Remove ads
สถานีรถไฟในกรุงเทพ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟธนบุรี หรือเดิมเรียกว่า สถานีรถไฟบางกอกน้อย ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดรถไฟ (แห่งใหม่) มีความสำคัญในฐานะเป็นสถานีต้นทางของรถไฟสายใต้ และสายตะวันตก สถานีรถไฟบางกอกน้อย เปิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 โดยมีสถานีต้นทางอยู่สถานีรถไฟบางกอกน้อย ปลายทางไปที่สถานีรถไฟเพชรบุรี[1]
ธนบุรี | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง | |||||||||||||||||
สถานีรถไฟธนบุรี | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนรถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 5 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง
| ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ที่จอดรถ | ด้านตลาดศาลาน้ำร้อน | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4001 (ธบ.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2446 | ||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||
300-500 คน | |||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
อาคารแรกเริ่มเมื่อสร้างสถานีบางกอกน้อย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวหลังคาทรงจั่ว มีหลังคาคลุมชานชลาสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ริมทางรถไฟ(ทางประธาน) อยู่เลยลึกเข้ามาทางด้านทิศตะวันตกของริมแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 300 เมตร ต่อมาเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย จากนั้นไม่นาน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดสถานีรถไฟบางกอกน้อยอย่างหนัก ตัวอาคารสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ที่ทำการรับส่งสินค้าที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลังเก็บสินค้าริมคลองบางกอกน้อยถูกทิ้งระเบิดเสียหายทั้งหมด ต่อมาได้มีการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อยขึ้นมาใหม่ โดยรื้ออาคารสถานีเดิมออกไปพร้อมกับปรับปรุงและขยายย่านสถานีเดิม โดยสร้างเป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อสถานีนี้ใหม่ว่า สถานีธนบุรี และเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2493
บทบาทของสถานีธนบุรีในฐานะต้นทางของรถไฟสายใต้เริ่มน้อยลง เมื่อรถไฟสายใต้หลายขบวนได้เปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งต่อมาในระยะหลัง ขบวนรถที่ให้บริการ ณ สถานีธนบุรีจึงมีเพียงขบวนรถธรรมดาและและขบวนรถชานเมือง รวมถึงขบวนรถรวม ในเส้นทางสายใต้ (รวมถึงเส้นทางสายกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี)
ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย ได้มีโครงการปรับปรุงอาคารสถานีธนบุรีและพื้นที่โดยรอบ ทำให้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่รับส่งผู้โดยสารทดแทนสถานีธนบุรี ตั้งชื่อว่าสถานีบางกอกน้อย (สถานีชั้น 4) (ชื่อเดียวกับสถานีรถไฟหลวงสายใต้ในอดีต) ห่างจากสถานีธนบุรี 0.866 กิโลเมตร แต่สถานีธนบุรีนั้น ก็ยังเปิดจำหน่ายตั๋วและเปิดทำการตามปกติ แต่ผู้โดยสารต้องเดินทางมาขึ้นลงขบวนรถที่สถานีใหม่ที่สร้างขึ้น แต่โครงการดังกล่าวประสบปัญหาอย่างมากทำให้หยุดชะงักไปในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2546 ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร เป็นที่น่าสนใจว่า มีชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ที่ รฟท.ได้นำขบวนรถโดยสารเข้ามาหยุดรับส่งผู้โดยสารที่อาคารสถานีธนบุรีเหมือนเดิม แต่ในที่สุด เมื่อ รฟท.ได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุรีจำนวน 33 ไร่ แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รฟท.จึงไม่เดินรถเข้าสถานีธนบุรีเป็นการถาวรโดยให้ใช้สถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เป็นต้นทาง-ปลายทาง
สถานีธนบุรีหมดบทบาทไประยะเวลาหนึ่งหลังจากที่ รฟท.ยกที่ดิน 33 ไร่ อันเป็นที่ตั้งนั้นให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้อาคารสถานีธนบุรีมิใช่ทรัพย์สินของ รฟท.อีกต่อไป ขบวนรถต่าง ๆ ที่เข้าออก ถูกเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทาง จากธนบุรีเป็นบางกอกน้อย (เหมือนเมื่อครั้งแรกก่อตั้งทางรถไฟหลวงสายใต้) แต่ต่อมา ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 รฟท.ได้เปลี่ยนชื่อสถานีบางกอกน้อยที่เป็นอาคารสร้างใหม่นั้นไปใช้ชื่อว่าสถานีธนบุรี และใช้คำย่อ ธบ. พร้อมทั้งยกฐานะจากสถานีชั้น 4 ขึ้นเป็นสถานีชั้น 1 เหมือนครั้งก่อนที่จะเลิกใช้อาคารสถานีธนบุรีแห่งเดิม ทำให้บทบาทของสถานีธนบุรีกลับมาอีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยใช้ที่ทำการใหม่คืออาคารสถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 นั้นเอง
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของสถานีธนบุรีคือเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ โดยสถานีธนบุรีเป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่ยังคงใช้สัญญาณประจำที่ชนิดหางปลา (ปัจจุบันสัญญาณหางปลายกเลิกการใช้งานแล้ว แต่ยังคงตั้งอยู่) นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีโรงรถจักรธนบุรี ซึ่งเป็นสถานีบำรุงรักษา ซ่อมแซมรถจักรดีเซลที่สำคัญแห่งหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังเป็นที่เก็บรักษารถจักรไอน้ำที่เหลืออยู่ของการรถไฟฯ ซึ่งยังคงใช้การได้อีก 5 คัน ซึ่งได้มีการนำมาวิ่งลากจูง ขบวนรถพิเศษในโอกาสสำคัญ ๆ อยู่เป็นประจำ
ปัจจุบัน มีขบวนรถไฟสายใต้ เข้า-ออกสถานีรถไฟธนบุรี ดังนี้
ขบวนรถ | ต้นทาง | ธนบุรี | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
พช1123 | ธนบุรี | 6.45 | 07:20 | นครปฐม | 7.55 | ||
ธ255 | ธนบุรี | 07.20 | 07:30 | หลังสวน | 18.10 | ||
ธ257 | ธนบุรี | 07.45 | 07:45 | น้ำตก | 12.35 | ||
พช1115 | ธนบุรี | 11.50 | 11:50 | นครปฐม | 13.00 | ||
ธ251 | ธนบุรี | 13.10 | 13:10 | ประจวบคีรีขันธ์ | 19.10 | ||
พช1117 | ธนบุรี | 14.45 | 14:45 | นครปฐม | 15.50 | ||
พช1129 | ธนบุรี | 16.40 | 16:40 | นครปฐม | 17.50 | ||
ธ351 | ธนบุรี | 18.25 | 18:25 | ราชบุรี | 20.35 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
หมายเหตุ ขบวนรถ พชXXXX (พิเศษชานเมือง) จากธนบุรี - นครปฐม - ธนบุรี เป็นรถ Feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (SRT) ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ที่ ป้ายหยุดรถไฟจรัลสนิทวงษ์
ขบวนรถ | ต้นทาง | ธนบุรี | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ธ260 | น้ำตก | 05.20 | 09:45 | ธนบุรี | 09.50 | ||
ธ258 | น้ำตก | 12.55 | 17:40 | ธนบุรี | 17.40 | ||
ธ254 | หลังสวน | 06.30 | 18:30 | ธนบุรี | 17.25 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
หมายเหตุ ขบวนรถ พชXXXX (พิเศษชานเมือง) จากธนบุรี - นครปฐม - ธนบุรี เป็นรถ Feeder เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (SRT) ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ที่ ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.