มุอาวิยะฮ์ที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มุอาวิยะฮ์ที่ 1 หรือชื่อจริงคือ มุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน (อาหรับ: معاوية بن أبي سفيان, อักษรโรมัน: Muʿāwiya ibn Abī Sufyān; ป.ค.ศ. 597, 603 หรือ 605 – เมษายน ค.ศ. 680) เป็นผู้ก่อตั้งและเคาะลีฟะฮ์องค์แรกของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ครองราชย์ใน ค.ศ. 661 จนกระทั่งสวรรคต

ข้อมูลเบื้องต้น معاوية, เคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ...
มุอาวิยะฮ์ที่ 1
معاوية
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 1 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ครองราชย์มกราคม ค.ศ. 661  เมษายน ค.ศ. 680
ก่อนหน้า
ผู้สืบทอดยะซีดที่ 1
ผู้ว่าการแห่งซีเรีย
ดำรงตำแหน่ง639–661
ก่อนหน้ายะซีด อิบน์ อะบีซุฟยาน
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ประสูติป.ค.ศ. 597–605
มักกะฮ์ ฮิญาซ คาบสมุทรอาหรับ
สวรรคตเมษายน ค.ศ. 680 (ประมาณ 75–83 พรรษา)
ดามัสกัส รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ฝังพระศพบาบุศเศาะฆีร ดามัสกัส
คู่อภิเษก
  • Katwa bint Qurayza al-Nawfaliyya
  • ฟาคิตะฮ์ บินต์ กุร็อยเซาะฮ์
  • มัยซูน บินต์ บะห์ดัล
  • นาอิละฮ์ บินต์ อุมาเราะฮ์
พระราชบุตร
  • ยะซีด
  • อับดุลลอฮ์
  • ร็อมละฮ์
พระนามเต็ม
มุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน
(معاوية ابن أبي سفيان)
ราชวงศ์ซุฟยาน
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชบิดาอะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์
พระราชมารดาฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์
ศาสนาอิสลาม
ปิด

ต้นกำเนิดและชีวิตช่วงต้น

สรุป
มุมมอง
Thumb
แผนที่การเติบโตของรัฐเคาะลีฟะฮ์ในช่วงต่าง ๆ ในช่วงที่ศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 ศาสนาอิสลามได้กระจายไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ (สีเขียว)

ปีเกิดของมุอาวิยะฮ์ยังไม่เป็นที่กระจ่าย โดยข้อมูลอิสลามยุคแรกให้ปีเกิดที่ ค.ศ. 597, 603 หรือ 605[1] อะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ พ่อของเขา เป็นพ่อค้าชาวมักกะฮ์คนสำคัญที่นำกองคาราวานไปที่ซีเรีย ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์[2] ในช่วงแรกของความขัดแย้งต่อศาสดามุฮัมมัด เขากลายเป็นผู้นำตระกูลบะนูอับด์ชัมส์ของเผ่ากุร็อยช์ ชนเผ่าที่โดดเด่นของมักกะฮ์[1] โดยมุฮัมมัดก็มาจากเผ่ากุร็อยช์และเป็นญาติห่าง ๆ กับอุมัยยะฮ์ผ่านอับด์มะนาฟ อิบน์ กุศ็อยย์ บรรพบุรุษฝ่ายพ่อของทั้งสอง[3] ฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์ แม่ของมุอาวิยะฮ์ ก็เป็นสมาชิกตระกูลอับด์ชะมส์[1]

ใน ค.ศ. 624 มุฮัมมัดกับผู้ติดตามพยายามของท่านพยายามขัดขวางกองคาราวานมักกะฮ์ที่นำโดยพ่อของมุอาวิยะฮ์ ขณะเดินทางกลับจากซีเรีย ทำให้อะบูซุฟยานต้องเรียกกำลังเสริม[4] ภายหลังมีการส่งกองกำลังบรรเทาทุกข์ของกุร็อยช์ไปในยุทธการที่บะดัร โดย Hanzala พี่ชายของมุอาวิยะฮ์กับอุตบะฮ์ อิบน์ เราะบีอะฮ์ ตาของทั้งสอง ถูกฆ่าที่นั่น[2] อะบูซุฟยานจึงเข้ามาแทนที่อะบูญะฮัลที่ถูกฆ่าเมื่อสงครามก่อนหน้า และนำฝ่ายมักกะฮ์รบชนะต่อพวกมุสลิมในยุทธการที่อุฮุดใน ค.ศ. 625 หลังการปิดล้อมที่ไม่สำเร็จในยุทธการสนามเพลาะที่มะดีนะฮ์เมื่อ ค.ศ. 627 เขาจึงสูญเสียตำแหน่งผู้นำของเผ่ากุร็อยช์[1]

