Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร (อังกฤษ : superhero film) เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นไปที่การกระทำของตัวละครที่เป็นซูเปอร์ฮีโรหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น ตัวละครที่เป็นซูเปอร์ฮีโรที่มักจะมีความสามารถพิเศษบางอย่างที่เหนือกว่ามนุษย์ทั่วไปและอุทิศความสามารถของตนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณชน ภาพยนตร์แนวดังกล่าวมักจะนำเสนอฉากแอ็กชัน ผจญภัย แฟนตาซี หรือไซไฟเป็นหลัก เนื้อเรื่องของภาพยนตร์ภาคแรกโดยส่วนใหญ่มักจะเน้นเล่าเรื่องราวต้นกำเนิดและที่มาของพลังพิเศษที่ทำให้ตัวละครเอกได้กลายเป็นซูเปอร์ฮีโร รวมถึงการเผชิญหน้ากับตัวร้ายที่มีพลังพิเศษหรือศัตรูตัวฉกาจเป็นครั้งแรก
ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรหลายเรื่องมักจะดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโร ขณะที่ภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น อุลตร้าแมน คาเมนไรเดอร์ ซูเปอร์เซ็นไต โรโบคอป เดอะเมทีเออร์แมน อันเบรเกเบิล แฮนค็อค ดาร์คแมน และ มนุษย์เหล็กไหลแห่งกรุงโรม ต่างก็เป็นภาพยนตร์ที่มีพื้นเพมาจากรายการทีวีหรือเดิมเคยเป็นโปรเจ็กต์ที่ผลิตขึ้นเพื่อสำหรับเผยแพร่ทางจอแก้ว ขณะที่ เดอะกรีนฮอร์เน็ต ก็ดัดแปลงมาจากละครชุดวิทยุกับละครโทรทัศน์ในทศวรรษที่ 1960 รวมถึง อันเดอร์ด็อก กับ เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ ซึ่งก็เคยเป็นซีรีส์แอนิเมชันทางโทรทัศน์มาก่อน ส่วนภาพยนตร์อนิเมะแนวซูเปอร์ฮีโรจะมีพื้นฐานมาจากมังงะและรายการโทรทัศน์
ภาพยนตร์แฟรนไชส์ซูเปอร์ฮีโรที่ทํารายได้สูงสุด (ตามตารางบ็อกซ์ออฟฟิศ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ได้แก่ อุลตร้าซีรีส์ ของ สึบุรายะโปรดักชัน คาเมนไรเดอร์ และ ซูเปอร์เซ็นไต ของ โทเอคอมปะนี ภาพยนตร์ชุดเบลด ของ นิวไลน์ซินีมา ภาพยนตร์ชุดเอ็กซ์เม็น ของ ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ไตรภาคไอ้แมงมุม ของ โซนี่พิคเจอร์ส ที่กํากับโดย แซม เรย์มี หรือ ภาพยนตร์สองภาค ที่กํากับโดย มาร์ก เวบบ์ รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก ของ พิกซาร์ ไตรภาคอัศวินรัตติกาล ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล (MCU) และ จักรวาลขยายดีซี (DCEU) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เป็นแนวภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แค่เฉพาะผลงานของทางมาร์เวลก็สามารถทํารายได้ได้มากถึง 28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][2][3]
ในช่วงปลายคริสตทศวรรษที่ 1930 เป็นยุคที่อุตสาหกรรมหนังสือการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรเริ่มได้รับความนิยม เช่นนั้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ได้หยิบเรื่องราวของตัวละครซูเปอร์ฮีโรมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ต่อเนื่องตามมาในทันที ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโรในยุคแรก ๆ ได้แก่ แมนเดรกเดอะเมจิกเชียน (1939) เดอะชาโดว์ (1940) แอดเวนเจอร์สออฟกัปตันมาร์เวล (1941) แบทแมน (1943) เดอะแฟนธอม (1943), กัปตันอเมริกา (1944) และ ซูเปอร์แมน (1948)
ในช่วงปี ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1943 บริษัท แม็กซ์ ไฟลเชอร์ สตูดิโอส์ ได้ผลิตซีรีส์การ์ตูนสั้นที่ดัดแปลงมาจากตัวละครซูเปอร์แมนออกมาติดต่อกันหลายตอนจำนวนมาก
