มอสโก
เมืองหลวงของประเทศรัสเซีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอสโก (อังกฤษ: Moscow; /ˈmɒskoʊ/, /ˈmɒskaʊ/;[10][11] รัสเซีย: Москва, อักษรโรมัน: Moskva, สัทอักษรสากล: [mɐˈskva] ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศรัสเซีย นครแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมอสควาในพื้นที่ทางตอนกลางของรัสเซียตะวันตก มีประชากรประมาณ 13 ล้านคนในเขตนครจำกัด[12] แต่ถ้านับรวมพื้นที่เขตเมืองเข้าไปด้วยแล้ว จะมีประชากรถึง 19.1 ล้านคน[13] และถ้านับรวมพื้นที่ปริมณฑลด้วยแล้ว จะมีประชากรทั้งสิ้น 21.5 ล้านคน[14] ตัวนครมีพื้นที่ 2,511 ตารางกิโลเมตร หากนับรวมเขตเมืองจะมีพื้นที่ 5,891 ตารางกิโลเมตร[15] และเมื่อรวมปริมณฑล จะมีพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร[14] มอสโกเป็นหนึ่งในนครที่ใหญ่ที่สุดในโลก นครที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป เขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป[15] และเขตปริมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป[14] นอกจากนี้ ยังเป็นนครที่มีพื้นที่มากที่สุดในทวีปยุโรป[16][17]
มอสโก | |
---|---|
เมืองหลวง นครสหพันธ์ | |
Москва | |
บนลงล่าง, ซ้ายไปขวา: หอคอยสปัสกายาในเครมลินแห่งมอสโก จัตุรัสแดง มหาวิหารนักบุญเบซิล; มหาวิหารแห่งการไถ่บาป; โรงละครบอลชอย; อาคารหลักของมหาวิทยาลัยมอสโก; ศูนย์ธุรกิจนานาชาติมอสโก และแม่น้ำมอสควาในยามค่ำคืน | |
เพลง: "มอสโกของข้าพเจ้า" | |
![]() | |
พิกัด: 55°45′21″N 37°37′2″E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | กลาง[1] |
เขตเศรษฐกิจ | กลาง[2] |
สถาปนา | 1147[3] |
การปกครอง | |
• องค์กร | ซิตีดูมา[4] |
• นายกเทศมนตรี[5] | Sergey Sobyanin[5] |
พื้นที่[6] | |
• ทั้งหมด | 2,511 ตร.กม. (970 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 83 |
ประชากร | |
• ประมาณ (2018)[7] | 12,506,468 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 1 |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก [8]) |
รหัส ISO 3166 | RU-MOW |
ทะเบียนรถ | 77, 177, 777; 97, 197, 797; 99, 199, 799 |
รหัส OKTMO | 45000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย[9] |
เว็บไซต์ | www |
มอสโกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1147 ในฐานะเมืองเล็ก ก่อนที่จะเติบโตขึ้นเป็นเมืองที่เจริญและมีอำนาจจนกลายเป็นเมืองหลวงของแกรนด์ดัชชีมอสโก เมื่อแกรนด์ดัชชีมอสโกกลายเป็นอาณาจักรซาร์รัสเซียแล้ว มอสโกก็ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจของอาณาจักรมาโดยตลอด เมื่ออาณาจักรซาร์กลายเป็นจักรวรรดิรัสเซีย เมืองหลวงถูกย้ายจากมอสโกไปยังเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก และย้ายกลับสู่มอสโกอีกครั้งหลังจากที่มีการปฏิวัติรัสเซีย ตัวนครกลับไปเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสหภาพโซเวียต และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย มอสโกก็ได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐรัสเซียมาจนถึงปัจจุบัน
ในฐานะที่เป็นนครใหญ่ที่อยู่ทางเหนือสุดและมีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก ประกอบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าแปดศตวรรษ มอสโกมีฐานะเป็นนครสหพันธ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ของรัสเซียและยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นนครโลกอัลฟา[18] มอสโกเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก หนึ่งในเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[19] มอสโกเป็นเมืองที่มีเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับที่สามของโลก[20] และมากที่สุดในทวีปยุโรป ศูนย์ธุรกิจนานาชาติมอสโกเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปและโลก และมีตึกระฟ้าหลายตึกที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของทวีปยุโรป[21] มอสโกเป็นที่ตั้งของหอคอยออสตันกีนอซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 และฟุตบอลโลก 2018
ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศ มอสโกเป็นบ้านเกิดของศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ และนักกีฬาชาวรัสเซียหลายท่าน สังเกตได้จากการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ สถาบันการศึกษาและการเมือง และโรงละคร นครเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลกหลายแห่งของยูเนสโก และมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมรัสเซีย ซึ่งปรากฏให้เห็นในมหาวิหารนักบุญเบซิล จัตุรัสแดง และเครมลินแห่งมอสโก[22][23] ซึ่งเครมลินนี้เองเป็นที่ตั้งที่ทำการของรัฐบาลรัสเซีย[24][23] มอสโกเป็นที่ตั้งของบริษัทการเงินและเทคโนโลยีหลายแห่ง และครอบคลุมด้วยระบบขนส่งต่าง ๆ อาทิ ท่าอากาศยานนานาชาติสี่แห่ง[25][26] สถานีรถไฟเก้าแห่ง ระบบรถราง รถไฟฟ้ารางเดี่ยว และรถไฟใต้ดินมอสโก ซึ่งเป็นระบบรถไฟใต้ดินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนเร็วที่ใหญ่ที่สุดในโลก[27][28][29] พื้นที่กว่าร้อยละ 40 ของนคร ปกคลุมด้วยต้นไม้ มอสโกจึงเป็นหนึ่งในนครที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดในทวีปยุโรปและโลก[30][31][32]
ประวัติศาสตร์
ใน ค.ศ. 1237 เมืองมอสโกก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยเป็นเมืองของรัฐอิสระโดยเจ้าชาย ยูรี ดาลการุสกี การอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวอลกาช่วยให้มอสโกขยายตัวอย่างรวดเร็ว ต่อมาใน ค.ศ. 1380 ชาวมอสโกได้เป็นแกนนำในการปลดปล่อยรัสเซียจากมองโกล ต่อมาใน ค.ศ. 1480 พระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ได้ปลดปล่อยรัสเซียจากการปกครองของเผ่า ตาตาร์ และย้ายเมืองหลวงของประเทศมายังมอสโก
ใน ค.ศ. 1712 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก มอสโกได้เผชิญกับการปิดล้อมโดยกองทัพของนโปเลียน โบนาปาร์ต ใน ค.ศ. 1812 แต่นโปเลียนต้องถอยทัพกลับไปเนื่องจากทนความหนาวเย็นไม่ได้
หลังจากการปฏิวัติรัสเซีย ใน ค.ศ. 1917 เลนินได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังมอสโกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งยังคงเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
มอสโกเผชิญการปิดล้อมอีกครั้งจากนาซีเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1941 และยังเป็นสถานที่จัดกีฬาโอลิมปิก ใน ค.ศ. 1980
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เมืองพี่น้องและเมืองแฝด
มอสโกกับเมืองแฝดกับ:
- อัลมาเตอ คาซัคสถาน[33]
- อัมมาน จอร์แดน[34][35]
- อังการา ตุรกี (1992)[36]
- ปักกิ่ง จีน[37]
- เบรุต เลบานอน[38]
- เบอร์ลิน เยอรมนี[39]
- บราติสลาวา สโลวาเกีย[40]
- เบอร์โน เช็กเกีย[41]
- บูคาเรสต์ โรมาเนีย[42]
- บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา (1990)[43]
- ชิคาโก สหรัฐ[44]
- กุสโก เปรู[45]
- ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[46]
- ดึสเซิลดอร์ฟ เยอรมนี[47]
- กันจา อาเซอร์ไบจาน[48]
- ฮานอย เวียดนาม[49]
- นครโฮจิมินห์ เวียดนาม[50]
- จาการ์ตา อินโดนีเซีย[51]
- คาร์กิว ยูเครน[52]
- ลูบลิยานา สโลวีเนีย[53]
- ลอนดอน สหราชอาณาจักร[54]
- มะนิลา ฟิลิปปินส์[55]
- นิวเดลี อินเดีย[56]
- นูร์-ซุลตัน คาซัคสถาน[57]
- ปราก เช็กเกีย[58]
- เปียงยาง เกาหลีเหนือ[59]
- รีกา ลัตเวีย[60]
- โซล เกาหลีใต้[61]
- ทาลลินน์ เอสโตเนีย[62]
- เตหะราน อิหร่าน[63][64][65]
- ติรานา แอลเบเนีย[66]
- โตเกียว ญี่ปุ่น[67]
- วิลนีอัส ลิทัวเนีย[68]
- วอร์ซอ โปแลนด์[69]
ข้อตกลงด้านความร่วมมือ
มอสโกทำข้อตกลงด้านความร่วมมือกับ:
เมืองพี่น้องและเมืองแฝดในอดีต
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.