติดอาวุธและตำรวจที่ภักดี และความล้มเหลวในนโยบายต่างประเทศ ถือเป็นจุดอ่อนหลักของรัฐบาล[15] สำหรับหน่วยทหารที่เป็นฐานการสนับสนุนของกาโรยีเองก็ไม่เคยรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างกองทัพปฏิวัติที่แข็งแกร่งได้ โดยยังมีบางหน่วยที่ไร้การดูแลและมักก่อความวุ่นวายอยู่หลายครั้ง[19] หน่วยทหารที่ภักดีต่อรัฐบาลอย่างแท้จริงนั้นก็มีจำนวนน้อยอย่างมาก[19] ความพยายามในการรับสมัครทหารเพิ่มประสบผลล้มเหลว เนื่องจากสภาพสังคมทหารที่โหดร้าย ความเหนื่อยล้าจากสงคราม และยังทางเลือกอื่นที่มีให้สำหรับอาสาสมัครที่มีศักยภาพ[20] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามวิลโมช เบิฮ์ม มีความพยายามที่จะสร้างกองกำลังประชาชนตามแบบออสเตรีย แต่ก็ประสบความล้มเหลวอีกเช่นเคย เนื่องจากขาดอาสาสมัครที่จะเข้าร่วม[18]
จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้รัฐบาลต้องเลือกระหว่างการพึ่งพาอดีตนายทหารของกองทัพจักรวรรดิหรือหน่วยทหารที่จงรักภักดีต่อสังคมนิยม ซึ่งเป็นหน่วยเดียวที่น่าจะสามารถยุติความวุ่นวายหลังสงครามได้[20] แม้ว่ากาโรยีจะเลือกหน่วยทหารสังคมนิยม แต่ก็ล้มเหลวในเป้าหมายที่จะควบคุมหน่วยไว้[20]
ถึงแม้ว่าประเทศจะเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ทัศนคติของนักการเมืองฮังการีจำนวนมากที่เกี่ยวกับความมีอำนาจของฮังการียังคงไม่เปลี่ยนแปลง[21] อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1918 มีการแบ่งแยกในกลุ่มปัญญาชนระหว่างผู้สนับสนุนระบอบเก่าและผู้เชื่อมั่นในความจำเป็นของการปฏิรูป[22]
นักสังคมวิทยาและหนึ่งในผู้นำฝ่ายมูลวิวัติโอซการ์ ยาซิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ[22] เนื่องจากเขาเป็นผู้สนับสนุนให้ประเทศเปลี่ยนเป็นสหพันธรัฐ[23] เขาจึงพยายามบรรลุข้อตกลงกับชนกลุ่มน้อยที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียดินแดน[22] ยาซิได้ออกกฎหมายการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เนื่องด้วยความปรารถนาของเขาที่จะรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของฮังการีใหม่ไว้[24] แม้ว่าจะบรรลุตามเป้าหมายเพียงเล็กน้อยก็ตาม[20] อุปสรรคสำคัญในการบรรลุข้อตกลงกับชนกลุ่มน้อยคือ ความเชื่อมั่นของนักการเมืองฮังการีที่มีต่อชนกลุ่มน้อย รวมถึงนักการเมืองสายปฏิรูปส่วนใหญ่ด้วย[25] ถึงแม้กาโรยีและยาซิจะมุ่งมั่นพยายามในการเปลี่ยนการกดขี่ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ให้เป็นการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย แต่มาตรการของพวกเขากลับถูกมองว่ามีลักษณะเป็นพ่อปกครองลูก[25] ตามเป้าหมายของรัฐบาลในการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน กาโรยียังคงยึดมั่นในหลักการของประธานาธิบดีสหรัฐวูดโรว์ วิลสัน ซึ่งน่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการเรียกร้องดินแดนที่มากเกินไปของประเทศเพื่อนบ้าน[20] รัฐบาลเชื่อว่าปัญหาชนกลุ่มน้อยไม่ได้มาจากการกดขี่ของชาวฮังการี แต่มาจากการนำระบบสังคมและการเมืองแบบโบราณมาใช้โดยชนชั้นสูงที่กดขี่ชาวฮังการีและชนกลุ่มน้อย แลมองว่าการปฏิรูปทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ยุติลง[17]
