รายพระนามประมุขแห่งรัฐเยอรมันใน ค.ศ. 1918

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายพระนามประมุขแห่งรัฐเยอรมันใน ค.ศ. 1918

จักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) โดยทั่วไปหมายถึงเยอรมนีในช่วงเวลาตั้งแต่การก่อตั้งเป็นรัฐชาติเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871 จนถึงการสละราชสมบัติของจักรพรรดิองค์สุดท้าย จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ ซึ่งมีการประกาศเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ชาวเยอรมันเมื่อกล่าวถึงจักรวรรดิ ในช่วงเวลาที่ปกครองโดยไคเซอร์ (ค.ศ. 1871–1918) มักใช้คำว่า Kaiserreich[1]

ข้อมูลเบื้องต้น จักรวรรดิเยอรมัน, ก่อนหน้า ...
จักรวรรดิเยอรมัน
Thumb
ธงพระอิสริยยศจักรพรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1871 – 1918)
ก่อนหน้า ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ถัดไป ล่มสลาย ค.ศ. 1918
ปิด

เจ้าชายแห่งสหพันธรัฐ (Bundesfürst) เป็นคำที่ใช้เรียกประมุขแห่งรัฐหรือกษัตริย์ของรัฐต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมันเป็นรัฐสหพันธรัฐ โดยที่แต่ละรัฐยังคงมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ในช่วงเวลาดังกล่าว มีเจ้าชายแห่งสหพันธรัฐทั้งหมด 22 พระองค์ รวมถึงประมุขเสรีรัฐ 3 คน และผู้สำเร็จราชการของดินแดน อาลซัส-ลอแรน ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของจักรวรรดิ รัฐต่าง ๆ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันโดยสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1871 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันได้รับพระอิสริยยศว่า "จักรพรรดิเยอรมัน" (German Emperor) ซึ่งเลี่ยงที่จะใช้คำว่า "จักรพรรดิแห่งเยอรมนี" (Emperor of Germany) และจักรพรรดิยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าชายแห่งสหพันธรัฐด้วยในฐานะ พระมหากษัตริย์ปรัสเซีย (King of Prussia) ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในจักรวรรดิ

ในจำนวนเจ้าชายแห่งสหพันธรัฐนั้น

หลังจากการประกาศสละราชสมบัติของ จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 โดยนายกรัฐมนตรีเยอรมันเจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน[2] และการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919 ชนชั้นขุนนางและราชวงศ์ ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ด้วยการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญไวมาร์ (Weimar Constitution) ซึ่งทำให้ชาวเยอรมันทุกคนมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย และยกเลิกสิทธิพิเศษ ตำแหน่ง ตราสัญลักษณ์ และศักดินาต่าง ๆ ของชนชั้นขุนนางทั้งหมดในเยอรมนี

รายพระนามนี้ไม่รวมถึงผู้ปกครองท้องถิ่นในอาณานิคมของเยอรมัน เช่น ยูฮีที่ 5 แห่งรวันดา (Yuhi V of Rwanda), มวัมบูตซาที่ 4 แห่งบุรุนดี (Mwambutsa IV of Burundi), และโอเวอีดาแห่งนาอูรู (Aweida of Nauru)

จักรพรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1918)

ข้อมูลเพิ่มเติม จักรพรรดิ, พระอิสริยยศ ...
จักรพรรดิ พระอิสริยยศ จักรพรรดินี สัญลักษณ์ จักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871 – 1918


ค.ศ. 1859 – 1941
ฮิสอิมพีเรียลและรอยัลมาเจสตีจักรพรรดิเยอรมันและกษัตริย์แห่งปรัสเซีย
วิลเฮ็ล์มที่ 2

ฮิสอิมพีเรียลและรอยัลมาเจสตีจักรพรรดินีเยอรมันและพระราชินีแห่งปรัสเซีย
เอากุสเทอ วิคโทรีอา