จนกระทั่งในทศวรรษต่อมา ภาพยนตร์ซีรีส์ที่ออกอากาศทุกวันเสาร์ และอุตสาหกรรมหนังสือการ์ตูนเริ่มลดลง ยกเว้น Superman และ Mole Men นำแสดงโดย จอร์จ รีฟส์ ที่ได้ทดลองออกอากาศเป็นการปูพื้นให้ซีรีส์โทรทัศน์ชุด Adventures of Superman ต่อมาก็ได้ออกอากาศเรื่อง Batman (1966) ภาคต่อของซีรีส์โทรทัศน์แบทแมนนำแสดงโดย อดัม เวสต์[4]
ในปี 1957 ที่ญี่ปุ่น บริษัท Shintoho ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก เกี่ยวกับแนวโทคุคัทสึ ชื่อว่า Super Giant ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่นที่มีต่อโทคุซัตสึ รวมทั้ง Kaiju, Astro Boy มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่แนวโทคุคัทซึของญี่ปุ่น[5] โดยภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ในช่วงต้นก็มีเรื่อง Ōgon Bat (1966) นำแสดงโดย Sonny Chiba โดยมีพื้นฐานมาจากเรื่อง Kamishibai ในปี 1930[6]
ตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ปรากฏตัวในภาพยนตร์ตลกแนวอื่น ๆ มากมาย เช่นภาพยนตร์เสียดสีทางการเมืองของฝรั่งเศส เช่น เรื่อง Mr. Freedom (1969) และภาพยนตร์อนิเมชั่นเกรดบี เรื่อง Rat Pfink a Boo Boo (1966) และ The Wild World of Batwoman (1966).[7][8]
ภาพยนตร์ยอดนิยมเรื่องใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์แฟนตาซีและนิยายวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จคือเรื่อง Star Wars, ภาพยนตร์ที่สร้างโดย Richard Donner เรื่อง Superman (1978) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ฟอร์มใหญ่รายแรกที่ได้รับการพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากและประสบความสำเร็จด้านรายได้ เกิดขึ้นในช่วงปี 1980 เช่น ภาพยนตร์ของ Richard Lester เรื่อง Superman II (1980), ภาพยนตร์ที่สร้างโดย Paul Verhoeven เรื่อง Robocop (1987) หรือภาพยนตร์ของ Tim Burton เรื่อง Batman (1989) a และ Batman Returns (1992)[9]ภาพยนตร์ที่ออกฉายช่วงปี 1980s ถึงปี 1990s รวมทั้ง Flash Gordon (1980), Swamp Thing (1982), Superman III (1983), Supergirl (1984), The Toxic Avenger (1985), Superman IV: The Quest for Peace (1987), Bollywood's Mr. India (1987), The Punisher (1989), Teenage Mutant Ninja Turtles (1990) and two sequels, Sgt. Kabukiman N.Y.P.D. (1990), The Rocketeer (1991), Batman Returns (1992), ภาพยนตร์แอนิเมชั่นก็เช่นกัน เช่น เรื่อง Batman: Mask of the Phantasm (1993), The Shadow (1994), Batman Forever (1995), Tank Girl (1995), Mighty Morphin Power Rangers: The Movie (1995) โดยค่าย Sky Movies และเรื่อง sequel, The Phantom (1996), Steel (1997) และ Mystery Men (1999).[10][11][12] Marvel Comics' Captain America (1991) ส่วนภาพยนตร์ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จด้านรายได้อาทิเช่น ภาพยนตร์ของ Roger Corman เรื่อง The Fantastic Four (1994)[10]
ภาพยนตร์ของ Alex Proyas เรื่อง The Crow (1994) กลายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่อิสระตัวแรกที่สร้างแฟรนไชส์[10] ในขณะที่ภาพยนตร์ของ Joel Schumacher เรื่อง Batman & Robin (1997) กลับอยู่ในช่วงวิกฤต เพราะว่าติดตลก และเล่นมุขมากเกินไป[13] The Crow เป็นการสร้างภาพยนตร์ในรูปแบบใหม่ โดยใช้ความรุนแรงลดลง ต่างกับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ยอดนิยมก่อนหน้าซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชมที่มีอายุน้อยและแก้ช่องว่างของภาพยนตร์แอ็คชั่นที่ทันสมัยกว่่า[14] ความสำเร็จของ The Crow ทำให้ภาพยนตร์เรื่อง Spawn (1997) ออกฉายเร็วขึ้น ด้วยภาพพจน์ของตัวละครหลักในการ์ตูน ด้วยความสำเร็จของตัวละครภาพการ์ตูนที่ "มืดมนกว่า" ในหนังสือการ์ตูน Marvel ทำให้ในไม่ช้าหลังจากนั้น ภาพยนตร์แฟรนไชส์แนวซูเปอร์ฮีโร่จึงมีฉายออกมาเรื่อยๆ เช่น Men in Black (1997) และ Blade (1998). หลังจากที่มาร์เวลซื้อค่ายมาลิบูคอมมิกส์ (บริษัทเจ้าของของ "Men in Black"), Marvel และ Columbia Pictures ก็ได้ออกฉายภาพยนตร์เรื่อง Men in Black และจำหน่ายหนังสือการ์ตูนด้วยในปี 1997.[15] ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ Marvel ที่ชนะรางวัลออสการ์ และต่อมาก็ได้มีการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาจากหนังสือการ์ตูนที่ทำรายได้สูงสุด เช่น ภาพยนตร์ของ Sam Raimi เรื่อง Spider-Man ในปี 2002[16] Blade เป็นการผสมผสานระหว่างภาพยนตร์แอ็คชั่นแบบดั้งเดิมกับภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่เข้มกว่าด้วยชื่อตัวละครที่มีพลังของแวมไพร์ ที่ถืออาวุธออกต่อกรกับแวมไพร์ชั่วร้าย[14] ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง Blade เริ่มประสบความสำเร็จในภาพยนตร์ของ Marvel (ซึ่งเปิดตัวใน Marvel Comics) ต่อมาทางค่ายจึงเริ่มสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงเนื้อหามาจากหนังสือการ์ตูนเพิ่มเติม[17][18]
หลังจากหนังสือการ์ตูนหลายเล่ม และภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนหลายเล่ม (รวมถึงภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่) ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 1990[19] ในช่วงปีทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ผู้ชมจึงให้ความสนใจในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่และแฟรนไชส์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดจาก Marvel Enterprises ความสำเร็จของซีรีย์ X-Men ทำให้ค่าย 20th Century Fox มอบลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ในปี 1994[20] หลังจากภาพยนตร์ Men in Black ประสบความสำเร็จในปี 1997, Columbia Pictures ได้มอบลิขสิทธิ์ของเรื่อง Spider-Man ให้ในปี 1999[21] ภาพยนตร์ของ 20th Century Fox เรื่อง X-Men (2000) กลายมาเป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่โด่งดังมาก[22] และภาพยนตร์ของ M. Night Shyamalan เรื่อง Unbreakable (2000)[23] ก็ประสบความสำเร็จมากขึ้น[24] ต่อมา ก็เกิดภาพยนตร์หนึ่งในบล็อคบัสเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาล ด้วยการออกฉายภาพยนตร์ของ Sam Raimi เรื่อง Spider-Man (2002)[25] ด้วยยอดขายตั๋วภาพบยนตร์ และยอดขายดีวีดีที่สูงขึ้น ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ใหม่ๆ อีกหลายเรื่องก็ออกฉายออกมาเรื่อยทุก ๆ ปีในยุค 2000 รวมถึง Daredevil (2003), The League of Extraordinary Gentlemen (2003), Hulk (2003), Catwoman (2004), Hellboy (2004), The Punisher (2004), ภาพยนตร์กึ่งแอนิเมชั่นอย่าง Sky Captain and the World of Tomorrow (2004), Batman Begins (2005), Fantastic Four (2005), Ghost Rider (2007), Transformers (2007), Iron Man (2008), The Incredible Hulk (2008), และ Watchmen (2009)
นักวิจารณ์สื่อบางคนกล่าวถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของแฟรนไชส์ซูเปอร์ฮีโร่ในสหัสวรรษใหม่ที่เกิดขึ้นกับบรรยากาศทางสังคมและการเมืองในสังคมตะวันตกตั้งแต่การโจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544[26] แม้ว่าคนอื่น ๆ จะมีข้อขัดแย้งในเรื่องความก้าวหน้าในสเปเชียลเอฟเฟกต์พิเศษว่ามีบทบาทสำคัญกว่า[27] ด้วยองค์ประกอบทั่วไปที่ว่าพวกเขาทั้งหมดมีฮีโร่ที่มีความสามารถพิเศษและมักจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมีหลากหลายแนว อาทิเช่น สยองขวัญ (Blade), ทริลเลอร์ (Unbreakable), ละครย้อนยุค (Captain America: The First Avenger), space opera (Guardians of the Galaxy), ภาพยนตร์ครอบครัว (The Incredibles), teen film (Spider-Man: Homecoming), heist film (Ant-Man), ภาพยนตร์แฟนตาซี (Doctor Strange), neo-noir (The Dark Knight), political drama (Captain America: The Winter Soldier), and Western (Logan).[28]
