Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามบะดัร (อาหรับ: غزوة بدر) เป็นสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงสมัยของมุฮัมมัดระหว่างชาวมุสลิมกับชาวมักกะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 17 หรือ 19 เดือนรอมฎอน ปี ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 2 (13 หรือ 15 มีนาคม ค.ศ.624) ณ เมืองบะดัร. [1][2]เมื่อมุฮัมมัดทราบข่าวว่าอบูซุฟยานยกทัพมาจากเมืองมักกะฮ์ จึงสั่งให้ชาวมุสลิมร่วมไพร่พลเกือบ 300 คน เพื่อต่อสู้กับทหารนับ 1,000นาย ของอบูซุฟยานแห่งเมืองมักกะฮ์ ซึ่งผลปรากฏว่ากองทัพของมุสลิมได้รับชัยชนะ และชาวมักกะฮ์ถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ถูกจับเป็นเชลย. จากชัยชนะของมุสลิมทำให้ผู้มีอิทธิพลของมักกะฮ์ลดน้อยลง และสถานภาพทางการเมืองของมุสลิมในมะดีนะฮ์ก็แข็งแกร่งขึ้น. คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงชัยชนะในครั้งนี้ไว้ว่า “เหตุการณ์ของพระเจ้า”[3]
ยุทธการที่บะดัร | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิม-กุเรช | |||||||
ภาพจากSiyer-i Nebi, ฮัมซะฮ์กับอะลีนำทัพมุสลิมไปสู้รบที่บะดัร | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ชาวมุสลิมจากมะดีนะฮ์ | เผ่ากุเรชจากมักกะฮ์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
มุฮัมมัด ฮัมซะฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ อะลี |
อบูญะฮัล ⱶ อุตบะฮ์ อิบน์ รอบีอะฮ์ ⱶ อุมัยยะฮ์ อิบน์ เคาะลัฟ ⱶ ฮินด์ บินต์ อุตบะฮ์ | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหารบกกับกองทหารม้า 313 นาย: ม้า 2 ตัว และอูฐ 70 ตัว | ทหารบกกับกองทหารม้า 950 นาย: ม้า 100 ตัว และอูฐ 170 ตัว | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ถูกฆ่า 14 คน | ถูกฆ่า 70 คน, เป็นเชลย 70 คน[ต้องการอ้างอิง] |
William Montgomery Watt กล่าวว่า “คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงสงครามนี้ไว้อย่างชัดเจน”.[4] แต่มุฮัมหมัด อะซัน ฏอบาฏอบาอีย์ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานของชีอะฮ์ได้กล่าวว่า “คัมภีร์อัลกุรอานโองการที่ 121 – 128 บทอาลิอิมรอน ได้กล่าวถึงสงครามบะดัรไว้อย่างชัดเจน”. [5]และเช่นกันในหนังสือ ดาอิรอตุ้ลมาอาริฟบุโซรก์อิสลามีย์ ได้บันทึกว่า บทอัลอันฟาลถูกประทานลงมาก็เนื่องด้วยสงครามนี้.