ค.ศ. 1858 – 1921
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
Imperial arms of the Kaiserreich



ค.ศ. 1871 – 1918
ราชอาณาจักร
ปรัสเซีย, บาวาเรีย, ซัคเซิน, เวือร์ทเทิมแบร์ค
แกรนด์ดัชชี
บาเดิน, เฮ็สเซิน, เมคเลินบวร์ค-ชเวรีน, เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์, อ็อลเดินบวร์ค, ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
ดัชชี
อันฮัลท์, เบราน์ชไวค์, ซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค, ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา, ซัคเซิน-ไมนิงเงิน
ราชรัฐ
ลิพเพอ, ร็อยส์-เกรา, ร็อยส์-ไกรทซ์, เชาม์บวร์ค-ลิพเพอ, ชวาทซ์บวร์ค-รูด็อลชตัท, ชวาทซ์บวร์ค-ซ็อนเดิร์สเฮาเซิน, วัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
เสรีนครฮันเซอ
เบรเมิน, ฮัมบวร์ค, ลือเบ็ค
ดินแดนอิมพีเรียล (Reichsland)
อาลซัส-ลอแรน
ปิด

พระมหากษัตริย์และราชอาณาจักร (ค.ศ. 1918)

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ปกครอง, พระอิสริยยศ ...
ผู้ปกครอง พระอิสริยยศ ตราอาร์ม-ธง ราชวงศ์-ราชอาณาจักร แผนที่ คู่อภิเษก-พระราชบุตร
Thumb พระเจ้า
วิลเฮ็ล์มที่ 2

ค.ศ. 1859 – 1941
Thumb

Thumb
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
ประมาณศตวรรษที่ 11 – ค.ศ. 1918

ราชอาณาจักรปรัสเซีย
ค.ศ. 1701 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เอากุสเทอ วิคโทรีอา แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
(2) เออร์มิน ร็อยส์แห่งไกรทซ์

พระราชบุตร:
(1) เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร, (2) เจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช, (3) เจ้าชายอาดัลแบร์ท, (3) เจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮ็ล์ม, (4) เจ้าชายอ็อสคาร์, (5) เจ้าชายโยอาคิม, (6)เจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ

Thumb พระเจ้า
ลูทวิชที่ 3

ค.ศ. 1845 – 1921
Thumb

Thumb
ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค
ค.ศ. 1180 – 1918

ราชอาณาจักรบาวาเรีย
ค.ศ. 1806 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) มารีอา เทเรซีอาแห่งออสเตรีย-เอ็สเทอ

พระราชบุตร:
(1) เจ้าชายรูพเพ็ชลท์ มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย, (2) อาเดิลกูนเดอ เจ้าหญิงแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น, (3) มารี ดัชเชสแห่งกาลาเบรีย, (4) เจ้าชายคาร์ล, (5) เจ้าชายฟรันทซ์, (6) มาทิลเดอ เจ้าหญิงลูทวิชแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา, (7) เจ้าชายว็อล์ฟกัง, (8) เจ้าหญิงฮิลเดอการ์เดอ, (9) เจ้าหญิงน็อทแบร์กา, (10) เจ้าหญิงวิลทรูด ดัชเชสแห่งอูรัค, (11) เจ้าหญิงเฮล์มทรูด, (12) เจ้าหญิงดีเอทีเรนเดอ, (13) กูนทีเรนเดอ เคาน์เตสแห่งพีร์ซิง-ลีชเทอเนต-มูส์

Thumb พระเจ้า
ฟรีดริช เอากุสท์ที่ 3

ค.ศ. 1865 – 1932
Thumb

Thumb
ราชวงศ์เว็ททีน
ค.ศ. 900 – 1918

ราชอาณาจักรซัคเซิน
ค.ศ. 1806 –1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) อาร์ชดัชเชสลูอีเซอแห่งออสเตรีย

