คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ (ญี่ปุ่น: スーパー戦隊シリーズ; โรมาจิ: Sūpā Sentai Shirīzu) เป็นชื่อละครโทรทัศน์ชุดโทกูซัตสึในประเทศญี่ปุ่น ที่มีการออกอากาศยาวนานเช่นเดียวกับอุลตร้าซีรีส์และมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ โดยจุดเด่นหลักคือเป็นกลุ่มฮีโร่ที่สวมชุดพร้อมอาวุธต่อสู้และหน้ากากหลากสีรวมตัวกันเป็นทีมหนึ่ง ซึ่งตรงกับคำว่า กลุ่มขบวนการ ในภาษาไทยนั่นเอง ทั้งนี้ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ออกอากาศระยะเวลายาวนานถึง เช่นเดียวกับ มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ และ อุลตร้าซีรีส์ ที่ยังออกอากาศในปัจจุบัน
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ส่วนประกอบ
ลักษณะเด่นทั่วไปที่มีร่วมกันของ ซูเปอร์เซ็นไต ทุกเรื่อง ได้แก่
- เนื้อหากล่าวถึง "กลุ่มนักสู้หรือนักรบ" ที่มีสมาชิก 5 คน (หรือ 3 คน หรือมากกว่า) ที่ได้รับพลังซึ่งมาจากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับการกำหนดของเนื้อเรื่องในภาพยนตร์) ใช้วิชาการต่อสู้ในหลากหลายรูปแบบต่างกัน มาร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับ "กลุ่มผู้ร้าย" ที่หวังจะครองโลก (หรือทำลายโลก)
- กลุ่มผู้ร้าย จะพ่ายแพ้ในตอนสุดท้ายเรื่องเสมอ
- สมาชิกกลุ่มนักสู้ ปกติเป็นคนธรรมดา (หรือมีร่างคล้ายคนปกติ) แต่สามารถ "แปลงร่าง" ได้ เพื่อมาต่อสู้กับเหล่าอธรรม เมื่อแปลงร่างจะมีเครื่องแบบพิเศษที่มีประสิทธิภาพทำให้แข็งแกร่งและเก่งขึ้น (จึงจัด ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ อยู่ในกลุ่ม โทกูซัตสึ)
- ชุดเครื่องแบบ แต่ละคนเป็นรูปแบบหลักเดียวกัน แต่ต่างสีไม่ซ้ำกัน (อาจต่างลายด้วย) ถ้าสมาชิก 5 คน ก็เป็น 5 สี (อาจน้อยกว่าหรือมากกว่า ตามจำนวนสมาชิก, จะซ้ำกันต่อเมื่อเป็นสมาชิกสีนั้น รุ่นก่อนกับรุ่นหลัง เท่านั้น)
- สีเครื่องแบบของสมาชิกหลัก ที่มีทุกเรื่องคือ สีแดง และ สีน้ำเงิน และสีเครื่องแบบของสมาชิกหลัก ที่มักมีบ่อยในเรื่องส่วนใหญ่ ได้แก่ สีเหลือง สีชมพู สีดำ สีเขียว สีขาว และสีอื่นๆ มีบ่อยรองลงไป
- หัวหน้าทีม มักมีบทสำคัญกว่าคนอื่น และมักใช้ชุดสีแดง (แม้บางเรื่องจะมีสีอื่นเป็นหัวหน้าทีมแทนสีแดงก็ตาม) และ สมาชิกผู้หญิง มักใช้ชุดสีชมพู หรือขาว (สีอื่นมีบ่อยรองลงไป เช่น สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเหลือง)
- กลุ่มนักสู้ มักเป็นองค์กรเดียวกัน หรือสำนักเดียวกัน (บางเรื่องมีหลายองค์กร หรือหลายสำนัก ก็ได้) มักนำเสนอในรูปของ มนุษย์ (หรือ มนุษย์ต่างดาว หรือ แอนดรอยด์)
- เรื่องส่วนใหญ่มักมี หัวหน้าขององค์กร หรือ ผู้ชี้นำแนะนำสมาชิกกลุ่ม เสมอ และมีผู้ร่วมงาน หรือเพื่อนที่ช่วยเหลือบ้าง
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 16 เป็นต้นมา) มี นักสู้เสริม หรือ นักรบเสริม ที่แปลงร่างได้เช่นกัน (บางเรื่องเป็นสมาชิกที่เพิ่มขึ้น หรือบางเรื่องปรากฏตัวขึ้นเฉพาะตอน หรือบางเรื่องเป็นศัตรูกลับใจ ก็ได้, นักรบเสริมมี 1 คน หรือมากกว่า ก็ได้)
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 3 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มี หุ่นยนต์ยักษ์ ของตนเอง เพื่อต่อสู้กับอสูรกายยักษ์หรือหุ่นยนต์ยักษ์ (ซึ่งมักเป็นกลุ่มผู้ร้ายสามารถขยายร่างหรือขับ)
- ขบวนการแรกที่มีคือ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ขณะที่ 2 ขบวนการก่อนหน้า โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต ใช้เพียงยานรบในการต่อสู้เท่านั้น
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 4 เป็นต้นมา) หุ่นยนต์ยักษ์ เกิดจาก ยานยนต์หรือหุ่นยนต์ ประกอบร่างเข้าด้วยกัน โดยกลุ่มนักสู้เป็นผู้ขับ (บางเรื่องที่่โครงสร้างเหนือธรรมชาติ กลุ่มนักสู้เข้าสิงหรือแปลงร่างเป็นหุ่น ก็มี)
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 10 เป็นต้นมา) หุ่นยนต์มักมีมากกว่า 1 หุ่น โดยหุ่นยนต์ตัวที่ 1 (คนไทยมักเรียก "หุ่นยนต์หลัก") มักประกอบร่างจากยานยนต์หรือหุ่นยนต์หลายลำ (ขณะที่ หุ่นตัวที่ 2 เป็นต้นไป อาจแปลงร่างจากยานยนต์ลำเดียว หรือนักรบแต่ละคนมียานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัวลำใหม่คนละยานประกอบร่างกัน ก็ได้)
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 11 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มักมี ยานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัว คนละ 1 ยาน เพื่อประกอบเป็นหุ่นยนต์หลัก 1 ตัว
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 25 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มักมี ยานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัว คนละหลายลำ ในลักษณะที่ประกอบร่างได้หลายแบบ ทำให้หุ่นยนต์เปลี่ยนระยางค์ได้หลากหลาย
- กลุ่มผู้ร้าย มีรูปลักษณ์ ไม่ใช่มนุษย์ หรือเหมือนมนุษย์เพียงบางส่วน มักนำเสนอในรูปของ มนุษย์ต่างดาว หรือ ปิศาจ หรือ อสูรกาย หรือ องค์กรลับที่ดัดแปลงสิ่งมีชีวิต มาจากแหล่งกบดาน เช่น ในโลก หรือจากอวกาศ หรือจากต่างมิติ
- กลุ่มผู้ร้าย มีระบบขององค์กร (คนไทยมักเรียก "ตัวร้าย" หรือ "องค์กรร้าย") ที่มีลำดับชั้นปกครอง ประกอบด้วย
- (ระดับ) ราชาหรือหัวหน้า
- (ระดับ) แม่ทัพหรือรองหัวหน้า มักมี 2-4 คน (อาจมีระดับขั้นมากกว่านี้)
- (ระดับ) สมุนเอก (คนไทยมักเรียก "ศัตรูประจำตอน" หรือ "สัตว์ประหลาดประจำตอน") มักปรากฏตัวมา ตอนละตัว และถูกกำจัดในตอนนั้น (หรือตอนถัดไป) และมีตัวใหม่ในตอนต่อไปเรื่อย ๆ โดยแต่ละตัวมีความสามารถและแผนการที่ต่างกันไปในแต่ละตอน
- ลูกสมุนระดับล่างสุด ปรากฏตัวทุกตอนและมีจำนวนมาก เพื่อช่วยงานจิปาถะให้สมุนเอกและคอยรุมกลุ่มนักสู้ แม้ด้อยฝีมือกว่ามากแต่จำนวนที่มากกว่าก็ทำให้กลุ่มนักสู้ทำงานยากขึ้น