เป็นที่รู้กันว่าแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และน่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับการศึกษาเนื้อหานี้ คือจดหมายของ อุรวะห์ บิน ซุเบร ที่ส่งถึงอับดุลมาลิก บิน มัรวาน (ผู้ปกครองคนที่สองแห่งราชวงศ์อุมาวีย์) แม้ว่าเนื้อหาบางส่วนจะคล้ายกับตำนาน แต่ก็เป็นข้อมูลที่อธิบายถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันนี้ไว้ได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่มวลมุสลิมได้อพพยพไปยังมะดีนะฮ์ ชาวมักกะฮ์จึงเข้ายึดทรัพย์สินที่มุสลิมทิ้งไว้. ในเวลานั้นโองการอัลกุรอานบทอัลฮัจญ์ โองการที่ 39-40 ได้ถูกประทานลงมาโดยกล่าวถึงมุสลิมว่า 39)สำหรับบรรดาผู้ (ที่ถูกโจมตีนั้น) ได้รับอนุญาตให้ต่อสู้ได้ เพราะพวกเขาถูกข่มเหง และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงสามารถที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างแน่นอน 40) บรรดาผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนของพวกเขา โดยปราศจากความยุติธรรม นอกจากพวกเขากล่าวว่า “อัลลอฮ์คือพระเจ้าของเราเท่านั้น” และหากว่าอัลลอฮ์ทรงขัดขวางมิให้มนุษย์ต่อสู้ซึ่งกันและกันแล้ว บรรดาหอสวด และโบสถ์ (ของพวกคริสต์) และสถานที่สวด (ของพวกยิว) และมัสญิดทั้งหลายที่พระนามของอัลลอฮ์ ถูกกล่าวรำลึกอย่างมากมาย ต้องถูกทำลายอย่างแน่นอน และแน่นอนอัลลอฮ์ จะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนศาสนาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง ถือเป็นการอนุญาตในการทำสงคราม. และมุสลิมถือว่านี้คือคำประกาศสงครามจากพระเจ้าแก่ชาวกุเรชที่กราบไหว้เจว็ด. [6]
ในช่วงปีแรกที่มุสลิมอาศัยอยู่ที่เมืองมะดีนะฮ์ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)อนุญาตให้โจมตีที่กองคาราวานของมักกะฮ์. โดยซุฮัยล์ ฮาชิมีย์ ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ เขากล่าวว่า “เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ มีทัศนะที่แตกต่างกันระหว่างนักประวัติศาสตร์ยุคก่อน และนักบูรพาคดียุคหลัง ตามแบบฉบับของนักเขียน” นักประวัติศาสตร์มุสลิมส่วนใหญ่ในยุคก่อนเชื่อว่า มุฮัมหมัดได้มีนโยบายทางการเมืองใหม่เพื่อต่อต้านชาวมักกะฮ์. การทำสงครามกับชาวมักกะฮ์ก็เพื่อตอบโต้ และเพื่อให้ชดใช้กับสิ่งที่พวกเขาทำไว้กับมุสลิม และตามคำกล่าวของนักบูรพาคดีส่วนมาก กล่าวว่าการโจมตีเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชดเชยความยากจนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาการอพยพของมุสลิมจากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์. บางท่านกล่าวว่า “การปะทะกันนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในนโยบายการพึ่งพาด้วยการต่อสู้ของท่านศาสดา ซึ่งตรงกับการกำหนดโองการแห่งสงคราม” แต่ Mohamed Hassanein Heikal กล่าวว่า “การปะทะกันนี้ไม่ใช่จุดประสงค์หลักทางทหาร แต่เป็นแค่การโจมตีเล็กๆ ที่มุ่งเป้าเพื่อให้ชาวมักกะฮ์เกิดความอ่อนแอลง และเพื่อแสดงอำนาจใหม่ของมุสลิม และพิสูจน์ถึงความจำเป็นในการสร้างสันติภาพและการประนีประนอมกับชาวมุสลิม”. ในความเห็นของฮาชิมีย์ เขาคิดว่าทั้งสองมุมมองนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานการคาดเดาเท่านั้นเอง. [7][8]และการปฏิบัติการทางทหารก็เพื่อให้มีการยุติการสังหารและทำร้ายมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ในมักกะฮ์ และปิดเส้นทางกองคาราวานของชาวมักกะฮ์ไปยังเมืองชาม(หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจต่อมักกะฮ์) เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ในการปฏิบัติต่อชาวมักกะฮ์.