พระราชบุตร:
(1) มกุฎราชกุมารเกออร์ค, (2) มาร์คกราฟฟรีดริช คริสทีอัน แห่งไมเซิน, (3) เจ้าชายแอ็นสท์ ไฮน์ริช, (4) เจ้าหญิงมารีอา อาลิคซ์ คาโรลา, (5) เจ้าหญิงมาร์กาเรเทอ คาโรลา, (6) เจ้าหญิงมารีอา อาลิคซ์ ลูอิทพ็อลดา, (7) เจ้าหญิงอันนา

Thumb พระเจ้า
วิลเฮ็ล์มที่ 2

ค.ศ. 1848 – 1921
Thumb

Thumb
ราชวงศ์เวือร์ทเทิมแบร์ค
ค.ศ. 1081 – 1918

ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค
ค.ศ. 1806 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) มารีแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
(2) ชาร์ล็อทเทอแห่งเชาม์บวร์ค-ลิพเพอ

พระราชบุตร:
(1) เจ้าหญิงเพาลีเนอ เจ้าหญิงแห่งวีท, (2) เจ้าชายอุลริช

ปิด

แกรนด์ดยุกและแกรนด์ดัชชี (ค.ศ. 1918)

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ปกครอง, พระอิสริยยศ ...
ผู้ปกครอง พระอิสริยยศ ตราอาร์ม-ธง ราชวงศ์-แกรนด์ดัชชี แผนที่ คู่อภิเษก-พระราชบุตร
Thumb แกรนด์ดยุก
ฟรีดริชที่ 2

ค.ศ. 1857 – 1928
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ซาริงเงิน
ประมาณศตวรรษที่ 10 – ค.ศ. 1918

แกรนด์ดัชชีบาเดิน
ค.ศ. 1806 –1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงฮิลดาแห่งนัสเซา
Thumb แกรนด์ดยุก
แอ็นสท์ ลูทวิช

ค.ศ. 1868 – 1937
Thumb

Thumb
ราชวงศ์เฮ็สเซิน-ดาร์มชตัดท์
ค.ศ. 1806 – 1918

แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน
ค.ศ. 1806 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงวิคโทรีอา เมอลีทา แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
(2) เอเลโอนอร์แห่งโซลมส์-โฮเฮนโซลมส์-ลิช

พระราชบุตร:
(1) เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเฮ็สเซิน, (2) เกออร์ค โดนาทุส มกุฎราชกุมารแห่งเฮ็สเซิน, (3) เจ้าชายลูทวิช

Thumb แกรนด์ดยุกและผู้สำเร็จราชการ
ฟรีดริช ฟรันทซ์ที่ 4

ค.ศ. 1882 – 1945
Thumb

Thumb
ราชวงศ์เมคเลินบวร์ค
ค.ศ. 1131 – 1918

แกรนด์ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
ค.ศ. 1815 – 1918

แกรนด์ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์
(สำเร็จราชการ, ค.ศ. 1918)
Thumb

Thumb
คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งฮันโนเฟอร์

พระราชบุตร:
(1) ฟรีดริช ฟรันทซ์ มกุฎราชกุมารแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน, (2) ดยุกคริสทีอาน ลูกวิชแห่งเมคเลินบวร์ค, (3) ดัชเชสโอลกา, (4) ดัชเชสทีรา, (5) อนาสตาเซีย เจ้าหญิงฟรีดริช เฟอร์ดินานด์แห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ค-กลึคสบวร์ค

Thumb แกรนด์ดยุก
ฟรีดริช เอากุสท์ที่ 2

ค.ศ. 1852 – 1931
Thumb

Thumb
ราชวงศ์โฮลชไตน์-กอตตอร์พ
ค.ศ. 1544 – 1918

แกรนด์ดัชชีอ็อลเดินบวร์ค
ค.ศ. 1814 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงเอลีซาเบท อันนาแห่งปรัสเซีย
(2) ดัชเชสเอลีซาเบท อเล็กซานดรีเนอแห่งเมคเลนบูร์ก-ชเวริน

พระราชบุตร:
(1) โซเฟีย ชาร์ล็อต, เจ้าหญิงไอเทิล ฟรีดริชแห่งปรัสเซีย, (2) ดัชเชสมาร์กาเรเทอ, (3) นิโคเลาส์ มกุฎราชกุมารแห่งอ็อลเดินบวร์ค, (4) ดัชเชสอเล็กซานดรีเนอ, (5) อิงเงอบอร์ก อาลิกซ์ เจ้าหญิงชเตฟานแห่งเชามบวร์ก-ลิพเพอ, (6) อัลท์บวร์ก, มกุฎราชกุมารีแห่งวัลเด็คและพีร์มอนท์

Thumb แกรนด์ดยุก
วิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์

ค.ศ. 1876 – 1923
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
ค.ศ. 1741 – 1918

แกรนด์ดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
ค.ศ. 1809 – 1920
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงแคโรไลน์ รอยส์แห่งไกรซ์
(2) เจ้าหญิงเฟโอโดราแห่งแซ็กซ์-ไมน์นิงเงิน

พระราชบุตร:
(1) โซฟี เจ้าหญิงแห่งชวาร์ซบวร์ก, (2) คาร์ล เอากุสท์ แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค, (3) เจ้าชายแบร์นฮาร์ด, (4) เจ้าชายเกออร์ค

ปิด

ดยุกและดัชชี (ค.ศ. 1918)

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ปกครอง, พระอิสริยยศ ...
ผู้ปกครอง พระอิสริยยศ ตราอาร์ม-ธง ราชวงศ์-ดัชชี แผนที่ คู่อภิเษก-พระราชบุตร
Thumb ดยุก
โยอาคิม แอ็นสท์

ค.ศ. 1901 – 1947
Thumb

Thumb
ราชวงศ์อัสคาเนีย
ค.ศ. 1036 – 1918

ดัชชีอันฮัลท์
ค.ศ. 1836 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เอลีซาเบท สตริกร็อดท์
(2) เอดิธา มาร์วิตซ์ จากสเตฟานี

พระราชบุตร:
(1) เจ้าหญิงอเล็กซานดรา, (2) เจ้าหญิงอันนา ลุยเซอ, (3) ฟรีดริช มกุฎราชกุมารแห่งอันฮัลท์, (4) เจ้าหญิงเอ็ดดา, (5) เจ้าชายเอดูอาร์ท

Thumb ดยุก
แอ็นสท์ เอากุสท์

ค.ศ. 1887 – 1953
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์
ค.ศ. 1635 – 1918

ดัชชีเบราน์ชไวค์
ค.ศ. 1815 – 1918
Thumb
คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงวิคโทรีอา ลูอีเซอ แห่งปรัสเซีย

พระราชบุตร:
(1) เจ้าชายแอ็นสท์ เอากุสท์แห่งฮันโนเฟอร์, (2) เจ้าชายเกออร์ค วิลเฮ็ล์ม, (3) ฟรีเดอรีเคอแห่งฮันโนเฟอร์, (4) เจ้าชายคริสทีอัน อ็อสคาร์, (5) เจ้าชายเวลฟ์ ไฮน์ริช

Thumb ดยุก
แอ็นสท์ที่ 2

ค.ศ. 1871 – 1955
Thumb

Thumb
ราชวงศ์เว็ททีน
ค.ศ. 900 – 1918

ดัชชีซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค
ค.ศ. 1826 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงอาเดิลไฮท์แห่งเชาม์บวร์ค-ลิพเพอ
(2) มารีอา ทรีเบล

พระราชบุตร:
(1) เจ้าหญิงชาร์ล็อทเทอแห่งซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค, (2) เจ้าชายเกออร์ค โมริทซ์ มกุฎราชกุมารแห่งซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค, (3) เจ้าหญิงเอลีซาเบท คาโรลา, (4) เจ้าชายฟรีดริช แอ็นสท์