ภาพยนตร์ภาคต่อและภาพยนตร์ภาคแยกก็ได้ออกฉายตามมาเป็นจำนวนมากตลอดทศวรรษรวมไปถึง Blade II (2002), X2: X-Men United (2003), Spider-Man 2 (2004), Blade: Trinity (2004), Elektra (2005), X-Men: The Last Stand (2006), TMNT (2007), Spider-Man 3 (2007), Fantastic Four: Rise of the Silver Surfer (2007), Hellboy II: The Golden Army (2008), The Dark Knight (2008), X-Men Origins: Wolverine (2009), และ Transformers: Revenge of the Fallen (2009)
ส่วนภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่ใช่ของHollywood ก็ออกฉายตามมาเช่นกัน รวมทั้งภาพยนตร์ที่สร้างโดย อเมริกัน/สเปน เช่น Faust: Love of the Damned (2001), ภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนว tokusatsuเช่น Ultraman (2004), Casshern (2004) และ Gatchaman (2013), ภาพยนตร์ชิลี เรื่อง Mirageman (2007), ภาพยนตร์มาเลเซีย เรื่อง Cicak Man (2006), ภาพยนตร์อินเดีย เช่น Krrish (2006), Drona (2008), Ra.One (2011), Krrish 3 (2013), และ ภาพยนตร์ไทย เช่น มนุษย์เหล็กไหล (2006) เป็นต้น ภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นซูเปอร์ฮีโร ่ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์แอ็คชั่นหลายเรื่องที่ออกฉายในยุค 2000 ก็ประสบความสำเร็จหลากหลายเรื่อง[ต้องการอ้างอิง] เช่น ภาพยนตร์ของ Brad Bird เรื่อง The Incredibles (2004) สำหรับ พิกซาร์ นั้น ได้รับรางวัลในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่คอมพิวเตอร์การ์ตูนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อครอบครัว[29] เช่น Sky High (2005) กับ Zoom (2006) ซึ่งเป็นการหลอมรวมระหว่างภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่กับ ภาพยนตร์ครอบครัว, My Super Ex-Girlfriend (2006) ซึ่งเป็นการรวมกันของซูเปอร์ฮีโร่และตลกโรแมนติก[30][31]
ซีรีส์บางส่วนทั้งปัจจุบันและก่อนหน้านี้ก็มีการเผยแพร่อีกหลายเรื่องเช่น Superman II: The Richard Donner Cut (2006).[32] ซีรีส์อื่น ๆ อีกหลายเรื่องได้ยุติการสร้างต่อ และได้เริ่มรีบูติ ภาพยนตร์เก่าๆขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เช่น ภาพยนตร์ของ Christopher Nolan เรื่อง Batman Begins (2005) เช่รเดียวกับภาพยนตร์ของ Louis Leterrier เรื่อง The Incredible Hulk (2008) และภาพยนตร์ของ Lexi Alexander เรื่อง Punisher: War Zone (2008) ภาพยนตร์ของ Bryan Singer เรื่อง Superman Returns (2006) ซึ่งแต่ละเรื่องมีเอกลักษณ์เนื่องจากความจริงที่ว่ามันเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ทุกๆๆเรื่อง[33] The Batman Begins ภาคต่อของ The Dark Knight (2008) เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่เข้าชิงรางวัลอะคาเดมี่มาดที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 8 สาขา แต่ชนะมาได้ 2 สาขา คือ สาขาตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม และ สาขานักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ซึ่งนักแสดงผู้ได้รับรางวัลนี้คือ Heath Ledger ผู้รับบทเป็น The Joker
