Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือได้ว่าเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่มีอาจารย์ได้รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุดของประเทศ และเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในสาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านการเรียนการสอน และด้านการวิจัย จากการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อปี พ.ศ. 2549 [1]
Faculty of Science, Mahidol University | |
สถาปนา | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 |
---|---|
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหิดล |
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ |
ที่อยู่ | คณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 คณะวิทยาศาสตร์ (ศาลายา) 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
สี | สีส้มเหลือง |
เว็บไซต์ | science |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ในนาม "โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" [2] โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อจัดการศึกษาเตรียมแพทย์และเตรียมประเภทวิชาอื่นๆ ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้สถานที่ที่ตึกเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปีแรก และย้ายมายังอาคารเรียนใหม่ ณ ถนนศรีอยุธยา ในปีต่อมา
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะขึ้นเป็น "คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์" [3] เปิดหลักสูตรการศึกษาในสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงระดับปริญญาตรี-โท (และเอก ในเวลาต่อมา) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ดำรงตำแหน่งคณบดีท่านแรก
ต่อมา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาพื้นที่บนถนนพระรามที่ 6 ตรงข้ามกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนที่ดิน 40 ไร่ และงบประมาณร่วมกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ในการก่อสร้างอาคารบรรยาย และอาคารทดลองวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารทดลองวิทยาศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2508 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้พระนามาภิไธย "มหิดล" เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัย และต่อมาได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ใช้ชื่อใหม่เป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" มาจนถึงปัจจุบัน
ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข | พ.ศ. 2503 - 2514 | |
2. ศาสตราจารย์ นาวาตรี ดร.กำจร มนุญปิจุ | พ.ศ. 2514 - 2518 | |
3. ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.สถิตย์ สิริสิงห | พ.ศ. 2518 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ | พ.ศ. 2519 - 2534 | |
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ | พ.ศ. 2534 - 2542 | |
6. ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ภูมิรัตน | พ.ศ. 2542 - 2546 | |
7. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ โศภน | พ.ศ. 2546 - 2547 | |
8. ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ภูมิรัตน | พ.ศ. 2547 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 | |
9. ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน | |
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 จนถึงปี พ.ศ. 2535 คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 14 ภาควิชา จัดตั้งเรียงตามลำดับดังนี้ กายวิภาคศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ภาษาต่างประเทศ จุลชีววิทยา ชีวเคมี สรีรวิทยา ฟิสิกส์ เภสัชวิทยา พยาธิชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และพฤกษศาสตร์ แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาภาษาต่างประเทศ ได้ขยายขอบข่ายของงานไปก่อตั้งเป็นคณะศิลปศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2552 ภาควิชาคอมพิวเตอร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวมส่วนงานและก่อตั้งเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์จึงประกอบด้วย 12 ภาควิชา, 2 กลุ่มสาขาวิชา และ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง อ้างอิง ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัย (คณะวิทยาศาสตร์) พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2561
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ
ความร่วมมือการวิจัย (International Collaborative Research Center)
|
ความร่วมมือกับภาคเอกชน (Industrial Linkage)
|
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการแห่งชาติ (National Centres of Excellence)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันแกนนำ)
ศูนย์ความเป็นเลิศที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกลุ่มวิจัย
|
มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก (The Hornbill Research Foundation)
เริ่มต้นจากโครงการศึกษานิเวศวิทยานกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเริ่มงานวิจัยประมาณปี 2521 โดยทำการศึกษาวิจัยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จนถึงปัจจุบัน (2539)
ต่อมาได้ขยายงานวิจัยออกไปในเขตผืนป่าภาคตะวันตกและภาคใต้ นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้มีการสำรวจการแพร่กระจาย และสถานภาพของนกเงือกทั่วประเทศ และเพื่อความต่อเนื่อง และขอบเขตของงานวิจัย จึงเกิดแรงผลักดันให้มีการจัดตั้งเป็น “มูลนิธิ” ขึ้นโดยได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2536
นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะฯ เมื่อปี พ.ศ. 2501 มาจนถึงปัจจุบัน มีคณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยได้รับรางวัลดีเด่นด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 10 ท่าน รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 ท่าน รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) จำนวน 4 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นจำนวน 5 ท่าน รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 13 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน 1 ท่าน รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 6 ท่าน เป็นต้น โดยศิษย์เก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.