Thumb ดยุก
คาร์ล เอดูอาร์ท

ค.ศ. 1884 – 1954
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ค.ศ. 1826 – 1918

ดัชชีซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ค.ศ. 1826 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงวิคโทรีอา อาเดิลไฮท์แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์

พระราชบุตร:
(1) เจ้าชายโยฮันน์ เลโอโพลด์, (2) เจ้าหญิงซิบิลลา, (3) เจ้าชายฮิวเบอร์ตัส, (4) เจ้าหญิงแคโรลีน มาธิลด์, (5) เจ้าชายฟรีดริช โยซิอัส

Thumb ดยุก
แบร์นฮาร์ทที่ 3

ค.ศ. 1851 – 1928
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ซัคเซิน-ไมนิงเงิน
(เว็ททีน)
ค.ศ. 1680 – 1918

ดัชชีซัคเซิน-ไมนิงเงิน
ค.ศ. 1680 – 1918
Thumb
คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงชาร์ล็อทเทอแห่งปรัสเซีย

พระราชบุตร:
(1) เจ้าหญิงฟีโอโดราแห่งซัคเซิน-ไมนิงเงิน

ปิด

เจ้าชายและราชรัฐ (ค.ศ. 1918)

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ปกครอง, พระอิสริยยศ ...
ผู้ปกครอง พระอิสริยยศ ตราอาร์ม-ธง ราชวงศ์-ราชรัฐ แผนที่ คู่อภิเษก-พระราชบุตร
Thumb เจ้าชาย
เลโอพ็อลท์ที่ 4

ค.ศ. 1871 – 1949
Thumb
Thumb
ราชวงศ์ลิพเพอ
ค.ศ. 1123 – 1918

ราชรัฐลิพเพอ
ค.ศ. 1123 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงแบร์ธาแห่งเฮสเซอ-ฟิลิปส์ทาล-บาร์ชเฟลด์
(2) เจ้าหญิงอันนาแห่งอีเซนบวร์กและบืดิงเงิน

พระราชบุตร:
(1) มกุฎราชกุมารแอ็นสท์, (2) เจ้าชายเลโอพ็อลท์ แบร์นฮาร์ท, (3) เจ้าหญิงคาโรลีเนอ, (4) เจ้าชายโคลด์วิก, (5) เจ้าหญิงซีกลีนเดอ, (6) อาร์มิน, เจ้าชายแห่งลิพเพอ

Thumb เจ้าชาย
อดอล์ฟที่ 2

ค.ศ. 1883 – 1936
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ลิพเพอ
ค.ศ. 1123 – 1918

ราชรัฐเชาม์บวร์ค-ลิพเพอ
ค.ศ. 1643 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เอลเลน บิชอฟ คอร์ธเฮาส์ (ค.ศ. 1894–1936)
Thumb เจ้าชาย
กึนเทอร์ วิคทอร์

ค.ศ. 1852 – 1925
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ชวาทซ์บวร์ค
ประมาณศตวรรษที่ 11 – ค.ศ. 1918

ราชรัฐชวาทซ์บวร์ค-รูด็อลชตัท
ค.ศ. 1599 – 1919

ราชรัฐชวาทซ์บวร์ค-ซ็อนเดิร์สเฮาเซิน
(ค.ศ. 1909 – 1920)
Thumb

Thumb
คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงอันนา ลุยเซอเแห่งเชินบวร์ค-วัลเดนบวร์ค
Thumb เจ้าชาย
ฟรีดริช

ค.ศ. 1865 – 1946
Thumb

Thumb
ราชวงศ์วัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
ค.ศ. 1815 – 1918

ราชรัฐวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
ค.ศ. 1180 – 1918
Thumb
คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงบาทิลดิสแห่งเชาม์บวร์ค-ลิพเพอ

พระราชบุตร:
(1) เจ้าชายโจเซียส เจ้าชายรัชทายาทแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์, (2) เจ้าชายมัคซีมีลีอาน, (3) เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์, (4) เจ้าชายเกออร์ค

