Loading AI tools
ราชวงศ์ของจักรพรรดิออสเตรีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (เยอรมัน: Haus de Habsburg; อังกฤษ: House of Habsburg บางครั้งเขียนว่า Hapsburg) เป็นราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดราชวงศ์หนึ่งในทวีปยุโรป ราชวงศ์นี้ได้ปกครองประเทศสเปนและประเทศออสเตรีย รวมเวลาทั้งหมดถึง 6 ศตวรรษ แต่ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ การปกครองในตำแหน่งของ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังจากได้มีการสถาปนาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา พระราชวงศ์นี้ได้ปกครองรัฐและประเทศต่าง ๆ ถึง 1,800 รัฐ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นชื่อที่ตั้งมาจากปราสาทฮาพส์บวร์ค (Habsburg Castle หรือที่ชาวสวิตรู้จักกันในนาม Hawk Castle) เมื่อประมาณศตวรรษที่ 12 โดยช่วงแรก พระราชวงศ์จะทรงประทับที่แคว้นสวาเบีย (ปัจจุบันคือเมืองอาร์กอว์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากนั้น พระราชวงศ์ก็ได้ขยายอำนาจออกไปตั้งแต่เมืองอัลเซส ไบรส์กอว์ อาร์กอว์ และธูร์กอว์ (ปัจจุบัน เมืองทั้งหมดตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี) และในที่สุดก็สามารถมีอำนาจปกครองจักรวรรดิได้ทั้งหมด โดยตั้งเมืองหลวงคือ กรุงเวียนนา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย)
จากนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงขยายอำนาจ ทรงนำประเทศต่าง ๆ มาผนวกรวมกับจักรวรรดิโดยการอภิเษกสมรส เช่น จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับมารี ซึ่งเป็นธิดาในดยุกแห่งบูร์กอญ หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว จักรพรรดิมักซีมีเลียนก็ได้ทรงผนวกเบอร์กันดีเข้ารวมกับจักรวรรดิ นอกจากนี้ ยังทรงนำดินแดนใกล้เคียงเบอร์กันดีมารวมกับจักรวรรดิอีกด้วย ต่อมาพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา หรือสมญาพระนามว่า เฟลีเปผู้หล่อเหลา (Philip the Handsome) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฆัวนาแห่งสเปน องค์รัชทายาทหญิงแห่งสเปน จากนั้นพระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงนำสเปน พื้นที่ทางตอนใต้ของอิตาลี มาผนวกกับจักรวรรดิ ต่อมาในพ.ศ. 2123 พระราชโอรสของพระองค์ พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ได้ทรงผนวกโปรตุเกสรวมเข้าเป็นอาณานิคม
ในรัชสมัยของจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในตอนแรกทรงตั้งดินแดนศูนย์กลางของกรุงเวียนนาเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โดยต่อมามีพระราชโองการให้สร้างพระราชวังเชินบรุนน์ขึ้น (Schönbrunn Palace) โดยให้เป็นพระราชฐานแปรฤดูร้อน ซึ่งต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซามีพระราชเสาวณีย์ให้ก่อสร้างพระตำหนักเพิ่มเติมภายในพระราชวัง พระราชวังเชินบรุนน์จึงมีความยิ่งใหญ่ สวยงามจวบจนทุกวันนี้
เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2064 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงมอบโอนแผ่นดินออสเตรียให้กับพระอนุชาของพระองค์ จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น ก็มีการแยกสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย และฮาพส์บวร์ค-สเปน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยสายสกุลทางออสเตรียได้ดำรงพระยศ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2099 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังได้ดินแดนของราชอาณาจักรฮังการีและโบฮีเมียตั้งแต่ พ.ศ. 2069 แต่มีช่วงหนึ่งที่ถูกจักรวรรดิออตโตมันยึดครอง ฮังการีและโบฮีเมีย อยู่ภายใต้จักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาถึง 150 ปี โดยต่อมา ได้สามารถพิชิตเอาชนะ และได้ดินแดนฮังการีคืนมาระหว่างพ.ศ. 2226 – พ.ศ. 2242
สายสกุลฮาพส์บวร์ค-สเปนได้ล่มสลายลงเมื่อพ.ศ. 2243 หลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน เช่นเดียวกับสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ซึ่งถูกยุบลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย อย่างไรก็ตาม องค์รัชทายาทองค์สุดท้ายแห่งสายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทหญิงทางพฤตินัย (Heiress Presumptive) ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ ดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน องค์พระประมุขแห่งลอแรน (ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระราชปนัดดาในจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระญาติกัน) โดยหลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว สายสกุลฮาพส์บวร์ค-ออสเตรีย ได้ถูกยุบลง โดยการเปลี่ยนราชสกุลฮาพส์บวร์ค เป็นราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และให้พระบรมวงศานุวงศ์รุ่นต่อ ๆ มาดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน
พระราชอิสริยยศ | จักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี |
---|---|
ปกครอง | ออสเตรีย, ฮังการี |
เชื้อชาติ | ออสเตรีย, ฮังการี, และเยอรมัน l |
ประมุขพระองค์แรก | จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | คาร์ล ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน |
สถาปนา | ค.ศ. 1780 |