William Montgomery Watt กล่าวว่า “เนื่องจากผู้อพยพชาวมะดีนะฮ์อยู่ภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจ และไม่มีตำแหน่งงานว่างสำหรับพวกเขา จึงเริ่มการโจมตีกองคาราวานของชาวมักกะฮ์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างทั้งสองขึ้น”. ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดของ Chase F. Robinson เขามีแนวคิดว่า “สาเหตุหลักของความขัดแย้งนั้นเป็นความปรารถนาของมุฮัมหมัด เพื่อสร้างเงื่อนไขในการปฏิบัติศาสนพิธี ณ สถาน “กะอ์บะฮ์” และบนภูเขาต่างๆ ของเมืองมักกะฮ์อีกทั้งนำเสนอความเชื่อของตน”.[9]
ระหว่างการปะทะกันของสงคราม ในเดือนรอญับ(หนึ่งจากเดือนต้องห้าม)ของปี ได้เกิดการสู้รบ(ย่อย)ขึ้นระหว่างชาวมุสลิมกับชาวกุเรช ณ ตำบลนัคละฮ์(ระหว่างเมืองมักกะฮ์ กับเมืองฏออีฟ) ซึ่งทำให้อัมร์ บิน ฮัฏระมีย์(ชาวมักกะฮ์)ถูกฆ่าตาย ชาวกุเรชเลยใช้โอกาสนี้เป็นหนทางในการประกาศสงครามกับมุสลิม. สงครามเลยอุบัติขึ้นในเดือนต้องห้าม ซึ่งตามความเชื่อของชาวอาหรับแล้ว สงครามในเดือนต้องห้ามถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่ง และเป้าหมายการสงครามในเดือนต้องห้ามของชาวมักกะฮ์ก็เพื่อสร้างความเป็นปรปักษ์ระหว่างชาวมุสลิมและประชากรทั้งหมดของคาบสมุทรอาหรับ[10]
ในแต่ละปีชาวเมืองมักกะฮ์จะส่งกองคาราวานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (เพื่อค้าขาย) และผลกำไรนี้เป็นส่วนสำคัญของรายได้แก่มักกะฮ์ และพ่อค้าชาวมักกะฮ์เกือบทุกคนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองคาราวานนี้ และถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวมักกะฮ์ทุกคน. ในขณะที่กองคาราวานผ่านเมืองมะดีนะฮ์เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองชาม(ซีเรีย) มุสลิมมะดีนะฮ์ได้ให้พลทหารคุ้มกันบุกโจมตี และไม่ให้ใครหนีรอดไปได้. ในเดือนญะมาดิ้ลเอาวัลหรือญะมาดิ้ลษานี ปีที่ 2 หลังจากอพยพ. อบูซุฟยานได้นำกองคาราวานค้าขายสู่เมืองชาม เมื่อมุฮัมหมัดทราบข่าว จึงนำมุสลิมจำนวน 150 ถึง 200 คนเพื่อดักซุ่มโจมตี แต่มาทราบในภายหลังว่ากองคาราวานนั้นได้ผ่านไปแล้วก่อนหน้านี้ จึงตัดสิ้นใจจะโจมตีต้อนขากลับอีกครั้ง[11]
เมื่อกองคาราวานได้กลับจากเมืองชามสู่มักกะฮ์ มุฮัมหมัดได้ส่งฏอลหะฮ์ บิน อุบัยดิลลาฮ์ และสะอีด บิน เซด เฝ้าดูที่เฮารอห์เพื่อแจ้งข่าวเมื่อกองคาราวานผ่านมา. เมื่อทั้งสองถึงยังเฮารอห์ มีหัวหน้าเผ่า “ญุฮัยนะฮ์” ให้การต้อนรับ และให้ทั้งสองหลบซ่อนในบ้านของตน จนกระทั่งว่ากองคาราวาน จำนวน 40 คน พร้อมกับทองคำเกือบ 5 หมื่นดีนารได้ผ่านมา และทั้งสองได้กลับมะดีนะฮ์เพื่อรายงานข่าว. แต่มุฮัมหมัดเกิดความกังวลว่าหากรอสองคนนั้นจะล่าช้าเกินไป จึงเคลื่อนทัพออกไปก่อน. ทำให้ทั้งสองไม่ได้เข้าร่วมทัพ และท่านอุษมานเองก็เช่นกันไม่ได้เข้าร่วมทัพดังกล่าว เพราะต้องเฝ้าไข้รุกอยยะฮ์(บุตรท่านนบี)ภรรยาของตน.[12]