ยาซิดำเนินแผนปฏิรูปรัฐตามแบบอย่างของสวิตเซอร์แลนด์[17] และเขาได้เดินทางไปที่ออร็อดเพื่อเริ่มเจรจากับผู้นำกลุ่มชาตินิยมโรมาเนียในทรานซิลเวเนียเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน[26] สองวันต่อมา ทางผู้นำหลักของกลุ่มชาตินิยมโรมาเนียยุลยู มานียู ได้ตอบรับเข้าร่วมการเจรจา และแสดงจุดยืนของตนในที่เจรจาว่าการกำหนดการปกครองด้วยตนเองหมายถึงการบรรลุอธิปไตยของชาติสำหรับประชากรที่มีวัฒนธรรมเป็นโรมาเนีย[27] สำหรับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้รับคำสัญญาว่าพวกเขาจะมีเสรีภาพทางวัฒนธรรมในวงกว้าง[27] มานียูกำลังเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบในที่เจรจา เนื่องจากเขาทราบถึงสนธิสัญญาลับของการเป็นพันธมิตรระหว่างโรมาเนียและไตรภาคี โดยในเนื้อหามีการระบุถึงการผนวกทรานซิลเวเนียด้วย ซึ่งนั่นทำให้การบรรลุข้อตกลงของยาซิไม่มีทางเป็นไปได้เลย[27] จากความล้มเหลวในการเจรจาที่ออร็อด ทำให้สาธารณชนชาวฮังการีมีความคิดเห็นไปในเชิงลบและรุนแรง[28] สื่อมวลชนทั้งหมด รวมทั้งนักสังคมนิยม ออกมาเรียกร้องเพื่อต้องการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนฮังการีตามพรมแดนของจักรวรรดิเดิม[28]
รัฐบาลปรากได้เข้าแทรกแซงการเจรจาครั้งหลังของยาซิกับนักการเมืองชาวสโลวักมีลาน ฮอจา (แม้ว่าฮอจาจะไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของชาวสโลวักก็ตาม)[29] ในช่วงเวลาเดียวกัน กองทหารเช็กเริ่มรุกคืบเข้าสู่ดินแดนสโลวาเกียตามคำเรียกร้องของชาวโลวักที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีเชโกสโลวาเกียคาเรล ครามาร์ และเพื่อหลีกเลี่ยงความโกลาหลก่อนการถอนตัวของฝ่ายบริหารฮังการี[29] การเจรจาของยาซิประสบผลล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากสาธารณรัฐเชโกสโลวักใหม่ได้รับการรับรองจากไตรภาคีแล้ว ก่อนที่การประชุมสันติภาพปารีสจะถูกจัดขึ้น[30]
รัฐบาลกาโรยีลงนามสงบศึกกับไตรภาคี ณ กรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[22] ซึ่งได้กำหนดพรมแดนทางทหารชั่วคราวระหว่างฮังการีกับเชโกสโลวาเกีย โรมาเนีย และเซอร์เบีย (ต่อมาคือยูโกสลาเวีย)[25] แต่ต่อมากองทหารของประเทศเพื่อนบ้านเริ่มเข้ารุกล้ำพรมแดนที่กำหนดไว้ อันเป็นผลจากความเห็นชอบของไตรภาคี[25] รัฐบาลไม่สามารถพึ่งพาประสิทธิภาพของกองทัพตนเองได้: ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความอ่อนล้าของกองทัพที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและความระส่ำระส่ายภายในประเทศ อีกทั้งการดำเนินนโยบายสันตินิยมของรัฐบาล ส่งผลให้กาโรยีไร้ซึ่งกองกำลังติดอาวุธที่จะสามารถต่อต้านการโจมตีจากประเทศเพื่อนบ้าน[25]