ล่มสลาย | ค.ศ. 1918 |
ราชวงศ์ถัดไป | ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ออสเตรีย-เอ็สเทอ |
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้ง ^ พระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1804 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จักรวรรดิเก่าจะถูกล้มล้าง โดย 3 เดือนต่อมา นโปเลียนก็ได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน
จักรพรรดิฟรันซ์ จึงทรงฉลองพระราชอิสริยยศใหม่ คือ
His Imperial and Royal Apostolic Majesty "We, Francis the First, by the grace of God Emperor of Austria; Apostolic King of Hungary, Bohemia, Dalmatia, Croatia, Slavonia, and Jerusalem. King of Galicia and Lodomeria; Archduke of Austria; Duke of Lorriane, Salzburg, Würzburg, Franconia, Styriaia, Carinthia, and Carniola; Grand Duke of Cracow; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Sandomir, Masovia, Lublin, Upper and Lower Silesia, Auschwitz and Zator, Teschen, and Friule; Prince of Berchtesgaden and Mergentheim; Princely Count of Habsburg, Gorizia, and Gradisca and Tyrol; and Margrave of Upper and Lower Lusatia and Istria".
ในช่วงของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1867 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนชาวฮังการีก่อการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ต้องทรงไปไกล่เกลี่ยการจลาจลด้วยพระองค์เอง โดยทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติของฮังการี ในที่สุด ฮังการียอมจำนน และสลายการจลาจล จากนั้น จักรพรรดิจึงทรงรวมดินแดนออสเตรีย และฮังการีไว้ด้วยกัน ในชื่อจักรวรรดิใหม่ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเจริญรุ่งเรืองจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเริ่มระส่ำระส่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดจากการที่นักชาตินิยมชาวบอสเนียเชื้อสายเซอร์เบีย ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย และพระชายา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียรับผิดชอบ แต่ทางการเซอร์เบียเมินเฉย เป็นเหตุให้ออสเตรีย ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรเซอร์เบียทันที จนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ออสเตรีย ซึ่งมีเยอรมนี เข้าช่วย ได้แพ้สงครามในที่สุด องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย ได้ทรงประกาศแยกออสเตรียและฮังการีออกจากกัน ทำให้มีการล้มล้างจักรวรรดิ เป็นเหตุให้จักรวรรดิล่มสลายลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังไม่ได้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย จวบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1922
พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีไร้อำนาจ และ แทบจะไร้ความหวังต่อการหวนคืนบัลลังก์โดยประชาชนที่ยังจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ จนกระทั่งเมื่ออาร์ชดัชเชสอาเดลเลดแห่งออสเตรีย พระราชธิดาองค์โตในจักรพรรดิคาร์ล ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ให้กับพระเชษฐาของพระองค์ อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตโดยทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จสวรรคต ได้ทรงเรียกร้องหวนคืนบัลลังก์ออกทางสื่อต่าง ๆ ทำให้รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีได้ร่วมมือกันประชุมหารือเรื่องการกลับมาของพระราชวงศ์ แต่การประชุมครั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด เป็นเหตุให้ยุติการประชุมชั่วคราว
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์ออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์ให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "89 Years are enough for the Republic" (แปล: "89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ") การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่ออ็อทโท ฟ็อน ฮับสบวร์ค สิ้นพระชนม์ไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย
บทความหลัก: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 มีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้ มีพระราชโอรส แต่ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง สถาปนาพระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศหญิงสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี และโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุกฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส ก็ทรงสถาปนา แต่งตั้งพระราชสวามีเป็น จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระราชสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจ และการบริหารบ้านเมืองจะเป็นของจักรพรรดินีนาถแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
ฟรันซ์ที่ 1 พร้อมด้วย พระนางมาเรีย เทเรซา | พ.ศ. 2288 – พ.ศ. 2308 (ค.ศ. 1745 – ค.ศ. 1765) | |
โยเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2308 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1765 – ค.ศ. 1790) | |
เลโอโปลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) | |