พ่อของมุอาวิยะฮ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาสงบศึกที่ฮุดัยบียะฮ์ระหว่างเผ่ากุร็อยช์กับมุฮัมมัดใน ค.ศ. 628 ปีถัดมา มุฮัมมัดได้แต่งงานกับอุมม์ ฮะบีบะฮ์ พี่/น้องสาวหม้ายของมุอาวิยะฮ์ที่เข้ารับอิสลามเมื่อ 15 ปีที่แล้ว การแต่งงานนี้ลดความเป็นปรปักษ์ของอะบูซุฟยานต่อมุฮัมมัด และอะบูซุฟยานเดินทางมาเจรจากับท่านที่มะดีนะฮ์ใน ค.ศ. 630 หลังฝ่ายสมาพันธ์ของกุร็อยช์ละเมิดสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์[2] เมื่อมุฮัมมัดยึดครองมักกะฮ์ใน ค.ศ. 630 ทั้งมุอาวิยะฮ์ พ่อของเขา และยะซีด พี่ชายของเขา เข้ารับอิสลาม ตามรายงานที่อ้างโดยอัลบะลาษุรีและอิบน์ ฮะญัร นักประวัติศาสตร์มุสลิมยุคแรก ความว่า คอนที่มีการเจรจาฮุดัยบียะฮ์ มุอาวิยะฮ์แอบเข้ารับอิสลาม[1]ใน ค.ศ. 632 มีการขยายอำนาจมุสลิมไปทั่วคาบสมุทรอาหรับโดยมีมะดีนะฮ์เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลมุสลิม[5] มุอาวิยะฮ์ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในกาติบ (อาลักษณ์) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะคืนดีกับเผ่ากุร็อยช์ของมุฮัมมัด เนื่องจากมุอาวิยะฮ์เป็นหนึ่งในสมาชิกเผ่ากุร็อยช์ 17 คนที่อ่านหนังสือออกในเวลานั้น[1] อะบูซุฟยานย้ายไปที่มะดีนะฮ์เพื่อรักษาอิทธิพลใหม่ในชุมชนมุสลิมที่เพิ่งได้รับการจัดตั้ง[6]

สวรรคต

มุอาวิยะฮ์สวรรคตจากอาการพระประชวรที่ดามัสกัสในเดือนเราะญับ ฮ.ศ. 60 (เมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 680) โดยมีพระชนมพรรษาประมาณ 80 พรรษา[1][7] บันทึกในสมัยกลางระบุวันที่สวรรคตต่างกัน โดยฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี (เสียชีวิต ค.ศ. 819) ระบุเป็นวันที่ 7 เมษายน อัลวากิดีระบุเป็นวันที่ 21 เมษายน และ al-Mada'ini ระบุเป็นวันที่ 29 เมษายน[8] อะบูมิคลัฟ (เสียชีวิต ค.ศ. 774) ระบุว่า ยะซีด (ตอนที่มุอาวิยะฮ์สวรรคต พระองค์ไม่ได้อยู่ที่ดามัสกัส)[9] จะสืบทอดอำนาจต่อจากพระองค์ในวันที่ 7 เมษายน ในขณะที่เอลียาห์แห่งนีซีบิส (เสียชีวิต ค.ศ. 1046) ผู้บันทึกเหตุการณ์จากกลุ่มเนสตอเรียน ระบุว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน[10] ศพของพระองค์ถูกฝังถัดจากประตูเมืองบาบุศเศาะฆีร

สุสานของมุวิยะฮ์กลายเป็นพื้นที่เยี่ยมชมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 อัลมัสอูดีระบุว่า มีการสร้างสุสานเหนือหลุมฝังพระศพ และเปิดให้ผู้เข้าชมทุกวันจันทร์ถึงพฤหัสบดี อิบน์ ตัฆรีบิรดีระบุว่า อะห์มัด อิบน์ ฏูลูน ผู้ปกครองอิสระแห่งอียิปต์และซีเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 9 สร้างโครงสร้างเหนือหลุมฝังพระศพใน ค.ศ. 883 หรือ 884 และว่าจ้างประชาชนให้อ่านอัลกุรอานเป็นประจำและจุดเทียนรอบหลุมฝังศพ[11]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.