ในขณะที่รัฐมนตรีชนกลุ่มน้อยยาซิเข้าพบเจรจากับผู้แทนโรมาเนีย ณ เมืองออร็อด เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ฝ่ายบริหารและกองทัพฮังการีจึงเริ่มเคลื่อนย้ายออกจากภูมิภาคนี้ และกองทัพโรมาเนียเริ่มเคลื่อนกำลังพลข้ามพรมแดนคาร์เพเทีย[26] กองทหารรักษาการณ์ของโรมาเนียได้รับการก่อตั้งขึ้น พร้อมกับคณะกรรมการแห่งชาติโรมาเนียที่ควบคุมเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก[26] เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 สภาแห่งชาติโรมาเนียประจำทรานซิลเวเนียได้ประกาศรวมภูมิภาคเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย[30] จากนั้นกองทัพโรมาเนียจึงเริ่มเคลื่อนกำลังข้ามแม่น้ำมูเรช (ฮังการี: Maros) และเข้ายึดครองดินแดนตามสัญญาลับที่ตกลงกันไว้กับไตรภาคีใน ค.ศ. 1916[30] รัฐบาลบูดาเปสต์เมื่อทราบถึงการก่อสงครามของโรมาเนีย จึงทำการประท้วงต่อต้านอย่างเปิดเผย[30] เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พันเอกแฟร์ดีน็อง วิกซ์ (ผู้แทนฝ่ายไตรภาคีประจำบูดาเปสต์) ได้แจ้งแก่คณะรัฐมนตรีกาโรยีถึงความตั้งใจของเขาที่จะยินยอมให้โรมาเนียยึดครองดินแดนพิพาท[30] ในเดือนมกราคม การรุกหน้าของกองทัพโรมาเนียได้ยุติลงเป็นการชั่วคราว[31] ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลฮังการีแสดงท่าทีต่อต้านกองทัพยูโกสลาเวียที่รุกคืบข้ามพรมแดนสงบศึกเบลเกรด[30] ตามบริเวณชายแดนทั้งสามด้าน อำนาจบริหารทางทหารและพลเรือนตกไปอยู่ในมือผู้ยึดครอง (ตามส่วนเพิ่มเติมของการสงบศึกที่ให้ไว้)[30] เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1919 ได้มีการเพิ่มเติมข้อตกลงในการสงบศึกที่เน้นย้ำถึงพรมแดนชั่วคราวจะต้องอยู่ภายใต้กิจการทหารเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ[30] เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ภูมิภาครูทีเนียได้ประกาศปกครองตนเองเช่นกัน แต่เนื่องจากความอ่อนแอของภูมิภาค ทำให้รูทีเนียไม่สามารถที่จะดำรงเอกราชของตนไว้ได้เหมือนดังชาติอื่น ๆ ที่มีอำนาจ[30]
ไตรภาคีซึ่งยอมรับอำนาจของเชโกสโลวาเกีย เรียกร้องให้ฮังการีถอนอำนาจออกจากสโลวาเกีย แต่รัฐบาลคัดค้านโดยการอ้างถึงข้อตกลงในการสงบศึกเบลเกรด[30] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1919 ไตรภาคีตอบกลับรัฐบาลฮังการีโดยระบุว่าการสงบศึกดังกล่าวมีผลกับพรมแดนทางตะวันออกและใต้เท่านั้น[30] กลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1919 กองทัพเช็กสามารถยึดครองสโลวาเกียได้อย่างสมบูรณ์[31]
ในสุนทรพจน์ปีใหม่ของกาโรยีแสดงออกถึงความท้อแท้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินอยู่[31] ซึ่งลัทธิชาตินิยมต่าง ๆ เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ส่วนปล่อยให้ฮังการีตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามอย่างชัดเจน
กลางเดือนมกราคม แถลงการณ์ของคณะรัฐมนตรีแสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของพวกเขา[31] และได้มีแนวคิดเรื่องการลงประชามติเพื่อยุติความแตกต่างทางดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน[31] แต่ถึงอย่างนั้นประเทศต่าง ๆ ก็ปฏิเสธข้อเสนอนี้[31] ในขณะเดียวกัน พวกฝ่ายขวามูลวิวัติได้เพิ่มการโจมตีพวกสายกลาง ซึ่งนำไปสู่การปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของรัฐบาล: ในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลประกาศจับกุมผู้นำคอมมิวนิสต์และสั่งห้ามพรรคฝ่ายซ้ายจัด รวมถึงสมาคมของฝ่ายขวามูลวิวัติทั้งหลายด้วย[32] ฝ่ายขวามูลวิวัติไม่สามารถจัดระเบียบและนำเสนอนโยบายที่ดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ อีกทั้งยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลในการสร้างแรงสนับสนุนได้ ซึ่งแตกต่างจากคอมมิวนิสต์ตรงที่แม้จะมีจำนวนคนน้อยกว่ามาก แต่มีการจัดระเบียบที่ดีกว่าและมีนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่า[32]