กองทัพของมุสลิมมีไพร่พล 300 - 317 คน (82-86คนเป็นพวกลี้ภัย ,61คนจากเผ่าเอาส์ และ170คนจากเผ่าคอซร็อจ) และม้า2-3ตัว(เป็นของซุเบร บิน อาวาม และมิกดาด บิน อัสวัด) และอูฐ 70 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีคนขี่ 2-3 คนสลับกันไป และมุฮัมหมัดกับอะลีก็ใช้อูฐตัวเดียวกัน ซึ่งกองทัพมุสลิมมีธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์
กองทัพมุสลิมได้ออกจากเมืองมะดีนะฮ์ในวันที่ 12 หรือ 13 เดือนรอมฎอน และใช้เวลา 5 วันในการเดินทางถึงสถานที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบะดัรด้วยระยะทาง 90 ไมล์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองมะดีนะฮ์
เมื่อใกล้ถึงเมืองบะดัร มุฮัมหมัดได้ส่งทหาร 2 ท่านออกไปสืบข่าวของคาราวาน เมื่อทหารทั้งสองถึงยังบ่อน้ำหนึ่งในเมืองบะดัร และได้ยินชาวบ้านพูดกันว่า “กองคาราวานจะถึงมาภายในพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้” ทั้งสองจึงรีบกลับมารายงานข่าว. เมื่อทั้งสองได้กลับไป อบูซุฟยานได้มาถึงยังเมืองบะดัรด้วยตัวของเขาเอง เพื่อตรวจสอบเส้นทางให้เกิดความมั่นใจแก่กองคาราวานของตน และทราบข่าวถึงสายสืบทหารทั้งสอง(ของมุฮัมหมัด) จึงกลับไปยังกองคาราวาน และทำการเปลี่ยนเส้นทางไปยังทะเลแดง. เมื่ออบูซุฟยานนำกองคาราวานของเขาถึงยังตำบลหนึ่ง และเจอกับชาวมุสลิมโดยบังเอิญ จึงได้ขอความช่วยเหลือจากมักกะฮ์. กองทัพของมักกะฮ์จึงจัดกองกำลังด้วยไพร่พล 950 คน ซึ่งรวมถึงชาวกุเรชที่กระหายสงครามอยู่ด้วย และนำทัพมุ่งหน้าสู่เมืองบะดัรโดยอัมร์ บิน ฮิชาม.
ขณะที่มุสลิมได้ตั้งค่าย ณ ญุห์ฟะฮ์(ตอนใต้เมืองบะดัร) กองคาราวานของอบูซุฟยานก็ถึงยังสถานที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างกองทัพกุเรชและมุสลิม จึงสั่งให้กองทัพกุเรชออกจากเส้นทางก่อน เพื่อกองคาราวานจะได้รับความปลอดภัย. กองทัพกุเรชจึงทำตาม แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย และเป็นไปได้ว่ากลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยคือเผ่าบะนีซุฮ์เราะฮ์และบะนีอะดี จึงเดินทางกลับเมืองมักกะฮ์ แต่อัมร์ บิน ฮิชามและพวกที่เหลือได้มุ่งหน้าสู่เมืองบะดัรต่อไป และได้ตั้งค่ายที่ยะลัยล์(ระหว่างบะดัรและอะกอนก้อล).[13]
William Montgomery Watt กล่าวว่า “เขา(อัมร์ บิน ฮิชาม)และพรรคพวกของเขามโนว่าพวกเขานั้นแข็งแกร่ง และมุฮัมหมัดไม่อาจต่อกรกับเขาได้”.