Thumb เจ้าชาย
ไฮน์ริชที่ 24

ค.ศ. 1878 – 1927
Thumb

Thumb
ราชวงศ์ร็อยส์ (สายอาวุโส)
ค.ศ. 1778 – 1918

ราชรัฐรอยส์-ไกรซ์
ค.ศ. 1778 – 1918
Thumb
Thumb เจ้าชาย
ไฮน์ริชที่ 27

ค.ศ. 1858 – 1928
Thumb

Thumb
ราชวงศ์รอยส์ (สายรอง)
ค.ศ. 1913 – 1918

ราชรัฐรอยส์-เกรา
ค.ศ. 1806 – 1918
Thumb คู่อภิเษก:
(1) เจ้าหญิงเอลีเซอแห่งโฮเฮนโลเฮ-ลังเงินบวร์ค

พระราชบุตร:
(1) วิคโทรีอา, ดัชเชสอดอล์ฟ ฟรีดริชแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน, (2) เจ้าหญิงลุยเซอ อเดลได์, (3) เจ้าชายไฮน์ริชที่ 40, (4) เจ้าชายไฮน์ริชที่ 43, (5) เจ้าชายไฮน์ริชที่ 45 มกุฎราชกุมารแห่งราชรัฐรอยส์ สายรอง

ปิด

การสละราชสมบัติในเหตุการณ์ปฏิวัติเดือนพฤศจิกายน

สรุป
มุมมอง

ตลอดเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1918 บรรดากษัตริย์และเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 22 พระองค์ ภายในจักรวรรดิเยอรมันต่างถูกบังคับให้สละราชสมบัติหรือทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติเอง โดย แอ็นสท์ เอากุสท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ เป็นพระองค์แรกที่สละราชสมบัติในวันที่ 8 พฤศจิกายน ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน จักรพรรดิและกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 เสด็จลี้ภัยไปยังเนเธอร์แลนด์ ขณะที่การสละราชสมบัติของพระองค์ (ซึ่งพระองค์จะไม่ทรงยืนยันอย่างเป็นทางการจนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน) ถูกประกาศโดย นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมันและมุขนายกแห่งปรัสเซีย เจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน

ในวันเดียวกันนั้นเอง ฟิลลิพ ไชเดอมัน ประธานร่วมของพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันสายสายกลาง (MSPD) ได้ประกาศการก่อตั้ง "สาธารณรัฐเยอรมนี" จากอาคาร ไรชส์ทาค (Reichstag) ต่อหน้าฝูงชนที่มารวมตัวกัน ขณะที่สองชั่วโมงให้หลัง คาร์ล ลีพคเน็ชท์ ผู้นำขบวนการสปาตาคิสท์ (Spartacist) ได้ประกาศตั้ง "สาธารณรัฐสังคมนิยมเสรีแห่งเยอรมนี" จากพระราชวังกรุงเบอร์ลิน

ถึงกระนั้น การประกาศทั้งสองครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์ทางการเมืองยังคงวุ่นวายต่อไปอีกหลายเดือน โดยเกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมระหว่างฝ่ายปฏิวัติฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงและรัฐบาลสังคมประชาธิปไตยสายกลางที่สืบทอดอำนาจจากจักรวรรดิ ซึ่งท้ายที่สุดรัฐบาลสายกลางเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ และก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐไวมาร์

อย่างไรก็ตาม การประกาศสาธารณรัฐและการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ได้ก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์โดมิโน" อันทรงพลัง ทำให้ในวันเดียวกันนั้น เจ้าผู้ครองรัฐหลายพระองค์ทยอยสละราชสมบัติตามมา และภายในหนึ่งสัปดาห์พระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ในเยอรมนีต่างสละราชสมบัติจนหมดสิ้น โดยพระองค์สุดท้ายที่สละราชสมบัติคือพระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเวือร์ทเทิมแบร์คซึ่งทรงประกาศสละราชสมบัติในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ข้อมูลเพิ่มเติม วันที่สละราชสมบัติ, พระอิสริยยศและพระนาม ...
วันที่สละราชสมบัติ พระอิสริยยศและพระนาม รัฐ
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดยุกแอ็นสท์ เอากุสท์ ดัชชีเบราน์ชไวค์
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 2 จักรวรรดิเยอรมัน