โดยเรื่องส่วนใหญ่ลูกสมุนระดับล่างไม่พูดและส่งเสียงแปลก ๆ สื่อสารกันแทน เป็นที่มาของคำแสลงเฉพาะในหมู่คนไทยว่า "กีกี้" ตามเสียงร้อง มีความหมายเชิงเหยียดต่อผู้ถูกกล่าวถึงว่า "เป็นเพียงลูกสมุนปลายแถว"
- กลุ่มผู้ร้าย อาจมีกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่ม ก็ได้ ตามแต่ความซับซ้อนของแต่ละเรื่อง
- ท้ายเรื่อง (หรือท้ายช่วง) พวกแม่ทัพจะทะยอยถูกจำกัด และตอนจบเรื่อง (หรือตอนจบช่วง) หลังราชาถูกกำจัด เป็นสัญลักษณ์ว่าองค์กรร้ายถูกทำลายและโลกกลับมาสงบสุข (แต่บางเรื่อง องค์กรร้ายแรกถูกทำลาย ตอนจบช่วงแรก แต่ช่วงหลังของเรื่อง มีองค์กรร้ายใหม่ปรากฏแทน ก็ได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรร้ายใหม่จะถูกกำจัดตอนจบเรื่อง)
- (เช่นเดียวกับ ซีรีส์แปลงร่างอื่น) ระหว่างฉายซีรีส์ ธุรกิจของเล่นจะจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับซีรีส์ (เช่น หุ่นของหุ่นยนต์ประกอบร่าง อุปกรณ์แปลงร่าง หุ่นตัวละครนักสู้ หน้ากากตัวละครนักสู้ ฯลฯ)
และ หลังจบซีรีส์ จะมีภาพยนต์ภาคเสริมขยายเนื้อเรื่อง
- (ตั้งแต่เรื่องที่ 24 เป็นต้นมา) แต่ละซีรีส์ จะสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เช่น ผ่านการข้ามมิติ หรืออยู่ในจักรวาลเดียวกันตั้งแต่แรก และภาพยนตร์ภาคเสริมมักเชื่อมโยงระหว่างซีรีส์อย่างชัดเจน โดยภาพยนตร์ภาคเสริม
Remove ads
รายชื่อผลงาน
สรุป
มุมมอง
Remove ads
การขยายตัวของซีรีส์
สรุป
มุมมอง
กลุ่มตลาดผู้ชม
ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและกลุ่มครอบครัว แต่เนื่องจาก แบทเทิลฟีเวอร์เจ เป็นซีรีส์ที่อายุมานานกว่า 40 ปีหลังจากที่เว้นวรรคไป 1 ปี ทำให้ตั้งแต่เด็กในยุคนั้นกลายเป็นรุ่นพ่อแม่แล้วดังนั้นการเจาะเข้าไปในกลุ่มอายุที่หลากหลายทำให้เด็กในยุคต่อ ๆ มารู้จักขึ้นเรื่อย ๆ และพ่อแม่บางคนถึงกับนั่งดูกับลูก และมีอารมณ์ร่วมได้ด้วยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงของนักแสดง
สำหรับนักแสดงของซูเปอร์เซ็นไต ในยุคสมัยต่าง ๆ ถูกแบ่งเปลี่ยนในแต่ละยุค ในช่วงแรกนักแสดงส่วนใหญ่ที่รับบทในช่วงนั้นมีอายุถึง 20 ปีขึ้นไป น้อยที่สุดคือ 13 และ 14 ปี แต่ในปัจจุบันกลุ่มนักแสดงหลักของซูเปอร์เซ็นไตแต่ละเรื่องเน้นไปที่นักแสดงวัยรุ่น เช่นเดียวกันกับมาสค์ไรเดอร์ยุคเฮเซย์ และกลายเป็นผลงานประตูสู่เข้าวงการบันเทิงไปอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงของ โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์
ฮิมิทสึเซ็นไต โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต ทั้ง 2 เรื่องเคยถูกตั้งข้อสันนิฐานว่าถูกนับสารบบเป็นซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ด้วยกันหรือไม่
หลังจากที่แจ็คเกอร์ออกอากาศสิ้นสุดลง โตเอะได้ร่วมมือกับมาร์เวลโปรดักชันส์โดยได้นำตัวละครจากมาร์เวลคอมิกส์มาทำผลงานใหม่นั่นก็คือสไปเดอร์แมนซึ่งเป็นผลงานหนังสือการ์ตูนคอมิกของอเมริกัน ซึ่งได้ถูกปรับรูปแบบเป็นภาพยนตร์สเปเชียลเอฟเฟกต์หรือโทคุซัทสึ รูปแบบฮีโร่แปลงร่างของญี่ปุ่นรวมถึงมีการเพิ่มหุ่นรบต่อสู้ทำให้มีความนิยมและรู้จักมากขึ้น และด้วยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากอเมริกันคอมิกเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาร์เวลจึงทำผลงานร่วมกับโตเอะอีกครั้งซึ่งเรื่องที่ 2 ที่ทำคือ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ซึ่งได้นำหุ่นยนต์ยักษ์มาต่อสู้อีกครั้งรวมถึงเป็นผลงานต้นฉบับของโตเอะพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อผู้บทประพันธ์จาก อิชิโนโมริ โชทาโร่ เป็น ฮัตเตะ ซาบุโร่ และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้โกเรนเจอร์และแจ็คเกอร์ ถูกตั้งเป็นฮีโร่กลุ่มทีมแทน [6]
ชื่อ ซูเปอร์เซ็นไต ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1981 ในช่วงที่ ขบวนการสุริยะ ซันวัลคัน ยังออกอากาศในขณะนั้น ซึ่งสื่อถูกนำไปตีพิมพ์และถูกใช้ชื่อนี้ในสื่ออื่น ๆ แต่ก็ยังไม่ได้มีการระบุว่าโกเรนเจอร์หรือแบทเทิลฟีเวอร์ เจ เรื่องไหนเป็นผลงานเรื่องแรก แต่อย่างไรก็ตามในช่วงยุคปี 1980 เมื่อแบทเทิลฟีเวอร์ เจ เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้น ทำให้ในปี ค.ศ. 1988 ในช่วงที่ โจจูเซ็นไต ไลฟ์แมน ออกอากาศ ได้มีโลโก้เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี ซูเปอร์เซ็นไต (スーパー戦隊10th) และได้ถูกประกาศว่า แบทเทิลฟีเวอร์ เจ เป็นผลงานเรื่องแรกของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
แต่ว่าในช่วงยุค 1990 โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ ได้ถูกเรื่มนับเป็นผลงานซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อย่างเป็นทางการ ในช่วงที่ ขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์ ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1993 ประกอบกับครบรอบ 15 ปีของซูเปอร์เซ็นไต ทำให้ผลงานทั้งสองถูกเรียกเป็น สุดยอดขบวนการในศตวรรษทั้งหมด (超世紀全戦隊) จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1995 ขบวนการพลังมหัศจรรย์ โอเรนเจอร์ ได้มีตัวอย่างภาพยนตร์และประกาศว่าเป็นผลงานครบรอบ 20 ปีซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ โดยนับรวมปีที่โกเรนเจอร์ออกอากาศเป็นครั้งแรก ทำให้ทั้ง 2 เรื่องถูกนับรวมกันเป็นผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อย่างเป็นทางการ และในปี ค.ศ. 2000 ช่วงที่ ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ออกอากาศ ได้มีโลโก้ของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ที่ปรากฏในเพลงโอเพนนิงของเรื่อง (หรือเริ่มเรื่อง) ทำให้ซีรีส์ทั้งสองถูกนับอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน
Remove ads
ตัวละคร
สรุป
มุมมอง
ชุดแปลงร่างของสีและบทบาทที่ปรากฏ
จากผลงานเรื่องแรก ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ได้ตั้งกำหนดอุปลักษณ์นิสัยของสมาชิกของขบวนการ ซึ่งจะมีความสดใสและมีชีวิตชีวาตามเนื้อหาของเรื่อง ประกอบกับช่วงปี ค.ศ. 1975 ที่เริ่มมีการออกอากาศทางโทรทัศน์ด้วยจอสีทำให้ผู้ชมเริ่มสนใจและน่าติดตามมากขึ้น
สมาชิกของโกเรนเจอร์แต่ละคนมีบทบาทต่อไปนี้
- สีแดง → หัวหน้า
- สีน้ำเงิน → รองหัวหน้า
- สีเหลือง → พละกำลัง
- สีชมพู → นางเอก
- สีเขียว → นักรบใสซื่อ
ในผลงานเรื่องที่ 3 แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ก็ได้ทำส่วนหน้ากากที่มีลักษณะใบหน้าคนขึ้นมา ตามด้วย ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน ที่ได้แก้ไขรูปแบบหน้ากาก
สีพื้นฐาน
- สีแดง หรือ เรด
- สีหลักของเรื่อง มีลักษณะภาพลักษณ์ของตัวละครคือมักจะเป็นลีดเดอร์หรือหัวหน้าทีมของขบวนการแต่ละขบวนการรวมถึงเป็นตัวเอกของเรื่อง แต่มีบางขบวนการที่สีอื่นรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมแทนสีแดงอย่าง ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ที่มีสีขาวเป็นหัวหน้าทีม, ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ ที่มีสีดำเป็นหัวหน้าทีม, ขบวนการจอมยุทธสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ ที่มีสีเหลืองเป็นหัวหน้าทีม
- ใน ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ไทม์ไฟเยอร์ที่มีชุดสีแดงเหมือนกับไทม์เรด ที่เป็นนักรบเสริม เป็นเรื่องแรกที่ใช้สีเดียวกัน[7]
- ใน ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ได้ปรากฏนักรบสีแดงที่เป็นผู้หญิงในช่วงท้ายเรื่อง
- ใน ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ มีชิชิเรดกับโฮโอโซลเจอร์ ที่เป็นสีแดงเหมือนกัน แต่ว่าเฉดสีของทั้ง 2 นั้นจะต่างกันโดยโฮโอโซลเจอร์เป็นสีแดงเข้ม[8]
- นอกจากนี้ ขบวนการจอมโจร ลูแปงเรนเจอร์ VS ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ ที่มีสองขบวนการในเรื่องมีทั้ง ลูแปงเรด และ แพทเรนหมายเลข 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมของขบวนการทั้ง 2
- อย่างไรก็ตาม ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ได้ใช้สีขาวเป็นหัวหน้าทีม โดยสีแดงอย่าง เซ็นไคจูรัน เป็นนักรบคนแรกที่ไม่ได้อยู่ตรงกลาง[9]
- สีน้ำเงิน หรือ บลู
- สีหลักของเรื่องเช่นเดียวกับสีแดง บทบาทหลักส่วนใหญ่มักจะเป็นซับลีดเดอร์หรือรองหัวหน้าทีมของขบวนการ ยกเว้น ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ ที่ไม่มีสีนี้ รวมถึงมีคาร์แรคเตอร์ภาพลักษณ์ที่มีความเท่และเฉียบคม รวมถึงมีความสามารถต่อสู้ด้วยความเร็วเป็นหลัก
- ในขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน สีน้ำเงินถูกใช้เป็นนักรบหญิงเป็นคนแรก
- ชุดสีน้ำเงินที่ปรากฏมี 2 สีหลักคือสีน้ำเงินเข้ม และสีฟ้า ซึ่งชุดสีน้ำเงินเข้มคือสีมาตรฐานของทีมหลัก ส่วนชุดสีฟ้ามีอยู่ด้วยกันถึง 4 คนคือ บลูสวอลโล่ จากขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน, นินจาบลู จากขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์, เฮอร์ริเคนบลู จากขบวนการนินจาวายุ เฮอร์ริเคนเจอร์, มาจิบลู จากขบวนการเวทมนตร์ มาจิเรนเจอร์ แต่หลังจากที่มีเคียวริวไซอันทำให้ชุดสีฟ้าถูกแยกสีจากสีน้ำเงินไปในที่สุด
- สีเหลือง หรือ เยลโล่
- สีหลักของเรื่องในช่วงที่โกเรนเจอร์ใช้มีความหมายภาพรวมคือชอบแกงกะหรี่ซึ่งตรงกับตัวละคร โออิวะ ไดตะ / คิเรนเจอร์ จากขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ และ เฮียว อาซาโอะ / วัลแพนเธอร์ จากขบวนการสุริยะ ซันวัลแคน นอกจากนี้ภาพลักษณ์ของนักรบสีเหลืองยังมีรูปลักษณ์ที่มีลักษณะอ้วนท้วมซึ่งก็มาจากคิเรนเจอร์เช่นกันซึ่งมีตัวละครที่ใช้รูปแบบนี้ตามมาอย่าง คิจิมะ ฟุโตชิ / โกกุลเยลโล่ จากขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ และ โออิชิ ไรตะ / เยลโล่โอลว์ จากขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน
- ในขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน สีเหลืองถูกตั้งให้เป็นนักสู้หญิงคนแรกและทำให้มีฮีโร่หญิงในทีมถึงสองคน และเป็นสีที่คู่กับสีชมพูมากที่สุด และในยุคช่วงปี ค.ศ 2000 ถึง ค.ศ. 2010 สีเหลืองส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง แต่ว่าในเคียวริวเจอร์กลับไม่มีสีเหลืองที่เป็นสมาชิกหลักเนื่องจากว่า เพื่อเพิ่มอัตราส่วนของสมาชิกชาย เพราะภาพรวมของนักสู้หญิงสีเหลืองที่จัดขึ้นในปีที่ผ่านมายังไม่เหมาะสม[10][11]
- สีชมพู หรือ พิงค์
- สีหลักของเรื่องมีลักษณะคาร์แรคเตอร์จะเป็นผู้หญิงนุ่มนวลอ่อนหวานแต่มีพลังต่อสู้ แต่ถ้ามีสีเหลืองผู้หญิงที่มีลักษณะตัวละครที่เน้นทางพลังจะสีชมพูจะเป็นคาร์แรคเตอร์ที่มีลักษณะมีความเป็นผู้ใหญ่ หรือถ้าเป็นสีน้ำเงินผู้หญิง ลักษณะตัวละครของสีชมพูก็จะกลายเป็นคนมีน้ำใจและอ่อนโยน
- สีนี้เป็นสีเฉพาะของตัวละครที่เป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวละครของ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ที่เป็นชุดคอสเพลย์ของ โมริ มาริโอะ ที่ใช้ชื่อว่า จูโอฮิวแมน จนกระทั่งได้มี คิจิบราเธอร์ จาก ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส เป็นนักรบสีชมพูผู้ชายคนแรกในประวัติศาสตร์ของซีรีส์อย่างเป็นทางการ[12]
- สีชุดแรกของสีชมพูจะเป็นสีชมพูอ่อน แต่ในขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์เป็นต้นไปได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสีชมพูบานเย็น แทน
- สีเขียว หรือ กรีน