ในเดือนมีนาคม รัฐบาลกาโรยีพร้อมด้วยกลุ่มพันธมิตรจากการปฏิวัติเบญจมาศสูญเสียมายาคติของตนไปอย่างสิ้นเชิง และในวันที่ 2 มีนาคม กาโรยีซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1919 แสดงท่าทีที่เป็นไปได้ในการพยายามป้องกันประเทศโดยใช้กำลัง เนื่องจากความล้มเหลวของการเจรจาที่ต่อเนื่องกัน[33] แต่การขาดกองกำลังติดอาวุธและความวุ่นวายภายใน ทำให้ข้อเสนอนี้เป็นไปไม่ได้[33] ปัญญาชนและชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีแนวคิดหัวรุนแรงมากขึ้น เนื่องด้วยความยากลำบากในช่วงหลังสงครามและการปฏิรูปที่เชื่องช้า ได้สนับสนุนรัฐบาลด้วยความกระตือรือร้นน้อยลงเรื่อย ๆ[15] ชาวนาที่ไม่ได้ปฏิรูปไร่นาตามความต้องการและถูกกดขี่อย่างรุนแรงในบางครั้ง ก็สูญเสียมายาคติในกาโรยีเช่นกัน[15] สถานการณ์ภายในประเทศรุนแรงขึ้น ความเข้มแข็งของซ้ายสุดและขวาสุดเพิ่มขึ้น และรัฐบาลอ่อนแอลงเนื่องจากนโยบายต่างประเทศล้มเหลวและขาดการปฏิรูปภายในประเทศ[34]
ในวันที่ 20 มีนาคม พันเอกวิกซ์ได้ยื่นคำขาดใหม่ต่อรัฐบาลกาโรยี: โดยบังคับให้กองทหารฮังการีถอนกำลังออกจากแนวพรมแดนที่กำหนดไว้กับโรมาเนีย[33] เขตอิทธิพลทางทหารของทั้งสองประเทศจะถูกคั่นกลางด้วยพื้นที่เป็นกลาง (neutral zone) ซึ่งครอบคลุมบางเมืองสำคัญของฮังการีอย่างแดแบร็ตแซ็นและแซแก็ดด้วย[33] การที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางดินแดนใหม่นี้ได้ ทำให้รัฐบาลโอนอำนาจไปยังพันธมิตรประชาธิปไตยสังคมนิยม–คอมมิวนิสต์ ซึ่งจะนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในเวลาต่อมา[33]
ภายหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียต เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1919 รัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมหรือที่เรียกว่า "รัฐบาลสหภาพแรงงาน" ได้เข้ามามีอำนาจ โดยอยู่ภายใต้การนำของ จูลอ ไพเดิล[35] ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ให้คืนรูปแบบการปกครองและชื่อทางการของรัฐกลับเป็น "สาธารณรัฐประชาชน"[5] ในช่วงระยะเวลาอันสั้น รัฐบาลของไพเดิลได้พยายามยกเลิกมาตรการที่ผ่านโดยกลุ่มคอมมิวนิสต์[36]
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม อิชต์วาน ฟรีดริช ผู้นำแห่งสันนิบาตพันธมิตรทำเนียบขาวฝ่ายขวา (กลุ่มปรปักษ์ปฏิวัติฝ่ายขวา) ได้ทำการโค่นล้มอำนาจของรัฐบาลไพเดิล[37] และทำการรัฐประหารโดยปราศจากการนองเลือด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพหลวงโรมาเนีย[6] การรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางภายในฮังการี[38] วันต่อมา อาร์ชดยุกโจเซฟ เอากุสท์ ได้ประกาศตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี (เขาดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม เมื่อเขาถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง)[39] และแต่งตั้งฟรีดริชเป็นนายกรัฐมนตรี และสืบทอดตำแหน่งต่อโดย กาโรยี ฮูสซาร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีชั่วคราวจนกระทั่งการฟื้นฟูราชาธิปไตยในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