ในยุค 2010 ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ก็ยังคงประสบความสำเร็จในระดับบ็อกซ์ออฟฟิศเช่นเดียวกันกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา[34] ในปี 2010 Matthew Vaughn ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Kick-Ass ซึ่งเรื่องนี้ได้ออกฉายหลังจากที่ฉาย Iron Man 2 ในเดือนต่อมา ต่อมาปี 2011 ได้มีภาพยนตร์เรื่อง The Green Hornet (2011),[35] Green Lantern (2011), และ X-Men: First Class (2011) ออกฉายพร้อมกัน ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาตามเรื่อง "Avengers Initiative" ในภาพยนตร์เรื่อง Iron Man และ and The Incredible Hulk, มาร์เวลได้ประกาศฉายภาพยนตร์เรื่อง Thor ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2011,[36] ตามมาด้วย Captain America: The First Avenger ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2011
ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Ghost Rider: Spirit of Vengeance ที่ออกฉายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2012 จะมีผู้ชมให้ความสนใจน้อย[37] ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ที่ทำรายได้ได้มาก และครอบครองการตลาดในฤดูร้อน มีภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่สามเรื่องครองที่ตำแหน่งสูงสุดสามอันดับแรกของแผนภูมิบ็อกซ์ออฟฟิศ[38] ซึ่งก็คือภาพยนตร์เรื่อง Marvel's The Avengers, ที่ทำลายสถิติระดับบ๊อกซ์ออฟฟิศ ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล[39] ต่อไปคือภาพยนตร์แบทแมนเรื่องต่อไปของ Christopher Nolan เรื่อง The Dark Knight Rises ที่เป็นภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง The Dark Knight ออกฉายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2012 เป็นลำดับที่สอง ในขณะที่ลำดับที่สามถูกครอบครองโดยภาพยนตร์ที่รีบูต ใหม่ในภาพยนตร์แฟรนไชส์เรื่อง Spider-Man นั่นคือเรื่อง The Amazing Spider-Man กำกับโดย Marc Webb และสร้างโดย Columbia Pictures
ภาพยนตร์ภาคต่อ Superman Returns ได้วางแผนจะสร้างในปี 2009 แต่ก็ต้องล่าช้าและถูกยกเลิกไปในที่สุด เพราะติดการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Man of Steel (2013).[40]
ในปี 2008 มีรายงานว่า DC Comics วางแผนจะออกฉายภาพยนตร์เรื่อง Green Arrow: Escape from Super Max.[41] โดยตั้งใจจะฉายให้พร้อมกับภาพยนตร์ของ Marvel ที่วางแผนสร้าง several new X-Men films, Silver Surfer, Ant-Man,[42] ซึ่งภาพยนตร์ฮีโร่จากฝั่ง DC จะมีตัวละคร Wonder Woman และ the Flash.[43]
ในปี 2012 ที่ San Diego Comic-Con, Marvel ยืนยันว่าภาพยนตร์เรื่อง Ant-Man กำลังอยู่ในการสร้าง เช่นเดียวกันกับ ภาพยนตร์เรื่อง Guardians of the Galaxy จะออกฉายในเดือนสิงหาคม ปี 2014. Iron Man 3 จะออกฉายในเดือนพฤษภาคม 2013, Thor: The Dark World จะออกฉายในเดือนพฤศจิกายน 2013, and Captain America: The Winter Soldier จะออกฉายในเดือนเมษายน 2014. The Amazing Spider-Man 2, ภาาพยนตร์ภาคต่อจะออกฉายในเดือนพฤษภาคม ปี 2014 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ต่ำและแย่ที่สุดในซีรีส์เรื่อง Spider-Man ในปี 2013 ภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง X-Men Origins: Wolverine คือเรื่อง The Wolverine ได้ออกฉาย ในปี 2014, X-Men: Days of Future Past ได้ออกฉายและประสบความสำเร็จด้านรายได้ และที่สำคัญ ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในซีรีส์ X-Men series
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.