- สีหลักของเรื่อง ในอดีตนั้นสีเขียวไม่เข้ากับสีดำ เนื่องจากในการสร้างเคยเลือกสีดำเป็นสีหลักมาก่อน ซึ่งสีโทนเข้มในตอนนั้นมีสีเขียวและสีดำ สุดท้ายถูกใช้เป็นสีเขียวเนื่องจากเป็นสีเข้มที่มีความสดใสกว่าสีดำ[13] ใน แฟลชแมน กรีนแฟลชได้ถูกเป็นตำแหน่งรองหัวหน้าทีม แทนสีดำ ที่ถูกใช้ต่อเนื่องมาแล้ว ยกเว้นไบโอแมนที่ใช้สีเขียว
- ในขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ได้มีนักรบที่เพิ่มเติมถึง 2 คนและได้ลองสิ่งที่ไม่เคยทำมานั่นก็คือได้นำสีเขียวและสีดำมาปรากฏตัวพร้อมกัน
- ในด้านลักษณะภาพลักษณ์ของตัวละครในแต่ละเรื่อง จะเน้นทางอิสระไม่ตายตัวแบบสีอื่น ๆ
- คาเมเลียนกรีน จากขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ เป็นนักรบสีเขียวผู้หญิงคนแรก
- ด้านชุดสีเขียวมีเฉดสีหลักคือสีเขียวปกติ และ สีเขียวมะนาว ซึ่งสีเขียวมะนาวถูกใช้ครั้งแรกในทคคิวเจอร์ ชื่อทคคิวหมายเลข 4 และถูกใช้ต่ออีกคือจูโออิเลฟเฟนท์ จากจูโอเจอร์, คาเมเลียนกรีน จากคิวเรนเจอร์ ต่อมาขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ เฉดสีเขียวปกติได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง
- สีดำ หรือ แบล็ค
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน แบทเทิลฟีเวอร์ J ชื่อแบทเทิลเคนย่า แต่ว่าในช่วงนั้นแบทเทิลเคนย่าไม่ได้ถูกจัดเป็นสีดำแต่ได้ถูกกำหนดว่าเป็นสีเขียว และถูกประกาศไว้ว่าโกกุลแบล็คแห่งขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์เป็นนักรบสีดำเป็นคนแรก[14] โดยภาพลักษณ์ของนักรบสีดำคือตรงกันข้ามกับสีแดง และบางครั้งจะเป็นซับลีดเดอร์หรือรองหัวหน้าทีม
- สีขาว หรือ ไวท์
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน แจ็คเกอร์ ชื่อบิ๊กวัน[15] เป็นสีหลักที่ใช้น้อยที่สุดเนื่องจากว่าเป็นสีที่ทำให้เห็นคราบสกปรกเยอะที่สุดในการถ่ายทำในตอนกลางวัน และโดยเฉพาะนางเอกอย่างนินจาไวท์จาก ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ต้องเขียนบทบาทที่ให้เด่นและชัดเพื่อหลีกเลี่ยงในการถ่ายทำ
- บทบาทของสีขาวมักจะพิเศษกว่าสีหลักและเป็นที่น่าจดจำ นอกจากนี้นักรบที่เป็นสีขาวบางคนไม่ไม่ใส่ชื่อ ไวท์ เช่น บิ๊กวัน เชนจ์เมอร์เมด คิบะเรนเจอร์ อาบะเรคิลเลอร์ เดกะเบรก มาจิมาเธอร์ จูโอไทเกอร์ และเซ็นไคเซอร์
สีเมทาลิค
- สีเงิน หรือ ซิลเวอร์
- สีทอง หรือ โกลด์
- สีเงินปรากฏตัวครั้งแรกในเมกะเรนเจอร์ ชื่อเมกะซิลเวอร์ ส่วนสีทองปรากฏตัวครั้งแรกในมาจิเรนเจอร์ชื่อมาจิไชน์
- ทั้งสองสีส่วนมากเป็นนักรบที่เพิ่มเติม แต่ไม่ได้ถูกใช้มากเท่าไรนักในยุค 2000 อย่างไรก็ตาม ขบวนการอวกาศ คิวเรนเจอร์ ได้มี เท็นบิงโกลด์ และ เฮบิสึไคซิลเวอร์ เข้ามาเป็นนักรบหลักอีกด้วย
- นอกจากนี้ ยังมีนักรบที่สีมากกว่า 1 สีเพียงคนเดียวด้วยอย่าง โกไคซิลเวอร์ โกลด์โหมด จาก ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์, จูโอเดอะเวิลด์ จากขบวนการสัตว์ป่า จูโอเจอร์, ลูแปงเอ็กซ์ / แพทเรนเอ็กซ์ จาก ขบวนการจอมโจร ลูแปงเรนเจอร์ VS ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์
สีอื่น ๆ
- สีส้ม หรือ ออเรนจ์
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน แบทเทิลฟีเวอร์ ชื่อแบทเทิลครอสแซค เคยเป็นสีที่ถูกใช้แทนสีเหลือง แต่ไม่ค่อยใช้เท่าไร อย่างไรก็ตามสีส้มได้กลับมาใช้อีกครั้งในขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ ชื่อทคคิวหมายเลข 6[16] และ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ชื่อ ซาโซริออเรนจ์ ทั้งนี้ชื่อออเรนจ์ถูกใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก[17]
- นอกจากนี้ยังมี เดกะสวอน จาก ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์ แต่เป็นสีชุดเป็นสีส้มและสีขาว[18]
- สีม่วง หรือ ไวโอเลต
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน เกคิเรนเจอร์ ชื่อเกคิไวโอเลต นอกจากนี้นักรบสีม่วงที่ถูกเรียกว่าเพอเพิลมีอยู่นั่นก็คือซูเปอร์ ทคคิวหมายเลข 7 จากขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์[19] และปาปิญองโอเจอร์ จากขบวนการราชัน คิงโอเจอร์ โดยเป็นสีม่วงโทนอ่อน[20]
- สีแดงม่วง หรือ คริมสัน
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน เฮอร์ริเคนเจอร์ ชื่อคาบุโตะไรเจอร์ แต่เดิมนั้นเคยถูกกำหนดว่าเป็นสีแดง แต่ว่ากลับเป็นสีที่เข้มกว่าเฮอร์ริเคนเรด ทำให้ถูกแยกสีเป็นสีใหม่[7]
- สีกรมท่า หรือ เนวี่
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน เฮอร์ริเคนเจอร์ ชื่อคุวากะไรเจอร์ เคยอยู่เป็นกลุ่มสีน้ำเงินมาก่อน แต่สีต่างกับเฮอร์ริเคนบลูเพราะสีโทนเข้มมืดกว่า[7] นอกจากนี้โฮโอโซลเจอร์ จากคิวเรนเจอร์ ยังใช้ชุดนี้ควบกับสีแดงอีกด้วย[8]
- สีเทา หรือ เกรย์
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน เคียวริวเจอร์ ชื่อเคียวริวเกรย์
- สีฟ้าอ่อน หรือ ไซอันและสกายบลู
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน เคียวริวเจอร์ ชื่อเคียวริวไซอัน
- สีน้ำตาล หรือ บราวน์
- ปรากฏตัวครั้งแรกใน ริวโซลเจอร์ ชื่อริวโซลบราวน์
- สีที่ไม่ระบุชัดเจน
- มีชุดสีที่ไม่ระบุชัดเจนคือเดกะมาสเตอร์ จาก เดกะเรนเจอร์ เดิมเคยถูกนับเป็นนักรบสีสตีลบลู แต่ทว่าในเกมกลับถูกนับเป็นสีดำแทน[21]
อุปกรณ์แปลงร่าง
ในการแปลงร่างของขบวนการต่าง ๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยขบวนการแรกอย่างโกเรนเจอร์จะเป็นการแปลงร่างด้วยการซ่อนชุดไว้ที่ใดที่หนึ่งเพื่อทำการแปลงร่าง และไม่มีอุปกรณ์ในการแปลงร่างแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามขบวนการที่ 2 แจ็คเกอร์ได้มีรูปแบบการแปลงร่างนั่นก็คือตู้แคปซูลเพิ่มพลัง ซึ่งก็ไม่ใช่อุปกรณ์แปลงร่าง[22]