มุสลิมได้จับกุมชาวกุเรชได้ 2 คนใกล้ๆ เมืองบะดัร จึงเข้าใจว่ากองทัพของชาวกุเรชใกล้เข้ามาแล้ว มุฮัมหมัดจึงทำการประชุมหารือ อบูบักร์และอุมัร ได้ออกความเห็นเป็นบุคคลแรกๆ ตามด้วยมิกดาด บิน อัมร์ ซึ่งชาวมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)มีความต้องการให้รีบเดินทัพทำ(สงคราม). แต่เนื่องด้วยการสนธิสัญญาอุกบะฮ์ ของชาวอันศอร คือการทำหน้าที่ปกป้องชาวมุสลิมในขณะอาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์เท่านั้น และอีกข้อหนึ่งคือพวกเขาคิดว่าพวกเขากำลังจะโจมตีกองคาราวานค้าขายหนึ่งเพียงเท่านั้นจึงเข้าร่วมทัพมากับมุฮัมหมัด. ซึ่งมุฮัมหมัดรู้ถึงทัศนะของชาวอันศอร จึงทำการปรึกษาหารืออีกรอบหนึ่ง และสะอัด บิน มุอาษ จากชาวอันศอร ได้ประกาศความพร้อมที่จะทำสงครามของชาวอันศอร. มุฮัมหมัดจึงรีบสั่งการกรีธาทัพอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ถึงยังบ่อน้ำ ณ เมืองบะดัรก่อนหน้าศัตรู และเมื่อถึงยังบ่อน้ำจึงสั่งให้กองทัพหยุดเพื่อตั้งค่ายทหาร แต่ชาวอันศอรคนหนึ่งได้เสนอแก่มุฮัมหมัดว่า ให้หยุดทัพตรงบ่อน้ำที่ใกล้กับกองทัพของศัตรูจะดีกว่า และทำที่กักเก็บน้ำเอาไว้ และอย่าให้ศัตรูได้ใช้น้ำนั้น. มุฮัมหมัดจึงตอบรับในข้อเสนอดังกล่าว. มุฮัมหมัดได้ดื่มด่ำอยู่กับการวิวรตลอดทั้งคืน จนโองการหนึ่งได้ถูกประทานลงมา. และได้ทำอิบาดะฮ์(เคารพภักดี)พระเจ้าต่อไป จนกระทั่งโองการที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าสงครามครั้งนี้จะได้รับชัยชนะเป็นแน่ได้ประทานลงมา. เขากล่าวกับสหายของเขาว่า “ผู้ที่ถูกฆ่าในสงครามจะได้รับสถานภาพ ชะฮีด และมรรคผลของเขาคือสรวงสวรรค์.
ชาวมักกะฮ์ได้ตั้งค่ายทหายอยู่หลังเชิงเขาซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ รุ่งอรุณของวันที่ ๑๗ เดือนรอมฎอน ชาวกุเรชได้รุดหน้าถึงเทือกเขาอะกอนก้อล และได้ตั้งค่ายทหารบริเวณตีนเขาเพื่อสามารถมองเห็นฝั่งตรงข้าม ซึ่งพวกมุชรีกีน(ผู้ตังภาคี)หลายคนที่ออกศึกในเวลานั้นถูกสังหารจนหมดนอกจากฮะกีม บิน ฮิซาม. ขณะที่พวกเขาเห็นว่าชาวมุสลิมมีน้อยกว่าที่พวกเขาได้คาดคะเนไว้ อุมัยร์ บน วะฮับ จึงส่ง อัลญัมฮีย์ เพื่อสอดส่องถึงจำนวนที่แท้จริงของมุสลิม เขาได้ตรวจสอบและทราบถึงจำนวนจึงกลับมารายงานและกล่าวว่า “พวกเขาไม่ถูกสังหารเลยแม้แต่คนเดียว แต่กลับเป็นพวกของท่าน(โดนสังหาร)...” อัลญัมฮีย์เป็นที่รู้จักในเมืองมักกะฮ์ในฐานะผู้บอกกล่าวเรื่องลี้ลับ จากคำกล่าวของเขามีผลต่อสภาพจิตใจทหารเป็นอย่างมาก. ฮะกีม บิน ฮิซามจึงเข้าพบอุตบะฮ์(อุตบะฮ์ บิน ระบีอะฮ์ พ่อของภรรยาอะบูซุฟยาน) เพื่อขอให้เขาจ่ายหนี้เลือดให้กับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สะรียะฮ์ นัคละฮ์(นั้นคืออัมร์บินอัฎระมีย์)แก่อามีรบินอัฎระมีย์ผู้เป็นน้องชาย