ฟรันซ์ที่ 2 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2349 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1806) | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
มักซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2051 – พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519) | |
คาร์ลที่ 5 | พ.ศ. 2062 – พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556) | |
บทความหลัก: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
ฟรันซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2347 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1804 – ค.ศ. 1835) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) |
ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน และราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (Habsburg-Lorraine & Habsburg-Lothringen) อันที่จริงแล้วคือราชสกุลเดียวกัน จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในเรื่องของการใช้ราชสกุล เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนทางด้านภาษา โดยให้มีการใช้ 2 ราชสกุลนี้สลับกันเป็นรุ่น ๆ ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน ดังนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ จะทรงดำรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน (เช่น อาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน ดังนั้น พระธิดาของพระองค์ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ มารีจะทรงอยู่ในราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน สลับกันไปเป็นรุ่น ๆ)
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
คาร์ลที่ 1 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1918) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
จักรพรรดิคาร์ล ทรงถูกขับออกจากราชสมบัติจากหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในพ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) แต่พระองค์ยังดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแต่เพียงในนามจนกระทั่งสวรรคต หลังจากสิ้นรัชกาลของพระองค์ พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์ชดยุกอ็อทโท เป็นผู้สืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 10 พรรษาเท่านั้น จักรพรรดินีซีต้า พระบรมราชชนนี จึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2473[ต้องการอ้างอิง] ในปัจจุบันออสเตรียเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นจึงไม่มีการสืบราชสมบัติอีก แต่ อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค ประมุขแห่งราชวงศ์ ยังคงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ออสเตรียต่อไป
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค | พ.ศ. 2465 – สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 1922) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
ภาพ | พระนาม | สถานะ | ราชสกุล |
อาร์ชดยุกคาร์ล ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน |
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ | ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี
ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชอาณาจักรฮังการี ก็ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิออสเตรียตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
อัลเบรชท์ที่ 2 | พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1437 – ค.ศ. 1439) | |
ลาดิสเลาส์ที่ 5 โพสธูมัส | พ.ศ. 1987 – พ.ศ. 1990 (ค.ศ. 1444 – ค.ศ. 1457) | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
มาเรีย เทเรซา | พ.ศ. 2284 – พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1741 – ค.ศ. 1780) | |
โยเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2323 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1780 – ค.ศ. 1790) | |
เลโอโปลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) | |
ฟรันซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1835) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
คาร์ลที่ 4 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1918) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
อ็อทโทที่ 2 | พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1922) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
บทความหลัก: รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1849 – พ.ศ. 1850 (ค.ศ. 1306 – ค.ศ. 1307) | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
อัลเบรชท์ที่ 1 | พ.ศ. 1980 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1437 – ค.ศ. 1439) | |
ลาดิสเลาส์ โพสธูมัส | พ.ศ. 1996 – พ.ศ. 2000 (ค.ศ. 1453 – ค.ศ. 1457) | |
ก่อนหน้านี้ โบฮีเมีย เป็นประเทศที่ไม่ได้รวมกับจักรวรรดิ ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซา โบฮีเมียถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
มาเรีย เทเรซา | พ.ศ. 2286 – พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1743 – ค.ศ. 1780) | |
โยเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2323 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1780 – ค.ศ. 1790) | |
เลโอโปลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1792) | |
ฟรันซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1792 – ค.ศ. 1835) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 | พ.ศ. 2378 – พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1835 – ค.ศ. 1848) | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 | พ.ศ. 2391 – พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1916) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
คาร์ลที่ 3 | พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1916 – ค.ศ. 1918) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน |
อ็อทโท ฟ็อน ฮาพส์บวร์ค | พ.ศ. 2465 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1922) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1816 – พ.ศ. 1834 (ค.ศ. 1273 – ค.ศ. 1291) | |
ก่อนที่พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี จะทรงดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประมุขแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค (Count of Habsburg) ปกครองดินแดนฮาพส์บวร์คทางตอนเหนือ (ปัจจุบันคือทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี และประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
เมื่อแผ่นดินฮาพส์บวร์คถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน แผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ จากเคานต์เป็นดยุก โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ดัชชีออสเตรีย (Duchy of Austria) ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐโลเวอร์ ออสเตรีย และ ตางตะวันออกของรัฐอัปเปอร์ ออสเตรีย ประเทศออสเตรีย นอกจากนี้ แคว้นออสเตรีย ยังได้ผนวกดัชชีสติเรีย และ คารินเธีย รวมทั้ง คานิโอล่า และทีโรล รวมเข้ากับออสเตรียในพ.ศ. 1906
ต่อมา องค์พระประมุขของแผ่นดินฮาพส์บวร์คฝั่งตะวันตกสวรรคต และไม่มีองค์รัชทายาท ดยุกแห่งออสเตรียจึงเข้าไปปกครองแผ่นดินทางตะวันตกแทน ซึ่งได้แก่ อัลเซส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี รวมทั้งโวราร์ลเบิร์ก แต่สูญเสียดินแดนลุ่มแม่น้ำไรน์ และทะเลสาบคอนสแตนส์ เพื่อที่จะขยายแผ่นดินไปถึงสมาพันธรัฐสวิสเก่า (Old Swiss Confederacy) แต่ในที่สุด ก็สามารถปกครองแผ่นดินดังกล่าวจนถึงพ.ศ. 1922 หลังจากนั้น ก็ถูกปกครองในตำแหน่งใหม่คือ เคานต์แห่งทีโรล (Princely Count of Tyrol) ดังพระนามที่จะกล่าวด้านล่างนี้
หลังจากที่ดยุกรูดอล์ฟที่ 4 เสด็จสวรรคต พระอนุชาของพระองค์ ดยุกรูดอล์ฟที่ 3 และ ดยุกเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งออสเตรีย ได้ทรงปกครองแผ่นดินฮาพส์บวร์คด้วยกันตั้งแต่พ.ศ. 1908 – พ.ศ. 1922 (1365 – 1379) , ขณะที่ทรงราชย์ ได้มีการแยกแผ่นดินออกเป็น 2 อาณาจักรตามสนธิสัญญานอยเบิร์ก (Treaty of Neuberg) โดยดยุกอัลเบรชท์ทรงปกครองแคว้นออสเตรีย (ทำให้มีการก่อตั้งฮาพส์บวร์คสายอัลเบอร์ไทน์ (Albertine Line) ส่วนดยุกเลโอโปลด์ได้ทรงปกครองแคว้นสติเรีย, คานิโอล่า, คารินเธีย, วินดิช มาร์ช, ทีโรล, และเฟอร์เธอร์ ออสเตรีย (ต่อมามีการก่อตั้งฮาพส์บวร์คสายเลโอโปลด์ (Leopoldine Line))
เนื่องจากดยุกซีจิสมันด์ทรงไม่มีพระราชบุตรเลย และทรงรับจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นพระราชบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นรัชกาลของดยุกซีจิสมันด์แล้ว พระราชโอรสบุญธรรมก็ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาบุญธรรมเป็นดยุก และเมื่อสิ้นรัชกาลจักรพรรดิ พระราชบิดาแล้ว พระองค์ก็ทรงสืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อ และในการที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นองค์พระประมุข 2 ประเทศนี่เอง จึงทรงรวมแผ่นดินฮาพส์บวร์ค 2 ส่วนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งพระองค์เองเป็นดยุกแห่งออสเตรียตั้งแต่พ.ศ. 2028 – พ.ศ. 2033
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
รูดอล์ฟที่ 1 | พ.ศ. 1816 – พ.ศ. 1834 (ค.ศ. 1273 – ค.ศ. 1291) | |
อัลเบรชท์ที่ 1 | พ.ศ. 1841 – พ.ศ. 1851 (ค.ศ. 1298 – ค.ศ. 1308) | |
อัลเบรชท์ที่ 2 | พ.ศ. 1981 – พ.ศ. 1982 (ค.ศ. 1438 – ค.ศ. 1439) | |
ฟรีดริชที่ 3 | พ.ศ. 1983 – พ.ศ. 2036 (ค.ศ. 1440 – ค.ศ. 1493) | |
สายสกุลฮาพส์บวร์คสเปนได้สิ้นสุดลงหลังจากสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน
จักรพรรดิฟรันซ์ ซึ่งทรงเป็นแกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี ได้ทรงมอบราชบัลลังก์ทัสกานีให้กับพระราชโอรสองค์โต อาร์ชดยุกเลโอโปลด์ ตั้งแต่บัดนั้น ราชรัฐทัสกานีได้อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จนถึงการรวมชาติอิตาลี
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
ฟรันซ์ที่ 1 | พ.ศ. 2288 – พ.ศ. 2308 (ค.ศ. 1745 – ค.ศ. 1765) | |
โยเซฟที่ 2 | พ.ศ. 2308 – พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1765 – ค.ศ. 1790) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 3 | ครั้งที่ 1: พ.ศ. 2333 – พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1790 – ค.ศ. 1800) ครั้งที่ 2: พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1824) | |