ในขบวนการที่ 3 แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ได้เริ่มมีอุปกรณ์แปลงร่างเป็นครั้งแรก โดยการแปลงร่างจะพูดว่า ฟีเวอร์ เพื่อเรียกชุดในการสวมใส่ซึ่งจะมาในการพุ่งจากตัวเครื่องมือสื่อสารจากแขน และขบวนการที่ 4 เด็นจิแมนก็มีชื่ออุปกรณ์แปลงร่างว่า เด็นจิริงก์
ในขบวนการที่ 4 ซันวัลคันมีอุปกรณ์แปลงร่างที่ชื่อว่า วัลคันเบรซ ซึ่งมีลักษณะเป็นกำไลข้อมือและกลายเป็นอุปกรณ์แปลงร่างแบบมาตรฐานของซูเปอร์เซ็นไต เนื่องจากว่าในของเล่นมีฟังก์ชันเกี่ยวกับนาฬิกาทำให้เด็กสนใจ โดยสินค้าของเล่นที่ออกมาครั้งแรกคือ โกกุลเบรซจากขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ ในปี ค.ศ. 1982 อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1988 ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ก็มีอุปกรณ์แปลงร่างกำไลข้อมือสองข้างทั้งด้านซ้ายด้านขวาเรียกว่า ทวินเบรซ ซึ่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยนลูกเล่นให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 1997 ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ ได้มีนักรบที่ชื่อว่าเมกะซิลเวอร์ ที่มีอุปกรณ์แปลงร่างที่ชื่อว่า เคย์ไทเซอร์ ซึ่งมีรูปร่างเป็นโทรศัพท์มือถือรูปแบบบานพับ[22] ทำให้ขบวนการในปี ค.ศ. 2001 อย่างขบวนการสรรพสัตว์ กาโอเรนเจอร์ ก็ได้มีอุปกรณ์แปลงร่างรูปแบบโทรศัพท์มือถือรุ่นบานพับตามมาอย่าง G โฟน[23] ในปี ค.ศ. 2005 ขบวนการจอมเวทย์ มาจิเรนเจอร์ ก็มีมาจิโฟนตามมาอีก นอกจากนี้มีโทรศัพท์มือถือรูปแบบสมาร์ตโฟนเข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักอย่างขบวนการผู้กล้าไดโนเสาร์ เคียวริวเจอร์ ในปี ค.ศ. 2013 มีอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า จูเด็นโมบัคเคิล, ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ ของปี ค.ศ. 2014 มีเรนโบว์พาส และมีอุปกรณ์แปลงร่างของทคคิวหมายเลข 6 และ 7 ที่มีชื่อว่าแอปพลิเชนเจอร์
นางเอก
นางเอกปกติไม่มีความตายตัวของเนื้อเรื่อง แต่ในเรื่อง ขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน แบ่ง Position ชัดเจนตำแหน่งนี้ใครเป็นประเภทไหน ซึ่งตกอยู่ที่ไวท์สวอน หลังจากนั้นไม่มีขบวนการไหนที่มีนางเอกแบบตายตัว
การเปลี่ยนตัวสมาชิก
เกิดขึ้นครั้งแรกจาก ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ตัวละครคิเรนเจอร์คนแรก รู้สึกไม่ค่อยสบายจึงทำให้รักษาตัวชั่วขณะ จึงทำให้คนที่ 2 ต้องแสดงแทนแต่ว่าต้องตายในเรื่อง เพื่อคิเรนเจอร์คนแรกกลับมาแสดงจนจบเรื่อง หลังจากนั้น คนแสดงคิเรนเจอร์คนแรกก็เสียชีวิตอย่างสงบ แบทเทิลฟีเวอร์ ก็มีตัวละครเปลี่ยน 2ตัว แบทเทิลคอนเซ็ท และ มิสอเมริกา ขบวนการสุริยะ ซันวัลคัน เคยมีเปลี่ยนตัวนักแสดงสีแดง เพราะค่าตัวนักแสดงน้อยกว่าความเป็นจริง และที่เห็นล่าสุดก็คือ ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ที่ เยลโล่โฟร์คนแรกขอถอนตัวและรีไทร์จากวงการเพื่อทำอาชีพอื่น จนต้องเปลี่ยนเนื้องเรื่องแบบกะทันหัน และเปลี่ยนตัวคนที่2 ก่อนเปิดตัวมาก่อนหน้านี้
นักรบเสริม
นักรบเสริมคือนักรบที่ถูกเพิ่มเติมจากกลุ่มหลักและมีความสามารถที่แตกต่างกับสมาชิกกลุ่มหลักหรือสมาชิกเริ่มต้น[24] และถ้ามีขบวนการที่มีสมาชิกหลักทั้ง 5 คนจะถูกเรียกว่า นักรบคนที่ 6 (6人目の戦士) [25][26]
ในผลงานลำดับที่ 2 แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต ได้มีนักรบเสริมที่ปรากฏตัวนั่นก็คือบิ๊กวันจากเดิมทีมีนักรบถึง 4 คนและในผลงานลำดับที่ 12 ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ได้เพิ่มแบล็คไบซันกับกรีนไซ จากเดิมที่มีนักรบ 3 คนซึ่งนักรบที่ถูกกล่าวมาเป็นนักรบเสริมที่เป็นจุดเริ่มต้นที่มีการเพิ่มสมาชิกหลักของทีม[24]
แนวคิดนักรบคนที่ 6 เริ่มถูกใช้ในผลงานลำดับที่ 8 ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ชื่อนักรบแม็กเน่[27] แต่ว่านักรบแม็กเน่เป็นนักรบที่ถูกสร้างจากฝ่ายอธรรมซึ่งต่างจากฝ่ายธรรมะ[28] นอกจากนี้ผลงานลำดับที่ 11 ขบวนการแสง มาสค์แมน ก็ได้มี X1 มาสค์ ปรากฏตัวเป็นนักรบคนที่ 6 เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะถูกยอมรับว่าเป็นนักรบคนที่ 6 แต่ก็ปรากฏตัวเพียงแค่ตอนเดียวเท่านั้น[27]
อย่างไรก็ตามนักรบคนที่ 6 ได้ถูกกลับมาใช้จริง ๆ เป็นครั้งแรกนั่นก็คือ ขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ ผลงานลำดับที่ 16 ในปี ค.ศ. 1992 มีชื่อว่า ดราก้อนเรนเจอร์ ซึ่งในการปรากฏตัวครั้งแรกได้ปรากฏตัวต่อสู้กับสมาชิกหลักทั้ง 5 คนก่อน แต่ด้วยความนิยมของดราก้อนเรนเจอร์ทำให้กระแสนักรบคนที่ 6 เริ่มนิยมมากขึ้นและนอกจากนี้รูปแบบนักรบหลักทั้ง 5 คนได้ถูกปรับเปลี่ยนจากเดิมนั่นก็คือการมีนักรบเสริมคนที่ 6 เข้ามาเพิ่มด้วย[25]
ทั้งนี้คุณสมบัติหลักของนักรบเสริมมีดังต่อไปนี้
- การออกแบบที่แตกต่างจากสมาชิกหลัก
- ดราก้อนเรนเจอร์ จากขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ สวมชุดเกราะเพื่อแยกความแตกต่างกับสมาชิกหลัก[29] ซึ่งนักรบเสริมคนต่อมาได้มีการทำแนวคิดนี้เป็นหลัก
- ยกเว้นอัศวินดำ จากขบวนการคอสมิก กิงกะแมน ที่ไม่ใช่ชุดแบบเดียวกับสมาชิกหลัก[24]
- นอกจากนี้ซิกนอลแมนจากขบวนการรถซิ่ง คาร์เรนเจอร์ เป็นนักรบที่ไม่มีร่างแปลงและมีร่างคนตั้งแต่แรก ได้ถูกนับว่าเป็น บังไกฮีโร่ (番外ヒーロー) ซึ่งถูกประกาศในช่วงสเปเชียลไฟล์ของโบเคนเจอร์ ปัจจุบันนักรบที่ไม่ได้เป็นตัวละครปกติจะถูกถือว่าเป็น นักรบพิเศษ (番外戦士)[30]
Remove ads
เบื้องหลังในการสร้างผลงานซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ มีการเขียนโครงเรื่อง ธีมเรื่องเฉพาะ และการเขียนบทประจำตอนต่างๆ ใช้เวลาต่อเรื่องประมาณหลายปี กว่าจะออดิชั่นตัวละครให้เหมาะสมตัวนั้นๆ ผู้เขียนบทส่วนใหญ่ น้อยนักที่จะเป็นผู้หญิง หรือ สลับเขียนบทในแต่ละตอนเช่น คนเขียนเมนหลักไปตอนนี้ และคนถัดไปโครงเรื่องจะเป็นแบบไหน แต่ถ้าเหตุที่มีนักแสดงถอนตัวกะทันหัน ทีมงานต้องเปลี่ยนเนื้อเรื่องโดยที่ไม่ได้ทันตั้งตัว