เพื่อแก้ไขข้ออ้างหลักข้อหนึ่งที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งนี้ และเพื่อไม่ให้เกิดสงครามขึ้น. อุตบะฮ์ยอมรับขอเสนอ และบอกให้เขาไปขอให้อัมร์บินฮิชามยอมรับต่อข้อเสนอนี้เช่นกัน และหยุดการทำสงคราม. อุตบะฮ์ไปหากองทัพและกล่าวว่า “โอ้ทหารแห่งกุเรช การทำสงครามกับมุฮัมหมัดและพวกของเขา จะไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยแก่พวกเจ้า. หากพวกเจ้าสังหารพวกเขา พวกเขาก็จะสังหารญาติพี่น้องของพวกเจ้า(ที่อาศัยอยู่ในกลุ่มมุสลิม)และจะมองพวกเขาด้วยความเกลียดชัง. ดังนั้นจงกลับไปและทิ้งมูฮัมหมัดไว้กับชาวอาหรับคนอื่น ๆ”. แต่ก่อนที่กองทัพจะตัดสินใจยกเลิกสงคราม อัมร์บินฮิชามได้กล่าวหาว่า อุตบะฮ์นั้นกลัวว่าตัวเขาและลูกๆ ของเขา(ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนมุสลิม)จะถูกสังหาร. และได้ไปหาอามีรเพื่อยุยงไม่ให้ปล่อยโอกาสการแก้แค้นนี้ไป.[14][15]
มุฮัมหมัดส่งข้อความไปยังอัมร์บินฮิชาม โดย อุมัรบินค็อฏฏอบ ซึ่งมีใจความว่า “จงกลับไปเสียเถิด หากบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าทำสงครามกับฉันจะเป็นการดีกว่า และฉันก็ไม่ต้องการทำสงครามกับเจ้าเช่นกัน”. และอัมร์บินฮิชามกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ข้าจะไม่กลับในขณะที่พระเจ้าได้ส่งพวกเขามาให้เรา และนี้คือโอกาสที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าและเราจะไม่ทิ้งมันไปแน่ และจากนี้ต่อไปจะไม่มีผู้ใดมาขัดขวางกองคาราวานของเราได้”.[16]แม่แบบ:اولیه
มุฮัมหมัดได้พูดกับกองทัพของเขาให้พิจารณา (อย่าสังหาร) พวกบะนีฮาชิม (และบุคคลอื่นๆ) ที่ไม่ได้เต็มใจจะทำสงคราม.[17]แม่แบบ:اولیه
ชาวมุสลิมมีฐานที่มั่นทางสงครามที่เหนือกว่า ถึงแม้กองทัพมักกะฮ์จะมีไพร่พลและอาวุธสงครามมากกว่า แต่สภาพด้านจิตใจของชาวกุเรชนั้นอ่อนแอ จึงทำให้ฝ่ายมุสลิมมีได้เปรียบมากกว่าในการทำศึก
เริ่มโดยเมื่ออัสวัด บิน อับดุลอะสัด ได้เข้าไปยังพื้นที่บ่อน้ำของมุสลิม แต่ก็ถูกสังหารโดย อัมซะฮ์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ. หลังจากนั้น อุตบะฮ์ จึงเรียกร้องการสู้รบแบบตัวต่อตัวขึ้น โดยฝ่ายกุเรชมีอุตบะฮ์ และชัยบะฮ์ (น้องอุตบะฮ์) และวะลีด (ลูกชายของอุตบะฮ์) และทหารฝ่ายมุสลิมมีอุบัยดะฮ์ บินฮะรีษ และฮัมซะฮ์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ และอะลี ซึ่งเป็นการสู้รบแบบสามต่อสาม โดยชัยบะฮ์ถูกสังหารโดยฮัมซะฮ์ วะลีดถูกสังหารโดย อะลี และ อุบัยดะฮ์ ถูกฟันโดย อุตบะฮ์ จนได้รับบาดเจ็บหนัก ฮัมซะฮ์ ได้เข้าช่วยอุบัยดะฮ์และได้สังหารอุตบะฮ์ ทั้งสองนำอุบัยดะฮ์กลับสู่ค่ายและเขาก็เสียชีวิตในภายหลัง. จากนั้นดอกธนูถูกยิงกระหน่ำใส่กองทัพมุสลิม ทำให้มุสลิมเสียชีวิตสองนาย และสงครามแห่งบะดัรก็เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม. มุสลิมโจมตีด้วยพลกำลังที่แข็งแกร่งจนกองทัพของมักกะฮ์แตก