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แกรนด์ดยุกแอ็นสท์ ลูทวิช แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แกรนด์ดยุกวิลเฮ็ล์ม แอ็นสท์ แกรนด์ดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดยุกแบร์นฮาร์ทที่ 3 ดัชชีซัคเซิน-ไมนิงเงิน
10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายไฮน์ริชที่ 24 ราชรัฐร็อยส์-ไกรทซ์
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แกรนด์ดยุกฟรีดริช เอากุสท์ที่ 2 แกรนด์ดัชชีอ็อลเดินบวร์ค
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายไฮน์ริชที่ 27 ราชรัฐร็อยส์-เกรา
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดยุกโยอาคิม แอ็นสท์ ดัชชีอันฮัลท์
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายเลโอพ็อลท์ที่ 4 ราชรัฐลิพเพอ
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 พระเจ้าลูทวิชที่ 3 ราชอาณาจักรบาวาเรีย
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 พระเจ้าฟรีดริช เอากุสท์ที่ 3 ราชอาณาจักรซัคเซิน
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดยุกแอ็นสท์ที่ 2 ดัชชีซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายฟรีดริช ราชรัฐวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แกรนด์ดยุกฟรีดริช ฟรันทซ์ที่ 4 แกรนด์ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ผู้สำเร็จราชการฟรีดริช ฟรันทซ์ แกรนด์ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดยุกคาร์ล เอดูอาร์ท ดัชชีซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายอดอล์ฟที่ 2 ราชรัฐเชาม์บวร์ค-ลิพเพอ
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แกรนด์ดยุกฟรีดริชที่ 2 แกรนด์ดัชชีบาเดิน
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เจ้าชายกึนเทอร์ วิคทอร์ ราชรัฐชวาทซ์บวร์ค-รูด็อลชตัทและราชรัฐชวาทซ์บวร์ค-ซ็อนเดิร์สเฮาเซิน
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 2 ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค
ปิด

แถลงการณ์สละราชสมบัติของจักรพรรดิ (ค.ศ. 1918)

ข้าพเจ้าขอสละสิทธิ์ในบัลลังก์แห่งปรัสเซีย และบัลลังก์จักรวรรดิเยอรมันอย่างเป็นการถาวร ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าขอปลดเปลื้องภาระหน้าที่ของข้าราชการทุกคนแห่งจักรวรรดิเยอรมันและปรัสเซีย ตลอดจนเหล่านายทหาร นายทหารชั้นประทวน และพลทหาร ทั้งในกองทัพเรือและกองทัพบกปรัสเซีย รวมถึงกองทหารของรัฐสมาชิกแห่งจักรวรรดิเยอรมัน ออกจากคำสัตย์ปฏิญาณความจงรักภักดีที่พวกเขาเคยให้ไว้ต่อข้าพเจ้าในฐานะจักรพรรดิ กษัตริย์ และจอมทัพสูงสุด

ข้าพเจ้าคาดหวังว่าจนกว่าความสงบเรียบร้อยจะได้รับการฟื้นฟูในจักรวรรดิเยอรมัน พวกเขาจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีอำนาจปกครองจริงในเยอรมนีในการปกป้องประชาชนเยอรมันจากอันตรายที่กำลังคุกคาม อันได้แก่ อนาธิปไตย ความอดอยาก และการตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติ ประกาศโดยข้าพเจ้าด้วยลายมือของข้าพเจ้าแนบด้วยตราประทับจักรพรรดิ

อาเมรองเงิน, 19 พฤศจิกายน 1918

ลงนาม: วิลเฮ็ล์ม[3]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.