การถ่ายทำ ส่วนมากจะเริ่มถ่ายทำฤดูหนาว และเปิดตัวนักแสดงในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และถ่ายทำไป ฉายไปเช่นกัน ส่วนฉากต่อสู้ มักจะใช้สูทแอทเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแอคชั่นโดยตรง จากสถาบันชั้นนำ ทั้งฮีโร่ในเรื่อง สัตว์ประหลาดประจำตอน และลูกสมุนประจำขบวนการนั้นๆที่ขายความจุดเด่นของคอนเซ็ปต์แต่ละเรื่อง และ มีแผนกต่างๆอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างซูเปอร์เซนไตซีรีส์ เช่น ออกแบบตัวละคร กำกับคิวแอคชั่น กำกับเทคนิคพิเศษ เทคนิคพิเศษเฉพาะทาง ฯลฯ ซึ่งมีองค์กรทำเทคนิคพิเศษสัญชาติไทยได้ทำเทคนิคพิเศษเกี่ยวกับซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มาแล้ว
Remove ads
ผลงานที่เกี่ยวข้องกับซีรีส์
ภาพยนตร์
วีซินีม่า
- โจริคิเซ็นไต โอเรนเจอร์ โอเร VS คาคุเรนเจอร์ (超力戦隊オーレンジャー オーレVSカクレンジャー)
- เกคิโซเซ็นไต คาร์เรนเจอร์ VS โอเรนเจอร์ (激走戦隊カーレンジャーVSオーレンジャー)
- เด็นจิเซ็นไต เมกะเรนเจอร์ VS คาร์เรนเจอร์ (電磁戦隊メガレンジャーVSカーレンジャー)
- เซย์จูเซ็นไต กิงกะแมน VS เมกะเรนเจอร์ (星獣戦隊ギンガマンVSメガレンジャー)
- คิวคิวเซ็นไต โกโกไฟว์ ตื่นตะลึง! สุดยอดนักรบคนใหม่ (救急戦隊ゴーゴーファイブ 激突!新たなる超戦士)
- คิวคิวเซ็นไต โกโกไฟว์ VS กิงกะแมน (救急戦隊ゴーゴーファイブVSギンガマン)
- มิไรเซ็นไต ไทม์เรนเจอร์ VS โกโกไฟว์ (未来戦隊タイムレンジャーVSゴーゴーファイブ)
- เฮียคจูเซ็นไต กาโอเรนเจอร์ VS ซูเปอร์เซ็นไต (百獣戦隊ガオレンジャーVSスーパー戦隊)
- นินปูเซ็นไต เฮอร์ริเคนเจอร์ VS กาโอเรนเจอร์ (忍風戦隊ハリケンジャーVSガオレンジャー)
- บาคุริวเซ็นไต อาบะเรนเจอร์ VS เฮอร์ริเคนเจอร์ (爆竜戦隊アバレンジャーVSハリケンジャー)
- โทคุโซเซ็นไต เดกะเรนเจอร์ VS อาบะเรนเจอร์ (特捜戦隊デカレンジャーVSアバレンジャー)
- มาโฮเซ็นไต มาจิเรนเจอร์ VS เดกะเรนเจอร์ (魔法戦隊マジレンジャーVSデカレンジャー)
- โกโกเซ็นไต โบเคนเจอร์ VS ซูเปอร์เซ็นไต (轟轟戦隊ボウケンジャーVSスーパー戦隊)
- จูเคนเซ็นไต เกคิเรนเจอร์ VS โบเคนเจอร์ (獣拳戦隊ゲキレンジャーVSボウケンジャー)
- การกลับมาของ ซามูไรเซ็นไต ชินเคนเจอร์ ฉบับพิเศษ (帰ってきた侍戦隊シンケンジャー 特別幕)
- การกลับมาของ เท็นโซเซ็นไต โกเซย์เจอร์ LAST EPIC ~เมื่อเหล่าเทพสวรรค์กลายเป็นไอดอล?!~ (帰ってきた天装戦隊ゴセイジャー last epic ~護星天使が国民的アイドルに?!~)
- การกลับมาของ โทคุเมย์เซ็นไต โกบัสเตอร์ส VS โดบุทสึเซ็นไต โกบัสเตอร์ส (帰ってきた特命戦隊ゴーバスターズ VS 動物戦隊ゴーバスターズ)
- นินปูเซ็นไต เฮอริเคนเจอร์ 10 YEARS AFTER (忍風戦隊ハリケンジャー 10 YEARS AFTER)
- การกลับมาของ จูเดนเซ็นไต เคียวริวเจอร์ 100 YEARS AFTER (帰ってきた獣電戦隊キョウリュウジャー 100 YEARS AFTER)
- การกลับมาของ เรชฉะเซ็นไต ทคคิวเจอร์ ซูเปอร์ทคคิวหมายเลข 7 แห่งความฝัน (行って帰ってきた烈車戦隊トッキュウジャー 夢の超トッキュウ7号)
- โทคุโซเซ็นไต เดกะเรนเจอร์ 10 YEARS AFTER (特捜戦隊デカレンジャー 10 YEARS AFTER)
- การกลับมาของ ชูริเคนเซ็นไต นินนินเจอร์ นินนินเกิลส์ VS บอยส์ FINAL WARS (帰ってきた手裏剣戦隊ニンニンジャー ニンニンガールズVSボーイズ FINAL WARS)
- การกลับมาของ โดบุทสึเซ็นไต จูโอเจอร์ มอบชีวิตเธอให้ฉัน! ศึกตัดสินจ้าวแห่งโลก (帰ってきた動物戦隊ジュウオウジャー お命頂戴!地球王者決定戦)
ออริจินอลวิดีโอพิเศษ
ซีรีส์เว็บ
Remove ads
การออกอากาศ
ในการออกอากาศของละครชุดซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ แทนซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ยุคโชวะที่ย้ายออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ทีวีโตเกียว และ TBS ในช่วงเวลาขณะนั้น ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 19:30 น. - 20:00 น. ตั้งแต่โกเรนเจอร์ถึงแจ็คเกอร์ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เว้นวรรคในการออกอากาศ 1 ปี แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ได้ออกอากาศวันเดิมในเวลา 18:00 น. - 18:30 น. จนกระทั่ง ไดน่าแมนออกอากาศตอนที่ 9 ถูกลดเวลาลงเป็น 18:00 น. - 18:25 น. จากเดิมที่ออกอากาศเพียง 30 นาที (รวมเวลาของโฆษณา) เหลือเพียง 25 นาที
ในปี พ.ศ. 2533 ช่วงที่เทอร์โบเรนเจอร์ออกอากาศได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศเป็นทุกวันศุกร์ เวลา 17:30 น. - 17:55 น. จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ในช่วงที่เมกะเรนเจอร์ตอนที่ 8 ออกอากาศ ได้ย้ายวันและเวลาเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 7:30 น. - 8:00 น. และด้วยกระแสของซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตที่เริ่มมีสปอนเซอร์เข้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 30 นาทีอีกครั้ง และกลายเป็นเวลาหลักในการออกอากาศรายการวันอาทิตย์ตอนเช้าไปในที่สุด
อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2560 ได้ถูกย้ายเวลาอีกครั้งเนื่องจากมีรายการข่าวสารชื่อว่า ซันเดย์ LIVE! ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 5:50 น. - 8:30 น. ทำให้ย้ายเวลาเป็นเวลา 9:30 น. - 10:00 น. ตั้งแต่คิวเรนเจอร์ตอนที่ 32 จนถึงปัจจุบัน[31][32]
Remove ads
ซูเปอร์เซ็นไตที่ออกอากาศในต่างประเทศ
สรุป
มุมมอง
อเมริกา
ในปี พ.ศ. 2528 มาการ์เร็ต รอร์ช (ประธานมาร์เวล โปรดักชัน) และ สแตน ลี เคยมีความคิดที่จะนำซูเปอร์เซ็นไตนำมาออกอากาศในประเทศสหรัฐอเมริกาจากการแลกเปลี่ยนผลงานร่วมกับโตเอะตั้งแต่สไปเดอร์แมน, แบทเทิลฟีเวอร์เจ, เด็นจิแมน และซันวัลคัน มีแผนที่จะออกอากาศทางบริษัทแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในอเมริกาทั้ง ABC, NBC, CBS ซึ่งทั้งนี้ได้ซื้อไว้แล้ว แต่ไม่ได้ออกอากาศเนื่องจาก รูปแบบวัฒนธรรมของเรื่องต่างประเทศ [33]
ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ขบวนการวิทยาศาสตร์ ไดน่าแมน ได้ถูกนำดัดแปลงเป็นละครสั้นในส่วนหนึ่งของช่วงรายการ Night Flight ของสถานี USA Network
ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปิดตัว พาวเวอร์เรนเจอร์ จากผลงานอาฮิม ซาบัน โดยนำขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์มาทำใหม่ ซึ่งสามารถขายออกอากาศได้ในประเทศเนื่องจากว่า "เด็ก ๆ ในสหรัฐฯชอบงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น"[34] และได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน
บราซิล
ฉายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 1995 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Rede Manchete, Rede Record, Rede Bandeirantes เรื่องแรกที่ออกอากาศมาพากย์เป็นภาษาโปรตุเกสคือ เชนจ์แมน ซึ่งพอออกอากาศก็ได้รับความนิยมเท่ากับซีรีส์เมทัลฮีโร่ จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน[35] ในปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2014 เชนจ์แมนและแฟลชแมน ได้ออกอากาศอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ Ulbra TV, Rede Brasil
- ซีรีส์ที่ออกอากาศ
- ขบวนการนักสู้สายฟ้า เชนจ์แมน ฉายในปี ค.ศ. 1988, ค.ศ. 2014
- ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน ฉายในปี ค.ศ. 1989, ค.ศ. 2013
- ขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ ฉายในปี ค.ศ. 1990
- ขบวนการแสง มาสค์แมน ฉายในปี ค.ศ. 1991
โปรตุเกส
ฝรั่งเศส
ออกอากาศทางช่องเตแอ็ฟเอิง เมื่อปี พ.ศ. 2528 เรื่องแรกที่นำออกอากาศมาพากย์เป็นภาษาฝรั่งเศสคือขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ซึ่งได้รับความนิยมมากในประเทศฝรั่งเศส จนทำให้เรื่องต่อมาถูกเรียกเป็นไบโอแมนภาคต่อ ๆ มาแทน ซึ่งในประเทศฝรั่งเศสฉายซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตมาแล้วถึง 6 เรื่องได้แก่
- ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน
- ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน
- ขบวนการแสง มาสค์แมน ใช้ชื่อว่า ไบโอแมน 2
- ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ใช้ชื่อว่า ไบโอแมน 3
- ขบวนการความเร็วสูง เทอร์โบเรนเจอร์
- ขบวนการแห่งโลก ไฟว์แมน
- ขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน
นอกจากนี้ประเทศฝรั่งเศสยังทำผลงานรูปแบบซูเปอร์เซ็นไตของตัวเองชื่อว่า จูชิเซ็นไต ฟรองซ์ไฟว์
เอเชีย
ประเทศไต้หวัน
ในประเทศไต้หวันเรื่องแรกที่ออกอากาศคือ ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ในชื่อ 影子神兵 หลังจากนั้นกาโอเรนเจอร์เป็นต้นไปได้ออกอากาศในประเทศไต้หวันอีกครั้ง
ประเทศเกาหลีใต้
ในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการออกอากาศซูเปอร์เซ็นไตเรื่องแรกคือ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์ แต่ชื่อเรื่องกลับใช้ชื่อ พาวเวอร์เรนเจอร์ เนื่องจาก ประเทศเกาหลีใต้เคยนำซีรีส์พาวเวอร์เรนเจอร์มาออกอากาศทางทีวีมาก่อน โดยก่อนหน้านั้น ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน เคยถูกวางจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอ VHS พากย์ภาษาเกาหลีมาก่อนที่จะฉายทางโทรทัศน์
- รายชื่อซีรีส์ที่ออกอากาศในเกาหลีใต้
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ไดโนธันเดอร์ (파워레인저 다이노썬더)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2004
- พาวเวอร์เรนเจอร์ S.P.D. (파워레인저 S.P.D.)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2005
- พาวเวอร์เรนเจอร์ แมจิกฟอร์ซ (파워레인저 매직포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2006
- พาวเวอร์เรนเจอร์ เทรเจอร์ฟอร์ซ (파워레인저 트레저포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2007
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ไวลด์สปิริตส์ (파워레인저 와일드스피릿)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2008
- พาวเวอร์เรนเจอร์ เอนจินฟอร์ซ (파워레인저 엔진포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2009
- พาวเวอร์เรนเจอร์ จังเกิ้ลฟอร์ซ (파워레인저 정글포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2010 ออกอากาศแทน ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ที่โดนข้ามไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามก็มีชื่อเวอร์ชันเกาหลีอยู่ทั้ง 2 ชื่อคือ พาวเวอร์เรนเจอร์ ซามูไรฟอร์ซ และ พาวเวอร์เรนเจอร์ เบลดฟอร์ซ โดยชื่อดังกล่าวถูกปรากฏในมาสค์ไรเดอร์ดีเคดและ พาวเวอร์เรนเจอร์ กัปตันฟอร์ซ (ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์) ที่ออกอากาศในประเทศเกาหลีใต้
- พาวเวอร์เรนเจอร์ มิราเคิลฟอร์ซ (파워레인저 미라클포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2011
- พาวเวอร์เรนเจอร์ กัปตันฟอร์ซ (파워레인저 캡틴포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2012
- พาวเวอร์เรนเจอร์ โกบัสเตอร์ส (파워레인저 고버스터즈)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2013
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ไดโนฟอร์ซ (파워레인저 다이노포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2014
- พาวเวอร์เรนเจอร์ เทรนฟอร์ซ (파워레인저 트레인포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2015
- พาวเวอร์เรนเจอร์ นินจาฟอร์ซ (파워레인저 닌자포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2016
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ไดโนฟอร์ซ เบรฟ (파워레인저 다이노포스 브레이브)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็นผลงานที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น โดยใช้นักแสดงเกาหลีใต้เป็นตัวหลักของเรื่อง
- พาวเวอร์เรนเจอร์ แอนิมอลฟอร์ซ (파워레인저 애니멀포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2017
- พาวเวอร์เรนเจอร์ แกแล็คซี่ฟอร์ซ (파워레인저 갤럭시포스)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2018