กองทัพกุเรชแตกพ่ายโดยทันใดและส่วนใหญ่ได้หนีทัพระหว่างการสู้รบ เกือบ๗๐คนถูกสังหารและเกือบ๗๐คนถูกจับเป็นเชลย ซึ่งผู้อาวุโสชาวกุเรชหลายคน เช่นอะบูญะล์(โดยมุเอาวัษ บินอุฟรอ) และอุมัยยะฮ์บินคอลัฟ ยังยืนกรานต่อสู้จนถึงนาทีสุดท้ายแต่ก็ถูกสังหารเช่นกัน. ในส่วนของชาวมุสลิมมีเพียง 15 คน (6 ผู้ลี้ภัยและ 8 ชาวอันศอร) ถูกสังหารในระหว่างหรือหลังสงคราม.[18]
อ้างอิงจากซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ ในตัฟซีรอัลมีซาน จากหนังสืออัลอีรชาด ของเชคมุฟีดว่า ชีอะฮ์และซุนนีมีทัศนะตรงกันว่า กองทัพมักกะฮ์๓๕ คน ถูกสังหารโดยอะลี. นอกจากนี้ยังมีคนอื่นๆ อีกที่มีความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการสังหารพวกเขาโดยอะลี[19]
ชาวมุสลิมที่เข้าร่วมในสงครามได้รับการขนานนามว่า “บัดรียูน” และถูกมองเป็นผู้ที่เหมาะสมและมีเกียรติยิ่ง.
สุฮัยล์ , อับบาส (ลุงของมุฮัมหมัด) , อะกีล และนูฟิล (ลูกพี่ลูกน้องมุฮัมหมัด) คือเชลยคนสำคัญ. มุฮัมหมัดมีกิริยาที่นุ่มนวลต่อเชลยทั้งหลาย ซึ่งทั้งหมดจ่ายเงินไถ่ตัวหรือด้วยเหตุผลอื่นๆเพื่อได้รับอิสระ. มูฮัมหมัดได้ห้ามพฤติกรรมรุนแรง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของชาวอาหรับ) กับเชลย และโดยทั่วไปแล้วนโยบายของเขาคือการปลดปล่อยเชลยด้วยการจ่ายเงิน. แต่ก็ได้สังหารบุคคลที่เป็นอันตรายต่อเมืองมะดีนะฮ์และอิสลาม และเมตตาแก่บุคคลที่เหลือ.[21]
หลังจากสงคราม ชาวมุสลิมเกิดความขัดแย้งในสินสงครามจนโองการหนึ่งจากอัลกุรอานได้ประทานลงมา และมุฮัมหมัดได้กล่าวว่า สินสงครามและเชลยต้องแบ่งให้กับผู้ที่สู้รบในสงครามอย่างเท่าเทียมกัน. บางส่วนจากสินสงครามถูกแบ่งให้กับคนยากจน โดยเฉพาะหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าภายหลังสงคราม.[22]
William Montgomery Watt ได้กล่าวว่า “ความพ่ายแพ้ได้สร้างความเสียหายแก่มักกะฮ์อย่างใหญ่หลวง แต่ก็ไม่ถึงกับแร้นแค้น. การสูญเสียบรรดาผู้อาวุโสถือเป็นความเสียหายที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวมักกะฮ์ แต่เป็นไปได้ว่าความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการสูญเสียความน่าเชื่อถือ อำนาจและศักดิ์ศรี”.
บรรดาหัวหน้าเผ่าของมักกะฮ์จำนวน15คนโดยสังหารในสงคราม เช่น อัมร์ บิน ฮิชาม , อัตบะ บิน ระบีอะฮ์ และอุมัยยะ บิน คาลฟ์ ทำให้อะบูซุฟยานกลายเป็นหัวหน้าชาวเมกกะไปโดยปริยาย[23]
หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้มุฮัมหมัดมีสถานภาพตำแหน่งในมะดีนะฮ์แข็งแกร่งขึ้น โดยอ้างจากคำกล่าวของ William Montgomery Watt ว่า “ความเชื่อมั่นในตนเอง และความน่าเชื่อถือที่ชาวมุสลิมได้รับจากชัยชนะนี้ ปัจจัยหนึ่งคือซึ่งหากขาดพวกเขาแล้วอิสลามจะพบกับความยากลำบากในการมีสถานภาพอย่างปัจจุบัน”.
