Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ ศกรณ์ มงคลสุข เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มีผลงานวิจัยด้านการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ และการศึกษาพันธุกรรมของบักเตรีที่ก่อให้เกิดโรคในพืช ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2541
ศกรณ์ มงคลสุข | |
---|---|
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย |
ศาสตราจารย์ ศกรณ์ มงคลสุข เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 4 คน ของ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข และ นางยุพิน มงคลสุข ศาสตราจารย์ ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางสาว จรัสพร (รังษีวงศ์) มีบุตรชาย 1 คน คือ นาย ยศกร มงคลสุข
ตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่งบริหาร
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ
ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุขได้ศึกษาและพัฒนาวิธีตรวจหาพยาธิ Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่ก่อให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ โดยใช้ DNA probe โดยได้ทำการศึกษา Highly Repeated DNA Sequence และ Ribosomal RNA Gene ซึ่งมีจำนวนชุดสูงใน Genome ของ O. viverrini เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็น DNA probe ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ และเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
งานวิจัยต่อมา ได้มุ่งความสนใจศึกษากลไกการก่อโรคในพืชโดยแบคทีเรีย Xanthomonas โดยอาศัยหลักการที่ว่า ความเข้าใจกลไกขั้นพื้นฐานของการก่อให้เกิดโรคโดยแบคทีเรียนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการป้องกันการระบาดของโรคในพืชได้ Xanthomonas เป็นแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดโรคในพืชเศรษฐกิจ ของประเทศไทยหลายชนิด เช่น ข้าว ถั่ว ส้ม ปฏิกิริยาแรกอย่างหนึ่งที่พืชตอบสนองต่อการรุกรานของเชื้อโรคคือ การสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) เช่น Hydrogen Peroxide, Organic Peroxide และ Superoxide งานวิจัยได้เน้นการศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับกลไกซึ่ง Xanthomanas ใช้ป้องกันตัวเองจาก ROS ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบว่า เมื่อ Xanthomanas ถูกกระตุ้นด้วยสารที่ทำให้เกิด Oxidative Stress ในปริมาณต่ำ เชื้อนี้จะสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ในระดับสูง เพื่อทำลาย ROS นอกจากนั้น เพื่ออธิบายกลไกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ในระดับโมเลกุล สามารถแยกยีนที่สร้างเอนไซม์ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย ROS คือ Catalase และ Alkyl Hydroperoxide Reductase เอนไซม์ทั้งสองมีบทบาทสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุนี้การเข้าใจถึงวิธีควบคุมการทำงานของยีนทั้งสอง จึงเป็นความรู้พื้นฐานในการอธิบายระบบการป้องกันตัวเองของ Xanthomanas จาก Oxidative Stress และได้แยกยีน oxyR ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบการป้องกัน Oxidative Stress และได้ศึกษาถึงโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีน oxyR ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้ค้นพบยีนซึ่งทำให้แบคทีเรียสามารถต้านทานต่อสาร Organic Peroxide การศึกษาโครงสร้างของยีนในระดับเบสและกรดอะมิโน พบว่าเป็นโปรตีนชนิดใหม่ซึ่งยังไม่มีรายงานมาก่อนในสิ่งมีชีวิตใด ๆ ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะสามารถนำไปประยุกต์เพื่อพัฒนาวิธีการป้องกันการระบาดของโรคพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ต่อไป
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.