Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463)[1] เป็นนักแสดงหญิงอาวุโสและนักพากย์ภาพยนตร์อาวุโสชาวไทยที่มีอายุยืนยาวที่สุด ได้รับสมญานามว่าเป็น "ศิลปิน 5 แผ่นดิน" มารศรีนั้นอยู่ในวงการบันเทิง ทั้งการพากย์และการแสดงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาในการทำงานในวงการทั้งสิ้น 73 ปี[2] มารศรีได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติที่อายุมากที่สุด
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา จ.ภ. | |
---|---|
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 มารศรี หินลาด มณฑลปราจีนบุรี ประเทศสยาม |
คู่สมรส | หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | นักแสดง นักพากย์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2482–2555 (73 ปี) |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์) (2542) |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม 2529 — โอวตี่ |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ (2559) |
โทรทัศน์ทองคำ | รางวัลเกียรติยศคนทีวี (2548) |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เดิมมีชื่อว่า มารศรี หินลาด มีชื่อเล่นว่า "ศรี" เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463[1] (แต่ข้อมูลโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ระบุเกิดเมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 ซึ่งถ้านับแบบปัจจุบัน จะตรงกับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2466)[3] ที่มณฑลปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี) เป็นบุตรของผัน กับลม่อม หินลาด มารศรี เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเป็นนักแสดงตลกจำอวดขณะอายุได้ 19 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ร่วมกับ อบ บุญติด, ดอกดิน กัญญามาลย์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และสมควร กระจ่างศาสตร์ ในยุคสมัยที่ละครเวทีเฟื่องฟูในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งยังได้แสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นราวคราวเดียวกันที่มากฝีมือหลายท่าน เช่น สมชาย อาสนจินดา, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ชาลี อินทรวิจิตร, มาลี เวชประเสริฐ, สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, กัณฑรีย์ นาคประภา, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, จุรี โอศิริ เป็นต้น อันเป็นการแจ้งเกิดในวงการแสดงของมารศรี
ต่อมาสมรสกับหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร และได้ทำงานเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ในชื่อ "รุจิรา - มารศรี"[4] เป็นคู่นักพากย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้ชมภาพยนตร์มายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ ก่อนจะมาผันตัวเป็นนักแสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา
ชีวิตครอบครัว มีบุตร-ธิดาสามคน และอยู่ในวงการบันเทิง ได้แก่
สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง "วนิดา" (2486) จากบทประพันธ์ของ ‘วรรณสิริ’ โดยเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทเป็น "วนิดา วงศ์วิบูลย์" หญิงสาวที่ถูกบิดาสั่งจับแต่งงานกับ พันตรีประจักษ์ มหศักดิ์ นายทหารม้าที่ต้องมารับเคราะห์กรรมแทนน้องชาย ที่ติดหนี้กู้เงินจาก นายดาว บิดาของวนิดา จนต้องเกือบถูกฟ้องล้มละลาย ชีวิตของพันตรีประจักษ์และวนิดาต้องตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยเฉพาะฝ่ายของพันตรีประจักษ์ที่มีคู่หมั้นหมายไว้อยู่ก่อนแล้ว ดีที่ว่าวนิดามีกำลังใจที่เข้มแข็งในการพยายามหาข้อเท็จจริงเพื่อลบล้างมลทินย่าของเธอ คือ "คุณหญิงมณฑา" ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีจาก คุณนายน้อม แม่ของพันตรีประจักษ์ว่าคบชู้ จนต้องระเห็จออกจากบ้านมหศักดิ์ โดยมีพันตรีประจักษ์นั้นคอยช่วยเหลือด้วยใจยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
และแสดงละครเวทีอีกหลากหลายเรื่อง เช่น วันทามารีอา, ลานอโศก, นางบุญใจบาป, คุณหญิงพวงแข เป็นต้น
เมื่อละครเวทีได้รับความนิยมลดลง จึงได้ผันตัวจากนักแสดงละครเวทีเป็นนักแสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา โดยเป็นทั้งนักแสดงนำ นางเอก นางร้าย และนักแสดงสมทบ
มารศรีได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น
ก่อนที่จะหยุดพักการแสดงในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้นและสุขภาพ รวมระยะเวลาในการทำงานในวงการทั้งสิ้น 73 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักแสดงหญิงที่ทำงานอยู่ในวงการแสดงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย จนได้รับฉายาว่า "ศิลปิน 5 แผ่นดิน"
มารศรีมีผลงานการแสดงทั้งแนวชีวิตและแนวชวนหัว กับงานพากย์ภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.จนถึงยุคหนังสโคป 35 มม. เช่น บาปทรมาน, วนิดา, สายโลหิต, นันทาวดี, ไทรโศก, ผู้ชนะสิบทิศ, เป็ดน้อย (ไม่ใส่เครดิตร่วมแสดง), เกาะสวาทหาดสวรรค์, มันมากับความมืด, เขาชื่อกานต์, สันติ-วีณา, โอวตี่, เครือฟ้า และอีกหลายเรื่องเป็นผู้พากย์เสียงลงฟิล์ม เช่น ละครเร่ รวมทั้งงานแสดงละครโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง เช่น คมพยาบาท (ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อพ.ศ. 2512)[5] จนถึงปัจจุบัน
สำหรับละครเวทีที่สร้างชื่อให้กับ มารศรี มากที่สุดคือ ละครเวทีเรื่อง "วนิดา" (2486) โดยเป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่รับบทเป็น "วนิดา วงศ์วิบูลย์" และละครเวทีอีกหลากหลายเรื่อง เช่น วันทามารีอา, ลานอโศก, นางบุญใจบาป, คุณหญิงพวงแข เป็นต้น
ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปีพ.ศ. 2529 จากเรื่อง โอวตี่[4] และการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ. 2542[6] และรางวัลเกียรติยศคนทีวี จัดโดยรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปีพ.ศ. 2548 ร่วมกับ พิชัย วาศนาส่ง และ สินีนาฏ โพธิเวส[7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.