ในทัศนะของชาวมุสลิม ชัยชนะครั้งนี้เป็นผลมาจากความช่วยเหลือของพระเจ้า. พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าส่งทูตสวรรค์ของพระองค์เพื่อพวกเขา.
จากคำกล่าวของ William Montgomery Watt “โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นแก่ชาวมักกะฮ์ คือการลงโทษที่ถูกทำนายไว้ก่อนหน้าในโองการมักกีย์ และเป็นการทำให้วิวรณ์ของศาสดามูฮัมหมัดเป็นจริง”.[24]
ชัยชนะในสงครามครั้งนี้ทำให้ชาวมะดีนะฮ์มีความพร้อมมากยิ่งขึ้นที่จะเข้าร่วมกองทัพมุสลิม. เป็นไปได้ว่าชนเผ่าต่างๆของมะดีนะฮ์และแถบทะเลแดงพร้อมที่จะรวมตัวกับมุฮัมหมัด เพราะกุเรชไม่กล้าส่งกองคาราวานไปยังซีเรียในหน้าร้อนของปีนั้น.[25]
หลังจากสิ้นสงครามบะดัร ก็ได้เกิดสงครามอุฮุดขึ้น และมุสลิมได้ปราชัยให้แก่มักกะฮ์. อะบูซุฟยานได้พิจารณาสงครามนี้มากกว่าสงครามบะดัร โดยได้ให้สัญญากับมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ถึงการทำสงครามในปีถัดมา ณ ตลาดบะดัรศุฟรอฮ์. มุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) และสาวกได้มาตามที่ประกาศสงครามไว้ แต่อะบูซุฟยานได้เกิดความสับสนขณะเดินทางและได้กลับไป.
จากมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานของชีอะฮ์ได้กล่าวว่า บทอันฟาลได้ถูกประทานลงมาภายหลังจากสงครามบะดัร และทั้งหมดมีความเกี่ยวเนื่องกับสงครามนี้ ดังเช่นการแบ่งสินสงคราม. ในโองการที่หกสัญญาของพระเจ้าบนการเลือกของชาวมุสลิมจากกลุ่ม(คาราวานหรือกองทัพ)ของกุเรช และอธิบายถึงความต้องการของพระเจ้าในการเผชิญหน้าต่อกองทัพเหล่านั้น. และจะให้พวกเจ้าชนะพวกเขาด้วยจำนวนที่น้อย และด้วยเหตุนี้การพิพากษาของเขาอยู่บนความถูกต้อง และความสิ้นหวังแก่พวกปฏิเสธ และขจัดพวกเขาออกไป.[26]
จากคำกล่าวของฏอบาฏอบาอีย์ หนึ่งจากเนื้อหาต่างๆ ที่ได้กล่าวในบทอันฟาลและบทอาลิอิมรอนคือ “การช่วยเหลือของพระเจ้า” ที่มีต่อบรรดามุสลิม. การช่วยเหลือมีหลายอย่างด้วยกัน หนึ่งจากนั้นคือการส่งทูตสวรรค์จำนวน ๓๐๐๐ ท่าน. ซึ่งในตัฟซีรของ ฏอบาฏอบาอีย์ อธิบายถึงโองการนี้ว่า เป็นการเปรียบถึงกองทัพที่มีอำนาจแฝง เพื่อให้หัวใจมุสลิมมีความแข็งแกร่ง และทำให้เกิดความกลัวแก่ชาวมักกะฮ์ และไม่ให้พวกเขามีแผนในการสังหารชาวมักกะฮ์ และอีกการช่วยเหลือหนึ่งคือ การทำให้ฝนตกเพื่อชำระร่างกายมุสลิมสะอาด เพื่อการก้าวเดินในสงครามอย่างมั่นคง หรือการทำให้หัวใจของพวกเขาเข้มแข็งขึ้น. ตามทัศนะของกุรอาน การช่วยเหลือคือการทำให้มุสลิมรู้สึกถึงความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งก่อนสงครามมีจำนวนหนึ่งที่กังวล. และอีกประการคือการทำให้เกิดความกลัวในหัวใจชาวมักกะฮ์.[27]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.