เลโอโปลด์ที่ 2 | พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1824 – ค.ศ. 1859) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 4 | พ.ศ. 2402 – พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1859 – ค.ศ. 1908) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 5 | พ.ศ. 2451 – พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1908 – ค.ศ. 1942) | |
แฟร์ดีนันด์ที่ 6 | พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1942 – ค.ศ. 1948) | |
ก๊อทเฟรด | พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1948 – ค.ศ. 1984) | |
เลโอโปลด์ ฟรันซ์ | พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1984 – ค.ศ. 1993) | |
ซีจิสมันด์ | พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1993) | |
ดูเพิ่มที่ ลำดับการสืบสันตติวงศ์ราชบัลลังก์ทัสกานี
พระราชอิสริยยศแห่งออสเตรีย-เอสต์ (Austria-Este) เป็นพระราชอิสริยยศที่เกิดจากการอภิเษกสมรสของอาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ คาร์ล พระราชโอรสในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา ที่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซ ริคคิอาร์ด้าแห่งเอสต์ องค์รัชทายาทหญิงแห่งแคว้นโมเดน่าและเรจจิโอ้ โดยหลังจากการอภิเษกสมรส มีการรวมพระราชอิสริยยศออสเตรีย และเอสต์ รวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงได้มีการก่อตั้งราชสกุล หรือพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์ขึ้น และได้มีพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศนี้ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ คาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2314 – พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1771 – ค.ศ. 1814) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 4 | พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1846) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 5 | พ.ศ. 2389 – พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1846 – ค.ศ. 1875) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2418 – พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1875 – ค.ศ. 1914) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
อาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1922) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
อาร์ชดยุกโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1922 – ค.ศ. 1996) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
อาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1996) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
แคว้นโมเดน่า ได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค หลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีมติให้ยกดินแดนโมเดน่าให้กับราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค โดยได้ปกครองจนถึงการรวมชาติอิตาลี
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | ราชสกุล |
ฟรานเซสโก้ที่ 4 | พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1814 – ค.ศ. 1846) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
ฟรานเซสโก้ที่ 5 | พ.ศ. 2389 – พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1846 – ค.ศ. 1875) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2418 – พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1875 – ค.ศ. 1914) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
อาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1922) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
อาร์ชดยุกโรเบิร์ตแห่งออสเตรีย-เอสต์ | พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1922 – ค.ศ. 1996) |
ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน | |
อาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าฟ้าชายแห่งเบลเยียม | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1996) |
ฮาพส์บวร์ค-โลทริงเงิน | |
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ทรงเชื้อเชิญ อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันด์ มักซีมีเลียน พระโอรสองค์รองในอาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย และเป็นพระราชอนุชาในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ให้ไปครองราชย์บัลลังก์อิมพีเรียลแห่งเม็กซิโก โดยการครองบัลลังก์นี้ นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 2 พระองค์และพระชายา เจ้าหญิงชาร์ลอตแห่งเบลเยียม ได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดิ และ จักรพรรดินีแห่งเม็กซิโก แต่ในขณะที่ทรงราชย์นั้น ไม่ค่อยราบรื่นดีนัก เพราะเนื่องจากมีผู้ที่ต่อต้านพระองค์อยู่มากมาย จนในที่สุด ก็ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ โดยคณะปฏิวัติสาธารณรัฐนิยม พระองค์ทรงถูกประหารชีวิตเมื่อพ.ศ. 2410 โดยผู้นำปฏิวัติเบนิโต ยัวเรซ (ภายหลังได้เป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก) ส่วนจักรพรรดินีมเหสี ก็เสด็จอพยพกลับมาตุภูมิ
