คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2520) ชื่อเล่น บอมบ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 4 สมัย ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
วรสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นบุตรนายเกรียง กัลป์ตินันท์ อดีต สส.อุบลราชธานี เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต การพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ[1]
ด้านครอบครัวสมรสกับพิศทยา ไชยสงครามนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี[2][3] เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
การทำงาน
สรุป
มุมมอง
วรสิทธิ์ เป็นนักธุรกิจในพื้นที่อุบลราชธานี ถือครองหุ้นในกิจการอาทิ หจก.อุบลวรสิทธิ์ และบริษัท กัลป์ตินันท์ จำกัด[4] เขาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมกับ โกวิทย์ ธรรมานุชิต และสมบัติ รัตโน แต่นายวรสิทธิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น สส.สมัยแรกเพียงคนเดียวที่มาจากพรรคพลังประชาชน ส่วนอีก 2 ที่นั่งเป็นของพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในนามพรรคเพื่อไทย และในปี 2563 ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกอีก 4 สมัยติดต่อกัน คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads