Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันสิ่งแวดล้อมโลก (อังกฤษ: World Environment Day, WED) เป็นวันที่ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน ธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง และเป็นตัวแทนของวันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม[1][2]
วันสิ่งแวดล้อมโลก | |
---|---|
ชื่อทางการ | วันสิ่งแวดล้อมโลกโดยสหประชาชาติ |
ชื่ออื่น | วันอีโค วันสิ่งแวดล้อม เวด |
จัดขึ้นโดย | สหประชาชาติ |
ประเภท | สิ่งแวดล้อม |
ความสำคัญ | การรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม |
การถือปฏิบัติ | การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม |
วันที่ | 5 มิถุนายน |
ครั้งแรก | 5 มิถุนายน 1973 |
วันสิ่งแวดล้อมโลกจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งกลายเป็นเวทีสำคัญในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น มลพิษทางทะเล จำนวนประชากรโลกที่มากเกินไป ภาวะโลกร้อน การพัฒนาอย่างยั่งยืน และอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า[3] วันสิ่งแวดล้อมโลกเป็นเวทีระดับโลกสำหรับการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม มีประเทศเข้าร่วมกว่า 143 ประเทศทุกปี รวมถึง อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย ออสเตรีย, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, อิสราเอล, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, โปแลนด์, แอฟริกาใต้, และสหรัฐอเมริกา โดยทุกปีจะมีการกำหนดธีมหลัก และเวทีให้ภาคธุรกิจ องค์กรนอกภาครัฐ ชุมชน นักการเมือง และดารา ได้ร่วมกันผลักดันกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม[4]
วันสิ่งแวดล้อมโลก ถือกำเนิดขึ้นจาก การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on the Human Environment) ที่จัดขึ้นที่ สตอกโฮล์มว่าด้วยสภาพแวดล้อมของมนุษย์ จัดโดยสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน 1972) โดยรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1300 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ซึ่งจุดประสงค์ ของการประชุมในครั้งนั้นเพื่อมุ่งการหารือเกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยมีสาระสำคัญของการประชุมดังนี้
หนึ่งปีต่อมา เมื่อ ค.ศ. 1973 วันสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรกถูกจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิด "เพราะโลกมีเพียงใบเดียว"[5]
นับตั้งแต่นั้นมา วันสิ่งแวดล้อมโลกกลายเป็นเวทีสำคัญระดับโลกในการ:
รายชื่อเจ้าภาพในการจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกมีดังต่อไปนี้:[6]
ปี | ธีม | เจ้าภาพ |
---|---|---|
1972 | Stockholm Conference on Human Environment | Stockholm,United Nations |
1973 | เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์[7] | |
1974 | Only one Earth ในงาน Expo '74[8] | Spokane, สหรัฐอเมริกา |
1975 | การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ | ธากา, บังคลาเทศ |
1976 | Water: Vital Resource for Life | Ontario, แคนาดา |
1977 | Ozone Layer Environmental Concern; Lands Loss and Soil Degradation | Sylhet, บังคลาเทศ |
1978 | Development Without Destruction | Sylhet, บังคลาเทศ |
1979 | Only One Future for Our Children – Development Without Destruction | Sylhet, บังคลาเทศ |
1980 | A New Challenge for the New Decade: Development Without Destruction | Sylhet, บังคลาเทศ |
1981 | Ground Water; Toxic Chemicals in Human Food Chains | Sylhet, บังคลาเทศ |
1982 | Ten Years After Stockholm (Renewal of Environmental Concerns) | ธากา, บังคลาเทศ |
1983 | Managing and Disposing Hazardous Waste: Acid Rain and Energy | Sylhet, บังคลาเทศ |
1984 | Desertification | Rajshahi, บังคลาเทศ |
1985 | Youth: Population and the Environment | Islamabad, ปากีสถาน |
1986 | A Tree for Peace | Ontario, แคนาดา |
1987 | Environment and Shelter: More Than A Roof | Nairobi, เคนย่า |
1988 | When People Put the Environment First, Development Will Last | Bangkok, ไทย |
1989 | Global Warming; Global Warning | Brussels, Belgium |
1990 | Children and the Environment | Mexico City, เม็กซิโก |
1991 | Climate Change. Need for Global Partnership | Stockholm, Sweden |
1992 | Only One Earth, Care and Share | Rio de Janeiro, Brazil |
1993 | Poverty and the Environment – Breaking the Vicious Circle | ปักกิ่ง, จีน |
1994 | One Earth One Family | London, United Kingdom |
1995 | We the Peoples: United for the Global Environment | Pretoria, South Africa |
1996 | Our Earth, Our Habitat, Our Home | Istanbul, Turkey |
1997 | For Life on Earth | Seoul, Republic of Korea |
1998 | For Life on Earth – Save Our Seas | Moscow, Russian Federation |
1999 | Our Earth – Our Future – Just Save It! | Tokyo, ญี่ปุ่น |
2000 | The Environment Millennium – Time to Act | Adelaide, ออสเตรเลีย |
2001 | Connect with the World Wide Web of Life | Torino, Italy and Havana, Cuba |
2002 | Give Earth a Chance | Shenzhen, จีน |
2003 | Water – Two Billion People are Dying for It! | Beirut, Lebanon |
2004 | Wanted! Seas and Oceans – Dead or Alive? | Barcelona, Spain |
2005 | Green Cities – Plant for the Planet! | San Francisco, United States |
2006 | Deserts and Desertification – Don't Desert Drylands! | Algiers, Algeria |
2007 | Melting Ice – a Hot Topic? | London, England |
2008 | Kick The Habit – Towards A Low Carbon Economy | Wellington, New Zealand |
2009 | Your Planet Needs You – Unite to Combat Climate Change | Mexico City, เม็กซิโก |
2010 | Many Species. One Planet. One Future | Rangpur, บังคลาเทศ |
2011 | Forests: Nature at your Service | Delhi, อินเดีย |
2012 | Green Economy: Does it include you? | Brasilia, Brazil |
2013 | Think.Eat.Save. Reduce Your Foodprint | Ulaanbaatar, Mongolia |
2014 | Raise your voice, not the sea level | Bridgetown, Barbados |
2015 | Seven Billion Dreams. One Planet. Consume with Care. | Rome, Italy |
2016 | Zero Tolerance for the Illegal Wildlife trade | Luanda, Angola |
2017 | Connecting People to Nature – in the city and on the land, from the poles to the equator | Ottawa, แคนาดา |
2018 | Beat Plastic Pollution[9] | New Delhi, อินเดีย |
2019 | Beat Air Pollution[10] | People's Republic of China |
2020 | Time for Nature[11][12] | Colombia |
2021 | Ecosystem restoration[13] | Pakistan |
2022 | Only One Earth | Sweden |
2023 | Solutions to Plastic Pollution | Côte d'Ivoire |
2024 | Land restoration, desertification and drought resilience[14] | Riyadh, Saudi Arabia |
2025 | Ending plastic pollution[15] | Republic of Korea |
2026 | tbd | Azerbaijan[16] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.