ภาพ | พระนาม | รัชกาล |
มักซีมีเลียนที่ 1 | พ.ศ. 2407 – พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1864 – ค.ศ. 1867) | |
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ออสเตรียได้ส่งอาร์ชดัชเชสหลายพระองค์ไปอภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศส เพื่อผลประโยชน์ทางการทูต และพันธมิตรระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะในรัชสมัยของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อรักษาสมดุลในจักรวรรดิ หลังจากที่นโปเลียนได้รุกรานออสเตรีย และได้ยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล | พ.ศ. 2041 – พ.ศ. 2101 (ค.ศ. 1498 – ค.ศ. 1558) |
พระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อพระเจ้ามานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2097 – พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1554 – ค.ศ. 1592) |
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงแอนน์แห่งสเปน | พ.ศ. 2144 – พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1601 – ค.ศ. 1666) |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส | |
เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซาแห่งสเปน | พ.ศ. 2181 – พ.ศ. 2226 (ค.ศ. 1638 – ค.ศ. 1683) |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์ชดัชเชสมาเรีย แอนโตเนียแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2298 – พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1755 – ค.ศ. 1793) |
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ แห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2334 – พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1791 – ค.ศ. 1847) |
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส | |
หลังจากนโปเลียนถูกขับออกจากราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเวียนนา และนอกจากพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสีแห่งฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นดัชเชสแห่งปาร์มาด้วย (Duchess of Parma) โดยแคว้นปาร์มาได้ถูกโอนให้เป็นแผ่นดินของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คหลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิตาลี
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
เจ้าหญิงเอลีนอร์แห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งคาสตีล | พ.ศ. 2041 – พ.ศ. 2101 (ค.ศ. 1498 – ค.ศ. 1558) |
พระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส เมื่อพระเจ้ามานูเอลเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงไปอภิเษกสมรสอีกครั้งกับสมเด็จพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส | |
เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งฮาพส์บวร์ค, เจ้าหญิงแห่งสเปน | พ.ศ. 2050 – พ.ศ. 2121 (ค.ศ. 1507 – ค.ศ. 1578) |
พระเจ้ายูฮาวที่ 3 แห่งโปรตุเกส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์ชดัชเชสมารี แอนน์แห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2226 – พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1683 – ค.ศ. 1754) |
พระเจ้ายูฮาวที่ 5 แห่งโปรตุเกส | |
ภาพ | พระนาม | รัชกาล | พระสวามี |
อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย | พ.ศ. 2340 – พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1797 – ค.ศ. 1826) |
พระเจ้าเปโตรที่ 4 แห่งโปรตุเกส (จักรพรรดิเปโตรที่ 1 แห่งบราซิล) | |
I | II | III | IV | V |
---|---|---|---|---|
ราชอาณาจักรฮังการี | ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย | โลเวอร์ออสเตรีย | ดัชชีซัลซ์บวร์ค | ดัชชีสติเรีย |
VI | VII | VIII | ||
เคาน์ตีทีโรล | ดัชชีคารินเทีย และ ดัชชีคาร์นิโอลา (มุทราการแล้ว) |
แคว้นชายแดนโมราเวีย และ ดัชชีไซลีเชีย (มุทราการแล้ว) | ||
IX | X | XI | ||
ราชรัฐทรานซิลเวเนีย | ราชอาณาจักรอิลลิเรีย | ราชอาณาจักรโบฮีเมีย |
โล่ | ส่วน | ดินแดน |
---|---|---|
II III IV V VI VII VIII IX X XI XII XIII XIV XV XVI XVII XVIII XIX XX | ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย ราชอาณาจักรโบฮีเมีย ราชอาณาจักรแดลเมเชีย ดัชชีไซลีเลียบนและล่าง ดัชชีซัลซ์บวร์ค แคว้นชายแดนโมราเวีย เคาน์ตีทีโรล ดัชชีบูโกวีนา มลรัฐโฟราร์ลแบร์ก แคว้นชายแดนอิสเทียร์ เคาน์ตีโกริเซีย เคาน์ตีกราดิสกา มลรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เสรีนครตรีเยสเต อาร์ชดัชชีออสเตรียล่าง อาร์ชดัชชีออสเตรียบน ดัชชีสติเรีย ดัชชีคาร์นิโอลา ดัชชีคารินเทีย อาร์ชดัชชีออสเตรีย |
โล่ | ส่วน | ดินแดน |
---|---|---|
II III IV V VI VII | ราชอาณาจักรแดลเมเชีย (ส่วนหนึ่งของฮังการี) ราชอาณาจักรโครเอเชีย ราชอาณาจักรสลาโวเนีย ราชรัฐใหญ่ทรานซิลเวเนีย มลรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา นครฟีอูเมและแขวงภายใน ราชอาณาจักรฮังการี |
โล่ | ส่วน | ตำแหน่ง |
---|---|---|
II III | เคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย ดยุกแห่งลอแรน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.