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ไดโนโซล (파워레인저 다이노소울) [36]
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2019
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ลูแปงฟอร์ซ VS แพทโทรลฟอร์ซ (파워레인저 루팡포스 VS 패트롤포스)[37]
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2020
- พาวเวอร์เรนเจอร์ เซ็นไคเจอร์ (파워레인저 젠카이저)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2021
- พาวเวอร์เรนเจอร์ ดงบราเธอร์ส (아바타로전대 돈브라더즈)
- ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2022
ประเทศไทย
ในประเทศไทยซูเปอร์เซ็นไตได้ออกสื่อเฉพาะในสื่อของนิตยาสารหนังสือการ์ตูนก่อน และเรื่องที่ฉายทางโทรทัศน์ครั้งแรกคือ ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2523 ด้วยกระแสภาพยนตร์ชุดซูเปอร์เซ็นไตที่ออกอากาศในประเทศไทยทำให้สถานีโทรทัศน์อื่น ๆ มาฉายตามด้วยอย่าง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. ได้นำ ขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ มาออกอากาศ ตามด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ฉายเรื่อง ขบวนการแสง มาสค์แมน และได้รับความนิยมเช่นเดียวกับที่ช่อง 7 ออกอากาศ ซึ่งแต่ละเรื่องนั้นสถานีโทรทัศน์ได้ออกอากาศซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตมาหลายเรื่องและฉายเกือบทุกช่อง แต่อย่างไรก็ตามมีบางเรื่องที่ไม่ได้ออกอากาศในประเทศไทยอย่าง แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต, ขบวนการกู้ภัย โกโกไฟว์, ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ ด้วยสาเหตุบางประการ
ในสื่อรูปแบบวิดิโอ, วีซีดี ได้มีการวางจำหน่ายในรูปแบบพากย์ไทยทั้ง วิดีโอสแควร์, EVS และ ไรท์พิคเจอร์ส เป็นหลักในช่วงปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ. 2543 บริษัททีไอจีเอ (TIGA) ได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ชุดซูเปอร์เซ็นไตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องแรกที่นำมาจำหน่ายคือ ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ซึ่งได้วางจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอและ VCD แต่หยุดทำชั่วคราวด้วยเหตุผลบางประการ จึงทำให้นำขบวนการคอสมิก กิงกะแมน นำวางจำหน่ายและออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี แทน หลังจากนั้น โรส วิดิโอ (ปัจจุบันคือ โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) บริษัทที่จำหน่ายในส่วนแผ่นวีซีดีของทีไอจีเอได้มาเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ เริ่มตั้งแต่โกโกไฟว์ ไปจนถึง นินนินเจอร์ รวมถึงตอนพิเศษทั้งภาพยนตร์และวิซินีม่าบางเรื่อง ปัจจุบันผู้ถือลิขสิทธิ์ในการฉายซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์คือ บริษัทเอฟฟ์ จำกัด และ บริษัทการ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด ซึ่งได้นำ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์, ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ และ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์[38] ซึ่งได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ดิจิทัล, โทรทัศน์ดาวเทียมรวมถึงรูปแบบสตรีมมิ่งทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ช่องเคเบิลทีวีอย่างทรู ช่อง ทรูสปาร์ก ก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์เช่นกัน ซึ่งในรูปแบบของทรูจะทำตามของการ์ตูนคลับทั้งหมดยกเว้นบทพากย์และนักพากย์
ในส่วนภาพยนตร์ที่ฉายในประเทศไทยมีเพียง 2 เรื่องคือ ขบวนการมือปราบ เดกะเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ฟูลบลาสท์ แอคชั่น ฉายควบกับมาสค์ไรเดอร์เบลด: มิซซิ่งเอช แต่ฉายไม่กี่วันถูกถอดออก โดยผู้นำเข้าฉายคือบริษัท เมย์เซเวนมีเดีย และ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส THE MOVIE รักแรกนั้นคือฮีโร่ แต่ภายหลังภาพยนตร์ซูเปอร์เซ็นไตผู้ซื้อลิขสิทธิ์หลักในการฉายและวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD คือโรส และ DEX ส่วนตอนพิเศษวีซินีม่าโรส, ดรีมวิชั่น, ทีไอจีเอ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในการวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD
- รายชื่อซีรีส์ที่ออกอากาศในประเทศไทย
- รายชื่อภาพยนตร์และวิซินีม่าที่วางจำหน่ายในไทย
สื่อในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีซูเปอร์เซ็นไตในแบบฉบับของตัวเอง ทั้งละครโทรทัศน์, แอนิเมชัน และ โฆษณา
- ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์
- ผลิตโดย บริษัท ดีพี โปรมีเดีย จำกัด อำนวยการผลิต บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น
- ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ฉายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
- คริสตัลไนท์
- ผลงานของนิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (น้าต๋อย เซมเบ้) ผลิตโดย ทูนทาวน์ เอนเตอร์เทนเมนต์
- ออกอากาศทางททบ. 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.35 น. - 7.50 น. ฉายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- โจ๋เรนเจอร์
- ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโฆษณาสำหรับบริการโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อว่า ZAD ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
- ริวจิไฟว์
- แอนิเมชันไทย ที่มีพื้นฐานของเล่นมาจาก ริวจิไฟว์ ของ Apex Toys วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดยทีไอจีเอ
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads