Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ท.ม. (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520) ชื่อเล่น โรจน์[1] เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาชน อดีตโฆษกพรรคก้าวไกล อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร | |
---|---|
วิโรจน์ใน พ.ศ. 2566 | |
ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 47 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมชาย วิษณุวงศ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 242 วัน) | |
โฆษกพรรคก้าวไกล | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2565 (2 ปี 47 วัน) | |
ก่อนหน้า | พรรณิการ์ วานิช (พรรคอนาคตใหม่) |
ถัดไป | รังสิมันต์ โรม |
รองหัวหน้าพรรคประชาชน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 60 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
เดิมวิโรจน์เป็นวิศวกร จากนั้นจึงย้ายมาทำงานด้านการศึกษา และบริหารในองค์กรเอกชนเป็นเวลามากกว่า 16 ปี รวมถึงมีผลงานหนังสือหลายเล่ม ก่อนเปลี่ยนมาทำงานในด้านการเมือง โดยวิโรจน์เริ่มทำงานในฐานะสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุดมการณ์ของพรรค โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] แต่เมื่อได้เข้าไปทำงานในสภาแล้ว เขากลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็ว จากลีลาและเนื้อหาที่เขาใช้ในการอภิปราย
ต่อมาใน พ.ศ. 2563 หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค วิโรจน์ได้ย้ายตามอดีตสมาชิกพรรคส่วนใหญ่เข้าสังกัดพรรคก้าวไกล และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคคนแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัล ‘บุคคลแห่งปี’ สาขาการเมือง จาก THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021[3][4] และใน พ.ศ. 2565 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เขาเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 3 คน[5] สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และเลือกเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมา จบการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ก่อนจะมาทำงานการเมือง วิโรจน์เคยทำงานด้านวิศกรรม และงานบริหารกับบริษัทเอกชนเกือบ 20 ปี โดยหลังเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิโรจน์ออกมาทำงานเป็นวิศวกรควบคุมคุณภาพกับบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงปี 2542 – 2544
วิโรจน์ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา ด้านระบบบริหารคุณภาพและการบริหารจัดการ รวมถึงฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆ ให้บริษัท โนโว ควอลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การกำกับของ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี 2544 – 2546
ต่อมาในปี 2546 วิโรจน์ได้ย้ายมาทำงานที่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)[3] ในฐานะเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร[6]
ในช่วงปี 2549 – 2561 วิโรจน์ ยังเคยเป็นกรรมการวิชาการ ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งบริษัทซีเอ็ด และกลุ่มรักลูกได้เข้าไปบุกเบิกเรื่องการพัฒนาด้านวิชาการ
วิโรจน์ยังเคยเป็นทำเพจเฟซบุ๊ก ที่ชื่อว่า Education Facet ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้กับกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเยาวชน โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามมากกว่า 87,000 คน
ระหว่างที่ทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กรของบริษัทซีเอ็ด วิโรจน์ได้คิดค้น โครงการ 60 ปี มีไฟ ซึ่งเป็นโครงการที่ให้รับพนักงานใหม่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าทำงานในบริษัทได้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ จนทำให้บริษัทเอกชนอื่นนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อเป็นจำนวนมาก[7][8]
ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ทำงานกับพรรคอนาคตใหม่ ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และเขาได้กลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็วจากเนื้อหา ลีลาการพูดฉะฉาน และเทคนิคในการนำเสนอที่เขาใช้ในการอภิปรายในสภา โดยชื่อเสียงของวิโรจน์โด่งดังอย่างมากหลังอภิปรายเกี่ยวกับยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร (ไอโอ) ของกองทัพ[9] นอกจากนี้ วิโรจน์ ยังได้รับความสนใจมากขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดีย ในการสื่อสารพูดคุยกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกันเอง
เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค วิโรจน์ และเพื่อนส.ส. อีกหลายคนได้ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล โดยวิโรจน์ดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกพรรค[10] หลังจากนั้นวิโรจน์ได้มีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆในสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอภิปรายงบประมาณ เศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุขที่มุ่งไปที่ปัญหาการจัดสรรวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[11]
หลังจากนั้น วิโรจน์ได้ลาออกจากตำแหน่งส.ส. เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ในสังกัดพรรคก้าวไกล โดยเสนอนโยบาย "เมืองที่คนเท่ากัน" ที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเชิงโครงสร้างและสวัสดิการสังคม เพื่อแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานครที่สั่งสมมานานจากต้นตอของปัญหา[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับ 3 รองจากชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ปี 2562 วิโรจน์ ได้ทวีตข้อความเกี่ยวกับการทุจริต ‘หมอนยางประชารัฐ’ ส่งผลให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ แจ้งความวิโรจน์ในข้อหา มีส่วนร่วมในการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตลอดจนดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา[13] แต่ได้ถอนแจ้งความในเวลาต่อมา
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย วิโรจน์วิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด ทำให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลตอบโต้เขาว่า เขาอภิปรายโดยไม่มีข้อมูลจริง[14] นอกจากนี้ วิโรจน์ถูกกล่าวหาว่าพยายาม “ด้อยค่าวัคซีน” วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค[15][16]
ในกรณีการอภิปรายซักฟอกปมการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด เอื้อประโยชน์บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ปิดปากคนที่วิจารณ์เรื่องวัคซีน วิโรจน์ ยังถูกวิจารณ์ว่า เขาพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ว่ากล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอน”[17][18]
ในเดือนเมษายน 2564 วิโรจน์ถูกตั้งข้อสงสัยว่าใช้เส้นสายในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นกลุ่มแรก ๆ หรือไม่ ซึ่งวิโรจน์ได้ชี้แจงว่า การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม “แต่หากรัฐบาลบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่านี้ ประชาชนย่อมมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง” พร้อมกับยืนยันว่า เขาไปฉีดวัคซีนตามหมายของสภา ไม่ใช่การใช้เส้นสาย[19]
เดือนกรกฎาคม 2564 สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้วิโรจน์ถอนคำพูดและขอโทษต่อสังคม หลังจากที่เขาแสดงความเห็นว่าครูคนหนึ่งที่ใช้กรรไกรกล้อนผมนักเรียนหญิงเป็นการละเมิดสิทธิ ควรลาออกและเรียกตัวเองว่าอาชญากร โดยสมาคมฯ มองว่าเป็นการกล่าวหาที่รุนแรงเกินจริง[20]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.