รัฐบาลเผด็จการที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบไปด้วยนายทหารที่เข้าสู่กรุงบูดาเปสต์ในเดือนพฤศจิกายน และได้รับการสนับสนุนจากชาวโรมาเนีย[6] ได้ก่อให้เกิด "ความน่าสะพรึงกลัวขาว" ขึ้น ซึ่งนำไปสู่การถูกจองจำ, การทรมาน, และประหารชีวิตโดยปราศจากการพิจารณาคดีของผู้คนมากมายที่ถูกกว่าหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์, นักสังคมนิยม, ชาวยิว, ปัญญาชนฝ่ายซ้าย, ผู้สนับสนุนระบอบกาโรยีและกุน และคนอื่น ๆ ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการเมืองแบบดั้งเดิมของฮังการี[6] มีการคาดการณ์ว่าจำนวนในการประหารชีวิตอยู่ที่ 5,000 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกจำคุกประมาณ 75,000 คน[6][37] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวฮังการีฝ่ายขวาและกองทัพโรมาเนียมุ่งหมายกวาดล้างชาวยิว[6] ในท้ายที่สุด ความน่าสะพรึงกลัวขาวนี้ได้บีบให้ประชาชนประมาณ 100,000 คน ต้องออกนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักสังคมนิยม, ปัญญาชน, และชาวยิวชนชั้นกลาง[6]
ในปี 1920 และ 1921 ได้เกิดความโกลาหลภายในประเทศฮังการี[6] ความน่าสะพรึงกลัวขาวยังคงกระทำต่อชาวยิวและฝ่ายซ้ายอย่างต่อเนื่อง การว่างงานและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และผู้ลี้ภัยชาวฮังการีที่ขาดแคลนเงินจำนวนมากได้หลั่งไหลข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านและสร้างภาระให้กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งรัฐบาลให้การช่วยเหลือแก่ประชากรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[6] ในเดือนมกราคม 1920 ชาวฮังการีทั้งชายและหญิงได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ และผู้ที่ได้เสียงข้างมากส่วนใหญ่ในรัฐสภาเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ[6] มีสองพรรคการเมืองหลักที่ได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลานี้ ได้แก่ พรรคสหภาพคริสเตียนแห่งชาติและพรรคเกษตรกรรายย่อยและกรรมกรเกษตรกรรมแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน[6] เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1920[40] รัฐสภาได้ฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการี อันเป็นการสิ้นสุดระบอบสาธารณรัฐ และในเดือนมีนาคม ได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาการประนีประนอม ค.ศ. 1867[6] รัฐสภาได้เลื่อนการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ออกไป จนกว่าปัญหาความวุ่นวายในประเทศจะสงบลง จึงทำให้อดีตพลเรือเอกของกองทัพออสเตรีย-ฮังการี มิกโลช โฮร์ตี ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[6] จนถึงปี 1944
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.